
ประมูล หมวด:หลวงพ่อกลั่น - หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม - หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ทรงไก่ เนื้อดิน ปี2533 รุ่นสู่มาตุภูมิ จ.พระนครศรีอยุธยา



ชื่อพระเครื่อง | หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ทรงไก่ เนื้อดิน ปี2533 รุ่นสู่มาตุภูมิ จ.พระนครศรีอยุธยา |
---|---|
รายละเอียด | หลวงพ่อปาน ถือกำเนิดที่ย่านวัดบางนมโค เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2418 ท่านเป็นบุตรชายคนเล็กของ คุณพ่ออาจ และคุณแม่อิ่ม สุทธาวงศ์ อาชีพของครอบครัว คือการทำนาสาเหตุที่โยมบิดาขนานนามท่านว่า ปาน เนื่องจากท่านมีสัญญลักษณ์ประจำตัวที่นิ้วก้อยมือซ้ายเป็นปานแดง ตั้งแต่โคนนิ้วถึงปลายนิ้ว ซึ่งนับว่าแปลกและไม่ค่อยจะมีกันหลวงพ่อปาน อุปสมบทเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2438 โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ ต.น้ำเต้า อ.บางบาล จ.อยุธยา พระกรรมวาจาจารย์ คือ พระอาจารย์จ้อย วัดบ้านแพน ต.สามกอ อ.เสนา จ.อยุธยา พระอนุสาวนาจารย์ คือ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ ต.บางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา ท่านได้ ฉายาว่า โสนันโท เมื่อหลวงพ่อปาน อุปสมบทแล้ว ได้มาอยู่ที่วัดบางปลาหมอ โดยมีหลวงพ่อสุ่น เป็นอาจารย์สอนกรรมฐานวิปัสสนาพุทธาคมต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนผู้คนที่ถูกคุณไสยฯ หลวงพ่อปานได้รับการถ่ายทอดวิชาต่างๆจนหมดสิ้น เรียนพระปริยัติธรรมและภาษาบาลีกับอาจารย์จีน วัดเจ้าเจ็ด ๒ ปี, และไปเรียนต่อที่วัดสระเกศ กรุงเทพฯ อีก จนจบอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ใช้เวลาอยู่กรุงเทพฯ ๕ ปี ขณะที่อยู่กรุงเทพฯ เรียนเพิ่มเติมที่วัดสังเวชด้านแพทย์แผนโบราณ ได้หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี เป็นอาจารย์สอนด้านกรรมฐานเพิ่มเติม เป็นเวลารวมประมาณ ๓ เดือน ศึกษาเพิ่มเติมกับหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน อ.สองพี่น้อง สุพรรณบุรี ประมาณ ๑ เดือน เรียนวิชาจากชีปะขาว ในการสร้างพระเครื่อง มีรูปแบบ ๖ พิมพ์ เรียนวิชาจากอาจารย์แจง ซึ่งเป็นฆราวาสชาวสวรรคโลก ได้สอน "ยันต์เกราะเพชร" เป็นยันต์ที่ยอดเยี่ยมมาก เมื่อเรียนจบแล้วก็มาตั้งสำนักสอนภาษาบาลี และนักธรรมที่วัดบางนมโค และได้เริ่มก่อสร้างวัดบางนมโค จนเจริญรุ่งเรือง ตราบจนกระทั่งทุกวันนี้ นอกจากวัดบางนมโคแล้ว ท่านยังได้สร้างวัดต่างๆ อีกประมาณ ๔๑ วัด และยังมีการสร้างโบสถ์อีกมากมายหลายแห่ง นับว่าเป็นพระที่มีบารมีสูงมาก จึงสามารถสร้างสิ่งถาวรวัตถุ เพื่อสืบศาสนาได้มากขนาดนี้ เมื่อท่านเรียนวิชาจากหลวงพ่อสุ่นแล้ว ก็ออกธุดงค์เพียงองค์เดียวในป่าลึก และเมื่อท่านได้ลูกศิษย์ (ซึ่งมีพระมหาวีระ ถาวโร รวมอยู่ด้วย) ก็พาออกธุดงค์จนถึงเขตแดนพม่า ซึ่งระหว่างธุดงค์ได้พบกับเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งนับว่าล้วนแปลกมหัศจรรย์ บางท่านเมื่อได้อ่านพบ หรือได้ฟังแล้วต่างพูดกันว่าเป็นไปได้หรือ ส่วนการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ อีกทั้งผู้ที่ถูกของหรือถูกคุณไสยทุกชนิด ถ้าพาคนเจ็บมาถึงวัดบางนมโค และได้รับการรักษาจากหลวงพ่อปานแล้ว ทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ผิดหวัง รอดตายหายดีทุกราย หลวงพ่อปานท่านมีลักษณะของมหาบุรุษ มีผิวพรรณขาวสะอาด เสียงกังวานไพเราะ มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ลักษณะ รูป กาย สมส่วน มีเมตตาปราณีแก่สัตว์โลกทั้งหลาย ไม่ถือชั้นวรรณะ ต้อนรับผู้คนที่มาหาโดยไม่เลือกว่าเป็นเศรษฐี ผู้ดี ไพร่, ว่ากันว่าบุคคลที่มีจิตใจชั่วช้ามัวเมา หากได้สนทนากับหลวงพ่อแล้ว จะกลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดีได้อย่างไม่น่าเชื่อ กิจวัตรประจำวันของท่านฯ ยามที่ท่านอยู่วัด ส่วนใหญ่หลังจากที่ท่านฉันเรียบร้อยแล้ว ท่านฯ จะพักผ่อนจนถึงเวลาฉันเพล นั่นคือเวลาที่ท่านได้พักผ่อนจริงๆ หลังจากนั้นแล้ว ท่านก็จะออกมานั่งรับแขก และทำน้ำมนต์เตรียมไว้เพื่อรักษาคนไข้ คนป่วยต่างๆ ที่มาหาท่าน วันหนึ่งๆ มีคนมาหาท่าน เพื่อขอความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก สารพัดโรค ถูกทำของหรือถูกคุณไสยก็มีเยอะ รักษากันตั้งแต่เพลเรื่อยไป บางวันถึงดึกดื่นก็มี แม้ท่านฯ จะเหนื่อยยากเพียงไร ท่านก็สงเคราะห์ชาวบ้านเช่นนี้เสมอไป ถึงแม้หลวงพ่อปานท่านจะจากไปแล้ว แต่ท่านก็ได้ทิ้งมรดกอันล้ำค่า ไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน หรือบุคคลที่นับถือเลื่อมใสท่าน มรดกอันมีค่าควรเมืองได้แก่ ๑. พระหลวงพ่อปาน ๒. ผ้ายันต์, ยันต์เกราะเพชร ๓. พระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์ ยันต์เราะเพชร การเป่ายันต์เกราะเพชรนี้ ท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า ท่านได้เรียนมาจากอาจารย์แจง ซึ่งเป็นฆราวาส ชาวสวรรคโลก จากตำราของอาจารย์พระร่วง แต่ผู้ที่จะทำให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ได้ ต้องมีศีลบริสุทธิ์ และมีฌานแก่กล้า จึงจะทำให้ยันต์นั้นเข้าไปสถิตย์อยู่ในตัวของผู้ที่ต้องการได้ ยันต์เกราะเพชรนี้ มาจากการเขียนบทพระพุทธคุณห้องต้น คือ พระอิติปิโสภควา จนถึง พุทโธภควาติ เรียกว่า พระอิติปิโสแปดทิศนี้ รูปแบบและพระคาถาแบบนี้ ๑. อิระชาคะตะระสา ๒. ติหังจะโตโรถินัง ๓. ปิสัมระโลปุสัตพุท ๔. โสมานะกะริถาโธ ๕. ภะสัมสัมวิสะเทภะ ๖. คะพุทปันทู ทัมวะคะ ๗. วาโธโนอะมะมะวา ๘. อะวิสุนุสานุสติ พระคาถานี้ มีอุปเท่ห์การใช้แต่ละบทอย่างพิศดาร ทั้งแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี คุ้มกันอันตราย เรียกว่าฝอยท่วมหลังช้าง แล้วแต่จะใช้คุ้มกันตัว เวลากลางคืนก่อนนอนให้ท่องพระคาถานี้ตามกำลังวัน แล้วตั้งจิตให้นิ่งและให้เป็นวงรอบเขตบ้าน หรือสถานที่พักแรม จะป้องกันภัยได้ทุกสารทิศ ศัตรู โจรจู่โจมก็ให้รู้สึกตัวก่อน ป้องกันได้ทันแล ยันต์เกราะเพชรของหลวงพ่อปานนี้ ก็ใช้บทพระพุทธคุณห้องต้น มาเรียงกันตามตำรา กำหนดแล้วขีดเส้นโยงเป็นตารางสานกันไปมา ระหว่างตัวอักขระพระอิติปิโสนี้ บังเกิดเป็นเกราะแก้ว ประสานกันรอบตัวยันต์ โดยเพิ่มตัวอุณาโลมและตัวโมลงไปด้วย ดังนั้น ยันต์เกราะเพชรของท่าน จึงสามารถคุ้มกันอันตราย ดุจมีเกราะแก้วกำบังตัว และมีกำแพงแก้วแปดชั้นมากั้นมารร้ายแล (ผ้ายันต์ของหลวงพ่อปานก็มียันต์เกราะเพชร ตกถึงสมัยยุคนี้ยังพอมีให้เห็น แต่ผู้เป็นเจ้าของก็หวงแหนมาก) |
ราคาเปิดประมูล | 279 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 279 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 20 บาท |
วันเปิดประมูล | อา. - 30 เม.ย. 2566 - 06:23.57 |
วันปิดประมูล |
ส. - 20 พ.ค. 2566 - 06:23.57 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 279 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
เพิ่มครั้งละ | 20 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
ยังไม่มีผู้ประมูล |
กำลังโหลด...