เหรียญเม็ดแตงสมเด็จเจ้าพะโคะหลวงปู่ทวด วัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา เนื้ออัลปาก้า - webpra

ประมูล หมวด:หลวงปู่ทวด ทั่วไป วัดอื่นๆ

เหรียญเม็ดแตงสมเด็จเจ้าพะโคะหลวงปู่ทวด วัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา เนื้ออัลปาก้า

เหรียญเม็ดแตงสมเด็จเจ้าพะโคะหลวงปู่ทวด วัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา เนื้ออัลปาก้า เหรียญเม็ดแตงสมเด็จเจ้าพะโคะหลวงปู่ทวด วัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา เนื้ออัลปาก้า เหรียญเม็ดแตงสมเด็จเจ้าพะโคะหลวงปู่ทวด วัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา เนื้ออัลปาก้า
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญเม็ดแตงสมเด็จเจ้าพะโคะหลวงปู่ทวด วัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา เนื้ออัลปาก้า
รายละเอียดประวัติวัดพะโคะ
(วัดพระราชประดิษฐาน)

ต้นกำเนิด หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
วัดพะโคะ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

เดิมวัดนี้ปรากฏว่าพระชินเสนเป็นผู้สร้างราวปีพ.ศ.500 (สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันอายุราว 2050 ปี ) ตั้งอยู่เนิน เขาพะโคะ หรือที่เรียกกันว่า เขาพิเพชรสิงห์บ้าง เขาพิพัทธสิงห์บ้าง เขาบรรพตพะโคะบ้าง เขาพระพุทธบาทบ้าง (เพราะมีรอยพระพุทธบาทเหยียบไว้ที่แท่นหินใหญ่ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน) ชื่อเดิมว่าวัดพระราชประดิษฐาน ได้ฝังวิสุงคามสีมา พ.ศ. 840 พระยาธรรมรังคัลเจ้าเมืองพัทลุง (สทิงพระรานสี) เป็นศาสนูปถัมภ์สร้างถาวรวัตถุหลายอย่าง เพราะเห็นความสำคัญของวัดพระพุทธบาท หรือวัดพระราชประดิษฐาน ครั้นต่อมา ระหว่าง พ.ศ. 2091 ถึง พ.ศ.2111 พระยาดำธำรงกษัตริย์ (บางแห่งกล่าวว่าพระยาธรรมรังคัล) ได้นิมนต์ พระมหาอโนมทัสสี พระณไสยมุยและ พระธรรมกาวา ให้ไปเอากระบวนพระมหาธาตุเมืองลังกา และมาสร้างเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ สูงหนึ่งเส้นห้าวา ทำพระวิหารธรรมศาลา ทำอุโบสถ สร้างกำแพงสูงหกศอก ระหว่างเขตสังฆาวาสที่พักสงฆ์อาศัยคือส่วนลาดต่ำทางทิศตะวันตกของพื้นที่วัดส่วนที่เป็นเนินสูงราบเป็นชั้นๆ พื้นที่วัดทางทิศตะวันออกพุทธาวาสสถานที่ปลูกสร้างปูชนียวัตถุโบราณสถาน เช่น พระวิหารพระพุทธไสยาสน์(พระพุทธโคตมะ) พระเจดีย์(สุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ) อุโบสถ ธรรมศาลา เป็นต้น การสร้างพระพุทธไสยาสน์ ชื่อว่าพระพุทธโคตมะ ตามความนิยมของชาวบ้านเรียกชื่อวัดตามชื่อพระว่าวัดพระโคตมะ ชื่อวัดพระราชประดิษฐานเดิมไม่นิยมใช้เรียกกัน ครั้นต่อมาวัดพระโคตมะ เรียกเพี้ยนเป็นวัดพะโคะ ในกาลครั้งนั้นกษัตริย์หัวเมืองพัทลุง (สทิงพระ) และคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ทำ ฏีกาเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาขอที่กัลปนาต่อพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานกัลปนาแก่วัดวาอารามต่างๆ ในเขตหัวเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองพัทลุง ที่เป็นกัลปนา (เป็นเลนทุบาทโลกเลขา) อาณาเขตของวัด ทิศเหนือ จด หัวตะลุมพุก (แหลมตะลุมพุก),ทิศใต้ จดหัวเขาแดง , ทิศตะวันออก จด อ่าวไทย , ทิศตะวันตก จด ทะเลสาบสงขลา

ตั้งแต่ พ. ศ. 2151 ถึง พ. ศ. 2155 ในสมัยพระราชมุนีรามคุณูปรมาจารย์ (สมเด็จเจ้าพะโคะ ) ได้ปกครองวัดพะโคะเจริญรุ่ง เรืองมาก เนื่องจากได้รับการพระราชอุปถัมภ์จาก พระเจ้าอยู่หัวสละพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ให้ทางวัดได้ทำการสร้างถาวรวัตถุขึ้นหลายอย่าง เช่น พระวิหาร พระเจดีย์ อุโบสถ ธรรมศาลา โดยเฉพาะบูรณะพระเจดีย์ศรีรัตนธาตุสูง 1 เส้น 5 วา ยอดพระเจดีย์หล่อด้วยเบ็ญจะโลหะยาว 3 วา 3 ศอก และปรากฏว่า สมเด็จเจ้าพะโคะได้นำดวงแก้วที่พญางูให้เมื่อครั้งเป็นทารก บรรจุไว้ที่ยอดเจดีย์ จึงได้ชื่อว่า สุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ
ครั้นต่อมาหลังจากสมเด็จเจ้าพะโคะ จากวัดพะโคะไปแล้ว ฟ้าผ่ายอดเจดีย์ดวงแก้วตกลงมาอยู่ใกล้ๆเจดีย์ ภายหลังเด็กๆเล่นสะบ้า (ลูกเกย) กระเด็นเข้าไปในป่าที่ดวงแก้วตกอยู่ เด็กเห็นเป็นลูกแก้วประหลาด จึงนำไปบ้านเพื่อมอบให้แก่พ่อแม่ เมื่อถึงประตูชัยไม่สามารถจะออกจากวัดไปได้ เพราะเกิดมีงูใหญ่ขัดขวางไว้ และประตูวัดมืดมิดไปหมด เด็กก็นำลูกแก้วเข้าไปคืนให้แก่เจ้าอาวาส
ปรากฏว่าดวงแก้วนั้นเป็นปูชนียวัตถุศักดิ์สิทธิ์ของวัดพะโคะชิ้นหนึ่ง ต่อมาดวงแก้วถูกคนขโมยไป 3 ครั้งแต่ก็เกิดความเดือดร้อนเสียหายให้แก่ผู้นำไปทุกครั้ง และได้นำกลับมาคืนไว้ ณ วัดพะโคะทุกครั้ง และครั้งล่าสุด ราว พ. ศ. 2471 มีนายจีนฯ บ้านท่าคุระเป็นคนเสียสติลักพาดวงแก้วไป ที่ บ้านท่าคุระ ขณะที่นายจีนนำดวงแก้วไปนั้นตาก็มองเห็นว่ามีงูใหญ่ไล่ตามมา นายจีนต้องการให้ดวงแก้วพาเหาะ แต่ก็ไม่สามารถแหะได้ นายจีนจึงโกรธมากเลยเอาดวงแก้ววางลง แล้วเอาหินขนาดใหญ่ทุ่มทับลงบนดวงแก้ว ทำให้ดวงแก้วแตกร้าว มีชาวบ้านไปพบจึงเอาดวงแก้วมามอบให้แก่เจ้าอาวาสวัดพะโคะดังเดิม
ส่วนนายจีน ซึ่งอวดดีว่าตนสามารถทุบดวงแก้วแตก ได้ไปจับช้างเถื่อนที่คลองนายเรียมและถูกช้างจับแทงฟัดจนลำตัวแขนขาขาดออกเป็นท่อนๆ ถึงแก่ความตาย ซึ่งชาวบ้านจึงเชื่อว่าเป็นผลกรรมจากการกระทำ ของนายจีนที่ทำให้ดวงแก้วเสียหายนั้นเอง
ดวงแก้วที่แตกถูกประสานรอยร้าวไว้ด้วยลวดทองแดง ในปี พ. ศ. 2484 พระอาจารย์แก้วพุทธมุนี วัดดีหลวงและพระชัยวิชโย วัดพะโคะ จะนำดวงแก้วไปให้ช่างหล่อทำใหม่ แต่สมเด็จเจ้าพะโคะเข้าประทับทรง บอกห้ามไม่ให้หล่อทำใหม่ สำหรับดวงแก้วดังกล่าวนี้ ต่อมาประชาชนได้ทำบุญสมโภชดวงแก้วทุกๆวันพฤหัสบดีเสมอมา
หลังจากสมเด็จเจ้าพะโคะ จากวัดพะโคะไปแล้ว ก็ได้มีพระเถระปกครองวัดสืบต่อกันมาหลายรูปหลายยุค โดยเฉพาะในยุคพระอาจารย์เขียว ปุญญผโล (พระครูสุนทรสิทธิการย์) เป็นเจ้าอาวาส ได้มีการพัฒนาปรับปรุงบูรณะปฏิสังขรณ์ ศาสนสถาน จนวัดพะโคะเจริญขึ้นเรื่อยๆ
นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวลา 2050 ปี ที่ผ่านมาวัดพะโคะคือศูนย์รวมจิตใจประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ รวมถึงชาวต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะด้วยบุญฤทธิ์และพระบารมีของสมเด็จเจ้าพะโคะ หรือหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
วัดพะโคะปัจจุบันมีพระครูสมุห์วิชาญชัย กตปุญโญ เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นพระนักพัฒนาอีกรูปหนึ่งที่จะสืบสานเจตนารมณ์ตามที่สมเด็จเจ้าพะโคะ และเจ้าอาวาสที่ผ่านๆมาตั้งปณิธานไว้
ราคาเปิดประมูล20 บาท
ราคาปัจจุบัน30 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 20 พ.ค. 2568 - 09:53.40
วันปิดประมูล จ. - 09 มิ.ย. 2568 - 09:53.40 (17วัน 22ชั่วโมง 35นาที)
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 30 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่การประมูล ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
30 บาท พ. - 29 ม.ค. 2568 - 10:16.46
กำลังโหลด...
Top