พระพุทธปั๊มพระร่วง มณ. วัดมหรรณพาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ - webpra

ประมูล หมวด:พระกริ่ง พระชัยวัฒน์

พระพุทธปั๊มพระร่วง มณ. วัดมหรรณพาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ

พระพุทธปั๊มพระร่วง มณ.  วัดมหรรณพาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ พระพุทธปั๊มพระร่วง มณ.  วัดมหรรณพาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ พระพุทธปั๊มพระร่วง มณ.  วัดมหรรณพาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ พระพุทธปั๊มพระร่วง มณ.  วัดมหรรณพาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ พระพุทธปั๊มพระร่วง มณ.  วัดมหรรณพาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระพุทธปั๊มพระร่วง มณ. วัดมหรรณพาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ
รายละเอียดหลวงพ่อพระร่วง
วัดมหรรณพาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ
“วัดมหรรณพาราม” ตั้งอยู่ที่แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ได้เริ่มสร้างขึ้นมาตั้งแต่
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ซึ่งตรงกับปีพุทธศักราช ๒๓๙๓

นามผู้สร้างพระอารามนี้ คือ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี
มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอรรณพ
ทรงเป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในพระอารามแห่งนี้ มีปูชนียวัตถุที่สำคัญมาก คือ
พระพุทธรูปองค์ใหญ่ มีนามเรียกว่า “หลวงพ่อพระร่วง”
หรือที่ชาวบ้านเรียกจนติดปากว่า “หลวงพ่อร่วง วาจาศักดิ์สิทธิ์”
พระพุทธรูปอันงดงามสมัยสุโขทัย สถิตอยู่ภายในพระวิหาร

พระวิหารที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระร่วงเป็นศิลปะผสมแบบจีน

หลวงพ่อพระร่วง เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย
ขนาดหน้าตักกว้าง ๑ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว สูง ๑ วา ๓ ศอก ๑ คืบ ๗ นิ้ว
องค์พระเป็นโลหะทอง มีรอยต่อ ๙ แห่ง โดยมีหมุดเป็นเครื่องเชื่อม
ที่รอยต่อชุกชีที่ประดิษฐาน ยาว ๒ วา ๑ ศอก ๗ นิ้ว กว้าง ๒ วา ๒ ศอก

ถัดจากฐานขึ้นไปที่เรียกว่าบัลลังก์ ทำเป็นลายดอกบัวคว่ำบัวหงาย
และดอกไม้เครือกระจังลงรักปิดทอง ประดับด้วยกระจกสีต่างๆ
ได้อัญเชิญมาจากกรุงสุโขทัยในราวปี พ.ศ.๒๓๙๓ ในรัชกาลที่ ๓

หลวงพ่อพระร่วง มีประวัติสังเขปดังนี้ เมื่อครั้งที่ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี
ทรงสร้างวัดอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ได้พระราชทานเงินสมทบ ๑,๐๐๐ ชั่ง สร้างพระอุโบสถ แล้วทรงรับสั่งให้
เจ้าหน้าที่ทางเมืองเหนือเสาะหาพระพุทธรูปใหญ่ เพื่อนำมาเป็นพระประธาน

ครั้นได้พบแล้วก็ทราบรับสั่งให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ
เพื่อให้ทันกับการฉลองพระอุโบสถและผูกพัทธสีมา

แต่การเดินทางสมัยนั้นลำบากมาก หากจะขนวัตถุสิ่งใดลงมากรุงเทพฯ
ต้องอาศัยเรือหรือแพเท่านั้นเป็นพาหนะ

หลวงพ่อพระร่วงก็เช่นเดียวกัน อาศัยบรรทุกมาด้วยแพ
แต่การเดินทางล่าช้ามาก มาไม่ทันกำหนดเวลาที่พระอุโบสถสร้างเสร็จ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงรับสั่งให้
สร้างพระประธานด้วยหินปูนก่ออิฐให้ทันกับเวลาฉลองพระอุโบสถ
และใช้เป็นพระประธานในพระอุโบสถจนกระทั่งบัดนี้

ครั้นสร้างพระประธานเสร็จเรียบร้อย หลวงพ่อพระร่วงจึงถูกอัญเชิญ
มาถึงกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงรับสั่งให้สร้าง พระวิหาร ขึ้นทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถ
ให้เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระร่วงตั้งแต่นั้นมาตราบเท่าทุกวันนี้


หลวงพ่อพระร่วง มีคุณลักษณะดีพิเศษ ๓ ประการ คือ

ประการที่ ๑ ทางด้านศิลปะ
หลวงพ่อพระร่วงเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะสวยงามมาก พระพักตร์อิ่มเอิบ
พระเนตรดูแล้วเหมือนยิ้มนิดๆ เป็นเหตุชวนให้ชุ่มชื่นใจแก่ผู้ดู
พระกรวางอยู่ในลักษณะสมส่วน นิ้วพระหัตถ์เรียวงาม ทั้งองค์มีที่ต่ออยู่ ๙ แห่ง
เป็นเครื่องหมายของความก้าวหน้าตามความนิยมของคนสมัยนั้น
ด้วยทุกสัดส่วนขององค์พระไม่มีที่ไหนบกพร่องที่น่าตำหนิ
ยากที่ช่างสมัยนี้จะทำเทียมเสมอได้

ประการที่ ๒ ด้านวัตถุ
หลวงพ่อพระร่วงมีคุณค่าทางด้านวัตถุมากมายมหาศาล
พระพุทธรูปโบราณที่สร้างในสมัยเชียงแสน สุโขทัย
มักจะเป็นเนื้อทองสัมฤทธิ์เป็นส่วนมาก หรือเป็นเนื้อทองคำปนอยู่มาก
เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้มาพิสูจน์ ลงความเห็นว่าเป็นเนื้อทองคำประมาณ ๖๐%

ประการที่ ๓ ด้านความศักดิ์สิทธิ์
หลวงพ่อพระร่วงเป็นที่พึ่งทางใจให้แก่ชาวบ้านและชาวจีน
ปัดเป่าความทุกข์ให้แก่ผู้ที่มากราบไหว้บูชาได้ดี จนเป็นที่ขึ้นชื่อลือชา
เป็นพระพุทธปฏิมารูปเปรียบของพระพุทธเจ้าชาวพุทธที่กราบไหว้บูชา
ก็เท่ากับกราบไหว้พระพุทธเจ้าจัดเข้าเป็นพุทธานุสติได้ตามหลักการปฏิบัติของชาวพุทธ

ด้วยพุทธานุภาพอันเกิดจากความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อพระร่วง
การบนบานนั้น จึงมักจะสำเร็จผลตามความประสงค์เป็นส่วนมาก
ทำให้มีผู้นิยมนับถือท่านมากทั้งชาวไทยและชาวจีน
เกิดเดือดร้อนขึ้นมาก็หันหน้าเข้าวัดบนบานให้ท่านช่วย
ของเซ่นที่ท่านชอบก็ไม่เหมือนที่อื่นๆ เป็นเพียงตะกร้อ ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า
หรือพวงมาลัยเท่านั้น เมื่อก่อนนี้ทางวัดไม่ได้เปิดให้คนเข้านมัสการภายในวิหาร
ผู้ประสงค์จะไหว้อยู่แต่ภายนอกวิหารเท่านั้น แต่นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๗ เป็นต้นมา

จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ทางวัดได้เปิดให้คนเข้านมัสการภายในพระวิหาร
ได้ทุกโอกาสและเปิดเป็นประจำทุกวัน

ทุกปีจะมีงานนมัสการปิดทองหลวงพ่อพระร่วง วันกำหนดงานไม่ค่อยจะแน่นอน
แต่อยู่ในระหว่างช่วงเทศกาลตรุษจีนเป็นส่วนมาก
เมื่อมีงานเทศกาลชาวไทยและชาวจีนจะหลั่งไหลกันมากราบไหว้บูชา
ราคาเปิดประมูล70 บาท
ราคาปัจจุบัน94 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ24 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 18 ก.ย. 2555 - 21:51.38
วันปิดประมูล พฤ. - 20 ก.ย. 2555 - 07:30.38 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 94 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ24 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
saksan (857) (-2) 171.7.36.126
94 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พ. - 19 ก.ย. 2555 - 07:30.38
กำลังโหลด...
Top