เหรียญที่ระลึกพระพุทธปัญจภาคี เนื้อเงิน พิมพ์เล็ก ในหลวง ร.9 ด้านหลัง พระพุทธโสธร ปี2539 - webpra

ประมูล หมวด:วัตถุมงคล ร.5-ร.9

เหรียญที่ระลึกพระพุทธปัญจภาคี เนื้อเงิน พิมพ์เล็ก ในหลวง ร.9 ด้านหลัง พระพุทธโสธร ปี2539

เหรียญที่ระลึกพระพุทธปัญจภาคี เนื้อเงิน พิมพ์เล็ก ในหลวง ร.9 ด้านหลัง พระพุทธโสธร ปี2539 เหรียญที่ระลึกพระพุทธปัญจภาคี เนื้อเงิน พิมพ์เล็ก ในหลวง ร.9 ด้านหลัง พระพุทธโสธร ปี2539 เหรียญที่ระลึกพระพุทธปัญจภาคี เนื้อเงิน พิมพ์เล็ก ในหลวง ร.9 ด้านหลัง พระพุทธโสธร ปี2539
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญที่ระลึกพระพุทธปัญจภาคี เนื้อเงิน พิมพ์เล็ก ในหลวง ร.9 ด้านหลัง พระพุทธโสธร ปี2539
รายละเอียดเหรียญที่ระลึกพระพุทธปัญจภาคี เนื้อเงิน พิมพ์เล็ก ในหลวง ร.9 ด้านหลัง พระพุทธโสธร ปี2539




เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2539 กรมธนารักษ์ได้รับมอบหมายให้จัดสร้างเหรียญพระพุทธรูปที่สำคัญของประเทศรวม 5 องค์ ประกอบด้วย พระพุทธโสธร พระพุทธชินสีห์ พระพุทธชินราช พระมงคลบพิตร และพระนิรันตราย เพื่อเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณ และบุญญาธิการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ให้คนไทยและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้มีไว้เคารพสักการะบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว โดยจัดสร้างขึ้น 3 ประเภท คือ ทองคำ เงิน และทองแดง โดยจะนำรายได้จากการจำหน่ายภายหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ขึ้นทูลเกล้าถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
พระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปบางสมาธิ คือ นั่งขัดสมาธิราบพระเนตรเนื้อแบบสมัยลานช้าง หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “พระลาว” หน้าตักกว้าง 3 ศอก 5 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ เป็นพระที่ทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอนว่าใครเป็นผู้จัดสร้าง พระพุทธโสธรองค์นี้เล่าสืบต่อกันมาว่ามีพระพี่น้องกัน 3 องค์ ล่องลอยตามแม่น้ำมาจากทิศเหนือมาผุดขึ้นที่แม่น้ำบางปะกง ตำบลสัมปทวน แสดงปาฏิหาริย์ลอยตามน้ำและทวนกระแสน้ำได้ทั้ง 3 องค์ ประชาชนจึงได้ช่วยกันเอาเชือกลงไปผูกมัดที่องค์พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ แต่ก็ไม่ขึ้น สำหรับพระพุทธรูปหล่อองค์กลาง คือ หลวงพ่อโสธร ได้ลอยตามน้ำมาผุดขึ้นที่ท่าวัดโสธร ขณะนั้นได้มีอาจารย์ผู้หนึ่งมีความรู้ทางไสยศาสตร์ ทำพิธีบวงสรวงแล้วอารธนาอัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ในวิหารวัดโสธรวรารามวรวิหาร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา และจัดให้มีการฉลองสมโภชเป็นเทศกาลประจำปี
พระพุทธชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสนและสุโขทัยผสมกัน จัดสร้างในสมัยพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เป็นพระพุทธรูปหล่อหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว สูงตั้งแต่พระที่นั่งถึงพระจุฬา 6 ศอก 1 คืบ 10 นิ้ว พระรัศมี 1 ศอก พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอาริยบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณี ปางนี้เริ่มนิยมทำรัศมีบนพระเศียร เดิมประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวงทางทิศเหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2372 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ ได้โปรดให้อัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางเรือนแก้ว หน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้วเศษ เป็นพระพุทธรูปสำคัญและสวยงามมากองค์หนึ่งมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สร้างในสมัยพระมหาธรรมมาธิราชลิไท สร้างโดยชาวเมืองเชียงแสน ชาวเมืองสวรรคโลก และชาวเมืองสุโขทัย ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 ปีจอ พุทธศักราช 1499 แต่หล่อเสร็จเพียง 2 องค์ คือพระพุทธชินสีห์และพระศาสดา ส่วนพระพุทธชินราชนั้นหล่อไม่เสร็จ กล่าวคือ เมื่อเททองลงไปแล้วกลับแข็ง ทองไม่เดินตามปกติ จึงได้ทำพิธีปั้นหุ่นใหม่อีกครั้ง พระพุทธรูปจึงได้สำเร็จรูปตามความปรารถนา เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 8 ปีกุน พุทธศักราช 1500 และได้อาราธนาอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกแต่นั้นมา
พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางนั่งสมาธิ จัดสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นราวแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก่อด้วยอิฐเป็นแกน ข้างนอกหุ้มด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 4 วาเศษ นับเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุด และมีพระพุทธลักษณะงดงามเป็นสง่ามากองค์หนึ่งในประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระวิหารข้างกำแพงวัดพระศรีสรรเพชรด้านใต้ เขตโบราณสถานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระนิรันตราย เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เป็นพุทธศิลปะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธามาก เนื่องจากมีความศักดิ์สิทธิ์ มหัศจรรย์แคล้วคลาดพ้นอันตรายไปถึง 2 คราว มีพุทธลักษณะพิเศษ คือที่พระเศียรไม่มีพระเมาลี แต่ต่อด้วยพระรัศมีเลย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานวัดธรรมยุตที่เป็นพระอารามหลวงวัดละองค์ ได้แก่ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดราชประดิษฐ์ และถวายพระนามว่า “พระนิรันตราย” นับเป็นพุทธศิลป์แบบหนึ่งของยุครัตนโกสินทร์

พิธีพุทธมหาชัยมังคลาภิเษกเหรียญที่ระลึกพระพุทธปัญจภาคี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีพุทธมหาชัยมังคลาภิเษกเหรียญที่ระลึกพระพุทธปัญจภาคีในวันที่ 20 มีนาคม 2540 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพมหานคร


เหรียญรุ่นนี้ แยกออกมาจากเหรียญ ที่ระลึกพระพุทธปัญจภาคี สร้างถวายในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เป็นชุดเหรียญที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธรูปที่สำคัญของประเทศรวม 5 องค์ ประกอบด้วย พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระพุทธโสธร พระนิรันตราย และ พระมงคลบพิตร

ทรงประกอบพิธีพุทธมหาชัยมังคลาภิเษกในวันที่ 20 มีนาคม 2540 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

มีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ และพระเกจิอาจารย์ ทรงเจริญพระพุทธมนต์ สวดพุทธมหาชัยมังคลาภิเษก ทั้งหมดจำนวน 54 รูป ดังต่อไปนี้

พระเจริญพระพุทธมนต์ เวลาประมาณ 15.00 น.
1. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร
2. สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
3. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม
4. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม
5. พระสุเมธาธิบดี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
6. พระธรรมวโรดม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
7. พระวิสุทธาธิบดี วัดสุทัศนเทพวราราม
8. พระธรรมปัญญาจารย์ วัดมกุฏกษัตริยาราม
9. พระพรหมโมลี วัดยานนาวา
10. พระมหารัชมงคลดิลก วัดบวรนิเวศวิหาร

พระคณาจารย์นั่งเจริญจิตตภาวนา (ชุดที่ 1 เวลาประมาณ 15.00 น.)
1. พระวิสุทธิวงศาจารย์ (หลวงพ่อพลอย) วัดเทพธิดาราม กทม.
2. พระมงคลเทพโมลี (ดร.พูลทรัพย์) วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
3. พระราชวิสุทธิคุณ (หลวงพ่อเกตุ) วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
4. พระโสภณเสมาธิคุณ (หลวงพ่อเฟื่อง) วัดเจ้ามูล กทม.
5. พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ) วัดอรัญบรรพต หนองคาย
6. พระครูสาธรพัฒนกิจ (หลวงพ่อละมูล) วัดเสด็จ ปทุมธานี
7. พระอาจารย์มหาวิบูลย์ วัดโพธิคุณ ตาก
8. หลวงปู่จันทา วัดเขาน้อย พิจิตร
9. พระครูกาชาด (บุญทอง เขมทตฺโต) วัดดอนศาลา พัทลุง
10. พระครูอดุลยธรรมกิจ (หลวงพ่อกลั่น) วัดเขาอ้อ พัทลุง
11. หลวงพ่อสังข์ศีลคุณ วัดดอนตรอ นครศรีธรรมราช
12. พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญวิเวก เชียงใหม่
13. หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา อุดรธานี
14. พระอธิการวิชา วัดศรีมณีวรรณ ชัยนาท
15. หลวงพ่อบุญมา คัมภีรธัมโม วัดหนองปุง สกลนคร
16. พระครูมนูญธรรมมาภิรัต (หลวงพ่อสาคร) วัดหนองกรับ ระยอง
17. พระครูเขมคุณโสภณ (หลวงพ่อจันทรแรม) วัดเกาะแก้วธุดงค์สถาน บุรีรัมย์

ชุดที่ 2 เวลาประมาณ 18.00 น.
1. พระราชจันกวี วัดไผ่ล้อม จันทบุรี
2. พระอุดมประชานารถ (หลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม
3. พระมงคลสิทธิคุณ (หลวงพ่องลำใย) วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี
4. พระครูฐิติธรรมญาณ (หลวงพ่อลี) วัดเหวลึก สกลนคร
5. พระครูสุวัณโณปมคุณ (หลวงพ่อคำพอง) วัดถ้ำกกกู่ อุดรธานี
6. พระครูอนุรักษ์วรคุณ (หลวงพ่อสง่า) วัดหนองม่วง ราชบุรี
7. พระครูสุนันท์วิริยาภรณ์ (หลวงพ่อเก๋) วัดแม่น้ำ สมุทรสงคราม
8. หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย อุบลราชธานี
9. พระครูสถิตโชติคุณ (หลวงพ่อไสว) วัดปรีดาราม นครปฐม
10. พระครูถาวรสังฆสิทธิ์ (หลวงพ่อภา) วัดสองห้อง นครปฐม
11. พระอาจารย์คำบ่อ วัดใหม่บ้านดาล สกลนคร
12. หลวงปู่บุญมี วัดสระประสานสุข อุบลราชธานี
13. หลวงปู่หงส์ วัดเพชรบุรี สุรินทร์
14. พระครูอรรถธรรมทร (หลวงพ่อเฮ็น) วัดดอนทอง สระบุรี
15. พระครูเกษมคณาภิบาล (หลวงพ่อมี) วัดมารวิชัย พระนครศรีอยุธยา
16. หลวงปู่รินทร์ รักชโน สำนักสงฆ์ภูถ้ำพระ กาฬสินธุ์
17. หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว วัดป่าหินเกิงวิปัสสนา ขอนแก่น
18. พระครูนนทสิทธิการ วัดไทรน้อย นนทบุรี
19. หลวงปู่พลพินิจ ขันจิธโร สำนักสงฆ์ภูถ้ำพระ กาฬสินธุ์

พระสงฆ์สวดภาณวารและทิพย์มนต์
1. พระมหาสุธน กวิญโญ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
2. พระปลัดพิทยา ญาณิวโส วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
3. พระครูวินิตสุนทรกิจ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
4. พระครูพินิจ กิจจาภิรักษ์ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.

พระสวดพุทธาภิเษก
1. พระครูพิทักษ์ถิรธรรม วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
2. พระครูวิบูลวิหารกิจ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
3. พระครูสุวัฒนประสิทธิ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
4. พระครูอมรโฆสิต วัดสุทัศนเทพวราราม กทม





ตามรูปครับ


-ทุกรายการของผมราคารวมค่าจัดส่งเรียบร้อยแล้วครับ ไม่มีเพิ่มค่าจัดส่งครับ

-เพื่อความรวดเร็วในการจัดส่ง หากโอนเงินแล้วช่วยแจ้งให้ทราบด้วยครับ ขอบคุณครับ
ราคาเปิดประมูล479 บาท
ราคาปัจจุบัน479 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 23 ก.ค. 2567 - 13:34.13
วันปิดประมูล จ. - 12 ส.ค. 2567 - 13:34.13 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 479 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top