
ประมูล หมวด:พระสมเด็จทั่วไป
พระสมเด็จเบญจศิริ กรุวังหน้า วัดพระแก้ว กทม.




ชื่อพระเครื่อง | พระสมเด็จเบญจศิริ กรุวังหน้า วัดพระแก้ว กทม. |
---|---|
รายละเอียด | หลักการพิจารณาพระพิมพ์สมเด็จสกุลนี้ ๑. ทรงพิมพ์มีทั้งที่เป็นพิมพ์นิยม (พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง วัดใหม่อมตรส (วัดบางขุนพรหม) วัดไชโยวรวิหาร พิมพ์นางพญา พิมพ์ผงสุพรรณ พิมพ์ซุ้มกอ) และทรงพิมพ์อื่น ๆ พิมพ์รูปเหมือนต่าง ๆ ล้วนมีความหมายสื่อให้ทราบถึงพุทธศิลป์ ความดี ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ศาสนา และความศักดิ์สิทธิ์ พิมพ์คมชัดสมส่วน สวยงาม (ส่วนใหญ่เป็นพิมพ์แบบถอดยกสองชิ้นประกบกัน) ๒. เนื้อขององค์พระทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง ละเอียด แห้งแต่หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ไม่ละลายในน้ำ ส้มสายชู และแกร่งคงทน วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม รวมถึงสีที่เป็นมงคลต่าง ๆ และโดยรวมเรียกขานกันในนาม “พระพิมพ์ปัญจสิริ” ๓. การพิจารณา รัก ชาด ผิวด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระจะมีทั้งลงชาดรักและไม่ลงชาดรัก การลงชาดรักสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ หรือรักสีน้ำเงินจากประเทศพม่า ชาดรักพบว่ามีความเก่ามากให้สังเกตว่าสีของรักเหมือนสีของตากุ้ง น้ำเงินจางๆแต่คล้ำ ส่วนใหญ่จะร่อนและลอกออกไป การลอกจะเป็นหย่อมๆไม่ทั่วทั้งองค์พระ มากบ้างน้อยบ้างตามกาลเวลา และมีลักษณะเป็นไปโดยธรรมชาติ ๔. การพิจารณา “สีสิริมงคล” ที่นำมาผสมลงในเนื้อพระเป็นสีต่าง ๆ อันประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีเขียว สีส้ม สีฟ้า สีม่วง และพระเบญจสิริ อันประกอบด้วย สีขาว เหลือง ดำ เขียว แดง และใสดังแก้วผลึก สีแต่ละสีจะมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวเอง กล่าวคือมันเป็นเงางาม สีสดใส ไม่ละลายน้ำ น้ำมัน ทนต่อสภาวะธรรมชาติได้ดี ไม่หลุดลอกไม่ติดมือ และที่สำคัญสีต่าง ๆ จะไม่สามารถนำมาผสมกันให้เป็นสีใหม่ได้ดังเช่นแม่สี (ให้พิจารณาจากพระสมเด็จเบญจสิริในองค์พระจะประกอบไปด้วยสีห้าสีเป็นอย่าง น้อยและแต่ละสีถึงแม้จะปะปนกันแต่จะไม่ผสมกรมกลืนกัน มีลักษณะของการเรียงตัวตามธรรมชาติอย่างเป็นเอกเทศ) ๕. การแตกลายงาขององค์พระจะมีสองประเภท คือ หนึ่งแตกลายงาแบบหยาบ ( แบบสังคโลก เหมือนชามสังคโลก ) สองการแตกลายงาแบบละเอียด ( เหมือนไข่นกปรอท ) ทั้งสองลักษณะร่องลอยการแตกตัวจะไม่ลึกถ้าดูเผินๆคล้ายไม่แยกจากกัน ต้องใช้กล้องส่องจึงจะเห็นชัด และขอให้จำเป็นหลักไว้ว่าการแตกลายงาขององค์พระไม่ได้เกิดจากการลงรัก ปิดทองล่องชาด แต่เกิดจากขั้นตอนของการตากผึ่ง และสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในขณะนั้นเป็นสำคัญ พระสมเด็จที่ลงรักปิดทองล่องชาด พบว่าเมื่อลอกรัก ชาด ทองเหล่านั้นออกไม่ปรากฏลอยแตกลายงาเลยก็มาก ๖. ผงทองนพคุณ จะโรยไว้ทั้งด้านหน้า หลัง ไม่บ่งบอกถึงรูปแบบอาจมีมากบ้างน้อยบ้าง สันนิษฐานว่าเป็นไปโดยอัธยาศัยของผู้กดพิมพ์ และพบได้ในทุกพิมพ์ ๗. ผงแร่รัตนชาติ (รัตนชาติ คือแร่ที่นำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับ) พบทั้งหมด ๑๒ สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน ฟ้า เขียว เหลือง น้ำตาล ส้ม แดง ชมพู ดำ และขาว ลักษณะจะเป็นมันวาวแลดูแกร่ง เก่า สัญฐานจะกลมหรือเหลี่ยม ให้สังเกตจะมนไม่มีคม ถูกนำมาย่อยเป็นเม็ดเล็ก ๆ ขนาดโดยประมาณ ๕ – ๓ มิลลิเมตร เป็นลักษณะของการผสมลงในเนื้อมวลสาร ถ้าหักองค์พระดูจะเห็นผงแร่รัตนชาติผสมอยู่เนื้อใน ๘. ด้านหลังขององค์พระมีทั้งเรียบ และไม่เรียบ พิจารณาให้ดีจะพบ เกาะแก่ง หลุมเล็ก ๆ รอยปูไต่ และรอยหนอนด้น เปรียบประดุจดั่งธรรมชาติปั้นแต่ง ๙. ลัญจกรและสัญลักษณ์ เช่น พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น ๑๐. พิมพ์พระประธานมีลักษณะถูกต้องตามศิลปะโบราณ กล่าวคือ มีพระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระโอษฐ์ ปรากฏเด่นชัด พิมพ์ที่พบที่มีพุทธลักษณะคล้ายกับพิมพ์พระประธานได้แก่ พิมพ์ทรงเกศบัวตูม ส่วนพระพิมพ์อื่น ๆ เช่น พิมพ์ประธาน (พิมพ์ใหญ่) พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ทรงปรกโพ พิมพ์ทรงเกศบัวตูม พิมพ์ทรงฐานแซม พิมพ์ทรงฐานคู่ พิมพ์ทรงสังฆาฏิ พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร (พระเจ้าไกเซอร์) พิมพ์ทรงฐานเส้นด้าย จะมีพุทธลักษณะ ขนาดเท่ากัน และใกล้เคียงกันกับพิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง บางขุนพรหม และวัดไชโย (พระพิมพ์นิยมในปัจจุบัน) ๑๑. การตัดขอบองค์พระ ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยพบว่ามีการตัดขอบข้าง พบเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ลักษณะขอบด้านข้างจะเรียบ สวยงามตามแบบพิมพ์ (พิมพ์ต้นแบบเป็นลักษณะถอดยกเป็นบล็อกสองชิ้นประกบเข้าหากันเป็นส่วนใหญ่) ๑๒. คราบแป้งโรยพิมพ์ สืบค้นไม่พบหลักฐานแต่พบว่าในสมัยโบราณจะใช้น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันงาเป็นส่วนสำคัญในการทาพิมพ์เพราะเป็นน้ำมันที่ใสและลื่น ส่วนคราบขาวที่พบเห็นบริเวณผิวหน้าองค์พระนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ระหว่างน้ำมันที่ทาพิมพ์กับเนื้อของพระสมเด็จ (การล้างและทำความสะอาดจะทำให้ผิวของพระเสียหายได้) ๑๓. พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว ที่เรียกกันว่า “พระสมเด็จเจ้ากรมท่า” วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม และเข้มคล้ายกับเนื้อของพระสมเด็จวัดระฆัง และสมเด็จบางขุนพรหมแต่จะมีความละเอียดกว่า ๑๔. พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว ที่เรียกกันว่า “พระสมเด็จกรมท่าและวังหน้า” พ.ศ. ๒๔๑๒ และ พ.ศ.๒๔๒๕ วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม รวมถึงสีที่เป็นสิริมงคลต่าง ๆ และที่เรียกกันว่า “ ปัญจสิริ ” ดังที่กล่าวมาแล้วซึ่งคำว่า “ เบญจรงค์ ” นั้นใช้เรียกกับถ้วยชาม โดยความหมายที่แท้จริงนั้นคำว่า ปัญจ หรือ เบญจะ หมายถึง ห้าประการ สิริหมายถึง ศรีหรือความดี รวมความแล้วหมายถึง ความดีห้าประการ นั่นเอง ส่วนลักษณะของเบญจรงค์นั้นทางจีน เรียกว่า “ อูไช่ ” โดยมีหลักการว่าธาตุสำคัญมีอยู่ 5 ธาตุ ด้วยกันคือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุทองหรือธาตุไม้ เมื่อนำมารวมกันเข้าถือว่าเป็นสิริมงคล มวลสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนผสมหลักของพระพิมพ์สกุลนี้ ๑. ปูนที่เกิดจากการย่อยสลายหินด้วยวิธีการบดจากเขาในเมืองอันฮุย มณฑลเสฉวน ประเทศจีน (ปูนเพชร ปูนที่ใช้ทำเครื่องถ้วยชามกังไสของจีน หรือถ้วยชามเบญจรงค์ของไทย) ๒. เศษหินอ่อนนำมาสลายลงในเนื้อพระ หินอ่อนนี้จารึกด้วยคาถาพญาธรรมิกราชอานิสงส์ในทางป้องกันรักษา อหิวาตกโรค จารึกทิ้งไว้ในสระน้ำวัดระฆังฯ วัดหงษ์รัตนารามและวัดอินทร์วิหาร ๓. พระธาตุพระอรหันต์ ๔. ผงวิเศษนั้นได้ขอร้องทางวัดระฆัง ระยะเวลา ๑๗ เดือนส่วนใหญ่เป็นพระเณรในวัดเป็นผู้ลงทั้งสิ้นและระดมผงตามวัดต่างๆในเขตกรุงเทพฯ และธนบุรีหรือจังหวัดใกล้เคียง เช่นผงมูลกัจจายน์ ผงสนธิ ผงวิภัท ผงอาขยาด ซึ่งหาได้ง่ายในสมัยนั้นรวบรวมให้ได้มากที่สุด ๕. ข้าวสุก ๖. ผงทองนพคุณ บางสะพานใหญ่ ๗. กล้วยน้ำไทย ๘. น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำผึ้ง ๙. น้ำมันทังส์ ( มีเฉพาะบางกลุ่ม ) ๑๐. เกศรดอกไม้ ๑๐๘๑๑. เปลือกเมล็ดนุ่น๑๒. น้ำมันงาเสก ขอบคุณเจ้าของข้อมูล ค้นหาข้อมูลจาก google -------------------------- องค์นี้พระเนื้อหนึกนุ่ม ลงทองเก่า ไม่เหมือนพระสนามที่เนื้อแห้ง แกร่งแบบปูนพลาสเตอร์ เนื้อมองแล้วกระด้างแบบพระไม่แท้ทั่วไปตามงานสนามครับ เนื้อหาจะคนละแบบกันครับระหว่างพระแท้และพระสนาม คราบแคลเซียมขึ้นปกคลุมให้เห็นตามผิวพระ ท่านใดสนใจไว้ใช้หรือศึกษาสายนี้อยู่เรียนเชิญครับ ลองพิจารณาดูครับ |
ราคาเปิดประมูล | 34,900 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 34,900 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | พ. - 23 ก.ค. 2568 - 12:58.54 |
วันปิดประมูล | อ. - 12 ส.ค. 2568 - 12:58.54 (18วัน 3ชั่วโมง 16นาที) |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 34,900 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
เพิ่มครั้งละ | 100 บาท |
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่การประมูล ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
ยังไม่มีผู้ประมูล |
กำลังโหลด...