แหวนงาช้างแท้ สวยๆๆ - webpra

ประมูล หมวด:เครื่องรางของขลัง

แหวนงาช้างแท้ สวยๆๆ

แหวนงาช้างแท้ สวยๆๆ แหวนงาช้างแท้ สวยๆๆ แหวนงาช้างแท้ สวยๆๆ แหวนงาช้างแท้ สวยๆๆ
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง แหวนงาช้างแท้ สวยๆๆ
รายละเอียดความเชื่อเรื่องงาช้าง...ของชาวสุวรรณภูมิ
งาช้าง สัญลักษณ์ความบริสุทธิ์ เป็นมงคล ความเชื่อในพลังอำนาจ ช่วยฟันฝ่าอุปสรรค แคล้วคลาดจากภยันตราย เอาชนะเหล่าศัตรูหมู่มารได้ จึงมีผู้แสวงหาเพื่อมีไว้ในครอบครอง
หนึ่งในตำนานเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของงาช้างคือเรื่องราวของ "ปรศุราม" องค์อวตารของวิษณุเทพ ใช้ขวานที่ยืมมาจาก "พระศิวะ" ขว้างใส่ "พระคเณศ" พระองค์จำใจต้องใช้งาข้างซ้ายรับขวานนั้น งาข้างนั้นจึงเรียกว่า "งากำจัด" เกิดเป็นความเชื่อ ความศักดิ์สิทธิ์ ด้วยเหตุที่ "พระคเณศ" ทรงมีความกตัญญูเป็นอย่างยิ่งในตัวพระบิดา หากครั้นจะต่อสู้กันไปก็อาจทำได้ แต่จะมีประโยชน์อะไรกับการทำลายฤทธิ์เดชของอาวุธซึ่งเป็นของบิดาตนเอง
การบูชาช้าง ถือว่าเริ่มต้นที่เคารพต่อเทวดา นอกจากนี้ คุณค่าของ "งา" ยังมาจาก ลำดับสายพันธุ์ เกิดความเชื่อที่ว่า "งา" ที่ได้จากช้างออกศึก จะทำให้ผู้ครอบครองชนะการทำศึกทุกครั้ง
สำหรับคนไทยทุกยุคทุกสมัยจะมีความเชื่อ และการครอบครองงาช้างว่าช้างไทยมี "องค์" คอยปกป้อง จึงนิยมนำงาช้างมาบูชาในวัด ในโบสถ์ ส่วนหนึ่งนิยมให้เป็นของกำนัลแก่ "เจ้านาย" เพราะถือเป็นผู้มีบุญญาธิการ
งาช้างมี ๒ ประเภท
๑. งากำจัด (๑)
กล่าวคือกว่าจะได้งาช้างที่เรียก "งากำจัด" ต้องรอให้ช้างล้มก่อน ( เสียชีวิตโดยธรรมชาติ ) คนที่เป็นควาญช้างจะรู้ว่าต้องพยายามรักษาชีวิตให้ถึงที่สุด ยื้อจนวินาทีสุดท้าย เมื่อช้างเห็นเช่นนั้นจะลงคาถาไว้ในงาคู่นั้น เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อควาญช้าง นี่ถือว่าเป็นสิริมงคลค่าควรเมือง
๒. งากำจัด (๒)
คืองาช้างที่แตกหักออกมาในขณะที่ช้างยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดได้ยาก โบราณท่านจึงถือว่าเป็นของทนสิทธ์ จะพบเห็นได้ต่อเมื่อช้างตกมัน ไล่อาละวาดแล้วเอางาแทงกับต้นไม้ด้วยอารมณ์ฉุนเฉียวขณะกำลังตกมัน ส่วนบริเวณปลายงาจะหักคาอยู่กับต้นไม้ ซึ่งแต่ละชิ้นก็ไม่ใหญ่มากนัก จะมีรุกขเทดารักษาไว้เพื่อมอบให้แก่ผู้มีบุญ ต้องทำพิธีจุดธูปบวงสรวงบอกกล่าวก่อนจึงจะสามารถแกะงาออกจากเปลือกไม้ได้
๓. งากำจาย หรือ งากระเด็น
คือ งาของช้างสองเชือกที่เข้าต่อสู้กันเพื่อชิงความเป็นใหญ่ (จ่าโขลง) หรือแย่งตัวเมียแล้วต่อสู้กัน จนอาจมีปลายงาหักแตกกระจาย แล้วจะตกหล่นอยู่กับพื้นดินตามป่า ซึ่งในกรณีนี้ พรานป่าที่มีโอกาสเห็นช้างต่อสู้กัน มักจะคอยเฝ้าดูเพื่อคอยเก็บปลายหรือเศษงาที่อาจมีหล่นอยู่ แต่ก็คงไม่ทุกครั้งไป
๔. แช่งลงงา
แต่หากได้มาจากการฆ่าช้างด้วยน้ำมือมนุษย์เองจะเรียก "งา" นั้นว่า "แช่งลงงา" คืองาที่แลกมาด้วยชีวิตของช้างในสถานการณ์ผิดธรรมชาติ จัดอยู่ใน "สิ่งอัปมงคล" ที่เจ้าของงา (ช้าง) เขาสาปแช่ง เรียกว่า "แช่งลงงา" คนครอบครอง ต้องมีบารมีข่ม บุญต้องมาก ไม่เช่นนั้นเก็บไว้ในบ้าน ไฟก็ไหม้บ้าน ชีวิตฉิบหายบรรลัยหลายชั่วโคตร
งาช้างดำบนแผ่นดินสยาม
"งาช้างดำ" วัตถุมงคลคู่บ้านคู่เมืองน่าน ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่าน ไม่ได้มีสีดำสนิทอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นงาช้างสีออกน้ำตาล มีครุฑตัวสีน้ำเงินปีกทองแบกงาช้างอยู่อีกที มีลักษณะเป็นงาปลียาว ๙๔ เซนติเมตร วัดโดยรอบตรงส่วนที่ใหญ่ที่สุดได้ ๔๗ เซนติเมตร มีน้ำหนักถึง ๑๘ กิโลกรัม สันนิษฐานว่าเป็นงาช้างข้างซ้ายเพราะปรากฏรอยเสียดสีกับงวงช้างให้เห็นชัดเจน
ความสำคัญของงาช้างดำนี้เชื่อกันว่า พญาการเมือง เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ ๖ ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ได้ทำพิธีสาปแช่งเอาไว้ว่าให้งาช้างดำนี้เป็นของคู่บ้านคู่เมืองน่านตลอดไป ผู้ใดจะนำไปเป็นสมบัติส่วนตัวมิได้ ต้องไว้ที่หอคำหรือวังเจ้าผู้ครองนครเท่านั้น จะสังเกตว่าสมัยต่อมาไม่มีเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ใดนำงาช้างดำนี้ไปเป็นสมบัติส่วนตัวเลยทั้งๆ ที่เมืองน่านมีเจ้าเมืองสืบต่อๆ มาถึง ๕๙ องค์
งาช้างดำ เป็นของโบราณเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง เป็นงาช้าง ๑ ข้าง ไม่ได้มีสีดำสนิทอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นงาช้างสีออกน้ำตาลมีครุฑตัวสีน้ำเงินปีกทองแบกงาช้างอยู่อีกที งาช้างกิ่งนี้ไม่ระบุที่มาแน่ชัด แต่จากตำนานที่เล่าสืบต่อมาระบุว่า อดีตเจ้าผู้ครองนครน่านได้มาจากเมืองเชียงตุง ตอนนั้นเชียงตุงมีงาช้างดำ ๑ คู่ เลยแบ่งให้นครน่านมา ๑ กิ่งเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี เดิมเก็บไว้ใน "หอคำ" หรือวังของเจ้าผู้ครองนคร จนเมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงแก่พิราลัย(เสียชีวิต) ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ บุตรหลานของเจ้าผู้ครองนครจึงมอบให้เป็นสมบัติของเมืองน่าน
ส่วนตัวครุฑที่ทำแบกรับงานั้น ทำจากไม้สักทั้งท่อน สร้างเมื่อปี ๒๔๖๙ ช่วงนั้นมีข่าวว่าเจ้าเมืองทางเหนือบางเมืองแข็งข้อก่อการกบฏ เจ้าเมืองน่านจึงให้ทำครุฑขึ้นมาแบกงาช้างดำวัตถุคู่บ้านคู่เมืองเพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ให้เห็นว่า นครน่านในยุคนั้นยังจงรักภักดีต่อกรุงราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์อยู่ไม่เสื่อมคลาย
ราคาเปิดประมูล68 บาท
ราคาปัจจุบัน468 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 05 ต.ค. 2563 - 22:07.33
วันปิดประมูล อา. - 25 ต.ค. 2563 - 22:07.33 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 468 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
168 บาท อ. - 12 พ.ค. 2563 - 21:11.41
268 บาท พ. - 13 พ.ค. 2563 - 23:14.31
368 บาท พ. - 13 พ.ค. 2563 - 23:14.59
468 บาท ศ. - 12 มิ.ย. 2563 - 20:04.19
กำลังโหลด...
Top