ผ้ายันต์ม้าเสพนางครูบาต๋า ผืนนี้ชื่อพี่รุ่งรัตน์ - webpra

ประมูล หมวด:เครื่องรางของขลัง

ผ้ายันต์ม้าเสพนางครูบาต๋า ผืนนี้ชื่อพี่รุ่งรัตน์

ผ้ายันต์ม้าเสพนางครูบาต๋า ผืนนี้ชื่อพี่รุ่งรัตน์ ผ้ายันต์ม้าเสพนางครูบาต๋า ผืนนี้ชื่อพี่รุ่งรัตน์ ผ้ายันต์ม้าเสพนางครูบาต๋า ผืนนี้ชื่อพี่รุ่งรัตน์ ผ้ายันต์ม้าเสพนางครูบาต๋า ผืนนี้ชื่อพี่รุ่งรัตน์ ผ้ายันต์ม้าเสพนางครูบาต๋า ผืนนี้ชื่อพี่รุ่งรัตน์
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง ผ้ายันต์ม้าเสพนางครูบาต๋า ผืนนี้ชื่อพี่รุ่งรัตน์
รายละเอียด สุดยอดติดอันดับภาคีเครื่องรางเมืองเหนือ ผ้ายันต์ม้าเสพนาง ท่านครูบาต๋า วัดอุโบสถบ้านเหล่า วิธีการจัดสร้าง ผ้ายันต์อาถรรพ์นี้ เมื่อมี หญิงสาวที่ เสียชีวิต(ตายโหง) ญาติ พี่น้อง ผู้ตายจะนิมนต์ ครูบาต๋า มาทำพิธี ถอนวิญาณ และท่านจะนำ ผ้าขาวไปให้สัปเหร่อและขออนุญาตเจ้าภาพ ที่รู้จัก ไปห่อศพ "ผู้หญิงสาว" ที่ตายโหง ทางเหนือมีพิธีกรรม จัดงานศพ ๓ - ๗ วัน เมื่อศพหญิงสาวเคลื่อนไป"ป่าช้า" ท่านจะให้ สัปเหล่อ นำ"ผ้าขาวห่อศพ" มาเก็บไว้ให้ท่านครูบาต๋า ท่านจะนำมาตัดเป็นส่วนๆ แล้วนำมาพิมพ์ "ยันต์ม้าเสพนาง" และทำพิธีปลุกเสก ตามตำราของท่าน แต่ละรุ่น จะมีชื่อ ไม่เหมือนกัน แล้วแต่จะห่อศพใคร และ ผู้หญิงสาวที่ตาย ชื่ออะไร ผ้ายันต์ผืนนี้ชื่อพี่รุ่งรัตน์ ..
.
วิธีบูชา.- ให้นำหญ้าแพรก ๗ เส้นมาใส่ไว้ในผ้า(บริเวณปากม้า)และเครื่องหอม/ น้ำหอม หรือ แป้งไปประพรมที่รูปผู้หญิง แล้วพับผ้าประกบเข้าหากัน พกพาติดตัว เรียกชื่อเจ้าของผ้าอธิษฐานขอ เรื่องการงาน เจรจา ค้าขาย เสี่ยงโชค เมตตา และมหาเสน่ห์แรงมากฯลฯ เวลากินข้าวให้เรียกกินด้วย ทั้งหมั่นทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับดวงวิญญาณเจ้าของผ้า จะเป็นการเพิ่มความเฮี๊ยนให้กับผืนผ้าอีก ประวัติรุ่นการสร้างผ้ายันต์ .- ผ้ายันต์ม้าเสพนางของท่านครูบาต๋าสร้างทั้งหมดอยู่ ๑๕ รุ่น รุ่นแรกสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ชื่อ “พี่ทองพูน” สร้างตั้งแต่ตอนที่ท่านครูบาต๋าดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดควรนิมิตร ตำบลมะขามหลวง อำเภอสันป่าตอง จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ท่านครูบาต๋าได้สละตราตั้งเจ้าอาวาสวัดควรนิมิตรคืนเจ้าคณะอำเภอสันป่าตอง เพื่อขอไปปรนนิบัติรับใช้ท่านครูบาชุ่ม วัดวังมุย จังหวัดลำพูน ผู้เป็นอาจารย์ซึ่งชราภาพและเริ่มอาพาธ ท่านครูบาต๋าจึงไม่ได้สร้างผ้ายันต์ม้าเสพนางและวัตถุมงคลอย่างอื่นต่อ และได้สร้างผ้ายันต์ม้าเสพนางรุ่นที่ ๒ ใน ๒ ปีต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ชื่อ “พี่รุ่งรัตน์” และสร้างรุ่นที่ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ชื่อ “พี่ศรีทอง” (ต้อย) เพื่อแจกให้แก่ชาวบ้านเหล่าและชาวสันป่าตองพ่อค้าประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง ที่ได้เข้ามาช่วยกันแผ้วถางวัดร้างกลางทุ่งนาที่ดอนทุ่งมะโจกสันป่าตองซึ่งปัจจุบันก็คือวัดบ้านเหล่า จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๐ หลังเสร็จพิธีปลงศพท่านครูบาชุ่ม ศิษย์ที่อยู่อำเภอพระประแดงสมุทรปราการได้เดินทางมาช่วยท่านครูบาต๋าสร้างศาลาบาตรและพระวิหารที่วัดร้างบ้านเหล่าจนแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ และได้สร้างเหรียญรุ่นแรกถวายท่านครูบาต๋าเป็นที่ระลึกในการฉลองสมโภชพระวิหารในครั้งนั้น ซึ่งมีเกจิอาจารย์ล้านนาสายปฏิบัติที่เคยรับใช้ใกล้ชิดท่านครูบาเจ้าศรีชัยและเป็นเกจิอาจารย์ที่ท่านครูบาต๋านับถือร่วมพิธีพุทธาภิเษกในครั้งนั้นด้วยมีท่านครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง, ท่านครูบาอินโต วัดบุญยืน, ท่านครูบาอินตา วัดห้วยไซร้ ฯลฯ และได้รับการแต่งตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “วัดอุโบสถบ้านเหล่า” แต่การสร้างถาวรวัตถุในวัดบ้านเหล่ายังคงค้างอีกหลายอย่าง ต้องใช้ทุนทรัพย์และปัจจัยมากพอสมควร ปัจจัยที่ชาวบ้านเหล่าช่วยกันถวายมาไม่เพียงพอ ญาติโยมที่รู้ข่าวจึงได้เดินทางมาจากทุกทั่วสารทิศเพื่อมาร่วมกันสร้างกุศลบุญร่วมกับท่านครูบาต๋าในครั้งนั้น ท่านครูบาต๋าจึงตอบแทนญาติโยมด้วยการสร้างวัตถุมงคลและสร้างผ้ายันต์ม้าเสพนางขึ้นมาอีก ๑๐ รุ่น ในระยะเวลา ๔ ปี เพื่อมอบให้แก่ญาติโยมที่ได้สละแรงกายและทรัพย์สินส่วนตัวร่วมกันสร้างถาวรวัตถุเพื่อสืบทอดบวรพระพุทธศาสนาในวัดบ้านเหล่าจนแล้วเสร็จ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๒๖ ท่านครูบาต๋าได้เริ่มสร้างผ้ายันต์ม้าเสพนางรุ่นที่ ๔ ชื่อ “พี่เจี๊ยบ” โสภาวรรณ ซึ่งเป็นรุ่นที่นิยมที่สุด รุ่นที่ ๕ ชื่อ “พี่เทียมต๋า” รุ่นที่ ๖ ชื่อ “พี่หน้อย” ประทุม รุ่นที่ ๗ ชื่อ “พี่เทียมจั๋น” รุ่นที่ ๘ ชื่อ “พี่ศิริพร” รุ่นที่ ๙ ชื่อ “พี่สมพิต แสนจิตต์” รุ่นที่ ๑๐ ชื่อ “พี่วาสนา” รุ่นที่ ๑๑ ชื่อ “พี่สุพิน” รุ่นที่ ๑๒ ชื่อ “พี่สมพร” รุ่นที่ ๑๓ ชื่อ “พี่ศิริลักษณ์ สมเพชร” เว้นว่างจากการสร้างผ้ายันต์ม้าเสพนางไปนาน ๔ ปี เพราะถาวรวัตถุในวัดบ้านเหล่าสร้างเสร็จสมบูรณ์ ท่านครูบาต๋าไม่ได้สร้างผ้ายันต์ม้าเสพนางต่อ แต่ในปี พ.ศ.๒๕๓๐ มีญาติโยมเดินทางมาจากตัวเมืองเชียงใหม่จากอำเภอพระประแดงสมุทรปราการจากกรุงเทพฯและนครปฐม มาขอเมตตาให้ท่านครูบาต๋าสร้างผ้ายันต์ม้าเสพนางขึ้นมาอีก บางท่านมานอนรอกันเป็นอาทิตย์ ด้วยความสงสารท่านครูบาต๋าจึงบอกจะสร้างให้อีก ๒ รุ่นเท่านั้น ก็คือรุ่น “พี่นาย” นงนุช และรุ่น “พี่อำพร” ซึ่งในโอกาสนั้นท่านครูบาต๋า ได้มอบหมายให้ข้าพเจ้าซึ่งในขณะนั้นบวชเรียนเป็นผู้วาดต้นแบบผ้ายันต์ม้าเสพนาง ๒ รุ่นสุดท้าย ด้วยวิวัฒนาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น ๒ รุ่นสุดท้ายของผ้ายันต์ม้าเสพนางท่านครูบาต๋า จึงเป็นแบบซิลค์สกรีนไม่ใช่แบบพิมพ์เหมือนผ้ายันต์ม้าเสพนางในยุคต้นของท่าน (Cr.ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากร้าน ต้นสันป่าตอง2
ราคาเปิดประมูล600 บาท
ราคาปัจจุบัน600 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลอา. - 14 มี.ค. 2564 - 09:47.52
วันปิดประมูล อ. - 23 มี.ค. 2564 - 12:04.41 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 600 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดก่อนกำหนดโดยผู้ตั้งประมูล
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top