
ประมูล หมวด:พระกรุ เนื้อชิน
พระปรุหนัง เนื้อชิน กรุวัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา
ชื่อพระเครื่อง | พระปรุหนัง เนื้อชิน กรุวัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา |
---|---|
รายละเอียด | พระปรุหนัง : ยอดพระดังเมืองอโยธยา เป็นพระพิมพ์แบบฉลุ มีลวดลายเครือเถา และลวดลายกนกเปลว สถานที่ค้นพบ : แตกกรุครั้งแรก ราวปี พ.ศ.2450 ณ วัดพุทไธสวรรค์ และวัดทั่วๆ ไป ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา : แตกกรุอีกครั้ง เมื่อประมาณปี พ.ศ.2495 ที่กรุวัดพระศรีสรรเพชญ์กับกรุวัดมหาธาตุ ซึ่งอยู่ติดกับวัดราชบูรณะ มีจำนวนไม่มาก พบทั้งชำรุดและสมบูรณ์แบบคละเคล้ากันไป เนื่องด้วยกรุมีความชื้นสูง ทำให้พระปรุหนังขาดความสมบูรณ์ : แตกกรุต่อมาหลายครั้งหลายหน และหลายวัด เมื่อประมาณปี พ.ศ.2500 เช่นที่ วัดราชบูรณะและวัดชนะสงคราม ทั้งที่เปิดกรุอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ (คือขโมยขุด) : ครั้งสุดท้าย แตกกรุที่วัดปราสาท เมื่อประมาณปี พ.ศ.2506 อายุการสร้าง : ผู้สันทัดกรณีคาดว่าน่าจะสร้างขึ้นในยุคต้นๆ ของสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ 600 ปีก่อน ศิลปะพระพิมพ์ : สกุลช่างชาวอยุธยาอย่างชัดเจน ขนาดพระพิมพ์ : มีความยาวประมาณ 2 นิ้ว ส่วนสูงประมาณ 2.5 นิ้ว พุทธลักษณะ : พระประธานองค์กลาง คือ องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งบนอาสนะมีฐานบัว 2 ชั้น (คว่ำ-หงาย) เป็นอาสนะรองรับ : มีเอกลักษณ์ประทับนั่งแบบขัดสมาธิเพชร ส่วนประทับนั่งขัดสมาธิราบนั้น เข้าใจว่าพบน้อย : ด้านข้างทั้งสอง (ซ้าย-ขวา) ขององค์ประธาน เป็นภาพของอัครสาวก องค์ขวามือคือ พระสารีบุตร องค์ซ้ายมือคือ พระโมคคัลลาน์ ประทับยืนพนมมือ : เป็นพระพิมพ์แบบฉลุ มีลวดลายเครือเถาและลวดลายกนกเปลว เป็นรูป 4 เหลี่ยม มีลายเส้นและช่องไฟเท่ากัน ทั้งด้านซ้ายและขวา : มีรอยฉลุแบบภาพหนังตะลุง ที่ฉลุด้วยหนังวัวหรือหนังกระบือ หากมองภาพของลายจะคล้ายกับซุ้มโพธิ์บัลลังก์ หรือร่มโพธิ์นั่นเอง พระพิมพ์ที่พบ : เท่าที่พบเห็นเล่นหาตามมาตรฐานสากล มีด้วยกัน 6 พิมพ์ คือ 1. พิมพ์บัวเม็ด มีความนิยมอยู่ในระดับสูงสุด 2. พิมพ์บัวก้างปลา มีทั้งบัวห่างกับบัวถี่ 3. พิมพ์บัวกลีบ แบบบัวหลังเบี้ย องค์พระมีลักษณะนั่งขัดสมาธิเพชร 4. พิมพ์ปรุหนังเดี่ยว แบบฐานสำเภา บ่งบอกถึงสกุลช่างอู่ทองอย่างชัดเจน 5. พิมพ์บัวเดี่ยว 6. พิมพ์ลีลา เท่าที่พบเห็น จะมีขนาดโตกว่าปรุหนัง พิมพ์นิยม เนื้อพระพิมพ์ : พระปรุหนัง โดยมากจะสร้างด้วยเนื้อชินเงิน ลักษณะบอบบางมาก? เปราะและหักได้ง่ายดาย สาเหตุเพราะ เนื้อชินหมดยาง เหมือนกับไม้ผุๆ ซึ่งทำให้สภาพของพระไม่ค่อยคงทนนัก : นอกจากเนื้อชินเงินแล้ว ยังมีพระปรุหนัง เนื้อดิน และชินสังฆวานร : พระปรุหนัง ที่สร้างด้วยเนื้อชินแท้มักจะมีผิวสีขาว บางท่านเรียก ผิวปรอท ผิวจะแห้งผากและแห้งสนิท สีสันจืดชืดไร้อารมณ์ แต่คงความแห้งเป็นหลัก ถ้านำมาใช้ถูกเหงื่อไคล ผิวของเนื้อชินจะกลับกลายเป็นสีดำ หรือสนิมดำ : แต่ถ้าเป็นเนื้อชินแบบตะกั่วลูกปืนหรือตะกั่วดำ บางท่านเรียก ชินสังควานร คือ มีความอ่อนตัว บิดงอได้ |
ราคาเปิดประมูล | 50 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 170 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 10 บาท |
วันเปิดประมูล | อ. - 24 ส.ค. 2564 - 00:59.30 |
วันปิดประมูล |
จ. - 13 ก.ย. 2564 - 00:59.30 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 170 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
เพิ่มครั้งละ | 10 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...