พระบูชาพระพุทธไชยชุมพล วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) จ.กาญจนบุรี - webpra

ประมูล หมวด:พระบูชา

พระบูชาพระพุทธไชยชุมพล วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) จ.กาญจนบุรี

พระบูชาพระพุทธไชยชุมพล วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) จ.กาญจนบุรี พระบูชาพระพุทธไชยชุมพล วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) จ.กาญจนบุรี พระบูชาพระพุทธไชยชุมพล วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) จ.กาญจนบุรี พระบูชาพระพุทธไชยชุมพล วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) จ.กาญจนบุรี
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระบูชาพระพุทธไชยชุมพล วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) จ.กาญจนบุรี
รายละเอียดพระบูชาพระพุทธไชยชุมพล วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) จ.กาญจนบุรี ฐานสูง ขนาดหน้าตัก 5.5 นิ้ว ฐานกว้าง 8.5 นิ้ว สูง 11 นิ้ว สภาพสวยสมบูรณ์มาก แบ่งให้เช่าบูชา 2,500 บาทนะคะ

Tel. 0819410767

Line id : jowtongdeelert



ประวัติความเป็นมาของวัดไชยชุมพลชนะสงคราม

วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) ตำบลบ้านใต้ อำเภอเมืองกาญจนบุรี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ด้านทิศตะวันออก อยู่ห่างทางใต้จากจุดแม่น้ำแคว ๒ แคว ไหลมาบรรจบกันประมาณ ๑๐ เส้น ตำบลที่ตั้งวัดอยู่เดิมเรียกว่า “ตำบลปากแพรก” ที่เรียก ดังกล่าว เนื่องจากแพรกแห่งลำน้ำทั้งสองคือ แควไทรโยค (แควน้อย) กับแควศรีสวัสดิ์ (แควใหญ่) ไหลมาบรรจบรวมเป็นสายเดียวกัน เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแม่กลอง จึงเรียกตำบลนี้ว่า “ตำบลปากแพรก” มาแต่โบราณ

ที่มาของชื่อ " วัดใต้ "

ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๘ พระเจ้าปะดุง (พม่า) ยกทัพใหญ่มาตีเมืองไทย กำลังส่วนใหญ่ของพม่าเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ตรงเข้ามายังเมืองกาญจนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ยกทัพไปตั้งรับที่ตำบลลาดหญ้า ริมเขาชนไก่ ลงมาตั้งที่ตำบลปากแพรกแห่งนี้ ทางด้านฝั่งซ้ายของแม่น้ำ ตรงที่แควทั้งสองไหลมาบรรจบกันนี้เอง ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๗๔ ในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดฯ ให้ก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นเป็นอย่างถาวร ห่างจากริมริมฝั่งประมาณ ๓ เส้นเศษ(ปรากฏซากกำแพงเมืองบางส่วนในปัจจุบันนี้)

ตั้งแต่นั้นมา วัดและหมู่บ้านที่อยู่ในบริเวณตัวเมือง วัดใดบ้านใดที่อยู่ด้านเหนือเมืองชาวบ้านก็เรียกว่า “วัดเหนือ บ้านเหนือ” วัดใดบ้านใดที่อยู่ด้านใต้เมืองชาวบ้านก็เรียกว่า “วัดใต้ บ้านใต้” บ้านใต้ตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา ต่อมาภายหลังตำบลปากแพรกได้แยกเขตการปกครองออกเป็น ๓ ตำบลได้แก่ตำบลบ้านเหนือ ตำบลบ้านใต้ ตำบลปากแพรก จนถึงปัจจุบันนี้ (ตำบลบ้านเหนือและตำบลบ้านใต้อยู่ในเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี)

อนึ่งวัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) นับเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดกาญจนบุรีมาแต่โบราณกาลวัดหนึ่ง หาประวัติเป็นที่แน่นอนไม่ได้ว่าสร้างมาตั้งแต่เมื่อใด ใครเป็นผู้สร้างกันแน่ อาศัยทราบจากผู้เฒ่าเล่าต่อกันมาว่า *"พระยาตาแดง" เป็นผู้สร้าง แต่จะเป็นการสร้างขึ้นใหม่ หรือซ่อมแซมบูรณะต่อเติมจากของเดิมซึ่งมีอยู่มาก่อนแล้วก็ได้ ทั้งนี้เพราะทราบกันแต่คำบอกเล่าต่อๆกันมาเท่านั้น จะเท็จจริงประการใดยังไม่มีหลักฐานหรือตำนานการสร้างวัดนี้

* พระยาตาแดง หรือ พระยากาญจนบุรีในสมัยนั้นชื่อพระยาประสิทธิสงคราม นามเต็มว่า พระยาประสิทธิสงครามรามภักดีศรีพิเศษประเทศนิคมภิรมย์ราไชยสวรรค์ พระยากาญจนบุรี นามเดิมไม่ปรากฏแต่มีฉายาตามที่เรียกกันว่า “พระยาตาแดง หรือ เจ้าเมืองตาแดง” เดิมเป็น ที่พระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจและได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีคนที่ ๒ ของเมืองกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ พระยาประสิทธิสงครามหรือเจ้าพระยาตาแดงผู้นี้เป็นผู้ดำเนินการสร้างป้อมปราการและกำแพงขึ้นใหม่และเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ปรากฏในอักษรได้จารึกหลักศิลาเมืองกาญจนบุรี อันเป็นประกาศพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓

วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) เป็นวัดสำคัญทางประวัติศาสตร์ระหว่างสงครามไทยรบกับพม่ามาแต่โบราณ ส่วนมากทัพพม่าจะต้องยกทัพมาทางด่านพระเจดีย์ ๓ องค์ ผ่านตรงเข้าจังหวัดกาญจนบุรีแทบทุกครั้ง และกองทัพไทยที่ยกออกไปต่อต้านทัพพม่าก็จะต้องมาพักแรมประชุมพลที่ตำบลปากแพรก หรือบริเวณอาณาเขตวัดไชยชุมชนะสงคราม แทบทุกครั้งไป ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี ไทยได้ทำสงครามกับพม่าและมีการสู้รบกันที่จังหวัดกาญจนบุรี ๒ ครั้ง ดังนี้

๑.ไทยรบชนะพม่าที่ทุ่งลาดหญ้า (กาญจนบุรีเดิม) ช่วงสงคราม ๙ ทัพ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ก่อนออกศึกสงครามที่แล้วจะต้องได้รับชัยชนะทุกครั้งไป

๒.ไทยรบชนะพม่าที่บ้านท่าดินแดง (ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี ในปัจจุบัน) พ.ศ. ๒๓๒๙ในการรบกับพม่าทั้งสองครั้งนี้ ตามตำนานประวัติศาสตร์ ได้บันทึกไว้ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) พร้อมด้วยพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้ทรงประชุมพลเหล่าทหารกล้า ณ ตำบลปากแพรก (บริเวณวัดไชยชพลชนะสงคราม) ก่อนออกศึกสงครามทุกครั้ง แล้วจึงยกกองทัพออกสู่สมรภูมิรบ ได้รับชัยชนะทั้ง ๒ ครั้ง เมื่อมีการประชุมพลที่นี่แล้วออกศึกสงครามได้รับชัยชนะกลับมาทุกครั้ง จึงเป็นที่มาแห่งนามวัดว่า “วัดไชยชุมพลชนะสงคราม” อันหมายถึงเมื่อมีการประชุมพลก่อนออกศึกสงครามที่แล้วจะต้องได้รับชัยชนะทุกครั้งไป

ถึงปากแพรกซึ่งเป็นที่ประชุมพล พร้อมพหลพลนิกรน้อยใหญ่
ค่ายคูเขื่อนขัณฑ์ทั้งนั้นไซร์ สารพัดแต่งไว้ทุกประการ
จึงรีบรัดจัดโดยขบวนทัพ สรรพด้วยพยุหทวยหาญ
ทุกหมู่หมวดกันไว้พร้อมการ ครั้นได้ศุภวารเวลา
ให้ยกรื่นตามทางไทรโยคสถาน ทั้งบกเรือล้วนทหารอาสา
จะสังหารอริราชพาลา อันสถิตอยู่ยังท่าดินแดง

ที่วัดไชยชุมพลชนะสงคราม มีพระเจดีย์เก่าแก่องหนึ่งอยู่ใกล้พระอุโบสถหลังเก่า ตั้งอยู่ริมตลิ่งพระเจดีย์องค์นี้มีชื่อทางโบราณคดี กรมศิลปากรได้จัดขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไว้ (ตามประกาศครั้งที่ ๑ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ลงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘) ว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เรียกว่า “เจดีย์โบราณวัดไชยชุมพลชนะสงคราม” ในสมัยโบราณกองทัพไทยได้เคยชุมพลเหล่าทหารที่ทะแกล้วร่วมพิธีตั้งศาลเพียงตาบวงสรวงเทพารักษ์ทางไสยศาสตร์ ก่อนที่จะออกไปรบประจันกับเหล่าศัตรู โดยชุมชุมร่วมพิธีกัน ณ ตรงที่ตั้งพระเจดีย์องค์นี้ แล้วยกออกไปรบกับพม่าข้าศึกได้ชัยชนะมาทุกๆครั้ง จึงได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นไว้เพื่อเป็นนิมิตฉลองชัย คำว่า “ไชยชุมพล” แสดงว่าพระเจดีย์นี้สร้างขึ้นในที่ชุมพล มิใช่สร้างขึ้นที่รบชนะเหมือนพระเจดีย์ยุทธหัตถี แต่เมื่อชุมพลในที่นี้แล้วยกทัพไปก็มีชัยกลับมา แต่เดิมวัดไชยชุมพลชนะสงครามบรรดาแม่ทัพนายกองของกองทัพไทยในสมัยที่ทำการรบข้าศึกได้ชัยชนะในครั้งนั้นคงเห็นว่าควรย้ายเลื่อนวัดขึ้นมาอยู่ในบริเวณเดียวกันกับเจดีย์ จึงได้เคลื่อนย้ายกันขึ้นมา และได้ขนานนามวัดให้เหมาะสมตามชัยนิมิตนั้นว่า “วัดไชยชุมพลชนะสงคราม”



ขอบพระคุณข้อมูลจาก http://kri.onab.go.th/
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน1,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลส. - 07 ธ.ค. 2562 - 21:59.07
วันปิดประมูล ศ. - 27 ธ.ค. 2562 - 21:59.07 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
เบอร์ติดต่อ 081-9410767
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top