เหรียญเสมาหลวงปู่คำบุ หลังพระนารายณ์ทรงครุฑยึดนาค วัดกุดชมภู - เหรียญที่ออกแบบได้ลงตัว งดงาม เหมือนห - webpra

ประมูล หมวด:หลวงปู่ญาท่านสวน วัดนาอุดม - หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง – หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู

เหรียญเสมาหลวงปู่คำบุ หลังพระนารายณ์ทรงครุฑยึดนาค วัดกุดชมภู - เหรียญที่ออกแบบได้ลงตัว งดงาม เหมือนห

เหรียญเสมาหลวงปู่คำบุ หลังพระนารายณ์ทรงครุฑยึดนาค วัดกุดชมภู - เหรียญที่ออกแบบได้ลงตัว งดงาม เหมือนห เหรียญเสมาหลวงปู่คำบุ หลังพระนารายณ์ทรงครุฑยึดนาค วัดกุดชมภู - เหรียญที่ออกแบบได้ลงตัว งดงาม เหมือนห
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญเสมาหลวงปู่คำบุ หลังพระนารายณ์ทรงครุฑยึดนาค วัดกุดชมภู - เหรียญที่ออกแบบได้ลงตัว งดงาม เหมือนห
รายละเอียดเหรียญเสมาหลวงปู่คำบุ หลังพระนารายณ์ทรงครุฑยึดนาค วัดกุดชมภู - เหรียญที่ออกแบบได้ลงตัว งดงาม เหมือนหลวงปู่มากที่สุด ทรงซึ่งความหมายและความเข้มขลัง

เหรียญเนื้ออัลปาก้า หน้ากากทองเหลือง
เหรียญหลวงปู่คำบุ คุตตฺจิตโต หลังพระนารายณ์ทรงครุฑยึดนาค
วัดกุดชมภู จ.อุบลราชธานี



"หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต" เป็นพระสงฆ์ที่เล่าขานกันว่าทรงคุณพุทธาคมเข้มขลัง แห่งวัดกุดชมภู ต.กุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ท่านเป็นศิษย์สายตรงของพระครูวิโรจน์รัตโนมล (หลวงปู่รอด นันตโร) แห่งวัดทุ่งศรีเมือง และอดีตเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี พระเกจิอาจารย์ผู้มีความเข้มขลังมีพลังจิตสูง

หลวงปู่คำบุถือกำเนิดเกิด ณ บ้านกุดชมภู เมื่อวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2465 ในตระกูล คำงาม ครอบครัวทำนาทำสวน มีชื่อ-นามสกุลเดิมว่า คำบุ คำงาม ท่านเป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน กาลต่อมาท่านเจริญวัยขึ้น มีอายุอันสมควร บิดามารดาได้ให้บรรพชาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดกุดชมภู โดยมี พระครูญาณวิสุทธิคุณ (กอง) วัดตากโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังบวชท่านได้มีโอกาสเดินทางไปกราบไหว้ พระครูวิโรจน์รัตโนมล (หลวงปู่รอด นันตโร) วัดทุ่งศรีเมือง เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีและได้รับความเมตตาโอบอ้อมอารีจากหลวงปู่รอดเป็นอย่างยิ่ง

อุปนิสัยของสามเณรคำบุ เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้จึงมีโอกาสได้พบกับพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง (ผู้เป็นศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่รอด นันตโร แห่งวัดทุ่งศรีเมือง) พระอาจารย์รอดเป็นคนบ้านเดียวกันกับสามเณรคำบุ จึงมีความคุ้นเคยกันมาก่อน ด้วยความที่สามเณรคำบุเป็นผู้มีนิสัยสงบเรียบร้อย ใจเย็นมีเหตุมีผล เหตุนี้เองพระอาจารย์รอด จึงได้ถ่ายทอดวิทยาคมคาถาต่างๆ ที่ได้ร่ำเรียนมาแก่สามเณรคำบุตั้งแต่นั้นเรื่อยมา จวบจนถึงวัยอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จึงอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.2486 ได้รับฉายาว่า "คุตตจิตโต" มีพระครูสาธุธรรมจารี (สา) วัดดอนจิก เป็นพระอุปัชฌาย์

ครั้นบวชเป็นพระแล้ว หลวงปู่คำบุท่านยังคงแวะเวียนไปร่ำเรียนสรรพวิชาเวทมนตร์คาถาอาคมต่างๆ กับพระอาจารย์รอด ที่วัดบ้านม่วงอยู่เป็นประจำ ได้ศึกษาศาสตร์วิชาต่างๆ จากตำรา จนมีความชำนาญแตกฉาน จึงออกเดินจารึกธุดงค์เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ ได้มีโอกาสร่ำเรียนสายวิชาวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมต่างๆ ในสายของท่านสำเร็จลุน แห่งวัดเวิ่นไชย เมืองปาเซ นครจำปาสัก พระผู้ทรงอภิญญา

พระครูพิบูลนวกิจ หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู มรภาพด้วยอาการสงบ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา14:51 นาที ณ.โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุได้ 91ปี คณะศิษยานุศิษย์จะเคลื่อนสรีระสังขารหลวงปู่ออกจากโรงพยาบาลศิริราชในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09.00 น. ไปยังวัดวิหารเจดีย์ศรีชมพู (วัดกุดชมภู) อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

--------------------------------------------------

การจารอักขระธรรมลงแผ่นหลังของหลวงปู่คำบุ ถือเป็นกุศโลบายทางธรรมเพื่อบ่งบอกถึง "ความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งความตายหรือความหายนะ" ดังนั้นควรตั้งมั่นไม่ให้อยู่ในความประมาท ที่สำคัญถ้าท่านได้จารอักขระธรรมได้ครบถึง 7 ครั้ง ว่ากันว่า อักขระธรรมจะฝังลึกถึงกระดูก และถ้าประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งของครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัดแล้ว จะอยู่ยงคงทน ต่อศาสตราวุธทั้งปวง

สำหรับพระเครื่อง-วัตถุมงคลของหลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู ที่สร้างขึ้นมานั้นมีมากมายหลายรุ่น รวมทั้งเหรียญเสมาหน้ากาก หลังพระนารายณ์ทรงครุฑยึดนาค ที่มีประสพการณ์กล่าวขานกันอย่างมาก

(ขอขอบคุณ แหล่งข้อมูลต่าง ๆ และขออนุญาติเผยแพร่เกียรติคุณของครูบาอาจารย์ ด้วยความเคารพ)
ราคาเปิดประมูล90 บาท
ราคาปัจจุบัน90 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลพฤ. - 20 ก.พ. 2563 - 19:39.03
วันปิดประมูล พ. - 11 มี.ค. 2563 - 19:39.03 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
cunchit (89) (-1) 119.63.67.17
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 90 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top