พระพุทธกษัตราภิมงคล หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา ปี2519 - webpra

ประมูล หมวด:พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520

พระพุทธกษัตราภิมงคล หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา ปี2519

พระพุทธกษัตราภิมงคล หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา ปี2519 พระพุทธกษัตราภิมงคล หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา ปี2519 พระพุทธกษัตราภิมงคล หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา ปี2519 พระพุทธกษัตราภิมงคล หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา ปี2519 พระพุทธกษัตราภิมงคล หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา ปี2519
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระพุทธกษัตราภิมงคล หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา ปี2519
รายละเอียดพระพุทธกษัตราภิมงคล เป็นพระ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ประกอบพิธีเททองเมื่อ 19 กรกฎาคม 2519 พร้อมเสด็จฯเป็นองค์ประธานในพิธีพุทธาภิเษกอย่างเป็น ทางการ โดยทางคณะศิษยานุศิษย์ได้จัดสร้างขึ้น เมื่อคราวมีงานฉลองอายุครบ 6 รอบ 72 ปี ของ (หลวงปู่เทียม) ในปี 2517 มีกล่องเดิม

"พระพุทธกษัตราภิมงคล"อีกหนึ่งของดี"เมืองอยุธยา"

ก่อนจะแนะนำอีกหนึ่ง “ของดีเมืองอยุธยา” ซึ่งถือได้ว่าเป็น “ของดี” ที่ถูกซ่อนเร้นอยู่ใน “วัดกษัตราธิราช” ได้เช่นกันผู้เขียนขอย้อนรอยถึงเรื่องราวหนึ่งกับท่าน “ผู้อ่านความจริง...อ่านเดลินิวส์” เพราะเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจและ “อยู่ในความทรงจำ” ของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ (ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตแล้ว) ได้เล่าสืบต่อกันมาร่วม ๕๐ ปี เรื่องนี้ก็คือเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕-๒๕๐๖ “พระครูสมุห์อำพล พลวัฒฑโน” เจ้าอาวาสวัด ประสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯได้จัดสร้าง “วัตถุมงคล” ขึ้นจำนวนมากโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาทุนสร้าง พระอุโบสถและเสนาสนะ ที่ถูกไฟเผาผลาญไปเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ นอกจากสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบ “หลวงปู่ทวด” ด้วยเนื้อผงพุทธคุณต่าง ๆ แล้วยังได้สร้าง “พระกริ่งวัดประสาทบุญญาวาส” ขึ้นอีกด้วยตามที่นักสะสมทราบกันดีอยู่แล้ว

ซึ่งการสร้างพระกริ่งในครั้งนั้นขณะทำพิธี “เททองหล่อ” นายช่างได้ทำการหลอมโลหะซึ่งมี “แผ่นโลหะจารอักขระเลขยันต์” ของพระคณา จารย์ผู้ทรงวิทยาคุณในยุคนั้นจากพระทั่วราชอาณาจักร ที่มีเมตตามอบให้เพื่อผสมกับโลหะที่ทางวัดประสาทฯจัดไว้สำหรับหล่อพระกริ่งและวัตถุมงคลเนื้อโลหะรูปแบบอื่น ๆ ปรากฏว่า “แผ่นโลหะจารอักขระ” ของคณาจารย์รูปอื่น ๆ ต่างหลอมละลายหมดแต่กลับมี “แผ่นโลหะจารอักขระ” แผ่นหนึ่ง “ไม่ยอมหลอมละลาย” สร้างความประหลาดใจให้กับนายช่างและผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นมาก นายช่างจึงทำการตักเอาแผ่นโลหะจารอักขระแผ่นนั้นขึ้นมาตรวจสอบปรากฏว่าเป็นของท่าน “พระครูใบฏีกาเทียม สิริปัญญ โญ” หรือที่รู้จักกันดีคือ “หลวงปู่เทียมวัดกษัตราธิราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” ตั้งแต่นั้นมา “หลวงปู่เทียม” จึงเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักแสวงหาวัตถุมงคลในยุคนั้น

ซึ่งในความเป็นจริง “หลวงปู่เทียม” นับเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณที่รู้จักกันดีของชาวพระนครศรีอยุธยามาช้านานแล้วและยอมรับว่าท่านเป็นผู้สำเร็จ “ตำราพิชัยสงคราม” ของ “สมเด็จพระพนรัตน์” แห่งวัดป่าแก้วซึ่งเป็นพระอาจารย์ของ “พระมหากษัตริย์ยอดนักรบไทย” ซึ่งก็คือ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ผู้ทรงคุณอันประเสริฐและยิ่งใหญ่ในแผ่นดินไทยและเหตุที่บอกว่า “หลวงปู่เทียม” สำเร็จ “ตำราพิชัยสงคราม” ก็เพราะท่านนับเป็นผู้ที่มีความเพียรพยายามศึกษา“ตำราพิชัยสงคราม” ซึ่งสืบทอดมาจาก “สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว” ที่ตกทอดมาถึง “วัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” เพราะเป็นวัดที่มีสำนักเรียนตำราพิชัยสงครามสืบทอดมาแต่ครั้งกรุงเก่าซึ่งมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ สำเร็จการศึกษาพระเวทวิทยาคมอันเป็นส่วนหนึ่งของตำราพิชัยสงคราม (ตำราพิชัยสงครามก็คือตำราที่ว่าด้วยความมีชัยชนะในการต่อสู้ และการต่อสู้ในที่นี้หมายถึงการต่อสู้ในราชการสงคราม) มากมายหลายท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็คือ “พระพุทธพิถีนายก (บุญ ขันธโชติ)” หรือที่นักสะสมทั่วไปเรียกท่านว่า “หลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว” อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม รวมทั้ง “หลวงพ่อน้อยวัดธรรมศาลา” อ.เมือง จ.นครปฐม โดยเฉพาะ “หลวงพ่อน้อยวัดธรรมศาลา” รูปนี้ก็ได้เคยบอกต่อศิษย์เอกของท่านผู้หนึ่งที่มีตำแหน่งเป็น “ผู้พิพากษา” แต่สนใจในเรื่องของวิทยาคมและวัตถุมงคลที่เคยเรียนถามท่านว่า “เมื่อสิ้นหลวงพ่อน้อยแล้วจะมีพระคณาจารย์รูปใดอีกที่พอจะพึ่งพาด้านวิทยาคมบ้าง” หลวงพ่อน้อยก็ตอบว่าให้ไปหา “หลวงปู่เทียมวัดกษัตราธิราช” และต่อมาท่านผู้พิพากษาก็เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่เทียมตามคำแนะนำของ “หลวงพ่อน้อย” หลังจากที่ท่านสิ้นแล้ว




ทางด้านกิตติคุณของ “หลวงปู่เทียมวัดกษัตราธิราช” เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีความสามารถหลายด้านทั้ง การก่อสร้าง, การต่อสู้ด้วยหมัดมวยกระบี่กระบอง, ช่างลงรักปิดทอง, ช่างฉลุหนัง” รวมทั้ง “ช่างดอกไม้เพลิง” ก็ชำนาญแม้กระทั่งงานช่างที่เรียกว่า “ช่างสิบหมู่” ก็ทำได้เช่นกันซึ่งท่าน “พระครูพิศาลกิจจาทร” แห่ง วัดเกาะแก้วอรุณคาม อ.วิหารแดง จ.สระบุรี ซึ่งเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเล่าว่า “มีอยู่ครั้งหนึ่งที่หลวงปู่เทียมทำการบูรณะพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ที่ชำรุดเอนเอียงแตกร้าวจะล้มมิล้มแหล่ด้วยวิธี “ขันชะเนาะ” โดยพระพุทธรูปดังกล่าวหากเป็นสมัยนี้ก็จะต้องทุบทำลายทิ้งแล้วสร้างขึ้นใหม่แต่ด้วยจิตวิญญาณความเป็นช่างของ “หลวงปู่เทียม” ท่านกลับเลือกวิธี “ขันชะเนาะ” ด้วยความอดทนวันละเล็กละน้อยในที่สุดก็ฉุดเอาพระพุทธรูปองค์นั้นตั้งตรงได้ แล้วบูรณะให้มีสภาพสมบูรณ์ดุจเดิมพร้อมทำการลงรักปิดทองสวยงามมากขึ้น” นอกจากนี้ยังทำการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและเสนาสนะของวัดกษัตราธิราชโดยเฉพาะ “พระอุโบสถมหาอุตม์” อันเป็นศิลปะสถาปัตยกรรมสมัย กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หลวงปู่เทียมก็ใช้ความรู้ความสามารถบูรณะรักษาพระอุโบสถหลังนี้ให้คงทนถาวรมาถึงปัจจุบันซึ่งมีอายุกว่า ๔๐๐ ปี

จากความสามารถเชิงช่างโดยเฉพาะ “ช่างสิบหมู่” ของหลวงปู่เทียมความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง “โรงเรียนศูนย์ฝึกอาชีพการช่างสิบหมู่ของไทย” ไว้ในบริเวณวัดกษัตราธิราชและทรงรับไว้ในพระราชูปถัมภ์พร้อมให้อยู่ในความดูแลของหลวงปู่เทียม แต่เป็นที่น่าเสียดายหลังจากหลวงปู่เทียมมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ โรงเรียนดังกล่าวก็มิได้รับการดูแลจากเจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราชรูปต่อมาอีกเลย จึงทำให้โรงเรียนศูนย์ฝึกอาชีพฯแห่งนี้ต้องปิดตัวลง

“ผู้เขียน” จึงใคร่เสนอแนะให้วัดกษัตราธิราชซึ่งปัจจุบันมีท่านเจ้าคุณ “พระญาณไตรโลก (สุชาติ ฐานิสฺสโร)” เป็นเจ้าอาวาสรูปใหม่น่าจะ ฟื้นฟู โรงเรียนศูนย์ฝึกอาชีพฯแห่งนี้ขึ้นใหม่เพื่อสานเจตนารมณ์ของ “หลวงปู่เทียม” พร้อมเป็นการรักษาวิชา “ช่างสิบหมู่” อันเป็นมรดกทรงคุณค่าของชาติไทยที่สืบทอดมาช้านานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป.
ที่มา http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=1045






ตามรูปครับ


-ทุกรายการของผมราคารวมค่าจัดส่งเรียบร้อยแล้วครับ ไม่มีเพิ่มค่าจัดส่งครับ

-เพื่อความรวดเร็วในการจัดส่ง หากโอนเงินแล้วช่วยแจ้งให้ทราบด้วยครับ ขอบคุณครับ
ราคาเปิดประมูล479 บาท
ราคาปัจจุบัน519 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 23 ก.ค. 2567 - 13:22.11
วันปิดประมูล จ. - 12 ส.ค. 2567 - 13:22.11 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 519 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
varodp (6) 49.230.217.174
489 บาท ส. - 15 ม.ค. 2565 - 11:34.35
varodp (6) 49.230.217.174
499 บาท ส. - 15 ม.ค. 2565 - 11:34.42
varodp (6) 49.230.217.174
509 บาท ส. - 15 ม.ค. 2565 - 11:34.51
519 บาท อ. - 25 มิ.ย. 2567 - 19:44.48
กำลังโหลด...
Top