พระผงวัดประสาทบุญญาวาส ปี 2506 พิมพ์พระพุทธหลังเจดีย์ - webpra

ประมูล หมวด:พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

พระผงวัดประสาทบุญญาวาส ปี 2506 พิมพ์พระพุทธหลังเจดีย์

พระผงวัดประสาทบุญญาวาส ปี 2506 พิมพ์พระพุทธหลังเจดีย์ พระผงวัดประสาทบุญญาวาส ปี 2506 พิมพ์พระพุทธหลังเจดีย์ พระผงวัดประสาทบุญญาวาส ปี 2506 พิมพ์พระพุทธหลังเจดีย์
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระผงวัดประสาทบุญญาวาส ปี 2506 พิมพ์พระพุทธหลังเจดีย์
รายละเอียดประวัติพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องพิมพ์ต่าง ๆ พระผงวัดประสาทบุญญาวาส ปี 2506
ประวัติพิธีการสร้างวัตถุมงคลชุดวัดประสาทฯ ปี 2506 นั้นหลักฐานการสร้างแน่นอนชัดเจน การสร้างนี้มาจากทางวัดได้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ พระสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส ได้จัดสร้าง พระเครื่องวัดประสาท ขึ้นเมื่อปี 2506 เพื่อบรรจุเจดีย์ในวัดประสาทฯ รวมทั้งเพื่อแจกจ่าย พระเครื่องวัดประสาท นี้แก่บรรดาญาติโยม ศิษยานุศิษย์ และผู้มาทำบุญที่วัดประสาท ให้นำไปบูชาติดตัวเป็นสิริมงคล
#เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ หลวงปู่ทวดได้นิมิตบอกให้อาจารย์ทิม วัดช้างให้ มาช่วยเหลือและได้นำมวลสารพระหลวงพ่อทวด ปี 2497 มามอบและร่วมในการปลุกเสกเพื่อนำรายได้มาบูรณะวัด
ให้สังเกตุว่า ถ้าพระที่ออกวัดประสาท เนื้อดำทุกพิมพ์จะแก่เนื้อดินกากยายักษ์ และดินขุยปู ตามตำหรับวัดช้างให้ แต่ถ้าเป็นเนื้อขาวจะแก่เนื้อมวลสารวัดระฆังและวัดบางขุนพรหม และวัดอื่น ๆ อีกมากมายที่ร่วมบุญในครั้งนั้น และได้มีผู้มีจิตศรัทธามอบผงมวลสารต่างๆเข้าร่วมกุศลการสร้างอย่างมากมาย
ในส่วนพิธีพุทธาภิเษก ทำพิธีพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืน เมื่อวันที่ 13-14-15 พย. 2506 และในวันที่ 16 พย. 2506 เวลา 5 โมงเย็น อาราธนาพระคณาจารย์ 108 รูป ร่วมมหาพุทธาภิเษก
โดยมวลสารที่นำมาสร้างพระเครื่องวัดประสาทนั้น ท่านได้นำผงพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ชำรุดแตกหักจำนวนหลายสิบบาตร ซึ่งได้มาเมื่อคราวเปิดกรุวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม อย่างเป็นทางการ เมื่อครั้งปี พ.ศ.2500 มาผสมเข้ากับ ผงว่าน และมวลสารศักดิ์สิทธิ์ของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังต่าง ๆ มากมายทั่วประเทศ โดยบดรวมกันนำมาสร้างเป็น พระเครื่องวัดประสาท
มวลสารในการสร้างพระวัดประสาทบุญญาวาส ปี 06
-ท่านเจ้าคุณเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) วัดระฆังฯ ได้มอบผงพุทธคุณของท่านให้มา
-พระครูบริหารคุณาวัตร วัดใหม่อมตรส มอบผงพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ชำรุดจากกรุบางขุนพรหม
-ท่านเจ้าคุณอินทรสมาจารย์ (เงิน) วัดอินทรวิหาร มอบผงและพระสมเด็จรุ่นพล.ต.อ.เผ่าที่ชำรุด
-พระอาจารย์หนำ อดีตเจ้าอาวาส วัดคลองมะดัน สุพรรณบุรี มอบผงหลวงพ่อโหน่งที่ชำรุด
-หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน ราชบุรี มอบผงและแร่ต่างๆ
-วัดปากน้ำมอบผงที่ใช้ในการสร้างพระผงของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
-ท่านพระครูรักขิตจันต์ (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลยก์ มอบผงพุทธคุณ
-พระอาจารย์นก อดีตเจ้าอาวาสวัดสมรโกฏ มอบผงพุทธคุณ
-ท่านพระครูนนทวุฒาจารย์ วัดบางแพรกใต้ มอบผงพุทธคุณ
-พระอาจารย์เจียม วัดไร่ขิง มอบผงพุทธคุณ
-พระอาจารย์ฉัตร วัดสุขเกษม สุพรรณบุรี มอบผงมหาราช
-หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง มอบผงพระชำรุด และว่านจำปาศักดิ์
-หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว มอบผงพุทธคุณ
-พระอธิการบุญช่วย วัดพัฒนาราม มอบผงหลวงพ่อพัฒน์
-หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี มอบผงพุทธคุณ
-พระอาจารย์บุญเทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา มอบผงพุทธคุณ
-เจ้าอาวาส วัดนิกรชยาราม ปัตตานี มอบแร่และว่าน
-พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ได้มอบถวายวัสดุการสร้างพระหลวงปู่ทวดวัดช้างให้
-อาจารย์เทพ สาริกบุตร ถวายชนวนในการหล่อพระกริ่ง
-อาจารย์นิรันดร์ แดง วิจิตร ถวาย ชนวนพระกริ่งวัดสุทัศน์
-นายพุต ถวายผงวัดตาลและวัดไก่เตี้ย
-นายเกื้อ หิตะพงษ์ กระท่อมสุขใจ นาประดู่ ปัตตานี ถวายดินดำ ว่านกากยายักษ์ และว่านต่างๆ
-นายบุญชู ชัยนาท ถวายไคลเสมาวัดปากคลองมะขามเฒ่า
-ชนวนหล่อพระกริ่งของ อ.ไสว วัดราชนัดดา
-ผงการสร้างพระเครื่อง 25 ศตวรรษ
-ผงสร้างพระเครื่อง วัดไร่ขิง
-ผงหักพระกรุลำพูน
-ผงหลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
-ผงพระว่านจำปาศักดิ์
ฯลฯ
#เหตุการณ์อัศจรรย์ตอนหลอมชนวน คือมีตะกรุดและแผ่นจารยันต์ที่นำมาหลอมเป็นชนวนแล้วไม่ละลายอยู่หลายแผ่น ซึ่งเป็นของพระเกจิคณาจารย์ที่เข้าร่วมพุทธาภิเษกในคราวนั้น
ในส่วนของพิธีมหาพุทธาภิเษก พระเครื่องวัดประสาท ในปี 2506 นั้น มีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังนั่งปรกปลุกเสกมากมายนับร้อยรูป ซึ่งแต่ละรูปล้วนแล้วแต่เป็นพระเกจิที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพบูชา ทั้งสิ้น เช่น
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อสอน วัดทุ่งสว่างศรีเสิงสาง
หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน
หลวงพ่อทิม วัดช้างไห้
หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง
หลวงปู่นาค วัดระฆัง
หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
เจ้าคุณผล วัดหนัง
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
หลวงพ่อสุด วัดกาหลง
หลวงปู่สี วัดสะแก
หลวงปู่ดู่ วัดสะแก
หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน
หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ
หลวงพ่อใจ และ หลวงพ่อพล วัดวังยายหุ่น
หลวงแดง วัดเขาบันไดอิฐ
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
หลวงปู่เขียว วัดหรงบล
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ
หลวงปู่หิน วัดระฆังฯ
หลวงพ่อโบ๊ย วัดมะนาว
พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร
หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์
หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน
หลวงพ่อเหรียญ วัดบางระโหง
หลวงพ่อเพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ
หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิษฐ์
หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
หลวงพ่อผล วัดเทียนดัด
ลพ.โด่ วัดนามะตูม
หลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน
หลวงพ่อสุด วัดกาหลง
หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง
หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม
หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว
หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร
เจ้าคุณเจีย วัดโพธิ์
เจ้าคุณประหยัด วัดสุทัศน์
หลวงพ่อดี วัดเหนือ
หลวงพ่อแขก วัดหัวเขา
หลวงพ่อยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด
หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง
หลวงพ่อมิ่ง วัดกก
หลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่าฯ
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง
หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน
หลวงพ่อเทียน วัดโบสถ์
หลวงพ่อนิล วัดครบุรี
หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรี
หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา
และอีกหลายท่านกว่าสองร้อยรูป
ในส่วนของ พระเครื่องวัดประสาท ที่ได้จัดสร้างขึ้นนั้น ประกอบด้วย พิมพ์หลวงพ่อทวด ซึ่งแบ่งออกได้เป็น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก เป็นพิมพ์เดียวกับ พระหลวงพ่อทวด วัดช้างไห้ รุ่นหลังเตารีด ซึ่งพระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ ได้นำ พระเครื่องรุ่นหลังเตารีด ปี 05 พิมพ์ต่าง ๆ มาให้ พระครูสมุห์อำพล ถอดแบบพิมพ์ออกมา รวมทั้งยังแนะนำสูตรในการผสมเนื้อพระอีกด้วย เพื่อมาสร้างเป็น พระเครื่องวัดประสาท พิมพ์หลวงพ่อทวด โดยพระหลวงพ่อทวด จะมี เนื้อสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเขียว เนื้อสีเทา เนื้อสีน้ำตาล เนื้อสีดำ และเนื้อสีแดง (สีปูนแห้ง)
นอกจากนี้ยังมีพระหลวงพ่อทวดพิมพ์สี่เหลี่ยมหลังเจดีย์ มีเนื้อสีดำ และ สีขาว
พิมพ์สมเด็จโต
รูปทรงเป็นพิมพ์เล็บมือ มีรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี นั่งบริกรรมอยู่ตรงกลาง พระเครื่องวัดประสาท พิมพ์สมเด็จโตนี้ จะมีสีขาว สีดำ สีแดง และสีม่วง ด้านหลังบางองค์จะโรยแร่ บางองค์ก็ไม่โรย ส่วนใต้ฐานจะมีรูแทบทุกองค์
พิมพ์พระสังกัจจายน์
เป็นพิมพ์ครึ่งซีกลอยองค์ นั่งสมาธิขัดราบ มือทั้งสองข้างอุ้มท้อง ด้านหลังมีทั้งหลังอูมและหลังแบน ถ้าหลังอูมที่ฐานมักจะมีรู แต่ถ้าหลังแบนที่ฐานมักจะไม่มีรู และที่รูใต้ฐาน บางองค์บรรจุเทียนชัย หรือ ตระกรุด พระเครื่องวัดประสาท พิมพ์พระสังกัจจายน์ เนื้อผง มีหลายสี เช่น สีขาวอมเหลือง สีขาวอมเขียว (นิยม) สีเทา สีดำ นอกจากนี้บางองค์ยังปิดทองด้วย
พระปิดตา
พระพิมพ์ปิดตา พิมพ์นิยม คือ พิมพ์หลวงพ่อแก้ว ซึ่งล้อพิมพ์มาจากพระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี โดยพระพิมพ์นี้มีทั้งเนื้อขาว ขาวอมเหลือง เนื้อดำ และเนื้อสีปูนแห้ง พระเครื่องวัดประสาท พิมพ์พระปิดตานี้ นอกจาก พิมพ์หลวงพ่อแก้วแล้ว ยังมีพิมพ์อื่น ๆ อีกนับสิบพิมพ์ เช่น พิมพ์ลอยองค์ พิมพ์หกเหลี่ยม พิมพ์สี่เหลี่ยม พิมพ์ปิดตามหาอุตม์ พิมพ์ปิดตาขัดสมาธิเพชร พิมพ์เม็ดบัว เป็นต้น
พิมพ์พระสีวลี
รูปทรงจะคล้าย ๆ กับพระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์ครอบแก้วเล็ก หรือเปลวเพลิง ตรงกลางจะเป็นองค์พระสีวลี มีเนื้อดำ กับ เนื้อขาว
พิมพ์หลวงพ่อจง
เป็นรูปองค์พระรูปหยดน้ำ มีทั้งเนื้อสีขาว เนื้อสีดำ และเนื้อสีแดง
พิมพ์หลวงปู่ศุข
พระเครื่องวัดประสาท พิมพ์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จะมี 2 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ และ พิมพ์เล็ก โดยพิมพ์ใหญ่จะมีเนื้อสีดำ เนื้อสีแดง และเนื้อสีขาว ส่วนพิมพ์เล็กจะเป็นเนื้อสีดำ ส่วนใหญ่
พิมพ์หลวงพ่อโอภาสี
มี 2 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่จะมีเนื้อดำ เนื้อแดง และเนื้อขาว ส่วนพิมพ์เล็กจะเป็นเนื้อดำ และ เนื้อเทา
พิมพ์หลวงพ่อเทียม , พิมพ์หลวงพ่อสอน , พิมพ์หลวงพ่อพัฒน์ , พิมพ์หลวงพ่อแทน , พิมพ์หลวงพ่อโต อยุธยา
พิมพ์พระสมเด็จ
พระเครื่องวัดประสาท พิมพ์พระสมเด็จนี้มีมากกว่า 20 พิมพ์ แต่ที่นิยมกัน ได้แก่ พิมพ์พระครูมูล มีหน้ามีตา, พิมพ์สมเด็จแขนกว้าง, พิมพ์สมเด็จแขนหักศอก, พิมพ์สมเด็จคะแนน, พิมพ์สมเด็จกรอบกระจก, พิมพ์สมเด็จพุทธกวัก, พิมพ์สมเด็จฐาน 3 ชั้น, พิมพ์จัมโบ้
นอกจากนี้ พระเครื่องวัดประสาท ยังมีพิมพ์พิเศษอีกมากมายหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์จันทร์ลอย พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก วัดพลับ, พิมพ์สมเด็จสามเหลี่ยม, พิมพ์พระชินราช เนื้อดำ, พิมพ์พระสรรค์นั่งไหล่ตรง, พิมพ์พระรอด, พิมพ์นางพญาเข่าโค้ง, พิมพ์พระขุนแผน, พิมพ์หยดน้ำ เป็นต้น
ราคาเปิดประมูล250 บาท
ราคาปัจจุบัน250 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 07 เม.ย. 2568 - 11:31.08
วันปิดประมูล อา. - 27 เม.ย. 2568 - 11:31.08 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 250 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top