ตะกรุดโทน หลวงปู่ภู จันทโชติ วัดดอนรัก จ.อ่างทอง - webpra

ประมูล หมวด:เครื่องรางของขลัง

ตะกรุดโทน หลวงปู่ภู จันทโชติ วัดดอนรัก จ.อ่างทอง

ตะกรุดโทน หลวงปู่ภู จันทโชติ วัดดอนรัก จ.อ่างทอง ตะกรุดโทน หลวงปู่ภู จันทโชติ วัดดอนรัก จ.อ่างทอง ตะกรุดโทน หลวงปู่ภู จันทโชติ วัดดอนรัก จ.อ่างทอง ตะกรุดโทน หลวงปู่ภู จันทโชติ วัดดอนรัก จ.อ่างทอง ตะกรุดโทน หลวงปู่ภู จันทโชติ วัดดอนรัก จ.อ่างทอง
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง ตะกรุดโทน หลวงปู่ภู จันทโชติ วัดดอนรัก จ.อ่างทอง
รายละเอียดตะกรุดโทน หลวงปู่ภู จันทโชติ วัดดอนรัก จ.อ่างทอง

- เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตะกรุดท้องปลิง..เนื้อตะกั่ว ขนาดยาว 4นิ้ว โต 1.2ซม.

ยอดพระเกจิสายเหนียวแห่งเมืองอ่างทอง มีคำกล่าวขานกันติดปากว่า หลวงปู่จัน วัดนาคู / หลวงปู่ภู วัดดอนรัก / หลวงปู่ภัก วัดโบสถ์ ล้วนต้องการแสวงหามาคุ้มกาย

ประสบการณ์นำไปสู่การเล่าขานและกลายเป็นตำนานในที่สุด..ตะกรุดหลวงปู่ภู วัดดอนรัก จ.อ่างทอง เป็นตะกรุดในตำนานของจังหวัดอ่างทองก็ว่าได้ คนในพื้นที่ต่างหวงแหนกันมาก เป็นตะกรุดเปลือยอีกสำนักหนึ่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ คือท่านจะทุบมาตั้งแต่แรกทั้งดอกจะดูแบนๆ ท้องตะกรุดจะเว้านิดนึง หัวจะเชิดเหมือนปากปลาหมอ เป็นตะกรุดที่ขึ้นชื่อลือชามากและนับได้ว่าเป็นตะกรุดที่ฝ่ายบู๊เชื่อถือกันอย่างสนิทใจซึ่งก่อให้เกิดประสบการณ์เล่าขานถึงความเข้มขลังกันอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน สำหรับอิทธิคุณแห่งตะกรุดนั้นมีพุทธคุณสูงประสบการณ์เด่นดังในทางแคล้วคลาด/คงกระพันชาตรี/มหาอุต จึงกล่าวได้ว่าเป็นอีกหนึ่งตะกรุดในตำนานที่นับวันจะหาได้ยากขึ้นทุกที

จากข้อมูลที่เคยได้ยินได้ฟังและสอบถามเกี่ยวกับการเจริญภาวนาของหลวงพ่อภู วัดดอนรัก ทำให้เชื่อว่าท่านมีความชำนาญกสิณน้ำ ทั้งการนั่งในน้ำตอนท่านสรงน้ำ หรือแม้กระทั่งการทำสมาธิในน้ำกับหลวงพ่อเล็ก วัดพร้าว อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเท่าที่สอบถามถึงลักษณะการนั่งในน้ำนี้มิใช่เป็นการนั่งบนผิวน้ำแต่เป็นการนั่งจมลงในน้ำประมาณครึ่งตัว (ข้อมูลส่วนนี้โปรดใช้วิจารณาญาณในการพิจารณาเพราะเกร็ดประวัติที่นำมาเล่าไว้ก็เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นถึงข้อสันนิษฐานว่าท่านน่าจะชำนาญหรือใช้กสิณน้ำลงตะกรุดจึงทำให้ตะกรุดของท่านขึ้นชื่อในด้านหยุดปืนและแคล้วคลาด) สำหรับยันต์ที่ใช้ลงตะกรุดเชื่อว่าตะกรุดของท่านลงด้วยยันต์ตารางสิบหกช่องเดินด้วยคาถาพระเจ้าสิบหกพระองค์เมื่อถอดยันต์แล้วจะได้ว่า “นะมะ นะอะ นอกอ นะกะ กอออ นออะ นะอะ กะอัง” เนื่องจากเท่าที่ได้คลี่ตะกรุดและเทียบสอบทานกับที่คนในพื้นที่ที่เคยคลี่ปรากฏว่าตรงกันและเป็นยันต์แบบเดียวกับที่ลงด้านหลังเหรียญเสมา(รุ่นหลัง) ที่วัดดอนรักได้จัดสร้าง สำหรับตะกรุดบางดอกที่ผ่านการใช้มาน้อยเมื่อนำมาส่องดูจะเห็นรอยตารางด้านในและลายมือของท่านจะจารเส้นเล็กคม

ตะกรุดหลวงพ่อภู วัดดอนรัก ในยุคแรกเป็นตะกรุดทำด้วยตะกั่วทุบ..ในระยะแรกขนาดความยาวและความใหญ่ของดอกตะกรุดไม่มีขนาดแน่นอน ขึ้นอยู่กับปริมาณและขนาดของตะกั่วตามแต่จะหาได้ ยังไม่มีมาตรฐานหรือเอกลักษณ์ที่ชัดเจนในการแยกแยะ..หากนับรอบม้วนประมาณสามรอบครึ่งเกือบสี่รอบบริเวณตะเข็บส่วนใหญ่จะไม่เป็นเส้นตรง แต่จะมีลักษณะโค้งน้อยๆ แบบท้องปลิง

เมื่อพูดถึงตะกั่วที่จะนำมาทำตะกรุดเท่าที่ทราบมีหลักๆ มีด้วยกัน ดังนี้
1. ตะกั่วนม เป็นตะกั่วที่หล่อเป็นไว้เป็นก้อนคล้ายขนมครกหรือมีลักษณะคล้ายนมสาว
2. ตะกั่วถ้ำชา เป็นตะกั่วแผ่นที่ใช้สำหรับกรุรังไม้ที่ใช้บรรจุชาเพื่อป้องกันความชื้น
3. ตะกั่วที่รวบรวมมาจากเศษตะกั่วเหลือใช้ อาจจะเป็นตะกั่วอวน ตะกั่วหัวลูกปืน เป็นต้น
โดยนำตะกั่วตามแต่จะมีมาหลอมเป็นแท่งแล้วใช้ค้อนทุบให้แผ่เป็นแผ่น ดังนั้นแผ่นตะกั่วที่ทำด้วยกรรมวิธีนี้จะไม่เรียบเนียนเสมอกัน..ส่วนตะกรุดในยุคต่อมาทำจากแผ่นตะกั่วที่ใช้เครื่องรีดเป็นแผ่น โดยหลอมตะกั่วเป็นแท่งด้วยการเทใส่กระบอกไม้ไผ่รวกที่ตัดเป็นท่อนๆ เพื่อให้เป็นแท่งแล้วนำไปผ่านเครื่องรีดซึ่งมีลักษณะคล้ายเครื่องรีดปลาหมึก แต่ลูกโม่จะเป็นกระบอกเรียบไม่ได้มีลักษณะเป็นร่องเฟือง แล้วนำมาตัดเป็นแผ่นสำหรับลงตะกรุดต่อไป ส่วนความหนามีพอประมาณไม่ถึงกับบางแบบกระดาษหรือแผ่นตะกั่วสำเร็จรูปในปัจจุบัน. ตะกั่วค่อนข้างมีความแข็งตัวเล็กน้อย สำหรับตะกรุดในยุคนี้เท่าที่เคยเจอมีทั้งตะกรุดโทนและตะกรุดชุด ซึ่งตะกรุดชุดนี้จะทำการถักเชือกร้อยตะกรุดเข้าชุดเป็นพวงมีทั้งตะกรุดชุด 12ดอก และตะกรุดชุด 13ดอก(ในส่วนตะกรุดชุด 13ดอกนี้จะมีตะกรุดอยู่ดอกหนึ่งที่ไม่ได้ร้อยเป็นคู่ แต่จะถูกร้อยแบบเดี่ยวๆ และมีขนาดใหญ่กว่าดอกอื่นๆในชุดจึงมักจะทำให้ถูกตัดแยกออกไป) ความยาวมาตรฐานของตะกรุดในยุคนี้จะยาวราวนิ้วมือสี่นิ้วเรียงกัน เมื่อนับจำนวนรอบม้วนจะราวสามรอบครึ่ง ส่วนแนวตะเข็บโค้งเป็นท้องปลิงน้อยๆ ไม่เป็นแนวตรงเสียทีเดียว สำหรับตะกรุดของหลวงพ่อภู วัดดอนรัก จะมีทำจากโลหะอื่นด้วยหรือไม่นั้นไม่ขอยืนยัน..แต่อย่างไรก็ตามท่านได้ทำตะกรุดหนังเสือไว้ด้วยจำนวนหนึ่งสืบเนื่องมาจากมีผู้นำหนังเสือมาขอให้ท่านทำเป็นตะกรุดให้ ตะกรุดหนังสือนี้ค่อนข้างยาวกว่าตะกรุดขนาดมาตรฐานและมีการผู้เชือกไว้ด้วยกันสามเปลาะ คือ หัว/กลาง/ท้าย การผูกไม่ได้ผูกแบบโยงเส้นเชือกแบบตะกรุดหนังเสือหลวงปู่นาค วัดแจ้ง และเมื่อทำเสร็จแล้วทางเจ้าของก็ยังไม่ได้มารับคืนไปจนกระทั่งท่านมรณภาพ

คาถาคาดตระกรุดโทน
ตั้งนะโม 3 จบ
อะหัง บังจิตติ เวสสะ ภุสะ

คาถาคาดตระกรุดชุด 12 ,13 ,16 ดอก
ตั้งนะโม 3 จบ
นะอุด นะอัด นะมัด นะผูก นะสังกะโลโฆ นะโมพุทธายะ

**ตะกรุดดอกนี้ผ่านประสบการณ์การใช้มา แต่สภาพยังคงสวยสมบูรณ์..สำหรับท่านที่ยังไม่มีตะกรุดไว้ใช้พกติดตัว(คาดเอว)แนะนำดอกนี้ใช้ได้เลยแบบว่าดอกเดียวเที่ยวทั่วไทยใช้ได้ตลอดชีพ**

@@..เก็บสะสมพระทั้งทีเก็บของแท้แบบนี้ดีกว่าครับ ผ่านไปอีก100ปี ข้างหน้ายังไงก็เป็นพระแท้ไม่มีเปลี่ยน..@@

**กรุณาพิจารณาความพร้อมก่อนเข้าร่วมประมูลจะได้ไม่เสียเวลาและโอกาสของทั้ง2ฝ่าย**

@@..ติดต่อสอบถาม Tel.061-3294855 , (ID Line : hugo9889)..@@

@@..ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมและร่วมประมูลครับ..@@
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน100 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 26 พ.ค. 2568 - 21:50.53
วันปิดประมูล อา. - 15 มิ.ย. 2568 - 21:50.53 (18วัน 10ชั่วโมง 25นาที)
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 100 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่การประมูล ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top