
ประมูล หมวด:จตุคามรามเทพ พ.ศ. 2530 ถึง 2549
พระพุทธสิหิงค์ นครศรีธรรมราช ปี พ.ศ.2530 เนื้อดำ พิมพ์สวยไร้ตำหนิ


ชื่อพระเครื่อง | พระพุทธสิหิงค์ นครศรีธรรมราช ปี พ.ศ.2530 เนื้อดำ พิมพ์สวยไร้ตำหนิ |
---|---|
รายละเอียด | พระพุทธสิหิงค์ นครศรีธรรมราช ปี พ.ศ.2530 เนื้อดำองค์นี้ พิมพ์สวยไร้ตำหนิไม่มีบิ่น สมบูรณ์มาก สร้างพร้อมองค์จาตุคามรามเทพ ปี 2530 ปกติราคาหลักหมื่นกลางๆ แต่เดี่ยวนี้ราคาน่าเช่าเก็บไว้บูชามาก เพราะราคาถูกกว่าเดิมมากแต่พุทธคุณเปี่ยมล้นคงเดิม พระพุทธศรีวิชัยนำโชค หรือ พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระประเภทเนื้อผง ผสมด้วยมวลสารหลักชนิดเดียวกันกับ พระผงสุริยัน - จันทรา ดวงตราพญาราหู เป็นวัตถุมงคลเพียงชนิดเดียวที่สร้างขึ้นเป็นรูปพระพุทธรูป แตกต่างไปจากวัตถุมงคลชนิดอื่นของหลักเมือง นครศรีธรรมราช องค์จตุคามรามเทพ ได้ชี้แนะเห็นควรให้จัดสร้างขึ้น โดยจำลองรูปแบบมาจากพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งประดิษฐาน ณ หอพระพุทธสิหิงค์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2530 ท่าน สรรเพชญ ธรรมาธิกุล เป็นผู้ออกแบบ แกะพิมพ์โดย อาจารณ์มนตรี จันทพันธ์ แบบพิมพ์ มีเพียงพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เดียว แต่บล็อกแม่พิมพ์มีด้วยกันหลายบล็อกทำให้แตกต่างกันไปบ้างในบางจุด โดยมี 2 เนื้อคือ เนื้อผงและเนื้อไม้ และโดยทั่วไปพอจะแยกออกได้เป็น 1. พิมพ์เกศทะลุซุ้ม ด้านหน้าเกศขององค์พระพุทธสิหิงค์ จะยาวจนทะลุหรือชนกับซุ้ม ส่วนด้านหลังยังแบ่งออกเป็น ราหูทรงเครื่อง กับราหูไม่ทรงเครื่อง โดยสังเกตุดูตัวราหูถ้าทรงเครื่องก็จะดูมีเครื่องทรงเยอะเหมือนใส่เสื้อผ้าและมียอดแหลมบนช่วงไหล่ของราหูทั้งสองข้าง ส่วนราหูไม่ทรงเครื่องก็เหมือนกับตัวราหูไม่ได้สวมเครื่องทรง 2. พิมพ์เกศบัวตูม ด้านหน้าเกศขององค์พระพุทธสิหิงค์ จะเป็นรูปคล้ายกลีบดอกบัวเรียงกันเป็นชั้นๆ แต่เกศจะไม่ชนหรือทะลุซุ้มส่วนด้านหลังยังแบ่งออกเป็น ราหูทรงเครื่อง กับราหูไม่ทรงเครื่อง โดยสังเกตุดูตัวราหูถ้าทรงเครื่องก็จะดูมีเครื่องทรงเยอะเหมือนใส่เสื้อผ้าและมียอดแหลม ส่วนราหูไม่ทรงเครื่องก็เหมือนกับตัวราหูไม่ได้สวมเครื่องทรง หมายเหตุ หากแยกลึกลงไปอีกก็จะเห็นว่าพระทัน (นม) ขององค์พระพุทธสิหิงค์จะมีแบบเห็นพระทัน (หัวนม) อย่างชัดเจน กับไม่เห็นพระทัน (หัวนม) พระพุทธศรีวิชัยอันนำโชค หรือ พระพุทธสิหิงค์ มีกลุ่มโทนสีหลักๆ อยู่ 4 กลุ่มคือ กลุ่มสีขาว มีทั้งสีขาวล้วน ขาวอมส้ม และขาวอมเขียว กลุ่มสีดำ ลักษณะเนื้อมี 3 ชนิดคือ แก่ปูน แก่ถ่าน และเนื้อไม้ โทนสีดำสนิท ดำเทา และดำอมน้ำตาล(เนื้อไม้) กลุ่มสีน้ำตาล มี 2 เนื้อ คือ เนื้อแก่ปูน และเนื้อผสมถ่านกับไม้ กลุ่มสีแดง ในกลุ่มนี้มีหลายโทนสีแตกต่างกันไปเล็กน้อย ในเรื่องความอ่อนแก่ สีพิเศษก็คือ สีเลือดหมู ซึ่งเป็นพระที่ทำช่วงแรกๆ เนื้อนำฤกษ์เกศบัวตูมหลังราหูทรงเครื่อง |
ราคาเปิดประมูล | 1,000 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 2,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 200 บาท |
วันเปิดประมูล | จ. - 29 พ.ย. 2553 - 14:08.09 |
วันปิดประมูล |
พ. - 29 ธ.ค. 2553 - 14:08.09 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 2,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
เพิ่มครั้งละ | 200 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...