เริ่มที่10บาท เหรียญพระเจ้าแสนสามหมื่น วัดสังขลิการาม อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย เนื้อทองแดง - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิภาคอีสานเหนือ

เริ่มที่10บาท เหรียญพระเจ้าแสนสามหมื่น วัดสังขลิการาม อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย เนื้อทองแดง

เริ่มที่10บาท เหรียญพระเจ้าแสนสามหมื่น วัดสังขลิการาม อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย เนื้อทองแดง เริ่มที่10บาท เหรียญพระเจ้าแสนสามหมื่น วัดสังขลิการาม อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย เนื้อทองแดง
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เริ่มที่10บาท เหรียญพระเจ้าแสนสามหมื่น วัดสังขลิการาม อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย เนื้อทองแดง
รายละเอียดประวัติ หลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่น ณ วัดสังขลิการาม อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย

ด้วยความศรัทธาในองค์หลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่น อันเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวอำเภอโซ่พิสัยมาเป็นเวลาช้านาน ข้าพเจ้าได้จัดทำประวัติหลวงพ่อแสนขึ้นมาไหม่ต่อจากคณะผู้จัดทำครั้งที่แล้วคือคุณก้องเกียรติ วิทยรัตนโกวิท ผู้จัดการธนาคารทหารไทย สาขาโซ่พิสัย, คุณสุจริต ชัยดำรงค์กุล ผู้จัดการร้านทองสุจริต และคุณประทวน ทองประเทือง ผู้จัดการร้านจิ๊บมอเตอร์ ที่ได้รวบรวมและจัดพิมพ์ประวัติหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นไว้ก่อนแล้ว ข้าพเจ้าได้คัดลอกของเดิมและเพิ่มเติมแก้ไขบ้างบางส่วนที่เห็นว่าเหมาะสมและจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นการเชิดชูบารมีแห่งองค์หลวงพ่อฯ และสืบทอดพระพุทธศาสนาให้สถาพรต่อไป
ขออานิสงส์อันเกิดจากกุสลเจตนาอันบริสุทธิ์ในการจัดพิมพ์หนังสือนี้ จงมีแก่ข้าพเจ้า ญาติมิตร และคณะผู้จัดทำชุดก่อน ตลอดจนพุทธศาสนิกชนโดยทั่วกันเทอญ
นายศักดิ์ชาย อิสสะอาด ผู้พิมพ์ ๒๓ ต.ค. ๒๕๔๕
ประวัติพระเจ้าแสนสามหมื่น
พระเจ้าแสนสามหมื่น สร้างในสมัยเชียงแสนเป็นราชธานี ซึ่งประมาณ ๘๐๐ ปีมาแล้ว เจ้าอนุวงษ์แห่งนครเวียงจันทน์ได้อัญเชิญพระเจ้าแสนสามหมื่น มาประดิษฐ์สถานไว้ในหอไตร(เวียงจันทน์)เป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว
รูปและขนาดของพระเจ้าแสนสามหมื่น
๑. ความกว้างของบัลลังก์ ชั้นที่ ๑ ๑๙ นิ้ว
๒.ความกว้างของบัลลังก์ ชั้นที่ ๒ ๑๗ นิ้ว
๓. วัดรอบบัลลังก์ ๓๒ นิ้ว
๔. หน้าตักปฏิดากรณ์ ๑๑ นิ้ว
๕. วัดรอบต้วรวมทั้งสองแขน ๑๗.๕ นิ้ว
๖. วัดรอบคอ ๖.๕ นิ้ว
๗. ใบหูยาว ๓ นิ้ว
๘. หน้าผากกว้าง ๒.๕ นิ้ว
๙. หน้าผากจรดปลายคาง ๓ นิ้ว
๑๐.ยอดเศียรยาว ๔ นิ้ว
๑๑. จากบัลลังก์ชั้นที่ ๑ ถึงเศียรสูง ๓๒ นิ้ว
๑๒. หน้าอกระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง ๒ นิ้ว
ลักษณะทั้งหมดนี้วัดไว้เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อปกป้องการสูญหาย กรรมการวัดทั้งหมดและชาวบ้านโซ่ ได้พร้อมกันวัดไว้เพื่อเป็นหลักฐานเพื่อ เป็นอนุสรณ์ของพระพุทธศาสนาต่อไป
หลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่น : ได้มาอยู่วัดนิโคตร(วัดมณีโคตร) บ้านปากห้วยหรือบ้านปากน้ำ ปัจจุบันคืออำเภอโพนพิสัย ซึ่งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๒๓ ชาวบ้านโส่หรือชาวโซ่ ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในบ้านโซ่ปัจจุบัน ประมาณ ๒๐–๓๐ หลังคาเรือน ครั้นต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ชาวบ้านปากน้ำคุ้มวัดจุมพล อำเภอโพนพิสัยในปัจจุบันได้อพยพครอบครัวมาอยู่ร่วมกับชาวบ้านโส่หรือโซ่ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมห้วยซำ ปัจจุบันคือท้ายอ่างเก็บน้ำด้านทิศตะวันตก ในเวลาต่อมาเห็นว่าบ้านเรือนจะเจริญรุ่งเรืองไปเรื่อย ๆ และสถานที่ตั้งหมู่บ้านก็เป็นที่ต่ำ ไม่พอที่จะขยายบ้านเรือนออกไป จึงพากันย้ายครอบครัวหาที่ตั้งใหม่ และได้พบวัดเก่าแก่โบราณวัดหนึ่งทรุดโทรมมาก แต่ใบเสมายังอยู่ครบจึงพากันบูรณและปฏิสังขรณ์วัดขึ้นมาใหม่ ในตอนนั้นบริเวณวัดเป็นป่าดงดิบมีสัตว์ป่าดุร้ายอยู่มากดังนั้นพวกชาวบ้านจึงได้พากันสร้างบ้านอยู่ไกล้กับวัด จนต่อมาเมื่อหมู่บ้านได้เจริญขึ้น มีผู้คนอพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้นพระอธิการจันที มังศรี เห็นว่ายังไม่มีพระประธานอยู่ประจำโบสถ์ จึงเดินทางไปอัญเชิญพระเจ้าแสนสามหมื่นซึ่งขณะนั้นประดิษฐ์สถานอยู่ที่วัดนิโคตร ที่วัดนิโคตรนี้มีพระแสนกับพระเสียงประดิษฐ์สถานอยู่ ซึ่งตามประวัติเดิมนั้นที่นครเวียงจันทน์ในสมันนั้นพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก และในขณะนั้นชาวลาวและชาวไทยมีความสัมพันธิ์อันดีต่อกัน จึงมอบพระพุทธรูปให้แก่ชาวไทย คือพระศุกร์ พระเสริม พระใส พระแสน และพระเสียง โดยได้อัญเชิญลงแพล่องมาตามลำน้ำงึม เหตุที่นำแพล่องมาตามลำน้ำงึมนั้น เพราะที่เวียงจันทน์นั้นทำสงครามกับข้าศึกอยู่จึงหลบข้าศึกล่องแพลงมาเรื่อย ๆ ก็เกิดแพแตกแท่นพระศุกร์ ตกลงไปในน้ำ ที่บริเวณนั้นชาวบ้านจึงเรียกว่าบ้านเวิ่นแท่นและเมื่อล่องเรือมาถึงปากน้ำงึม เกิดแพแตกอีกคราวนี้พระศุกร์ได้ตกลงน้ำ แต่เมื่อจะนำพระศุกร์ที่ตกน้ำขึ้นแพก็ไม่สามารถนำขึ้นมาได้ไม่ว่าจะใช้วิธีใดๆก็ตามและต่อมาพระศุกร์ก็ได้สูญหายไปไม่มีผู้ใดพบเห็นอีก และที่บริเวณพระศุกร์ตกน้ำนั้นเรียกว่าเวินศุกร์ ต่อมาเมื่อซ่อมแพเสร็จแล้วจึงนำแพล่องมาถึงโพนพิสัย ชาวโพนพิสัยจึงอัญเชิญพระเจ้าแสนสามหมื่นกับพระเสียงไว้ที่วัดนิโคตร และเมื่อแพได้ล่องมาถึงหนองคายชาวหนองคายจึงได้อัญเชิญพระใสประดิษฐ์สถานไว้ที่วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระเสริมนั้นได้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐ์สถานที่วัดประทุมวรารามกรุงเทพฯ เมื่อเจ้าอธิการจันที มังศรีได้ไปอัญเชิญพระเจ้าแสนสามหมื่นจากโพนพิสัยมาประดิษฐ์สถานไว้ที่บ้านโซ่ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ครั้นต่อมา พ.ศ. ๒๔๖๒ พระเจ้าแสนสามหมื่นได้ถูกคนร้ายขโมยไปโดยหลบหนีไปทางบ้านหนองยอง ตำบลหนองยอง อำเภอปากคาดในปัจจุบัน โดยคนร้ายได้นำพระเจ้าแสนสามหมื่นไปซ่อนไว้ใต้ต้นดอกเตยนอกหมู่บ้านไกล้กับบ่อน้ำ ซึ่งในเวลานั้นได้มีหญิงชาวบ้านออกไปตักน้ำพร้อมกับสุนัขหลายตัวเมื่อไปถึงใต้ต้นดอกเตยที่คนร้ายซ่อนพระเจ้าแสนสามหมื่นไว้สุนัขก็พากันส่งเสียงเห่าแต่หญิงนางนั้นก็ไม่ได้สนใจ พอกลับมาตักน้ำอีกรอบพวกสุนัขก็ยังเห่าไม่หยุด จึงได้เข้าไปดูเห็นพระเจ้าแสนสามหมื่นถูกซ่อนอยู่ใต้ต้นดอกเตย นางตกใจกลัวจึงรีบไปบอกชาวบ้านพวกชาวบ้านก็พากันอัญเชิญไปไว้ที่วัดแล้วก็ประกาศหาเจ้าของ เมื่อชาวบ้านโซ่ทราบข่าวก็ตามไปดูปรากฏว่าเป็นหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นจริงจึงได้อัญเชิญกลับมาไว้ที่วัดสังขลิการามเช่นเดิม
ต่อมาเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ พระเจ้าแสนสามหมื่นได้ถูกคนร้ายขโมยไปอีกครั้งซึ่งครั้งนี้คนร้ายได้หลบหนีไปทางบ้านหนองท่มท่ากะดัน เขตอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร โดยนำไปซ่อนไว้ในน้ำห้วยมาย แล้วต่อมาก็นำไปไว้ที่บ้านของตนเอง ที่อำเภอสว่างแดนดิน พอรุ่งเช้าคนร้ายก็เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ภรรยาได้นำพระเจ้าแสนสามหมื่นไปฝากไว้ที่วัดใกล้ๆบ้าน พอตกกลางคืนเจ้าอาวาสไหว้พระสวดมนต์เสร็จก็เข้านอนุร่งเช้าตื่นขึ้นมาก็ต้องแปลกใจเพราะนอนเอาหัวลงปลายเท้าและเอาเท้าขึ้นไปเกยหมอนด้วยเหตุนี้เจ้าอาวาสจึงนำพระเจ้าแสนสามหมื่นไปฝากไว้ที่สถานีตำรวจอำเภอสว่างแดนดิน ในคืนนั้นนักโทษที่คุมขังอยู่ได้หนีออกไปโดยไม่มีร่องรอยการงัดกุญแจเลย ทำให้ตำรวจบนโรงพักต่างก็กล่าวหาซึ่งกันและกันว่าเป็นผู้ปล่อยให้นักโทษหลบหนีไป แต่เมื่อตำรวจพากันไปอธิฐานต่อหน้าพระเจ้าแสนสามหมื่นขอให้นักโทษที่หลบหนีไปนั้นอย่าได้หนีไปไกล วันต่อมาตำรวจก็จับนักโทษกลับมาได้โดยพบว่าเดินวนเวียนอยู่ในตลาดไม่สามารถหาทางออกไปจากตลาดได้ และเมื่อจับนักโทษกลับมาแล้วได้ก็สอบถามว่าหนีออกไปได้อย่างไร ซึ่งนักโทษก็ตอบว่าลูกกรงที่ขังอยู่นั้นแยกห่างออกจากกันเป็นศอกสามารถเดินเข้าออกได้อย่างสบาย ด้วยอภินิหารของหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นจึงทำให้ตำรวจและชาวบ้านเกรงกลัวประกาศหาเจ้าของ ซึ่งต่อมาชาวบ้านโซ่ทราบข่าวก็ได้ส่งหลวงปู่ป้อกับนายเผือก ตรีรัตน์ พร้อมผู้ติดตาม ๔-๕ คน ไปรับกลับมา แต่พอนำหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นไปขึ้นรถก็ไม่สามารถติดเครื่องยนต์ได้ ดังนั้น คณะผู้ติดตามจึงเก็บดอกไม้แต่งเป็นขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ อัญเชิญหลวงพ่อฯพร้อมเทวดาผู้รักษาท่านจึงสามารถเดินทางกลับมาได้ เมื่อมาถึงก็ได้ประกาศให้ชาวบ้านมาสงฆ์น้ำท่าน ก็เกิดอัศจรรย์คือฝนตกลงมาทั้งที่แดดยังออกอยู่ หลังจากนั้นก็อัญเชิญหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นประดิษฐ์สถานที่วัดสังขลิการามจนถึงทุกวันนี้
ภาคอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาร(เป็นความเชื่อส่วนบุคคล กรุณาใช้วิจารณญาณ)
๑. เมื่อมีการสาบานต่อหลวงพ่อแสนสามหมื่น ถ้าผิดคำสาบาน จะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงหรือมีอันเป็นไปภายใน ๗–๑๕ วัน
๒. คนร้ายขโมยหลวงพ่อแสนสามหมื่นไป ๒ ครั้ง ต่อมาปรากฏว่าคนร้ายที่ขโมยไปเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุทุกคน
๓. หากเกิดวิกฤตการณ์ขึ้นที่บ้านโซ่ ชาวบ้าน จะทำพิธีบวงสรวงพระเจ้าแสนสามหมื่นแล้ว เหตุการณ์ต่างๆ จะกลับคืนสู่ปรกติ
๔. บรรดาผู้พบเห็นทั้งหลาย หากเคารพบูชาจะเกิดผลดี หากหมิ่นประมาทจะมีอันเป็นไป
๕. การถ่ายภาพพ่อแสนสามหมื่น สมัยเมื่อมีการถ่ายภาพครั้งแรกๆมักถ่ายไม่ติดจนกล้องพัง ต่อมาชาวบ้านได้ทำพิธีขอจึงถ่ายภาพติดจนถึงทุกวันนี้



เหรียญดี ราคาเบาๆ น่าสะสม หลังพระครูพิศาลสาธุกิจ เนื้อทองแดง รับประกันพระแท้100% พระตรงตามในภาพทุกประการครับ
ราคาเปิดประมูล10 บาท
ราคาปัจจุบัน20 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 13 พ.ค. 2562 - 22:09.16
วันปิดประมูล พฤ. - 30 พ.ค. 2562 - 14:05.36 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 20 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
20 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พ. - 29 พ.ค. 2562 - 14:05.36
กำลังโหลด...
Top