พระพุทธปัญจภาคี (พระพุทธชินสีห์) + กรอบแสตนเลสลายทอง + แหนบติดกระเป๋๋า - webpra

ประมูล หมวด:วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร

พระพุทธปัญจภาคี (พระพุทธชินสีห์) + กรอบแสตนเลสลายทอง + แหนบติดกระเป๋๋า

พระพุทธปัญจภาคี (พระพุทธชินสีห์) + กรอบแสตนเลสลายทอง + แหนบติดกระเป๋๋า พระพุทธปัญจภาคี (พระพุทธชินสีห์) + กรอบแสตนเลสลายทอง + แหนบติดกระเป๋๋า พระพุทธปัญจภาคี (พระพุทธชินสีห์) + กรอบแสตนเลสลายทอง + แหนบติดกระเป๋๋า
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระพุทธปัญจภาคี (พระพุทธชินสีห์) + กรอบแสตนเลสลายทอง + แหนบติดกระเป๋๋า
รายละเอียดพระพุทธปัญจภาคี วโรกาส ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในปี 2539 (พระพุทธชินสีห์)

รายละเอียด: เหรียญรูปใข่พระพุทธปัญจภาคี เนื้อทองแดงขัดเงา จัดสร้างขึ้นโดยกองกษาปณ์ ในวโรกาสเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษกในปี พ.ศ.2540 ในพิธีนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีพุทธมหาชัยมังคลาภิเษกในวันที่ 20 มีนาคม 2540 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว มีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ และพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงจำนวน 54 รูป ทรงเจริญพระพุทธมนต์ และสวดพุทธมหาชัยมังคลาภิเษก

ใน1 ชุด ประกอบด้วยเหรียญรูปใข่ 5 เหรียญ ด้านหน้าของทุกเหรียญเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนด้านหลังในแต่ละเหรียญเป็นรูปพระพุทธรูปที่สำคัญและมีชื่อเสียงของประเทศไทย ซึ่งได้แก่

1.พระพุทธชินราช
2.พระพุทธชินสีห์
3.พระพุทธโสธร
4.พระนิรันตราย
5.พระมงคลบพิตร
เหรียญพระพุทธปัญจภาคีได้เข้าพิธีมหาชัยมังคลาภิเษก ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร พระนามและรายนามพระสงฆ์ที่กราบทูลและนิมนต์ มาร่วมอธิษฐานจิตในพิธีพุทธมหาชัยมังคลาภิเษก ดังนี้
พระเจริญพระพุทธมนต์ เวลาประมาณ 15.00 น.
1. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร
2. สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
3. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม
4. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม
5. พระสุเมธาธิบดี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
6. พระธรรมวโรดม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
7. พระวิสุทธาธิบดี วัดสุทัศนเทพวราราม
8. พระธรรมปัญญาจารย์ วัดมกุฏกษัตริยาราม
9. พระพรหมโมลี วัดยานนาวา
10. พระมหารัชมงคลดิลก วัดบวรนิเวศวิหาร
พระคณาจารย์นั่งเจริญจิตตภาวนา (ชุดที่ 1 เวลาประมาณ 15.00 น.)
1. พระวิสุทธิวงศาจารย์ (หลวงพ่อพลอย) วัดเทพธิดาราม กทม
. 2. พระมงคลเทพโมลี (ดร.พูลทรัพย์) วัดสุทัศนเทพวราราม กทม
3. พระราชวิสุทธิคุณ (หลวงพ่อเกตุ) วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
4. พระโสภณเสมาธิคุณ (หลวงพ่อเฟื่อง) วัดเจ้ามูล กทม.
5. พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ) วัดอรัญบรรพต หนองคาย
6. พระครูสาธรพัฒนกิจ (หลวงพ่อละมูล) วัดเสด็จ ปทุมธานี
7. พระอาจารย์มหาวิบูลย์ วัดโพธิคุณ ตาก
8. หลวงปู่จันทา วัดเขาน้อย พิจิตร
9. พระครูกาชาด (บุญทอง เขมทตฺโต) วัดดอนศาลา พัทลุง
10. พระครูอดุลยธรรมกิจ (หลวงพ่อกลั่น) วัดเขาอ้อ พัทลุง
11. หลวงพ่อสังข์ศีลคุณ วัดดอนตรอ นครศรีธรรมราช
12. พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญวิเวก เชียงใหม่
13. หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา อุดรธานี
14. พระอธิการวิชา วัดศรีมณีวรรณ ชัยนาท
15. หลวงพ่อบุญมา คัมภีรธัมโม วัดหนองปุง สกลนคร
16. พระครูมนูญธรรมมาภิรัต (หลวงพ่อสาคร) วัดหนองกรับ ระยอง
17. พระครูเขมคุณโสภณ (หลวงพ่อจันทรแรม) วัดเกาะแก้วธุดงค์สถาน บุรีรัมย์
พระคณาจารย์นั่งเจริญจิตตภาวนา ชุดที่ 2 เวลาประมาณ 18.00 น.
1. พระราชจันกวี วัดไผ่ล้อม จันทบุรี
2. พระอุดมประชานารถ (หลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม
3. พระมงคลสิทธิคุณ (หลวงพ่องลำใย) วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี
4. พระครูฐิติธรรมญาณ (หลวงพ่อลี) วัดเหวลึก สกลนคร
5. พระครูสุวัณโณปมคุณ (หลวงพ่อคำพอง) วัดถ้ำกกกู่ อุดรธานี
6. พระครูอนุรักษ์วรคุณ (หลวงพ่อสง่า) วัดหนองม่วง ราชบุรี
7. พระครูสุนันท์วิริยาภรณ์ (หลวงพ่อเก๋) วัดแม่น้ำ สมุทรสงคราม
8. หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย อุบลราชธานี
9. พระครูสถิตโชติคุณ (หลวงพ่อไสว) วัดปรีดาราม นครปฐม
10. พระครูถาวรสังฆสิทธิ์ (หลวงพ่อภา) วัดสองห้อง นครปฐม
11. พระอาจารย์คำบ่อ วัดใหม่บ้านดาล สกลนคร
12. หลวงปู่บุญมี วัดสระประสานสุข อุบลราชธานี
13. หลวงปู่หงส์ วัดเพชรบุรี สุรินทร์
14. พระครูอรรถธรรมทร (หลวงพ่อเฮ็น) วัดดอนทอง สระบุรี
15. พระครูเกษมคณาภิบาล (หลวงพ่อมี) วัดมารวิชัย พระนครศรีอยุธยา
16. หลวงปู่รินทร์ รักชโน สำนักสงฆ์ภูถ้ำพระ กาฬสินธุ์
17. หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว วัดป่าหินเกิงวิปัสสนา ขอนแก่น
18. พระครูนนทสิทธิการ วัดไทรน้อย นนทบุรี
19. หลวงปู่พลพินิจ ขันจิธโร สำนักสงฆ์ภูถ้ำพระ กาฬสินธุ์
พระสงฆ์สวดภาณวารและทิพย์มนต์
1. พระมหาสุธน กวิญโญ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม
2. พระปลัดพิทยา ญาณิวโส วัดสุทัศนเทพวราราม
3. พระครูวินิตสุนทรกิจ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
4. พระครูพินิจ กิจจาภิรักษ์ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
พระสวดพุทธาภิเษก
1. พระครูพิทักษ์ถิรธรรม วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
2. พระครูวิบูลวิหารกิจ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
3. พระครูสุวัฒนประสิทธิ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
4. พระครูอมรโฆสิต วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.

ประวัติพระพุทธชินสีห์
พระพุทธชินสีห์ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแต่ครั้งสุโขทัย นับว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามมากที่สุดพระองค์หนึ่ง
สมเด็จพระบวรราชเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงอัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาจากพระวิหารทิศเหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก มาประดิษฐานไว้ในมุขหลังของพระอุโบสถ ซึ่งก่อขึ้นใหม่ อัญเชิญลงแพมาทั้งพระองค์ เมื่อฤดูน้ำ พ.ศ. ๒๓๗๒ แต่ได้ยินกันมาโดยมากว่ามุขหลังคามีมาแต่เดิม จึงรวมเป็น ๔ มุข ตามรูบเมรุของเจ้าจอมมารดา ของพระองค์เจ้าดาราวดี พระราชชายา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผู้ทรงรจนาตำนานวัด ทรงสันนิษฐานว่า มุขหลังก่อทีหลัง ในเมื่อปรารภว่าจะเชิญพระพุทธชินสีห์ลงมา เดิมคงมีแต่หลังหน้าซึ่งเป็นพระอุโบสถ หลังขวางซึ่งเป็นพระวิหาร แต่สร้างติดกันจึงดูเป็น ๓ มุข
พระพุทธชินสีห์นี้ มีตำนานกล่าวไว้ในพงศาวดารเหนือว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เจ้าเมืองนครเชียงแสน สร้างขึ้นพร้อมกับพระชินราชและพระศาสดาเมื่อก่อน พ.ศ. ๑๕๐๐ มีเรื่องโดยย่อว่า พระศรีธรรมไตรปิฎก เจ้านครเชียงแสนยกกองทัพมาตีเมืองศรีสัชนาลัย (อยู่ในเมืองสวรรคโลกสมัยนั้น) แล้วสร้างเมืองพิษณุโลก พร้อมกับพระพุทธรูป ๓ พระองค์ โดยให้พวกช่างที่มีฝีมือในเมืองต่างๆมาประชุม ช่วยกันปั้นหุ่นเพื่อจะให้ได้งดงามผิดกับพระพุทธรูปสามัญแต่ท่านสันนิษฐานว่า พระเจ้าพระศรีมหาธรรมไตรปิฎกผู้สร้าง คือพระมหาะรรมราชาที่๑ รัชการที่๕แห่งราชวงศ์พระร่วง สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เรียกโดยพระนามว่า พระเจ้าลือไทหรือลิไท ข้อที่ทำให้สันนิษฐานเช่นนั้นมีหลายประการ คือสอบสวนไม่ได้ความจริงว่า มีเจ้านครเชียงแสนองค์ใด มีความรู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก จนควรแก่พระนามนั้น และได้แผ่อำนาจลงมาทางใต้ในสมัยที่อ้างนั้น พระมหาธรรมราชาที่1 ปรากฏว่าทรงรอบรู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก ทรงแต่งหนังสือเรื่องตรภูมิ ซึ่งในทุกวันนี้เรียกันว่าไตรภูมิพระร่วง พระเกียรติยศที่ทรงรอบรู้พระไตรปิฎก คงเลื่องลือแพร่หลาย จึงเรียกพระนามเฉลิมพระเกีรยติว่า พระศรีธรรมไตรปิฎก และเมื่อก่อนแต่ทรงเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้เป็นพระมหาอุปราชอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัย เมื่อพระเจ้าเลอไทพระราชบิดาสวรรคต เกิดจราจลขึ้นในพระนครสุโขทัย ต้องยกทัพลงมาปราบปรามจนราบคาบแล้วจึงได้เสวยราชย์ เรื่องนี้ตรงกับเค้าเรื่องพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกยกกองทัพลงมาตีเมืองศรีสัชนาลัยในพงศาวดารเหนือ อีกประการหนึ่ง ลักษณะพระชินราช พระชินสีห์ ก็ด่างจากพระพุทธรูปอื่น ในบางอย่างเช่น มีนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ นิ้ว พระบาททั้ง ๔ นิ้วยาวเสมอกัน ต้องตามคัมภีร์มหาปุริสลักษณะแสดงว่าผู้สร้างได้ทราบคัมภีร์นั้น พระพุทธรูปที่ได้สร้างกันขึ้นชั้นหลัง ได้ถือเป็นแบบสืบมาทุกวันนี้ พระพุทธรูปที่สร้างในเมืองเมืองไทยแต่ก่อนนั้น ทั้งทางเมืองเหนือและเมืองใต้ ทำปลายนิ้วพระหัตถ์เป็นหลั่นกันเหมือนกับนิ้วมือคนสามัญ

อนึ่งมีทรวดทรงและชายจีวรยาวแบบลังกา แสดงให้เห็นว่าสร้างในสมัยพระเจ้าเลอไทยหรือลือไทย เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐
พระพุทธชินสีห์ พระพุทธชินราช มีลักษณะงดงามอย่างน่าพิศวง และนับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ปรากฏในประวัติศาสตร์ว่าสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินในกรุงสยาม ได้เสด็จฯไปถวายนมัสกาหลายพระองค์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาป็นราชธานี กล่าวเฉพาะพระพุทธชินสีห์เมื่อเมื่ออัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหลังของพระอุโบสถวัดนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เมื่อทรงเสด็จมาผนวชอยู่ครองวัดนี้ ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ อัญเชิญย้ายจากมุขหลังออกสถิตหน้าพระพุทธรูปองค์ใหญ่หรือพระโต เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๐ ปิดทองก้าไหล่พระรัศมีฝั่งพระเนตรใหม่ และติดพระอุนาโลม ส่วนมุขหลังอัญเชิญพระไสยาสน์เข้าไว้แทน ต่อมาได้รื้อมุขหลัง น่าจะเพื่อขยายทักษิณพระเจดีย์ออกมาอีกชั้นหนึ่ง ส่วนพระไสยาสน์น่าจะคงยังอยู่หลังพระอุโบสถ ณ ที่ติดพระบาทจำลองในบัดนี้ ต่อมาได้อัญเชิญไปไว้ในวิหารพระศาสดาเมื่อทรงลาผนวชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ตรัสให้แผ่ทองคำทำพระรัศมีลงยาราชาวดีประดับพระรัศมีเดิมอีกชั้นหนึ่ง ถวายฉัตรตาด ๙ ชั้นถวายผ้าทรงสพักตาด ต้นไม้ทองเงิน เมื่อพ.ศ. ๒๓๙๔ โปรดหล่อ ด้วยทองสัมฤทธิ์ปิดทองใหม่ มีการสมโภช เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๘ ทรงสมโภชอีกและถวายพระธำมรงค์หยกสวมนิ้วพระอังคุฐซ้าย ( แหวนที่นิ้วหัวแม่มือซ้าย) เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๙ ในรัชการที่ ๕ก็ได้ทรงปิดทองและโปรดให้มีการสมโภช พร้อมด้วยการฉลองพระอารามที่ทรงปฎิสังขรณ์ใหม่ และทรงสร้างเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๔ พระพุทธชินสีห์ มีพระอัครสาวกยืนคู่หนึ่ง สันนิษฐานว่าสร้างภายหลัง
ราคาเปิดประมูล240 บาท
ราคาปัจจุบัน251 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ11 บาท
วันเปิดประมูลส. - 22 ก.ย. 2555 - 14:57.43
วันปิดประมูล อ. - 02 ต.ค. 2555 - 02:41.45 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 251 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ11 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
251 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) จ. - 01 ต.ค. 2555 - 02:41.45
กำลังโหลด...
Top