พระขุนแผนไข่ผ่าซีก กรุวัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี - webpra

ประมูล หมวด:พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระขุนแผนไข่ผ่าซีก กรุวัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี

พระขุนแผนไข่ผ่าซีก กรุวัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี พระขุนแผนไข่ผ่าซีก กรุวัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี พระขุนแผนไข่ผ่าซีก กรุวัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี พระขุนแผนไข่ผ่าซีก กรุวัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี พระขุนแผนไข่ผ่าซีก กรุวัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระขุนแผนไข่ผ่าซีก กรุวัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี
รายละเอียดสัปดาห์พระเครื่อง / ราม วัชรประดิษฐ์

วัดพระรูป ต.ท่าพี่เลี้ยง จ.สุพรรณบุรี เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นแหล่งกำเนิดพระกรุเก่าที่มีชื่อเสียงหลายประเภท ซึ่งโดยส่วนใหญ่นำมาผูกกับวรรณคดีที่เข้าใจว่าแต่งขึ้นสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 คือ ‘ขุนช้างขุนแผน’ ท่านสุนทรภู่ ยังได้รจนาใน ‘นิราศสุพรรณ’ เมื่อปี พ.ศ.2378 ไว้ว่า
"ฝั่งซ้ายฝ่ายฟากโน้น พิศดาร

มีวัดพระรูปบุราณ ท่านสร้าง

ที่ถัดวัดประตูสาร สงฆ์สู่ อยู่เอย

หย่อมย่านบ้านขุนช้าง ชิดข้างสวน บัลลังค์"

พระกรุวัดพระรูปที่ขึ้นชื่อลือชาและเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง คือ ขุนแผนไข่ผ่าซีก หรือที่เรียกว่า “พระขุนแผนไข่ผ่า” นอกจากนี้ยังมี พระพลายงาม พระขุนไกร และ พระกุมารทอง (พระยุ่ง) เป็นต้น

ผู้สร้าง

พระขุนแผนกรุวัดพระรูป นี้ เข้าใจว่าสร้างในสมัยอู่ทอง ซึ่งนับว่ามีอายุเก่าแก่กว่าพระตระกูลขุนแผนทั้งหมด

การค้นพบ

พระกรุวัดพระรูป นั้น มีการค้นพบอยู่ตามพื้นทั่วไปภายในบริเวณวัด สันนิษฐานว่า ในสมัยก่อนน่าจะมีพระเจดีย์อยู่หลายองค์ แต่ทรุดโทรมไปตามกาลเวลาและปรักหักพังลงมา ทำให้องค์พระในพระเจดีย์กระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ยิ่งถ้าฝนตกก็จะพบองค์พระโผล่ขึ้นมาให้เห็นเสมอ

ในปี พ.ศ.2508 ทางวัดมีความประสงค์จะสร้างพระอุโบสถใหม่แทนหลังเก่าซึ่งชำรุดทรุดโทรม จึงได้ประกาศให้ชาวบ้านให้มาช่วยขุดดินรอบๆ โบสถ์ โดยไม่มีค่าจ้าง ใครได้พระก็เอาไป พอขุดไปเพียงศอกเศษๆ ก็เริ่มพบพระ ยิ่งขุดลึกก็ยิ่งพบพระมากขึ้น บางคนที่ไม่ได้พระก็มี อันนี้น่าจะเกี่ยวกับบุญวาสนา ต่อมาในปี พ.ศ.2510 ทางวัดเอารถมาเกรดปรับพื้นที่ของวัด ก็ยังพบพระอีกบ้างประปราย และในปี พ.ศ.2513 ทางวัดมีความประสงค์จะก่อสร้างวิหารพระปางไสยาสน์ จึงได้ประกาศให้ชาวบ้านช่วยกันเช่นเดิม ก็ได้พระตระกูลขุนแผนไปอีกร้อยกว่าองค์

เนื้อหามวลสาร

เป็นพระเนื้อดินเผา ที่มีส่วนผสมของว่านและแร่ต่างๆ มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด

พุทธลักษณะ

พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย บนฐานบัวหงาย ภายในซุ้มเรือนแก้ว ด้านหลังเป็นหลังอูม และยังมีการแบ่งแยกออกไปเป็น 2 พิมพ์ย่อย ตามขนาดขององค์พระ คือ

- พิมพ์ไข่ผ่าซีก องค์พระจะมีขนาดและลักษณะคล้ายไข่ไก่ผ่าซีก

- พิมพ์แตงกวาผ่าซีก องค์พระจะมีเล็กและเรียวกว่า ลักษณะคล้ายแตงกวาผ่าซีก

เอกลักษณ์แม่พิมพ์ ของ พระขุนแผนไข่ผ่าซีก

- ปลายพระเกศจะมีติ่งงอคล้ายเงี่ยงเบ็ดหรือแฉกลูกศรอยู่ทางซ้ายขององค์พระ อันเป็นจุดสังเกตสำคัญ

- พระพักตร์เป็นทรงรี พระกรรเจียก (ขมับ) ทั้งสองข้างยุบตัวเข้าไป เหนือพระกรรเจียกซ้ายจะมีเส้นพิมพ์แตกวิ่งเฉียงไปจรดซุ้ม

- พระกรรณทั้งสองข้าง ส่วนบนจะติดไม่ค่อยชัดนัก และปรากฏส่วนตอนล่างรำไร (ต้องใช้กล้องส่อง) วิ่งลงมาจรดพระอังสา และมีเส้นเอ็นพระศอวิ่งเชื่อมอีกหนึ่งเส้น

- ซุ้มเรือนแก้ว มีลักษณะพลิ้วโค้ง มีเสาซุ้มรับทั้งสองด้าน

- ระหว่างเสาซุ้มด้านซ้ายขององค์พระกับลำพระกรซ้ายจะมีจุดเล็กๆ หนึ่งจุด อยู่ตรงกลางเหนือพระกัประ (ข้อศอก) ด้านนอกขององค์พระ

- มีเอกลักษณ์สำคัญที่คนโบราณเรียกกันว่า "ตราเบนซ์" คือ เป็นรูปดาวสามแฉก คล้ายโลโก้รถ Mercedes - Benz แฉกแหลมสามอันจะมีรอยย่นๆ เล็กน้อย บางคนเรียก แฉกดาว ใบพัดเรือ หรือ กังหัน
- มีเส้นคั่นกลางระหว่างพระเพลากับฐานบัวหงาย ลักษณะเป็นเส้นหนา แต่ตรงกลางเส้นจะขาดๆ หายๆ

- ฐานบัวจะคลี่กลับ บานออกด้านขวามือ ด้านล่างระหว่างกลีบบัวที่คลี่จะมีเส้นเรียวเล็กๆ ปลายแหลมโค้งสะบัดพลิ้วอย่างงดงาม

พุทธคุณ

พุทธคุณเป็นเลิศทางด้านคงกระพันชาตรีและเมตตามหานิยม

การพิจารณา

ดูสภาพความเก่าของเนื้อมวลสาร ซึ่งแม้จะดูคล้ายพระขุนแผนพิมพ์อื่นๆ แต่มีความแน่นตัวมากกว่า เมื่อใช้ถูกเหงื่อจะขึ้นมันเงางาม นอกจากนี้จะปรากฏเม็ดแร่สีน้ำตาลอมแดงกระจายอยู่ทั่วองค์

นอกจาก “พระขุนแผน กรุวัดพระรูป” ที่โด่งดังแล้ว “พระกรุวัดพระรูป” ยังมีพระพิมพ์อื่นๆ ส่วนใหญ่การเรียกขานนามจะนำมา ผูกกับตัวละครในวรรณคดี อาทิ พระพลายงาม พระขุนไกร พระกุมารทอง (พระยุ่ง) พระมอญแปลง พระนาคปรกชุมพล ฯลฯ พระทุกพิมพ์ล้วนแสวงหายากยิ่งในปัจจุบันสนนราคาก็สูงขึ้นตามความต้องการครับผม
CR.สยามรัฐพระเครื่อง

ขอบคุณเจ้าของข้อมูล ค้นหาจาก GOOGLE
----------------------------------------
องค์นี้พระสวย สมบูรณ์ เนื้อละเอียด ลงกล้องแร่ดอกมะขามตามเนื้อพระมีให้เห็น ผิวพรรณสะอาดนวลตามากครับ
ราคาเปิดประมูล35,000 บาท
ราคาปัจจุบัน35,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ500 บาท
วันเปิดประมูลพ. - 18 ม.ค. 2566 - 11:43.15
วันปิดประมูล อ. - 07 ก.พ. 2566 - 11:43.15 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 35,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ500 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top