หลวงพ่อสุข วัดบันไดทอง เพชรบุรี - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

หลวงพ่อสุข วัดบันไดทอง เพชรบุรี

หลวงพ่อสุข วัดบันไดทอง เพชรบุรี หลวงพ่อสุข วัดบันไดทอง เพชรบุรี
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง หลวงพ่อสุข วัดบันไดทอง เพชรบุรี
รายละเอียดเหรียญรุ่น4(รุ่นสุดท้าย)ปี16 หลวงพ่อสุข วัดบันไดทอง เพชรบุรี กะไหล่ทองเดิมๆ พระไม่ได้ใช้ สวยแชมป์ หายาก มี2องค์ สำหรับ ประสบการณ์เพียบ เด่นทางด้านคงกระพันชาตรี

สำหรับหลวงพ่อสุข วัดบันไดทองนั้น ท่านเป็นพระในยุคเดียวกับ ลพ.แดง วัดเขาบันไดอิฐ แถมอาวุโสกว่าด้วยซ้ำครับ ท่านเป็นพระที่ดังมาในระดับ ทัดเทียมกับลพ.แดง วัดเขาบันไดอิฐ ครับ วัดบันไดทอง นั้นเป็นวัดใหญ่มาก ครับ จนมีคำพูด ของลพ.แดง เชิงขบขันมาดังนี้..

หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ ได้กล่าว เสมอว่า........
ฉันยังไงๆ ก็สู้ คุณสุข ท่านไม่ได้ดอก.......
ดูขนาดบันไดฉัน............. มันบันไดอิฐ......ท่านสุข เขาบันไดทอง....
อิฐจะไปสู้ทองได้ที่ไหน

ประวัตหลวงพ่อย่อยๆครับ

พรครูสุตานุโยค อดีตเจ้าอาวาสวัดบันไดทอง เจ้าคณะตำบลธงไชยและบ้านกุ่ม
นามเดิม สุข นามสกุลกลิ่นนาค เกิดหมู่ที่ 2 ตำบลห้วยโรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ เป็นบุตรคนที่ 3 ของโยมอยู่ และโยมแจ่ม มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดเดียวกัน 6 คน คือ 1. น.ส. ธูป กลิ่นนาค ถึงแก่กรรม 2. นายจุด กลิ่นนาค 3. พระครูสุตานุโยค (สุข กลิ่นนาค) 4. นายสอน กลิ่นนาค 5. นายหนู กลิ่นนาค 6. นายบาง กลิ่นนาค
เมื่อปฐมวัย
โยมพ่อท่านได้นำไปฝากเป็นศิษย์วัดห้วยโรง ซึ่งเป็นวัดตั้งอยู่ในหมู่บ้าน เพื่อจะได้ไปเล่าเรียนศึกษาหาความรู้ เพราะสมัยนั้นโรงเรียนประชาบาลยังไม่มี ท่านมีความเพียรพยายามเล่าเรียนศึกษาด้วยความอดทนขยันขันแข็ง จนมีความรู้ภาษาไทยอ่านออกเขียนได้ ท่านเป็นผู้มีนิสัยอ่อนโยนปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระอาจารย์ด้วยความเคารพเป็นเนืองนิตย์ นับว่าเป็นศิษย์ที่เคารพต่อครูบาอาจารย์ตลอดกาลโดยมิเสื่อมคลาย จึงเป็นที่รักของอาจารย์
เมื่อท่านได้ศึกษาและมีความรู้พอสมควรแล้ว ก็ได้ขออนุญาตอาจารย์กลับไปบ้านช่วยบิดาประกอบอาชีพเกษตรกรรม

ครั้งอายุท่านได้ครบ 20 ปี ท่านได้มีจิตศรัทธาอันมั่นคงในทางบุญกุศล ยึดมั่นในคำส่งสอนในพระพุทธศาสนา จึงได้ขออนุญาตบิดา-มารดาลาอุปสมบท เมื่ออนุญาตแล้วอุปสมบทได้ 1 พรรษา วันเวลาแห่งการเกณฑ์ทหารก็มาถึง ท่านจึงถูกเกณฑ์เข้าเป็นหน้าที่เป็นทหารตามหน้าที่ของชายไทย ท่านจึงต้องลาอุปสมบท เพื่อรับใช้ประเทศชาติอยู่ 2 ปี เมื่อพ้นภารกิจจากการเป็นทหารแล้ว ด้วยจิตใจอันแน่วแน่ซึ่งประกอบด้วยศรัทธาปสาทะยึดมั่นในพระรัตนตรัยอันแรงกล้า โดยมิให้วันเวลาล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ จึงได้ขออนุญาติบิดา-มารดาด้วยศรัทธาอันตั้งมั่น พร้อมกันนั้นก็ได้ศึกษาต่ออุปัชฌาย์ ณ วัดห้วยโรง ท่านมีความปิติยินดีสนับสนุนให้บวช จึงกำหนดให้อุปสมบท วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 ณ พัทธสีมาวัดห้วยโรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เมื่อท่านได้อุปสมบทครั้งนี้ ในด้านคันถธุระ ท่านได้ศึกษาอักขรสมัย (ขอม) จนมีความรู้อ่านออกเขียนได้ด้วยความชำนาญ ประกอบด้วย
ปฎิภาณปัญญาแตกฉานอักขรสมัยเป็นอย่างดี และด้วยวิริยะอุตสาหะท่องมนต์ได้จนจบ พร้อมกันนั้นท่านก็ท่อง
ปาฎิโมกข์จนจบ ได้แสดงพระภิกขุปาฎิโมกข์ได้ในพรรษาแรก ในด้านคันถธุระนี้ท่านได้ศึกษามาด้วยดี โดยยึดมั่นต่อคุณพระรัตนตรัย อันเป็นสรณะที่พึ่งอันประเสริฐได้พยายามสร้างคุณประโยชน์ให้บังเกิดขึ้นกับตนเองพอประมาณเป็นประการแรก ด้วยการฝักใฝ่สนใจแสวงหาวิชาความรู้ใส่ตน และความรู้ความสามารถประกอบด้วยหลักเมตตาขันติธรรมประจำดวงจิตของท่าน จึงสามารถสร้างคุณประโยชน์สงเคราะห์หมู่สงฆ์ได้โดยสมบูรณ์

ในระยะกาลเข้าพรรษา
ท่านก็สงเคราะห์สงฆ์ด้วยการแสดงปาฎิโมกข์เป็นประจำ นับว่าท่านได้บำเพ็ญประโยชน์คุณงามความดีเสมอมามิได้ขาด ตลอดจนญาติโยมที่มาประกอบกิจทางพระศาสนาทำบุญสร้างกุศล ก็พอใจในการประพฤติดีปฏิบัติชอบ อยู่ในขอบเขตพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ถึงกับนิมนต์ให้ท่านอยู่ประจำอย่าได้ไปสำนักอื่น แต่แล้วก็ฝืนทัศนวิสัยของท่านไม่ได้ เพราะท่านอยู่ที่ไหนจะขาดเสียมิได้ด้วยเมตตาธรรม ท่านไอยู่วัดนอกบางขุนไทร ก็ได้ช่วยสงเคราะห์สงฆ์และก่อสร้างวัดพอสมควร ครั้งจะอยู่ต่อไป การบำเพ็ญทางจิตซึ่งเป็นกิจส่วนตนก็จะลดน้อยลงไปบ้าง เมตตาธรรมอันเป็นหลักใหญ่ประจำจิตก็เสื่อมคลายลง จึงได้ถือโอกาสขอตัวบอกลาท่านเจ้าอาวาสวัดนอกบางขุนไทนและญาติโยมทั้งหลายว่าจะเดินทางจาริกต่อไปยังสถานที่อื่น ญาติโยมทั้งหลายไม่อยากให้ท่านจากไป ด้วยความเคารพรักในคุณงามความดีของท่าน แต่แล้วท่านก็ต้องหักใจอำลามาด้วยความตื้นตันใจเป็นยิ่งนัก และแล้วท่านก็ได้มาหยุดพักอยู่สำนักวัดบันไดทอง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เมื่อพรรษาของท่านได้ล่วงมาเป็นพรรษาที่ 6

วัดบันไดทองนับว่าเป็นวัดที่ถูกอัธยาของท่านมาก เมื่อหวนระลึกนึกถึงมโนภาพแล้ว วัดบันไดทองจัดอยู่ในสภาพภูมิภาคเดียวกันกับถิ่นบ้านเกิดของท่าน อาชีพของญาติโยมก็คือ การทำนา เช่นเดียวกัน วัดบันไดทองในขณะนั้นเป็นวัดที่มีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นปกคลุมอยู่มาก และมีแม่น้ำเพชรไหลอยู่ตลอดกาล เนื้อที่วัดคล้ายเกาะมีน้ำล้อมรอบ แต่เป็นวัดเก่าแก่สมัยโบราณ มีสิ่งก่อสร้างวิจิตศิลป์ อันเป็นถาวรวัตถุที่ชำรุดทรุดโทรมอยู่แทบทั้งสิ้น เมื่อมาพรรษาอยู่ที่วัดบันไดทอง ก็ได้ช่วยเหลือทางวัดอยู่ตลอดมา สมัยนั้น หลวงพ่อเต็ม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส สุขภาพร่างกายของท่านไม่ค่อยสมบูรณ์ ท่านชราภาพมากแล้ว หลวงพ่อเต็มเป็นพระที่เคารพนับถือมาก มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีเมตตาธรรมประจำใจของท่านอยู่พร้อมมูล ด้วยศรัทธาศัยไมตรีอันดียิ่งของหลวงพ่อเต็ม ตรงกันกับท่าน ได้ปรารถนาขอร้องให้ท่านช่วยดูแลและสงเคราะห์สงฆ์ ช่วยภาระกิจต่าง ๆ ให้อยู่ตลอดไป เพื่อเห็นแก่พระศาสนา บรรดาญาติโยมต่างก็นิยมยมชอบเคารพนับถือท่าน ในการประพฤติปฏิบัติชอบ มีจิตใจเมตตาโอบอ้อมอารี สมัครสมานสามัคคี จึงเป็นที่ยินดีของผู้ที่ได้มาประสบพบเห็นในจริยวัตรของท่าน โดยเฉพาะญาติโยมที่เป็นกำลังอุปถัมภ์ช่วยเหลือทางวัดประจำขณะนั้น ได้เกิดความศรัทธาซาบซึ้งในคุณธรรม ซึ่งประกอบมาด้วยดีของท่าน พอจะเป็นที่พึ่งพาอาศัยของพุทธมามกะบริษัทวัดบันไดทองได้ จึงได้นิมนต์ท่านให้อยู่วัดบันไดทองตลอดไป และแล้วญาติโยมทั้งนั้น
ก็ได้ปวารณาไว้ด้วยว่า ถ้าท่านขัดข้องประสงค์สิ่งใด อันเป็นสมณะบริโภค ขอท่านได้โปรดบอกโยม ตามปรารถนาของท่านได้ทุกโอกาส เมื่อท่านได้ตกลงใจรับปากกับญาติโยมแน่นอนแล้วว่า จะพอยู่เพื่อสนองศรัทธาของญาติโยมชาวบ้านวัดบันไดทอง จะช่วยบำรุงพระพุทธศาสนาให้วิวัฒนารุ่งเรืองเท่าที่ความสามารถจะอำนวยได้ ท่านได้ทำการช่วยเหลือภารกิจของหลวงพ่อเต็ม มาโดยตลอดด้วยดีเสมอมา จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2478 หลวงพ่อเต็ม
ได้ถึงแก่มรณภาพ ทางการคณะสงฆ์ ภิกษุแห่งวัดบันไดทอง ตลอดญาติโยมต่างปรารถนาให้ท่านได้เป็นผู๔ปกครองวัด จึงได้พร้อมใจกันมอบให้ท่านเป็นผู้รักษาการณ์เจ้าอาวาส และในปี พ.ศ. 2478 นี้ ขณะที่ท่านปฏิบัติหน้าที่รักษาการณ์เจ้าอาวาส ได้มีคหบดีท่านหนึ่งมีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ สร้างโรงเรียนประชาบาลด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวให้ 1 หลัง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเล่าเรียน

พ.ศ. 2479 หลวงพ่อพระครูสุข ได้รับตำแหน่งแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดบันไดทอง เมื่อท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสแล้ว ท่านก็ได้เอาใจใส่ดูแลรักษาวัด ปฏิสังขรณ์เสนาสนะ จัดสถานการศึกษา และจัดสร้างสรรพสิ่งที่จำเป็นขึ้นในวัด
พ.ศ. 2482 เป็นพระครูประทวนสมณศักดิ์
พ.ศ. 2492 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ " พระครูสุตานุโยค "
พ.ศ. 2509 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เลื่อนเป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร " ชั้นโท " ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. 2516 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เลื่อนเป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร " ชั้นเอก" ในราชทินนามเดิม

อวสานแห่งชีวิต
หลวงพ่อพระครูสุตานุโยค ได้ป่วยเป็นโรคริดสีดวงทวาร ประจำตัวท่านมาตลอดระยะเวลานานปี ในระยะเริ่มแรกท่านก็ได้พยายามรักษาเรื่อยมา อาการของโรคก็ไม่มากมายร้ายแรงมากนัก ท่านก็มิได้ลดละในการปฏิบัติบำเพ็ญสมรวัตร และปฏิบัติการงานคณะสงฆ์มาด้วยความอดทน ในระยะหลังต่อมาโรคอื่นก็มาแทรกท่านอีก คือ โรคลำไส้ ท่านก็มิได้นิ่งนอนใจ ท่านพยายามรักษาตัวท่านอยู่ตลอดเวลา หมอชอน พวงมาลัย ซึ่งเป็นหมอประจำได้เฝ้าพยายามดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี ไม่ว่าหลวงพ่อจะต้องการสิ่งใด หมอชอนต้องพยายามนำมาให้ทุกอย่างเท่าที่หลวงพ่อต้องการ เฝ้าปฏิบัติเช่นนี้ อาการของโรคก็ไม่ดีขึ้น หมอชอนและบรรดาลูกศิษย์ได้ปรึกษาหารือกันว่า ควรจะนำท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลเพชรบุรี เพราะทางโรงพยาบาลมีเครื่องอุปกรณ์ในการผ่าตัดครบบริบูรณ์ จึงนำท่านไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเพชรบุรี ในระยะหลังสุด หลวงพ่อได้ทราบดีในอาการโรคร้ายของท่านว่า จะไปไม่ตลอด เกรงว่าจะเป็นการยากลำบากเมื่อถึงมรณกรรมที่โรงพยาบาล ท่านจึงได้สั่งให้หมอชอน พวงมาลัย ที่คอยรักษาปฏิบัติต่อท่าน ให้นำท่านกลับมายังวัดบันไดทอง ถึงวัดบันไดทองเมื่อเวลาประมาณ 9 น. เศษ ของวันที่ 9 ตุลาคม 2518และในวันเดียวกันนี้เองอาการโรคร้ายของท่านก็มิได้ผ่อนคลายให้เบาบางลงเลย การหายใจของท่านยก็ได้แผ่วเบาบางไปทีละน้อย ๆ ค่อยหายไปด้วยอาการแห่งความสงบด้วยสติสัมปชัญญะอันแน่วนิ่งไม่มีการไหวติงอย่างใด กาลอวสานแห่งชีวิตของท่านก็ได้เงียบหายไปแห่งความสงบจบชีวิตลง เมื่อเวลา 11.45 น. ของวันที่ 9 ตุลาคม 2518 ประมวลอายุได้ 76 ปี 6 เดือน 19 วัน พรรษาได้ 54 พรรษา ครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน300 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลพฤ. - 15 มี.ค. 2555 - 23:56.36
วันปิดประมูล พฤ. - 22 มี.ค. 2555 - 23:56.36 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 300 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
khag (329) 125.27.235.88
150 บาท ศ. - 16 มี.ค. 2555 - 07:35.15
khag (329) 182.52.195.157
200 บาท อา. - 18 มี.ค. 2555 - 19:23.38
khag (329) 182.52.195.157
250 บาท อา. - 18 มี.ค. 2555 - 19:23.42
khag (329) 182.52.195.157
300 บาท อา. - 18 มี.ค. 2555 - 19:23.46
กำลังโหลด...
Top