พระสมเด็จพระครูสุพจน์ วัดสุทัศน์ รุ่นอินโดจีน ปี2484 พิมพ์ไกเซอร์ (เศียรโต) หลังยันต์ (มีซ่อม) - webpra

ประมูล หมวด:พระสมเด็จทั่วไป

พระสมเด็จพระครูสุพจน์ วัดสุทัศน์ รุ่นอินโดจีน ปี2484 พิมพ์ไกเซอร์ (เศียรโต) หลังยันต์ (มีซ่อม)

พระสมเด็จพระครูสุพจน์ วัดสุทัศน์ รุ่นอินโดจีน ปี2484 พิมพ์ไกเซอร์ (เศียรโต) หลังยันต์ (มีซ่อม) พระสมเด็จพระครูสุพจน์ วัดสุทัศน์ รุ่นอินโดจีน ปี2484 พิมพ์ไกเซอร์ (เศียรโต) หลังยันต์ (มีซ่อม) พระสมเด็จพระครูสุพจน์ วัดสุทัศน์ รุ่นอินโดจีน ปี2484 พิมพ์ไกเซอร์ (เศียรโต) หลังยันต์ (มีซ่อม)
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระสมเด็จพระครูสุพจน์ วัดสุทัศน์ รุ่นอินโดจีน ปี2484 พิมพ์ไกเซอร์ (เศียรโต) หลังยันต์ (มีซ่อม)
รายละเอียดมีซ่อม แต่ดูสวยอยู่ครับ ซื้อเป็นเนื้อครูดูผงเก่าได้ครับ

***พระ สมเด็จ พระครูสุพจน์ วัดสุทัศน์ รุ่นอินโดจีน ปี2484 พิมพ์ไกเซอร์ (เศียรโต) หลังยันต์ องค์นี้สวย สภาพเดิมๆ หลังยันต์ ลึก คม ชัด เนื้อมวลสารจัด แท้ดูง่ายครับ


***ประวัติความเป็นมา***
หลวง พ่อสุพจน์ วัดสุทัศน์ ท่านเป็นพระลูกวัดของวัดสุทัศน์ในยุคพระสังฆราชแพ และพระครูลมูล อีกทั้งท่านยังสนิทสนมกันมากกับหลวงปู่นาควัดระฆัง ได้รับชิ้นส่วนแตกหักของสมเด็จวัดระฆังโดยตรงจากหลวงปู่นาคอีกด้วย ท่านเก็บสะสมพระแตกหักต่างๆที่คนเอามาทิ้งไว้ที่วัด นำมาบดละเอียดเป็นมวลสารในการสร้างพระขึ้นมาสืบต่อศาสนา โดยแจกให้กับลูกศิษย์ลูกหาของท่าน บางส่วนได้หลงเหลืออยู่ที่วัดสุทัศน์(ในสมัยโน้น)หลวงพ่อสุพจน์ท่านเป็น พระเกจิที่สันโดษมาก ทำให้คนรู้จักจักกันน้อย ++++หนังสือบางเล่มลงว่าพระผงของหลวงพ่อสุพจน์เป็นเนื้อสมเด็จวัดระฆังล้วน โปรดใช้วิจารณญาณ

สมัย ก่อนพระชำรุดแตกหัก คนจะนำไปถวายไว้ที่วัด หลักการเดี่ยวกันกับวิธีการสร้างพระของพระครูลมูล สันนิษฐานว่าหลวงพ่อสุพจน์เองคงมีวิชาไม่น้อยเพราะได้อยู่ที่วัดสุทัศน์ ได้ร่วมพิธีการสร้างพระกริ่งต่างๆมากมาย พระของท่านน่าจะได้เข้าร่วมในพิธีปลุกเสกพระกริ่งรุ่นต่างๆของทางสายวัด สุทัศน์ด้วย

พระ สมเด็จชุดนี้จัดสร้างโดยหลวงพ่อสุพจน์ นามเต็มของท่านคือ "พระครูพุทธมนต์วราจารย์" ท่านเป็นพระแบบว่าเก่งเงียบ ท่านมีวิชาลบผงสร้างผงจากตำราโบราณของวัดสุทัศน์ (ตำราโบราณของพระครูลมูล วัดสุทัศน์) เป็นสหายธรรมกับหลวงปู่นาคและหลวงปู่หินวัดระฆัง จึงได้รับมอบผงสมเด็จวัดระฆังที่แตกหักเป็นจำนวนมาก ท่านเป็นหนึ่งในเกจิที่ร่วมปลุกเสกพระยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ และงานพุทธาภิเษกใหญ่ ๆ เช่นพิธีวัดประสาทฯ ปี 06 พิธีปลุกเสกพระประจำจังหวัดชลบุรี ปี 09 ที่วัดป่าชลบุรี ก็มีชื่อของท่านในทำเนียบพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับการนิมนต์มาร่วมพิธีปลุก เสกด้วย สมเด็จพิมพ์นี้สร้างที่วัดสุทัศน์ฯ เมื่อปี 84 (พิธีอินโดจีน) โดยลูกศิษย์ของท่านนำพระสมเด็จวัดระฆังที่แตกหักจำนวนมากและไม่ได้ใครสนใจมา ถวายท่าน ท่านจึงนำพระเหล่านั้นมาบดเป็นผงละเอียดและได้แกะพิมพ์ขึ้นมาใหม่ เช่น พระสมเด็จพิมพ์วัดระฆัง พระสมเด็จพิมพ์วัดบางขุนพรหม พระสมเด็จพิมพ์วัดเกษไชโย วัดเงินคลองเตย วัดพลับ วัดสามปลื้ม วัดโพธิ์ ขุนแผนบ้านกร่าง หลวงพ่อโตบางกระทิง พระลีลา เปิดโลก และพิมพ์ต่างอีกมากด้านมีทั้งปั๊มยันต์พุฒซ้อน และยันต์ตรี พร้อมได้กราบเรียนสมเด็จพระสังฆราชแพเพื่อขออนุญาตนำพระเข้าปลุกเสกในพิธี นั้นพร้อม ๆ กับวัตถุมงคลต่าง ๆ หลังจากนั้นจึงได้มอบให้แก่ลูกศิษย์ตลอดจนทหาร ตำรวจ และข้าราชการต่าง ๆ ที่ต้องไปราชการสงครามในสมัยนั้นเพื่อไปเป็นมงคล ปรากฎว่า "ประสบการณ์ดีเยี่ยม" พอข่าวนี้แพร่ออกไปปรากฎว่ามีประชาชนต่างมาทยอยขอพระสมเด็จจากท่านจำนวนมาก ซึ่งท่านก็มอบให้ด้วยความเต็มใจจนหมด จึงเรียกได้ว่าพระชุดนี้ "ดีนอก ดีใน" จริง ๆ

สมัย ก่อนพระแตกหักคนโบราณเขาไม่เอาเข้าบ้านกันถ้ามีพระแตกหักเขาจะนำไปไว้ที่วัด เพราะฉะนั้นเมื่อปี2480กว่าๆนั้นชิ้นส่วนสมเด็จวัดระฆัง นั้นยังไม่มีราคา หลวงพ่อจึงได้รวบรวมจากตามวัดและลูกศิษย์นำมาถวายนำมาบดและกดพิมพ์เป็นพระ พิมพ์ต่างๆ และยังได้นำเอาเข้าพิธีปลุกเสกใหญ่ๆเช่นพิธีอินโดจีน วัดสุทัศน์ปี84-85 พิธีวัดประสาทปี06 จึงได้แจกให้แก่ลูกศิษย์นำไปบูชากัน

พิธีปลุกเสก พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี 84-85 ซึ่งพระครูสุพจน์ วัดสุทัศน์ ได้นำเอาประสมเด็จพิมพ์ต่างๆของท่านเข้าร่วมพิธีด้วย
1.สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์
2.ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์
3. หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
4.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
5.หลวงปู่นาค วัดระฆัง
6.หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู
7.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
8. หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง
9.หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง
10.หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
11.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด
12.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
13.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
14.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
15.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
16.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
17. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
18.พระพุทธโฆษาจารย์เจริญ วัดเทพศิรินทร์
19.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
20.หลวงพ่อติสโสอ้วน วัดบรมนิวาส
21.สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ
22.พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์
23.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา
24.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
25.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
26.หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค
27.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ
28.หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้
29.หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี
30.หลวงพ่อกลิ่น วัดสพานสูง
31.สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ
32.หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม
33.หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม
34.หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ
35.หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน
36. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน
37.หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด
38. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
39.หลวงพ่อสอน วัดพลับ
40.หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์
41.หลวงพ่อบัว วัดอรุณ
42. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ
43.หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง
44.หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน
45.หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ
46.หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ
47.หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ
48.หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ
49.หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม
50.หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์
51.หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ
52. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา
53.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
54. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
55.หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ
56.หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน
57.หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส
58.หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง
59.หลวงปู่รอด วัดวังน้ำว
60.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
61.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม
62.หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง
63.หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก
64.หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ
65. หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง
66.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
67.หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
68.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง
69.หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า
70.หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง
71.หลวงพ่อเลียบ วัดเลา
72.หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง
73.หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า
74.หลวงปู่เผือก วัดโมรี
75.หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ
76. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม
77.หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม
78.หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์
79.หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว
80. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง
81.หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง
82.หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร
83.หลวงพ่อศรี วัดพลับ
84.พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ
85. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก
86.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
87.หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา
88.หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ
89.หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม
90.หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา
91.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม
92.หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์
93.หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง
94.หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม
95.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง
96. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง
97.หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร
98. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร
99.หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ
100. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด
101.หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย
102. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ
103.หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ
104. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง
105.พระอธิการชัย วัดเปรมประชา
106. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น
107.หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ
108.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสก แต่จารแผ่นทองเหลือง ทองแดงมาร่วมพิธี)

พิธีวัดประสาทปี06 ซึ่งพระครูสุพจน์ วัดสุทัศน์ ได้นำเอาประสมเด็จพิมพ์ต่างๆของท่านเข้าร่วมพิธีด้วย
อาจารย์ทิม วัดช้างไห้
ลพ.คล้าย วัดสวนขัน
ลพ.ดิษฐ์ วัดปากสระ
ลพ.น้อย วัดธรรมศาลา
ลพ.ใจ และ ลพ. พล วัดวังยายหุ่น
ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
ลพ.แดง วัดเขาบันไดอิฐ
ลพ.มุ่ย วัดดอนไร่
ลพ.เงิน วัดดอนยายหอม
ลพ.กวย วัดโฆสิตาราม
ลพ.พรหม วัดช่องแค
ลพ.ทบ วัดชนแดน
ลป.ทิม วัดละหารไร่
ลป.เขียว วัดหรงมล
ลพ.จง วัดหน้าต่างนอก
ลป.ดู่ วัดสะแก
ลป.สี วัดสะแก
ลพ.แพ วัดพิกุลทอง
ลป.นาค วัดระฆังฯ
ลป.หิน วัดระฆังฯ
ลพ.โบ๊ย วัดมะนาว
พระอ.นำ วัดดอนศาลา
ลพ.เส่ง วัดกัลยา
ลพ.ถิร วัดป่าเลไลย์
ลพ.เต๋ วัดสามง่าม
ลพ.หน่าย วัดบ้านแจ้ง
ลพ.บุญมี วัดเขาสมอคอน
ลพ.เหรียญ วัดบางระโหง
ลป.เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
ลพ.ครื้น วัดสังโฆ
ลพ.แช่ม วัดนวลนรดิษฐ์
ลพ.นอ วัดกลางท่าเรือ
ลพ.ผล วัดเทียนดัด
ลพ.โด่ วัดนามะตูม
ลพ.ชื้น วัดญาณเสน
ลพ.สุด วัดกาหลง
ลพ.เนื่อง วัดจุฬามณี
ลพ.กี๋ วัดหูช้าง
ลพ.แก้ว วัดช่องลม
ลพ.กัน วัดเขาแก้ว
ลพ.ทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
ลพ.ฑูรย์ วัดโพิ์นิมิตร
เจ้าคุณเจีย วัดโพธิ์
เจ้าคุณประหยัด วัดสุทัศน์
ลพ.ดี วัดเหนือ
ลพ.แขก วัดหัวเขา
ลพ.ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด
ลพ.ทองสุข วัดสะพานสูง
ลพ.มิ่ง วัดกก
ลพ.เฮี้ยง วัดป่าฯ
ลพ.จวน วัดหนองสุ่ม
ลพ.อั้น วัดพระญาติ
ลพ.เทียม วัดกษัตราธิราช
ลพ.สอน วัดเสิงสาง
ลพ.แทน วัดธรรมเสน
ลพ.เทียน วัดโบสถ์
ลพ.นิล วัดครบุรี
ลพ.บุดดา วัดกลางชูศรี
ฯลฯ
เฉพาะ เกจิที่ทางวัดสุทัศน์+วัดปราสาท คัดเลือกให้ร่วมเข้าปลุกเสกในพิธีนั้นๆ เขาก็คัดเลือกจากสุดยอดเกจิในยุคนั้น เกจิหลายๆองค์ในนี้ล้วนแต่มี การสร้างพระเครื่องเป็นของตนเอง ซึ่งคนนำไปบูชาแล้วเกิดประสบการณ์ในด้านต่างๆ จึงเป็นที่เสาะแสวงหาในหมู่ลูกศิษย์และบุคลทั่วๆไป ค่านิยมก็ หลักหลายๆพันถึงหลักล้านก็มีให้เห็น เพราะฉะนั้นการได้บูชาพระเครื่องที่เกิจิเหล่านั้นร่วมกันปลุกเสกกันอย่าง เข้มขลังในราคาพันกว่าหรือพันต้นๆนี้เทียบกับพุทธคุณนี้เทียบกันไม่ได้เลย ถ้าใครอยากหาพระมาห้อยคอคุ้มครองตัวเองซักองค์นี่จึงเป็นโอกาศที่ไม่ควรพลาด อย่างยิ่งครับ
ราคาเปิดประมูล540 บาท
ราคาปัจจุบัน550 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลส. - 09 ต.ค. 2564 - 16:58.26
วันปิดประมูล พ. - 13 ต.ค. 2564 - 22:05.51 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 550 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
550 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พ. - 13 ต.ค. 2564 - 21:05.51
กำลังโหลด...
Top