พระพุทธชินราช หลวงพ่อโมวัดสามจีน พ.ศ.2460 - webpra

ประมูล หมวด:พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520

พระพุทธชินราช หลวงพ่อโมวัดสามจีน พ.ศ.2460

พระพุทธชินราช หลวงพ่อโมวัดสามจีน พ.ศ.2460 พระพุทธชินราช หลวงพ่อโมวัดสามจีน พ.ศ.2460
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระพุทธชินราช หลวงพ่อโมวัดสามจีน พ.ศ.2460
รายละเอียดเนื้อตะกั่วผสมปรอท องค์นี้สภาพโดนฝนขอบด้านข้าง และผ่านการใช้งานสมบุกสมบัน แต่ทำให้ดูเข้มขลังดีอีกแบบ พระเก่า พ.ศ.ลึกมาก 2460

สมัยก่อนนั้นคนทุกคนจะรู้จักแต่วัดสามจีนแต่ปัจจุบันเมื่อเอ่ยถึงชื่อของวัดสามจีนแล้วผู้คนจะไม่ค่อยรู้จัก นอกจากจะพูดถึงพระเครื่องพิมพ์พระพุทธชินราชเนื้อตะกั่วผสมปรอทของหลวงพ่อโม และเหรียญรูปเหมือนของท่านเท่านั้นจะรู้ทันทีว่าวัดสามจีนปัจจุบันต้องเอ่ยถึงชื่อ พระวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ตั้งอยู่ในถนนตรีมิตร เขตสัมพันธวงศ์ ย่านใจกลางเมืองกรุงกันเลย ผู้สร้างวัดนี้เป็นชาวจีนสามท่านด้วยกันที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาจึงได้ร่วมกันสละทรัพย์สร้างขึ้นเพื่อให้ชาวจีนในย่านนั้นที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้ประกอบกิจพิธีกรรมทางศาสนาขึ้น

ชาติภูมิ พระครูวิริยะกิจการี นามเดิมว่า โม แซ่ฉั่ว เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีเดือน 5 ปี พ.ศ. 2406พ่อแม่ของท่านเป็นชาวจีนที่เดินทางมาจากเมืองจีนเข้ามาประกอบอาชีพในการค้าขาย หลวงพ่อโมเมื่อวัยเด็กได้ศึกษาหาความรู้จนอ่านออกเขียนได้ทั้งภาษาจีนและภาษาไทย นิสัยของท่านเด็ดเดี่ยว ชอบศึกษาหาความรู้ในด้านวิชาอาคมขลัง สมัยนั้นพวกคนจีนที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทยมีทั้งคนดีและพวกนักเลงคุมถิ่นเรียกเก็บค่าคุ้มครองกันมีกันเป็นก๊กเป็นเหล่า ท่านจึงอยากจะได้ของดีจากพระอาจารย์ต่างๆไว้ป้องกันตัวเพราะได้เห็นถึงคนตีกันฟันกันด้วยอาวุธแหลมคม แต่คนที่มีคุณความดีติดตัวนั้นจะไม่เป็นอันตรายอะไร ถูกฟันถูกแทงก็ไม่เข้าเลยอย่างมากก็เพียงแค่เป็นรอยเป็นปื้น ท่านจึงเสาะหาพระอาจารย์เข้าไปช่วยเหลือทำโน่นทำนี่ให้ท่านก็ได้วิชาไว้บ้าง
เมื่อมีอายุครบบวช ก็ได้เป็นพระที่วัดสามจีน โดยมีท่านพระปรากรมมุนี (หลวงพ่อเปลี่ยน) เจ้าอาวาสวัดประทุมคงคา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ วัดหัวลำโพง เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์แย้ม วัดสามจีน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ภายหลังอุปสมบทได้รับฉายาว่า ธมมมสโร เมื่อบวชแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดสามจีนนั่นเอง
ท่านเป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยศึกษาหาความรู้ในด้านธรรมะและด้านคาถาอาคมขลัง และท่านก็ได้เล่าเรียนวิชาอาคมขลังจากท่านพระปรากรมมุนีซึ่งท่านเป็นพระอาจารย์ที่อาคมขลังอย่างสูงมาก ทั้งยังเชี่ยวชาญและมีความรอบรู้ในด้านกรรมฐาน มีชื่อเสียงทางน้ำมนต์ทางรักษาด้วย ถ้าท่านลงกระหม่อมให้ผู้ใดแล้วจะติดไปจนวันตาย แม้แต่เผาร่างของคนผู้นั้นที่หัวกระโหลกก็จะเป็นยันต์และอักขระขอมติดแน่นนานมากกว่าจะเผามอดไหม้
ต่อมาท่านพระปรากรมมุนี ได้เดินทางกลับจากพิษณุโลกมาอยู่ที่วัดปทุมคงคาตามเดิม หลวงพ่อในฐานะศิษย์และเป็นพระฏีกาก็ติดตามเดินทางกลับมาอยู่ที่วัดสามจีนในฐานะเถระพระผู้ใหญ่มาอยู่ได้ระยะหนึ่งท่านเจ้าอาวาสวัดสามจีนมรณภาพลง ตำแหน่งเจ้าอาวาสก็ว่าง ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดสามจีนแต่นั้นเป็นต้นมา
สมัยท่านเป็นเจ้าอาวาสนั้นนักเลงหัวไม้ทั้งคนจริงมากมายตั้งกันเป็นก๊ก เป็นเหล่า สมัยนั้นมีก๊กเก้ายอดซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อหรุ่น วัดอัมพวัน หรือที่ท่านผู้อ่านคงจะเคยได้ยินมาแล้ว หลวงพ่อหรุ่น ใจพารา อดีตกำนันคนดังคนจริงแห่งคลองเชียงรากตอนหลังมีศิษย์เคารพนับถือมากมายในด้านคงกระพันชาตรี และมีชื่อเสียงอย่างมาก ท่านจะลงหมึกสักยันต์ลงยันต์ด้วยน้ำมันงาเสกแต่ส่วนมากสมัยนั้นจะสักยันต์ด้วยหมึกดำ

ในย่านสัมพันธวงศ์นั้นก็มีก๊กลั่กกั้กมีสัญลักษณ์ของแต่ละสำนัก นักเลงสมัยนั้นจะคุมแต่ละย่านแบ่งกันคุ้มครองเก็บเงิน แต่อย่างว่าละครับ มักจะเกิดเรื่องข้ามเขตข้ามแดนกันเสมอๆถึงขนาดบางคราวถึงขั้นยกพวกมีจำนวนมากๆ ต่อสู้กัน แต่ละฝ่ายจะเหนียวคงกระพันชาตรี ฟันแทงไม่เข้า ตีไม่แตก แต่เมื่อครั้งใดศิษย์ของทั้งสองสำนักปะทะกันต่างก็ต้องกลับไปด้วยความสบักสบอม ไปรักษาความบอบช้ำความระบมเป็นเวลานานกว่าจะหาย สมัยนั้นเรื่องพกปืนไม่ต้องพูด สู้มีดพกมีดดาบ เหล็กแหลมไม่ได้ ศิษย์ของท่านผู้หนึ่งต้องระเห็ดออกจากกรุงเทพฯไปอยู่นครปฐมไปประกอบอาชีพค้าขาย เขาเป็นคนจริงขืนอยู่ในเมืองหลวงก็ต้องเจอกับปัญหาหนักเขาจึงต้องออกไปอยู่กัยญาติที่นครปฐม แต่แรกนั้นก็อยู่อย่างสงบ ตอนหลังมีนักเลงเจ้าถิ่นและนักเลงมาเบ่งเรียกค่าคุ้มครองเล็กๆน้อยๆก็พอจะให้กันได้ แต่ถ้าบ่อยและมากขึ้นก็ไม่ยอม นักเลงนครปฐมมีของดี หลวงพ่อทาและหลวงพ่อนาค วัดห้วยจรเข้ที่มีชื่อเสียงในด้านคงกระพันชาตรีอย่างมากที่สุดก็นับถือกัน ศิษย์ของหลวงพ่อโมถือว่าแน่เหมือนกันไม่ยอมให้ใครรบกวนอีกต่อไปจนนักเลงเมืองนครปฐมต่างยกย่องและยังเคยเดินทางไปหาท่านถึงเมืองหลวง สิ่งที่ยืนยันได้อย่างดีที่ทางวัดเก็บรักษาเอาไว้อย่างดีคือพัดรัชมังคลาภิเษก และเครื่องแก้วจีน

สวยๆหลายพันถึงหมื่นกว่าๆแล้ว ใครชอบเชิญครับ ราคาปิดมิตรภาพ รับประกันแท้ ครับผม
ราคาเปิดประมูล500 บาท
ราคาปัจจุบัน700 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 31 ก.ค. 2555 - 17:37.14
วันปิดประมูล ศ. - 03 ส.ค. 2555 - 22:52.20 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
aunbm (342) (-4) 58.10.33.59
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 700 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
600 บาท พ. - 01 ส.ค. 2555 - 00:16.18
700 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พฤ. - 02 ส.ค. 2555 - 22:52.20
กำลังโหลด...
Top