พระบูชาหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี - webpra

ประมูล หมวด:พระบูชา

พระบูชาหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี

พระบูชาหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี พระบูชาหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี พระบูชาหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี พระบูชาหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี พระบูชาหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระบูชาหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
รายละเอียดพระบูชาหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
กว้าง 3 นิ้ว ####พระปางป่าเลไลย์ประจำวันพุธกลางคืน### พระคู่บ้านคูเมือง มาแต่โบราณ เนื้อทองผสม สภาพสวยมาก รับประกันพระแท้
####คาถาบูชาหลวงพ่อโต นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ) โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตสะจิตตัง นะมามิหัง หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ “หลวงพ่อโต” ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารสูงเด่นเห็นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ องค์พระสูง 23.46 เมตร รอบองค์ 11.20 เมตร ภายในองค์พระพุทธรูปนี้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลาย จำนวน 36 องค์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณมาแต่โบราณกาล ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแลโปรดให้บูรณะวัดป่าเลไลยก์ เมื่อ พ.ศ. 1724 แสดงว่าแสดงว่าวัดนี้ได้สร้างมาแล้วก่อนหน้านั้น องค์พระประดิษฐานอยู่ในวิหารที่สูงใหญ่ มองเห็นเด่นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปางป่าเลไลยก์ขนาดใหญ่สูง 23 เมตรเศษ สร้างตามแบบศิลปอู่ทองรุ่นที่สอง ซึ่งเป็นศิลปะฝีมือสกุลช่างอู่ทองแท้ ๆ เดิมทีองค์พระประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง พระหัตถ์ขวาหัก ช่างได้สร้างวิหารครอบ โดยให้ผนังวิหารชิดกับพระหัตถ์ขวา ส่วนทางพระหัตถ์ซ้ายให้มีที่ว่าง ด้านหลังองค์พระสร้างชิดกับผนังวิหารทำให้แข็งแรง นับเป็นความชาญฉลาดของช่างเป็นอย่างยิ่ง มีผู้สันนิษฐานว่า เดิมเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง พระกรทั้งสองข้างหักหายไป ผู้ที่มาบูรณใหม่ได้ทำเป็นปางป่าเลไลยก์ตามที่นิยมกันในสมัยหลัง ลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุข้างขวาในท่าทรงรับของถวาย พระวิหารที่สร้างครอบองค์พระ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเห็นว่าที่หน้าบันของพระวิหาร มีพระราชลัญจกรประจำพระองค์ คือเป็นรูปพระมหามงกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ปรากฏอยู่ วัดป่าเลไลยก์เป็นที่คุ้นของคนทั่วไป เนื่องจากปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ขุนแผนเมื่อเยาวัยได้มาบวชเรียนที่วัดนี้ในชื่อว่าเณรแก้ว
ราคาเปิดประมูล1,200 บาท
ราคาปัจจุบัน1,200 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ300 บาท
วันเปิดประมูลอา. - 24 พ.ย. 2562 - 10:05.40
วันปิดประมูล อา. - 24 พ.ย. 2562 - 10:05.47 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,200 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ300 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดก่อนกำหนดโดยผู้ตั้งประมูล
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top