
ประมูล หมวด:พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
พระสี่กร เลี่ยมเงินลงยา หนึ่งในชุดกิมตึ๋ง


ชื่อพระเครื่อง | พระสี่กร เลี่ยมเงินลงยา หนึ่งในชุดกิมตึ๋ง |
---|---|
รายละเอียด | พระสี่กร เลี่ยมเงินลงยา หนึ่งในชุดกิมตึ๋งอีกองค์ สภาพดูง่าย ๆ พระชุดกิมตึ๋งเป็นพระพิมพ์อีกกลุ่มหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีชื่อเรียก และพิมพ์ทรงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ พระพิมพ์ดังกล่าวพบที่วัดพลายชุมพลซึ่งเป็นวัดร้าง มีเขตอุปจารวัดติดกับวัดพระรูป แตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อราว พ.ศ.๒๔๔๙ เนื่องจากเจดีย์หักโค่นลงมาตามสภาพความเก่าแก่ พระพิมพ์ที่แตกกรุออกมาในครั้งนั้นมีจำนวนมาก ถูกปล่อยทิ้งกระจัดกระจายจมอยู่ในซากอิฐปูนโดยไม่มีใครสนใจ ส่วนใหญ่เป็นพระพิมพ์ดินเผา ลักษณะเนื้อดินค่อนข้างหยาบ ศิลปะแบบอู่ทองหรืออยุธยาตอนต้น เป็นพระที่กดพิมพ์ไม่ค่อยเรียบร้อยนัก ส่วนมากจะติดตื้น รายละเอียดขององค์พระไม่ชัดเจน ไม่มีการตัดขอบพิมพ์ ที่เรียกขานกันว่าชุดกิมตึ๋ง ขวัญใจนักเลงพระรุ่นปู่มีอยู่ด้วยกัน 4 พิมพ์ได้แก่ พระสี่กร พระมอญแปลง พระประคำรอบ และพระปรกชุมพล พระทั้งสี่พิมพ์ดังกล่าว เดิมเรียกกันว่าพระตับวัดพลายชุมพล สำหรับที่มาของการเรียกพระชุดนี้ว่า พระชุดกิมตึ๋ง นั้น ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เพียงแต่สันนิษฐานกันว่าคงเนื่องมาจากความนิยมในการสะสมเครื่องโต๊ะ และเครื่องลายครามของจีน ที่แพร่หลายอย่างมากในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรดาข้าราชการผู้ใหญ่หรือคหบดีนิยมสะสมเครื่องเคลือบลายครามที่สั่งมาจากเมืองจีน แล้วนำเอามาจัดโต๊ะหมู่บูชาเป็นชุดๆ ประกวดประชันกัน โดยมีห้างที่สั่งเข้าจากเมืองจีนเอามาจำหน่ายในเมืองไทยสองห้าง คือ ห้างพระยาพิศาลผลพานิช กับห้างพระยาโชฎึกราชเศรษฐี ต่อมาเกิดห้างใหม่ขึ้นอีกห้างหนึ่งเป็นของจีนสุ่น ซึ่งเดิมทำงานให้กับพระยาโชฎึกราชเศรษฐี ภายหลังได้แยกออกไปตั้งห้างเอง ในการประกวดเครื่องถ้วยลายคราม และโต๊ะหมู่บูชาดังกล่าว ปรากฏมีโต๊ะหมู่บูชาชุดหนึ่งมีความงามเป็นเลิศกว่าโต๊ะหมู่บูชาชุดอื่นๆ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ต้นตระกูลโชติกะพุกกณะ) ได้ทูลขอให้กรมขุนราชสีหวิกรมประทานชื่อโต๊ะหมู่บูชาชุดนี้ กรมขุนราชสีหวิกรมจึงทรงตั้งชื่อว่า “ ชุดกิมตึ๋ง ” แปลว่า “ พระราชบัลลังก์ทองคำ” อีกกรณีหนึ่ง สันนิษฐานว่า “กิมตึ๋ง” อาจมาจากชื่อยี่ห้อ “กิมตึ๋งฮกกี่” ของเครื่องถ้วยชาลายคราม ที่พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก) สั่งมาจากเมืองจีนเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงแปลความหมายไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง ตำนานเครื่องโต๊ะ และถ้วยปั้น ว่า “ของอันวิเศษอย่างเต็มที่ ” เครื่องถ้วยชาดังกล่าวเป็นเครื่องลายคราม ประกอบด้วยถ้วยพร้อมจานรอง ชุดหนึ่งมีจำนวนสี่ใบ เป็นถ้วยขนาดเล็ก มีลวดลายสวยงาม จนเป็นที่กล่าวขวัญกันในหมู่นักนิยมถ้วยชา จึงเรียกชื่อถ้วยกิมตึ๋งกันจนติดปากแม้เวลาจะผ่านมาอีกหลายสิบปี ภายหลังเมื่อมีการพบพระพิมพ์ที่จัดกลุ่มรวมกันสี่องค์ จึงมีผู้ตั้งชื่อพระชุดนี้เสียใหม่ว่าพระชุดกิมตึ๋ง เนื่องจากเป็นที่นิยมเช่นเดียวกันกับเครื่องถ้วยลายครามของจีน ในอดีต พระชุดกิมตึ๋งนี้ได้รับความนิยมในหมู่นักสะสมพระเครื่องอย่างมาก เนื่องจากเชื่อว่ามีพุทธคุณในทางอยู่ยงคงกระพัน ปกป้องคุ้มครองภัยอันตรายแก่ผู้ครอบครอง องค์นี้เป็นพระสี่กร สภาพผิวเดิม ๆ ค่อนข้างสวย สัมผัสมาน้อยมาก พระดูง่ายตามมาตรฐานสากลนิยม |
ราคาเปิดประมูล | 100 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 100 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 50 บาท |
วันเปิดประมูล | พ. - 18 พ.ย. 2563 - 18:52.40 |
วันปิดประมูล |
อ. - 08 ธ.ค. 2563 - 18:52.40 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 100 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
เพิ่มครั้งละ | 50 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
ยังไม่มีผู้ประมูล |
กำลังโหลด...