พระพุทธเมตตา พระประธานในพระมหาเจดีย์พุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย - webpra

ประมูล หมวด:เบ็ดเตล็ด เกี่ยวกับพระเครื่อง

พระพุทธเมตตา พระประธานในพระมหาเจดีย์พุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย

พระพุทธเมตตา พระประธานในพระมหาเจดีย์พุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย พระพุทธเมตตา พระประธานในพระมหาเจดีย์พุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระพุทธเมตตา พระประธานในพระมหาเจดีย์พุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
รายละเอียดล็อกเก็ต พระพุทธเมตตา นำมาจากประเทศอินเดีย

พระประธานในพระมหาเจดีย์พุทธคยา
เมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย

:b47: :b44: :b47:

ศาสนวัตถุสำคัญที่ประดิษฐานอยู่ในบริเวณพุทธคยาอีกอย่างหนึ่ง
ที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกนิยมเดินทางไปกราบสักการะกันมาก
ก็คือองค์ “พระพุทธเมตตา” ซึ่งเป็นพระพุทธปฏิมาอันงดงามยิ่ง
ประดิษฐาน ณ ห้องบูชาชั้นล่างสุดของพระมหาเจดีย์พุทธคยา
ทางประตูด้านทิศตะวันออก มีอายุกว่า ๑,๔๐๐ กว่าปี ไล่เลี่ยกับยุคสมัย
ของหลวงพ่อพระพุทธเจ้าองค์ดำ หรือ “หลวงพ่อองค์ดำ” เมืองนาลันทา
ซึ่งก็เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพุทธศรัทธานับถือเช่นกัน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39407

พระพุทธลักษณะขององค์พระพุทธเมตตา
แกะสลักจากหินสีดำเนื้อละเอียด ศิลปะสมัยราชวงศ์ปาละ
คนไทยเรียกว่าเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือปางชนะมาร
คนอินเดียเรียกว่า ปางภูมิสัมผัส หรือปางภูมิผัสสะ
แปลว่า ทรงชี้ให้แผ่นดินเป็นพยานแห่งการทำความดีในอดีต
เพราะตอนที่พระยามารพร้อมเสนามาร
มาผจญไล่พระพุทธองค์ให้ลุกหนีไปเสียจากพุทธบัลลังก์ที่ประทับ
ทรงชี้ให้พระแม่ธรณีมาเป็นพยานในการทำความดีในอดีตของพระองค์
โดยพระแม่ธรณีได้บีบน้ำในมวยผม
ที่พระพุทธองค์ได้ทรงฝากไว้ตอนตรวจน้ำทำบุญทุกครั้ง
กระทั่งในที่สุดทำให้พระยามารต้องพ่ายแพ้ต่อพระพุทธบารมี

เหตุที่เรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธเมตตา”
ด้วยเพราะพระพักตร์เปี่ยมไปด้วยความอ่อนโยน เมตตากรุณา
ปัจจุบัน มีชาวพุทธผู้ศรัทธาเดินทางมาปิดทององค์พระพุทธเมตตา
เหลืองอร่ามสุกใสงดงาม ฉัพพรรณรังสีประดับด้วยอัญมณีและพลอย
อีกทั้งนิยมมาห่มผ้าองค์พระและถวายเครื่องบูชาต่างๆ มากมาย

มีตำนานที่น่าสนใจเกี่ยวกับองค์พระพุทธเมตตา คือ
ครั้งหนึ่ง พระเจ้าสาสังการ กษัตริย์ฮินดูจากเบงกอล
เมื่อขึ้นครองราชย์ก็ทรงมีนโยบายทำลายพระพุทธศาสนา
ได้ยกกองทัพมาถึงบริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์
ได้สั่งให้กองทหารของตนทำลายต้นพระศรีมหาโพธิ์ พร้อมกับขุดรากขึ้นมาเผา
(ภายหลัง พระเจ้าปรณวรมา ได้เสด็จมาพบ ทรงเร่งให้บูรณะพระศรีมหาโพธิ์ขึ้นใหม่)
และได้เข้าไปในพระมหาเจดีย์ เห็นพระพุทธรูปพระองค์หนึ่ง
คิดจะทำลายด้วยตนเอง แต่ทำลายไม่ลงเพราะพระพักตร์อันเปี่ยมด้วยเมตตา
เมื่อยกทัพกลับพระนคร คิดว่าหากปล่อยให้พระพุทธรูปอยู่ในพระวิหาร
พุทธศาสนิกชนก็จะฟื้นฟูขึ้นมาอีก จึงให้นายทหารคนหนึ่งไปทำลายทิ้ง
นายทหารนั้นไปถึงก็ไม่กล้าทำลายเพราะเป็นชาวพุทธ
แต่ครั้นจะไม่ทำลายก็เกรงพระราชอาญา อาจจะถูกประหารทั้งครอบครัว
จึงคิดว่าไม่ทำลายดีกว่า เพียงแต่ซ่อนองค์พระพุทธปฏิมานี้เอาไว้ก็พอ
จึงเอาอิฐมาก่อปิดทางเข้าห้องบูชาเพื่อไม่ให้ใครเห็น แล้วตั้งรูปพระเมหศวรไว้ด้านหน้า

เมื่อกลับไปรายงาน พระเจ้าสาสังการ ว่าทำลายพระพุทธรูปเรียบร้อยแล้ว
แทนที่จะดีพระทัยกลับหวาดกลัวในอกุศลกรรม
ภายหลังต่อมาได้ล้มป่วยลง พระวรกายเน่าเปื่อยเนื้อหลุดเป็นชิ้นๆ
ด้วยบาปกรรมที่สั่งให้ทำลายต้นพระศรีมหาโพธิ์ และองค์พระพุทธเมตตา
เมื่อพระเจ้าสาสังการสิ้นพระชนม์แล้ว ทหารคนนั้นจึงกลับไปที่พระมหาเจดีย์
นำเอาอิฐที่มุงบังองค์พระพุทธรูปออก และจุดตะเกียงน้ำมันบูชา
ปรากฏว่าดวงประทีบที่นายทหารคนนั้นจุดบูชาพระพุทธรูปยังส่องสว่างอยู่

:b47: :b44: :b47:

คำบูชาพระพุทธเมตตา

วันทามิ อิมัง พุทธะเมตตาปะฏิมัง อิมัสมิง คะยาสีเส
ปูชาระเห สักการะภูเต เจติเย สุปะติฎฐิตังฯ
อิมินา ปะนะ วันทะมาเนนะ มา เม ทะลิททิยัง
อะหุ พะหุชะนานัง ปิโย โหมิ มะนาโป
สาธุ โน ภันเต อิเมหิ สักกาเรหิ อะภิปูชะยามิ

ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ พระพุทธเมตตาปฏิมานี้ ซึ่งประดิษฐานตั่งมั่นดีแล้ว
ในองค์พระเจดีย์ที่คยาสีสะประเทศนี้ อันเป็นสถานที่ควรแก่เครื่องบูชาสักการะ
ด้วยการกราบไหว้นี้ ขอความเป็นผู้ขัดสนอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าเลย
ขอให้ข้าพเจ้าเป็นที่รักเป็นที่พอใจ ของคนทั่วไป
ข้าแต่องค์พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอบูชาโดยยิ่ง ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้

จากหนังสือพระพุทธมนต์ ตามรอยบาทพระศาสดา
โดย พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ)

:b47: :b44: :b47:

พุทธคยาเป็นตำบลเล็กๆ นอกเมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
เป็นพระเจดีย์พฤกษ์สำหรับมวลพุทธศาสนิกชนทั่วโลก
ซึ่งล้วนต่างปรารถนาจะเดินทางมายังสถานที่แห่งนี้
เพราะที่นี่คือสถานที่อุบัติขึ้นแห่งพระบรมศาสดาเอกของโลก
กว่าพุทธคยาจะเป็นดังเช่นปัจจุบันนี้ได้ ก็ด้วยแรงศรัทธาจากพุทธศาสนิกชน
ผู้ทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ และแรงทุนทรัพย์ เพื่อฟื้นภาพอดีตให้ได้ความยิ่งใหญ่
ในฐานะที่เป็นพุทธอนุสรณ์สถานแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธองค์

สายน้ำในอินเดียย่อมหลั่งไหลมาจากทิวเขาหิมาลัยเป็นเบื้องต้นฉันใด
ต้นสายธาราแห่งพุทธธรรมย่อมถือกำเนิดขึ้นที่พุทธคยาฉันนั้น
พุทธศาสนิกชนผู้มายังที่แห่งนี้ ต่างพากันมาละเว้นความชั่ว ประพฤติความดี
ทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส ดำเนินตามรอยพระพุทธบาทแห่งพระบรมศาสดา
ผู้ทรงเป็นศาสดาเอกผู้ได้ตรัสรู้ธรรม ณ พระแท่นวัชรอาสน์ พุทธคยานี้เอง

----------------------------------------


ราคาเปิดประมูล50 บาท
ราคาปัจจุบัน150 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลพฤ. - 18 พ.ค. 2566 - 21:36.11
วันปิดประมูล พฤ. - 18 พ.ค. 2566 - 23:41.03 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 150 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
khentis (734) (-1) 49.228.251.250
100 บาท พฤ. - 18 พ.ค. 2566 - 22:40.01
khentis (734) (-1) 49.228.251.250
150 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พฤ. - 18 พ.ค. 2566 - 22:41.03
กำลังโหลด...
Top