เหรียญหลวงพ่อในกุฏิ วัดกุยบุรี เหมือนเดิมครับรอบนี้เริ่ม20บาท EI.123 - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิภาคใต้

เหรียญหลวงพ่อในกุฏิ วัดกุยบุรี เหมือนเดิมครับรอบนี้เริ่ม20บาท EI.123

เหรียญหลวงพ่อในกุฏิ วัดกุยบุรี  เหมือนเดิมครับรอบนี้เริ่ม20บาท EI.123
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหลวงพ่อในกุฏิ วัดกุยบุรี เหมือนเดิมครับรอบนี้เริ่ม20บาท EI.123
รายละเอียดเป็นตำนานของชาวกุยบุรี ที่ขอบอกเล่าในอภินิหารแห่งความศักดิ์สิทธิ์

หลวงพ่อในกุฏิวัดกุยบุรี เป็นเกจิอาจารย์ผู้วิเศษองค์หนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หรือเป็นอาจารย์ผู้วิเศษทางภาคใต้ก็ว่าได้ ตามตำนานและคำบอกเล่ากันต่อๆ มาว่า เดิมท่านชื่อมาก หรือบุญมาก เป็นชาวปักษ์ใต้ แต่ไม่ทราบหรือปรากฏแน่นอนว่าท่านมีถิ่นฐานอยู่ที่ไหน ได้มีเรื่องเล่ากันมาเป็น ๒ นัยด้วยกันคือ นัยหนึ่งว่าเป็นคนตำบลนาทุ่งอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร อีกนัย หนึ่งว่า เป็นชาวหลังสวนนั้นเอง ทั้ง ๒ นัยที่ว่ามานี้ ก็หาได้มีหลักฐานปรากฏชัดเจนแน่นอนไม่ แต่ที่แน่ นอนที่สุดนั้น ก็คือ ท่านเป็นชาวปักษ์ใต้แน่นอน หลวงพ่อในกุฏิ มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันมาทั้งหมด ๔ คนด้วยกัน มีพี่ชาย ๒ และมีน้องสาว ๑ คน ส่วนตัวท่านเป็นลูกคนที่ ๓ ของบิดามารดาท่านเกิดในราวปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๐๔ สมัยแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พี่ชายของท่านคนหนึ่งชื่ออินทร์ คนรองชื่อม่วง ส่วนน้องสาวคนสุดท้องนั้นว่ากันว่าชื่อพริ้มเพรา ตระกูลของหลวงพ่อเป็นตระกูลที่มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก

ผู้ชายในตระกูล เมื่อมีอายุครบ ๒๐ ปีแล้วจะต้องบวชกันทุกคน พี่ชายคนโตที่ชื่ออินทร์ เมื่อได้มีอายุครบก็บวช คนรองที่ชื่อม่วง ครั้นเมื่ออายุครบก็บวช หลวงพ่อในกุฏิเองก็บวชเช่นเดียวกัน สันนิษฐานว่าหลวงพ่อในกุฏิ บวชในราวปี พ.ศ.๒๓๒๔ หรือ พ.ศ.๒๓๒๕ ใน ๒ ปีนี้ ปีฉลู หรือปีขาล นั่นเอง

ตระกูลของหลวงพ่อในกุฏิทั้ง ๓ พี่น้อง เมื่อบวชแล้วก็ได้ศึกษาเล่าเรียนกันมา ตามยุคตามสมัย ที่มีการศึกษาอยู่ในสมัยนั้น พอมีความรู้พระธรรมวินัยพอที่จะรักษาตัวได้แล้ว ก็พยายามศึกษาเล่าเรียนในทางเวชกรรมและในทางไสยศาสตร์ และวิปัสสนากรรมมัฏฐานอีกทางหนึ่งด้วย จนสามารถชำนิชำนาญแตกฉานกันทุกองค์ทั้ง ๓ พี่น้อง แต่ละองค์ล้วนพอที่จะเป็นเกจิอาจารย์ของขลังได้กันทุกองค์ เมื่อได้อยู่จำพรรษาที่วัดเดิมกันมาตามสมควรแล้ว จึงได้ชักชวนกันเดินธุดงค์ขึ้นมาทางเหนือ พักแรมกันเรื่อยมาตามสถานที่ต่างๆ ที่นั้นบ้างที่นี่บ้าง แห่งละพรรษาหนึ่งบ้าง จนได้เดินทางมาถึงเมืองกำเนิดนพคุณหรือบางสะพานในปัจจุบัน พี่ชายองค์ใหญ่ คือหลวงพ่ออินทร์ ท่านได้เห็นพื้นที่และทำเลที่นั่นอุดมสมบูรณ์ดีพอที่จะพักพิงอยู่อาศัยในที่นั้นได้ ท่านจึงขอพักอยู่จำพรรษา ณ ที่นั้น ต่อมาท่านได้เป็นที่เลื่อมใสของชาวเมืองกำเนิดนพคุณ จนท่านได้ถึงการมรณภาพอยู่ ณ วัดนั้นเอง ชาวเมืองกำเนิดนพคุณจึงได้ช่วยกันสร้างรูปเหมือนของท่านไว้สักการบูชาและปิดทอง ปัจจุบันนี้รูปของท่านได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดเขาโบสถ์ อำเภอบางสะพาน
เมื่อเหลืออีกสองพี่น้อง คือหลวงพ่อม่วงกับหลวงพ่อมาก หรือหลวงพ่อในกุฏิ ทั้งสองก็ได้ธุดงค์กันขึ้นมาตามลำดับ จนได้มาถึงถ้ำแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ระหว่างบ้านกรูดกับทับสะแก หลวงพ่อม่วงท่านเห็นถ้ำเข้าก็พอใจในถ้ำนั้น ท่านเห็นเป็นถ้ำที่สวยดี จึงได้บอกกับหลวงพ่อในกุฏิซึ่งเป็นน้องชายว่า ขอพักอยู่จำพรรษา ณ ที่ถ้ำนั้น ถ้ำนั้นก็คือถ้ำคีรีวงศ์ใน ปัจจุบัน ซึ่งอยู่ไกลกับป้ายสถานีโคกตาหอม หลวงพ่อม่วงอยู่ที่นั้น ได้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในแถบนั้น ครั้นเมื่อได้ล่วงลับดับจิตไปแล้ว ประชาชนทั้งหลายจึงได้พร้อมใจกันปั้นรูปเหมือนของท่าน ไว้สักการบูชา และก็ได้ประดิษฐาน อยู่ที่ถ้ำคีรีวงศ์นั่นเอง ปัจจุบันถ้ำนั้นได้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาแล้วชื่อวัดถ้ำคีรีวงศ์ หลวงพ่อบุญมากหรือหลวงพ่อในกุฏิ ท่านเหลือเพียงองค์เดียวก็ได้ธุดงค์เรื่อยขึ้น มา พักผ่อนรอนแรมจำพรรษาตลอดมา จนกระทั่งได้เดินทางขึ้นมาถึงเมืองกุยบุรี สมัยนั้นกุยบุรียังเป็นเมืองอยู่ สันนิฐานว่าอยู่ในราว พ. ศ. ๒๓๔๐ กุยบุรียังมีเจ้าเมืองปกครอง ในขณะนั้นวัดกุยบุรีกำลังว่างเจ้าอา วาสปกครองวัด เจ้าเมืองกุยบุรี และประชาชนชาวเมืองกุยบุรีจึงได้อ้อนวอนและอาราธนาให้หลวงพ่อ ได้รับเป็นเจ้าอาวาสปก ครองวัดกุยบุรี

หลวงพ่อในกุฏิได้พิจารณาเห็นว่า วัดกุยบุรีนี้เป็นวัดเก่าวัดแก่ เป็นวัดที่คู่บ้านเมืองมาก่อน พร้อมทั้งได้เห็นทำเลที่ตั้งวัดอยู่ในที่เหมาะ สม และถูกลักษณะการสร้างวัดมีแม่น้ำกุยบุรีไหลผ่านทางด้านหลังวัด และตั้งอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน ที่พระภิกษุจะต้องออกไปบิณฑบาตในเวลาเช้า นับว่าเป็นสับปายะของผู้อยู่อาศัยถึงจะไม่ไกลจากหมู่บ้านแต่ก็ปราศ จากเสียงอื้ออึงเข้ามารบกวน สมเป็นที่หลีกอยู่ของสมณะผู้ใคร่หาความสงบ หลวงพ่อในกุฏิเป็นผู้ที่ใฝ่ใจ ในด้านหาความสงบทางจิตอยู่แล้ว จึงได้รับอาราธนาจากเจ้าเมือง และชาวกุยบุรีปกครองวัดกุยบุรีตลอดมา

หลวงพ่อในกุฏิเป็นผู้ที่มีเมตตาจิต ได้ช่วยเหลืออนุ เคราะห์ และสงเคราะห์ให้กับคนทุกเพศ ทุกวัยทุกชั้นทุกหมู่เหล่า ตลอดถึงลูกเล็กเด็กแดงได้รับความป่วยไข้ ก็ช่วยพ่นปัดและต้มหยูกต้มยาให้ ท่านช่วยสงเคราะห์ให้ด้วยจิตเมตตา อยู่ตลอดเวลา นับได้ว่าท่านได้เป็นที่พึ่งของปวงชนทั้งหลายจริงๆ เมื่อเป็นดังนี้ ชาวกุยบุรีจึงได้มีหลวงพ่อในกุฏิเป็นสรณะ เพิ่มขึ้นอีกองค์หนึ่ง นอกจากไตรสรณะคมน์
เริ่ม20บาท ทุกรายการ
ประมาณ200รายการครับ จะทยอยลงให้ทุกวันจนครบครับชอบองค์ไหน พิจารณาเลือกสรรตามชอบครับผม
คลิกที่ยูเซอร์เนม kobyoyo แล้วเลือกรายการตั้งประมูล ทุกรายการจะขึ้นมาให้ท่านเลือกครับ
ราคาเปิดประมูล10 บาท
ราคาปัจจุบัน50 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 06 ก.พ. 2555 - 21:18.10
วันปิดประมูล อ. - 07 ก.พ. 2555 - 22:44.57 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
ข้อมูลเพิ่มเติม #1 จ. - 06 ก.พ. 2555 - 21:21.44
เหรียญหลวงพ่อในกุฏิ วัดกุยบุรี  เหมือนเดิมครับรอบนี้เริ่ม20บาท EI.123
[เหรียญหลวงพ่อในกุฏิ
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 50 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
20 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) จ. - 06 ก.พ. 2555 - 22:44.57
30 บาท อ. - 07 ก.พ. 2555 - 08:35.11
40 บาท อ. - 07 ก.พ. 2555 - 22:05.42
50 บาท อ. - 07 ก.พ. 2555 - 22:36.19
กำลังโหลด...
Top