
ประมูล หมวด:พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์สมาธิปรกโพธิ์




ชื่อพระเครื่อง | พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์สมาธิปรกโพธิ์ |
---|---|
รายละเอียด | พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์สมาธิปรกโพธิ์ วัดท้ายตลาด หรือ วัดโมลีโลกยาราม เป็นวัดเก่าแก่โบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ถือเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และวัดพระศรีรัตนศาสดารามในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และยังมีความสำคัญต่อเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์อีกด้วย สมัยรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ พระมหาศรี วัดราชสิทธิ์ เป็นพระเทพโมลี แล้วให้มาครองวัดนี้ ต่อมาจึงได้เลื่อนเป็น พระพุทธโฆษาจารย์ รัชกาลที่ 2 ทรงเปลี่ยนนามพระอารามเป็น "วัดพุทไธศวรรยาวาส" รัชกาลที่ 3 ทรงให้ปฏิสังขรณ์พระอารามโดยตลอด พร้อมกับพระอารามอื่นๆ อีก และทรงเปลี่ยนนามเป็น "วัดโมลีโลกยาราม" มาจนทุกวันนี้ ฯลฯ วัดท้ายตลาด ยังเคยเป็นสถานศึกษาของพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 อนึ่ง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) สมัยเป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ก็เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของรัชกาลที่ 3 และถวายพระอักษร รัชกาลที่ 4 เมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) มรณภาพลง รัชกาลที่ 3 ทรง ให้หล่อรูปประดิษฐานไว้ในหอที่ทรงสร้างไว้ในวัดเรียกกันว่า "หอสมเด็จ" (ทรง ให้หล่อพร้อมกับพระรูปสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) ที่วัดราชสิทธาราม) พระวัดท้ายตลาด ในช่วงแรกๆ ที่กรุแตกนั้น ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก จนเมื่อคราวเกิดสงครามอินโดจีน ได้มีการนำพระส่งไปยังกระทรวงกลาโหม เพื่อแจกจ่ายไปยังเหล่าทัพต่างๆ เป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ด้วยพุทธคุณขององค์พระเป็นที่ปรากฏประจักษ์แก่สายตา ทำให้ได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น จนถึงปัจจุบันกลายเป็นพระพิมพ์เนื้อผงยอดนิยมในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชาไทยไปแล้ว การค้นพบ พระวัดท้ายตลาด ได้ถูกคนร้ายลักลอบเจาะมาช้านานแล้ว ต่อมาในราวปี พ.ศ. 2485 ในช่วงสงครามอินโดจีน ทางราชการได้มีหนังสือขอพระเครื่องมา พระประสิทธิสีลคุณ เจ้าอาวาสในสมัยนั้น จึงได้ดำริให้ขุดกรุพระเจดีย์รายในวัด นับเป็นการแตกกรุครั้งแรก ได้พระเครื่องออกมาจำนวนมาก และได้มอบให้ทางราชการไปส่วนหนึ่ง ซึ่งสร้างปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏจนเป็นที่กล่าวขาน นอกจากนี้ยังได้พบพระแบบเดียวกันที่ วัดนางชี วัดหงษ์ วัดตะล่อม ฯลฯ แสดงว่าคงมีการบรรจุไว้ตามวัดต่างๆ หลายวัดด้วย เนื้อหามวลสาร เป็นพระเนื้อผง ทำด้วยว่านและเกสรดอกไม้ร้อยแปด ผสมกับปูนขาวและผงใบลาน สำหรับพระที่พบที่กรุวัดท้ายตลาดจะมีเนื้อค่อนข้างเขียวอมดำหรือเทาแก่จนใกล้จะเป็นดำ พุทธลักษณะ พระพิมพ์ปางต่างๆ ที่พบ ล้วนเป็นคติการสร้างพระพุทธรูปซึ่งเกิดใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทั้งสิ้น มีพุทธลักษณะพิมพ์ทรงงดงามได้สัดส่วน ละเอียด ประณีต และอ่อนช้อย คาดว่าน่าจะเป็นฝีมือของช่างหลวงในสมัยนั้นเป็นผู้แกะพิมพ์ ด้วยพระที่พบมีหลายแบบหลายพิมพ์ จึงตั้งชื่อพิมพ์ตามพุทธลักษณะเด่นขององค์พระ อาทิ พระพิมพ์ถวายเนตร พระพิมพ์อุ้มบาตร พระพิมพ์ปางห้ามญาติ ห้ามสมุทร ปางป่าเลไลยก์ พิมพ์สมาธิแหวกม่าน พิมพ์โมคคัลลาน์-สารีบุตร พิมพ์สมาธิข้างกนก พิมพ์พุทธกวัก พิมพ์สมาธิบัวสองชั้น พิมพ์นาคปรกใหญ่ พิมพ์หยดแป้ง และ พิมพ์ปางไสยาสน์ เป็นต้น ด้านพุทธคุณ มีพุทธคุณเป็นเลิศด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ รวมไปถึงแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี แนวทางในการพิจารณา การที่พระบรรจุในกรุพระเจดีย์ตามวัดต่างๆ สภาพแวดล้อมและสภาวะภายในกรุแต่ละกรุจะแตกต่างกัน ทำให้องค์พระมีลักษณะพื้นผิวที่ต่างกันด้วย ดังนั้นนอกเหนือจากการพิจารณาความเก่า เนื้อหา และพิมพ์ทรงแล้ว ต้องดูที่คราบกรุเป็นสำคัญ เพราะค่านิยมแต่ละกรุจะลดหลั่นแตกต่างกันไปครับผม ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บ สยามรัฐออนไลน์ 22 พฤศจิกายน 2562 22:00 พระเครื่อง เผื่อไปดูรูปอื่นๆนะครับ |
ราคาเปิดประมูล | 50 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 1,250 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 50 บาท |
วันเปิดประมูล | จ. - 25 ก.ย. 2566 - 10:46.27 |
วันปิดประมูล |
อา. - 15 ต.ค. 2566 - 10:46.27 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 1,250 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
เพิ่มครั้งละ | 50 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
100 บาท | อ. - 04 ก.พ. 2563 - 10:30.28 | |
500 บาท | ศ. - 10 เม.ย. 2563 - 16:13.05 | |
600 บาท | พ. - 15 เม.ย. 2563 - 16:48.13 | |
700 บาท | พฤ. - 16 เม.ย. 2563 - 23:09.49 | |
1,000 บาท | อา. - 21 มิ.ย. 2563 - 19:30.44 | |
1,050 บาท | อ. - 15 ก.ย. 2563 - 22:30.39 | |
1,200 บาท | อ. - 29 ก.ย. 2563 - 23:04.52 | |
1,250 บาท | ส. - 22 พ.ค. 2564 - 07:41.36 |
กำลังโหลด...