ตะกรุดโทน หลวงพ่อแพ ปี2522 เนื้อตะกั่วถักเชือกลงรักปิดทอง วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี (ขนาด3นิ้ว) พร้อมบ - webpra

ประมูล หมวด:เครื่องรางของขลัง

ตะกรุดโทน หลวงพ่อแพ ปี2522 เนื้อตะกั่วถักเชือกลงรักปิดทอง วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี (ขนาด3นิ้ว) พร้อมบ

ตะกรุดโทน หลวงพ่อแพ ปี2522 เนื้อตะกั่วถักเชือกลงรักปิดทอง วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี (ขนาด3นิ้ว) พร้อมบ ตะกรุดโทน หลวงพ่อแพ ปี2522 เนื้อตะกั่วถักเชือกลงรักปิดทอง วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี (ขนาด3นิ้ว) พร้อมบ ตะกรุดโทน หลวงพ่อแพ ปี2522 เนื้อตะกั่วถักเชือกลงรักปิดทอง วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี (ขนาด3นิ้ว) พร้อมบ ตะกรุดโทน หลวงพ่อแพ ปี2522 เนื้อตะกั่วถักเชือกลงรักปิดทอง วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี (ขนาด3นิ้ว) พร้อมบ

บัตรรับประกันพระแท้
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง ตะกรุดโทน หลวงพ่อแพ ปี2522 เนื้อตะกั่วถักเชือกลงรักปิดทอง วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี (ขนาด3นิ้ว) พร้อมบ
รายละเอียดตะกรุดโทน หลวงพ่อแพ ปี2522 เนื้อตะกั่วถักเชือกลงรักปิดทอง วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี (ขนาด3นิ้ว) พร้อมบัตรรับรอง

ตะกรุดโทน หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี เนื้อตะกั่วถักเชือกลงรักปิดทอง ขนาด 3 นิ้ว จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2522 สภาพสวยสมบูรณ์ ไม่ผ่านการใช้ มาพร้อมบัตรรับรองพระเครื่องเพื่อยืนยันความแท้ และไม่มีหัก ซ่อม หรือตกแต่งเพิ่มเติมใดๆทั้งสิ้น ท่ามกลางของเก๊หลากฝีมือที่เกลื่อนสนามอยู่ในเวลานี้ครับ

หลวงพ่อแพ เขมังกโร เป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรี ท่านมีนามเดิมว่า "แพ ใจมั่นคง" เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ตรงกับ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง ณ บ้านสวนกล้วย เลขที่ ๙๓/๓ หมู่ที่ ๓ ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี บิดาชื่อ นายเทียน ใจมั่นคง มารดาชื่อ นางหน่าย ใจมั่นคง

เมื่อบิดามารดาเสียชีวิต จึงย้ายมาอยู่กับบิดามารดาบุญธรรมที่วัดใหม่ อ.ท่าช้าง ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพิกุลทอง ตอนเด็กเรียนเขียนอ่านที่โรงเรียนประจำหมู่บ้าน แล้วเข้ากรุงเทพฯ เพื่อบวชเป็นสามเณรและศึกษาเล่าเรียนด้านพระปริยัติธรรมกับพระอาจารย์เขมร ที่วัดชนะสงคราม ท่านมีความใส่ใจและขวนขวายในการศึกษา อายุเพียง 14 ปีก็สามารถสอบได้เปรียญ 3 ประโยค

เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้รับฉายา "เขมังกโร" แปลว่า ผู้ทำความเกษมแล้ว ท่านเป็นพระภิกษุที่มีจิตมุ่งมั่นที่จะบำเพ็ญตนเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นหลายๆ รูป อาทิ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) พระครูภาวนา สำนักวัดโพธิ์ หลวงพ่อสี ผู้ทรงคุณวิเศษนานัปการ ฯลฯ ท่านจึงมีความเชี่ยวชาญและแตกฉานทั้งด้านคันถธุระ วิปัสสนาธุระ รวมทั้งไสยศาสตร์และวิทยาการต่างๆ

ต่อมาได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ให้เดินทางกลับบ้านเกิดและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามในท้องถิ่นที่ชำรุดทรุด โทรม เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป ท่านจึงเดินทางกลับไปดูแลวัดพิกุลทอง ท่ามกลางความชื่นชมยินดีของชาวบ้าน ด้วยบารมีและกุศลบุญของท่านและหลวงพ่อสี การบูรณะวัดพิกุลทองสำเร็จลุล่วงในเวลาเพียงปีเศษเท่านั้น นอกจากนี้ ท่านยังพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญควบคู่ไปด้วย ชื่อเสียงของท่านเป็นที่ร่ำลือขจรขจาย มีศิษยานุศิษย์และผู้เลื่อมใสศรัทธาเดินทางมากราบนมัสการอย่างเนืองแน่น หลวงพ่อแพท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2542

เมื่อหลวงพ่อแพ มีบารมีมากขึ้นผู้คนเริ่มรู้จักตามลำดับ วัดหลายวัดต่างนิมนต์ หลวงพ่อแพท่านเป็นประธานในการก่อสร้างวัด วิหาร ถาวรวัตถุต่างๆมากมายหลายวัด และเมื่อ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2493 ทางวัด แถบ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ก้อได้นิมนต์ท่านร่วมงาน หลวงพ่อแพเล่าว่า ท่านเพลียมากจึงชวนศิษย์ไปจำวัด ที่หอสวดมนต์ โดยมีคนหลายนอนอยู่ก่อนแล้ว ก่อนนอนท่านเอาผ้าอาบน้ำฝนใส่ไว้ในย่าม จึงรู้สึกว่าย่ามใหญ่ คิดว่าคนที่นอนอยู่คงเข้าใจว่าเป็นเงิน ด้วยความอ่อนเพลียท่านจึงหลับไป พอท่านตื่นจากจำวัดเวลาเช้ามืด พบว่าย่ามหายไปแล้ว จึงแจ้งทางวัดทราบ สำหรับสิ่งของในย่าม มีเพียงของเล็กๆน้อยๆ แต่ของที่สำคัญก็คือ พระสมเด็จวัดระฆังฯ ซึ่งได้รับจากสมบัติของโยมวัดชนะสงคราม จึงเป็นของที่แท้ และทรงคุณค่าทางด้านจิตใจของหลวงพ่อมาก ท่านจึงเสียดายเป็นอย่างมาก ญาติโยมช่วยกันติดตาม ปรากฏว่าได้รับของอื่นคืนครบทุกชิ้น ยกเว้นพระสมเด็จ สอบถามผู้ขโมยได้ความว่าได้นำไปขายให้บุคคลไม่ทราบชื่อ ไม่สามารถติดตามคืนได้หลวงพ่อเล่าว่าท่านเสียดายมาก ระหว่างนั้นต้องไปขอยืมสมเด็จวัดระฆังจาก อาจารย์หยด ซึ่งเคยเป็นเจ้าอาวาส มาติดตัวไปก่อนด้วยความเคารพในบารมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต เป็นอย่างยิ่ง ทำให้หลวงพ่อแพ อธิษฐานขอบารมี ณ วัดไชโยวรวิหาร ขอสร้างพระโลหะพิมพ์สมเด็จ พระสมเด็จทองเหลืองขึ้นใช้เอง และแจกจ่ายให้กับผู้เคารพศรัทธา ในปี 2494 ประมาณเดือน 6 โดยนำช่างมาเททองหล่อ ที่ด้านใต้ โบสถ์หลังเก่า ได้รับโลหะจากผู้ที่มาร่วมพิธี นำมาหล่อเช่น เครื่องเงิน ขันลงหิน โต๊กทาน เชียนหมาก ตะบันหมาก สตางค์แดง สตางค์ข้าว สตางค์สิบ ทองเหลือง เป็นจำนวนมาก

ตลอดชีวิตของหลวงพ่อได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์ และได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้แก่ประชาชนผู้เดือดร้อนหรือตกทุกข์ได้ยากตลอดมาหลวงพ่อแพ เปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรของประชาชนทั่วไปได้แผ่บารมีช่วยเหลือกิจการต่างๆ นอกจากด้านศาสนาแล้วยังช่วยเหลือด้านการศึกษาและสาธารณสุขด้วยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากมายโดยเฉพาะ

ในส่วนของโรงพยาบาลสิงห์บุรีได้รับความอนุเคราะห์จากพระเดชพระคุณหลวงพ่อแพดังจะเห็นได้จากการก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ 80 ปี ,อาคารหลวงพ่อแพ 86 ปี (อาคารเอ็กซเรย์) ,อาคารหลวงพ่อแพ 90 ปี ที่เด่นเป็นสง่า และดูสวยงามภายในโรงพยาบาสิงห์บุรี และปัจจุบันกับอาคารหลวงพ่อแพเขมังกโร ที่สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีก็ด้วยเพราะบุญบารมีของหลวงพ่อแพ ที่ท่านมอบต่อสาธุชนด้วยเมตตาธรรม
ราคาเปิดประมูล790 บาท
ราคาปัจจุบัน800 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 31 มี.ค. 2563 - 06:12.58
วันปิดประมูล อ. - 07 เม.ย. 2563 - 10:49.44 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 800 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
ราคาประมูลด่วน850 บาท
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
800 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) จ. - 06 เม.ย. 2563 - 10:49.44
กำลังโหลด...
Top