พระกำแพงห้าร้อยตัดเก้า กรุวัดบรมธาตุ กำแพงเพชร - webpra

ประมูล หมวด:พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระกำแพงห้าร้อยตัดเก้า กรุวัดบรมธาตุ กำแพงเพชร

พระกำแพงห้าร้อยตัดเก้า กรุวัดบรมธาตุ กำแพงเพชร พระกำแพงห้าร้อยตัดเก้า กรุวัดบรมธาตุ กำแพงเพชร พระกำแพงห้าร้อยตัดเก้า กรุวัดบรมธาตุ กำแพงเพชร พระกำแพงห้าร้อยตัดเก้า กรุวัดบรมธาตุ กำแพงเพชร พระกำแพงห้าร้อยตัดเก้า กรุวัดบรมธาตุ กำแพงเพชร
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระกำแพงห้าร้อยตัดเก้า กรุวัดบรมธาตุ กำแพงเพชร
รายละเอียดแต่จากรูปผมเปิดเทียบในเน็ตแล้วเป็นพระกำแพงห้าร้อย ตัด 9 ครับ
พระกำแพงห้าร้อย
พระกำแพงห้าร้อย เป็นพระแผงที่ใหญ่กว่าฝ่ามือเล็กน้อย เป็นพระที่ทำมาสองหน้าหล่อประกบมีพระเล็ก ๆ อยู่ทั้งสองหน้า มีหน้าละ ๒๕๑ องค์ รวมสองหน้าก็เท่ากับ ๕๐๒ องค์ พระกำแพงห้าร้อย ที่สมบูรณ์อยู่ครบแผงนั้น คนสมัยก่อนนิยมนำมาบูชา เพราะถือว่ากันไฟชะงัดนัก ส่วนแผงไหนชำรุดหรือไม่สมบูรณ์มักจะนำมาตัดให้เหลือหน้าละ ๙ องค์เพื่อจะนำติดตัวไว้ใช้เพราะถือว่าแคล้วคลาดคงกระพันดีนัก พระกำแพงห้าร้อย ที่ถูกพบจะมีเนื้อชินเท่านั้นมาปรากฏว่ามีเนื้ออื่นพบที่วัดบรมธาตุ วัดกะโลทัย และวัดอาวาสน้อยพระกำแพงห้าร้อยนั้นจัดว่าเป็นพระที่มีราคาเช่าหาสูงเพราะถือว่าหายากโดยเฉพาะถ้าเต็มแผงจะหายากมากที่สุด ผู้เขียนคิดว่า เวลานี้ในประเทศไทยคงจะมีพระกำแพงห้าร้อยที่เต็มแผงสมบูรณ์อยู่ไม่เกิน ๑๐ แผงแน่ ๆ ถ้าผู้ใดมีเต็มแผงต้องหวงแหนมากเลยทีเดียว


‘พระกรุพระธาตุนาดูน’สารคาม
พุทธศิลป์ทวารวดี-แห่งลุ่มน้ำชี
‘พระกรุพระธาตุนาดูน’สารคาม พุทธศิลป์ทวารวดี-แห่งลุ่มน้ำชี – เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม จัดกิจกรรมเปิดเวทีเสวนา “นครจัมปาศรี เมืองประวัติศาสตร์ และพื้นที่ศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งลุ่มแม่น้ำชี จากมิติด้านโบราณวัตถุสถาน” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ของเมืองนครจัมปาศรี ที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เชิญ นายเกียรติศักดิ์ จันทรา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหา สารคาม เป็นประธานเปิดเวทีเสวนา
นางบำเพ็ญ บุตรวิเศษยน ผอ.กองคลัง รักษาการตำแหน่ง ปลัดปฏิบัติหน้าที่นายก อบต.กู่สันตรัตน์ ประธานคณะกรรมการจัดโครงฯ กล่าวว่า การจัดเวทีเสวนา นครจัมปาศรี เมืองประวัติศาสตร์ และพื้นที่ศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งลุ่มแม่น้ำชี จากมิติด้านโบราณวัตถุสถาน
ครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ของเมืองนครจัมปาศรี ที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเป็นแนวทางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับเมืองนครจัมปาศรี และประวัติความเป็นมาของกู่สันตรัตน์ กู่น้อย ศาลานางขาว ฯลฯ ให้กับหัวหน้าส่วนราชการ เยาวชนและประชาชน ที่ต.กู่สันตรัตน์ อีกทั้งยังเป็นการให้ตระหนักถึงคุณค่าทางประวัติ ศาสตร์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ต.กู่สันตรัตน์ อ.นาดูน เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาในการบูรณะ พัฒนาต่อยอดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถานที่สำคัญต่อไป
นายสมชาติ มณีโชติ ภาควิชาประวัติ ศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวบนเวทีเสวนาตอนหนึ่ง ว่า เมืองนครจัมปาศรี หรือ อำเภอนาดูน ในปัจจุบัน อดีตเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดีในยุคตอนปลาย

ประมาณ พ.ศ.1300-1400 ซึ่งทวารวดีในภาคอีสานจะอยู่ช่วงตอนปลายทั้งสิ้น อาทิ เมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ เมืองโบราณ คันธาระ อ.กันทรวิชัย และ เมืองจัมปาศรี อ.นาดูน จ.มหาสารคาม เป็นต้น โบราณวัตถุที่เป็นพระพุทธรูปของทวาฯยุคนี้พระพักต์จะเป็นรูปทรงกระบอกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะศิลปะทวารวดีในภาคอีสาน



หลักฐานหลายอย่างที่บ่งชี้ว่า นครจัมปาศรีอยู่ในยุคทวารวดี ได้แก่ ผังเมืองจากภาพถ่ายทางอากาศจะเห็นคูน้ำคันดิน เป็นลักษณะที่มีมาตั้งแต่ช่วงสมัยประวัติศาสตร์ตอนปลายที่นาดูน ผังเมืองเป็นแนวยาวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และคูน้ำคันดินจะมีสองชั้นตรงกลางจะมีร่องน้ำปัจจุบันถูกทำลายไปหมดกลายสภาพเป็นหนองน้ำก็มี

นอกจากนี้ ตำแหน่งที่ขุดพบพระกรุจำนวนมากพร้อมพระบรมสารีริกธาตุในฐานซากเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ.2522 สันนิษฐานว่าน่าจะเป็น “พระมหาธาตุเจดีย์” หรือเจดีองค์ประธานของเมืองจัมปาศรี เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งของเจดีย์จะอยู่เยื้องไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ อยู่นอกคันดิน คล้ายกับตำแหน่งที่ตั้งของพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม หรือที่เมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เป็นต้น และที่ผ่านๆ มาในเขต อ.นาดูน ชาวบ้านเคยขุดเจอซากอิฐ ซากเจดีย์ตามโคกเนินหลายแห่งรวมทั้งพบพระพิมพ์หลายครั้งแต่ก็พบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่เคยพบจำนวนมากเหมือนที่แตกกรุ ปี 2522
พระกรุพระธาตุนาดูน ที่พบปีพ.ศ.2522 มีมากกว่าสี่สิบพิมพ์ อายุในช่วงสมัยทวารวดี ที่ได้รับอิทธิพลแบบคุปตะจากอินเดีย ศิลปะยุคนี้สังเกตเห็นชัดเจนคือจีวรจะแนบลำตัวคล้ายผ้าเปียกน้ำ สำหรับพุทธลักษณะเฉพาะของพระกรุพระธาตุนาดูน ที่ประภามณฑลของพิมพ์ยืน จะเห็นเปลวรัศมีเป็นรูปใบไม้ ซึ่งจะพบเฉพาะทวารวดีในลุ่มน้ำชีเท่านั้น อาทิ อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ และที่เมือง คันธาระ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เป็นต้น แต่พบไม่มากเท่าที่อำเภอนาดูน


ส่วนเรื่องราวที่ปรากฏในพระพิมพ์ดินเผาที่พบจะเป็นพุทธประวัติแนวคติเถรวาท แต่มีบางพิมพ์ที่เป็นพุทธมหายาน สังเกตจากที่มีรูปคนยืนถือดอกบัวซ้าย ขวาข้างรูปพระพุทธในพระพิมพ์ ตีความว่าเป็นพระโพธิสัตว์ การพบพระพิมพ์ดินเผาจำนวนมากในซากเจดีย์ ปี 2522 ผู้สร้างน่าจะเป็นผู้มีบุญบารมีอาจเป็น เจ้าเมืองหรือกษัตริย์ จึงมีการสร้างพระพิมพ์จำนวนมากอีกทั้งพุทธศิลป์ก็สวยงาม ส่วนคติความเชื่อการสร้างน่าจะสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา และเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ สักการบูชา
พระกรุพระบรมธาตุนาดูน ที่พบในปี พ.ศ.2522 จึงน่าจะเป็นแหล่งที่พบพระพิมพ์สมัยทวารวดีมากที่สุดในแถบลุ่มน้ำชีและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ราคาเปิดประมูล990 บาท
ราคาปัจจุบัน990 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ990 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 02 พ.ค. 2566 - 22:01.04
วันปิดประมูล อ. - 02 พ.ค. 2566 - 22:03.28 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
เบอร์ติดต่อ 0819627789
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 990 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ990 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดก่อนกำหนดโดยผู้ตั้งประมูล
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top