
ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช ปี๒๕๑๗
ชื่อพระเครื่อง | หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช ปี๒๕๑๗ |
---|---|
รายละเอียด | เหรียญหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช ปี๒๕๑๗ ออกที่วัดยางสุทธาวามครับ สวยๆ เดิมๆ ประวัติหลวงปู่เทียม ผู้ เขียน ขอย้อนรอยถึงเรื่องราวหนึ่งกับท่าน “ผู้อ่านความจริง...อ่านเดลินิวส์” เพราะเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจและ “อยู่ในความทรงจำ” ของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ (ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตแล้ว) ได้เล่าสืบต่อกันมาร่วม ๕๐ ปี เรื่องนี้ก็คือเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕-๒๕๐๖ “พระครูสมุห์อำพล พลวัฒฑโน” เจ้าอาวาสวัด ประสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯได้จัดสร้าง “วัตถุมงคล” ขึ้นจำนวนมากโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาทุนสร้าง พระอุโบสถและเสนาสนะ ที่ถูกไฟเผาผลาญไปเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ นอกจากสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบ “หลวงปู่ทวด” ด้วยเนื้อผงพุทธคุณต่าง ๆ แล้วยังได้สร้าง “พระกริ่งวัดประสาทบุญญาวาส” ขึ้นอีกด้วยตามที่นักสะสมทราบกันดีอยู่แล้ว ซึ่งการสร้างพระกริ่งใน ครั้งนั้นขณะทำพิธี “เททองหล่อ” นายช่างได้ทำการหลอมโลหะซึ่งมี “แผ่นโลหะจารอักขระเลขยันต์” ของพระคณา จารย์ผู้ทรงวิทยาคุณในยุคนั้นจากพระทั่วราชอาณาจักร ที่มีเมตตามอบให้เพื่อผสมกับโลหะที่ทางวัดประสาทฯจัดไว้สำหรับหล่อพระกริ่ง และวัตถุมงคลเนื้อโลหะรูปแบบอื่น ๆ ปรากฏว่า “แผ่นโลหะจารอักขระ” ของคณาจารย์รูปอื่น ๆ ต่างหลอมละลายหมดแต่กลับมี “แผ่นโลหะจารอักขระ” แผ่นหนึ่ง “ไม่ยอมหลอมละลาย” สร้างความประหลาดใจให้กับนายช่างและผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นมาก นายช่างจึงทำการตักเอาแผ่นโลหะจารอักขระแผ่นนั้นขึ้นมาตรวจสอบปรากฏว่าเป็น ของท่าน “พระครูใบฏีกาเทียม สิริปัญญ โญ” หรือที่รู้จักกันดีคือ “หลวงปู่เทียมวัดกษัตราธิราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” ตั้งแต่นั้นมา “หลวงปู่เทียม” จึงเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักแสวงหาวัตถุมงคลในยุคนั้น ซึ่ง ในความเป็นจริง “หลวงปู่เทียม” นับเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณที่รู้จักกันดีของชาวพระนครศรีอยุธยามา ช้านานแล้วและยอมรับว่าท่านเป็นผู้สำเร็จ “ตำราพิชัยสงคราม” ของ “สมเด็จพระพนรัตน์” แห่งวัดป่าแก้วซึ่งเป็นพระอาจารย์ของ “พระมหากษัตริย์ยอดนักรบไทย” ซึ่งก็คือ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ผู้ทรงคุณอันประเสริฐและยิ่งใหญ่ในแผ่นดินไทยและเหตุที่บอกว่า “หลวงปู่เทียม” สำเร็จ “ตำราพิชัยสงคราม” ก็เพราะท่านนับเป็นผู้ที่มีความเพียรพยายามศึกษา“ตำราพิชัยสงคราม” ซึ่งสืบทอดมาจาก “สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว” ที่ตกทอดมาถึง “วัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” เพราะเป็นวัดที่มีสำนักเรียนตำราพิชัยสงครามสืบทอดมาแต่ครั้งกรุงเก่าซึ่งมี พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ สำเร็จการศึกษาพระเวทวิทยาคมอันเป็นส่วนหนึ่งของตำราพิชัยสงคราม (ตำราพิชัยสงครามก็คือตำราที่ว่าด้วยความมีชัยชนะในการต่อสู้ และการต่อสู้ในที่นี้หมายถึงการต่อสู้ในราชการสงคราม) มากมายหลายท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็คือ “พระพุทธพิถีนายก (บุญ ขันธโชติ)” หรือที่นักสะสมทั่วไปเรียกท่านว่า “หลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว” อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม รวมทั้ง “หลวงพ่อน้อยวัดธรรมศาลา” อ.เมือง จ.นครปฐม โดยเฉพาะ “หลวงพ่อน้อยวัดธรรมศาลา” รูปนี้ก็ได้เคยบอกต่อศิษย์เอกของท่านผู้หนึ่งที่มีตำแหน่งเป็น “ผู้พิพากษา” แต่สนใจในเรื่องของวิทยาคมและวัตถุมงคลที่เคยเรียนถามท่านว่า “เมื่อสิ้นหลวงพ่อน้อยแล้วจะมีพระคณาจารย์รูปใดอีกที่พอจะพึ่งพาด้านวิทยาคม บ้าง” หลวงพ่อน้อยก็ตอบว่าให้ไปหา “หลวงปู่เทียมวัดกษัตราธิราช” และต่อมาท่านผู้พิพากษาก็เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่เทียมตามคำแนะ นำของ “หลวงพ่อน้อย” หลังจากที่ท่านสิ้นแล้ว ทางด้านกิตติคุณของ “หลวงปู่เทียมวัดกษัตราธิราช” เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีความสามารถหลายด้านทั้ง การก่อสร้าง, การต่อสู้ด้วยหมัดมวยกระบี่กระบอง, ช่างลงรักปิดทอง, ช่างฉลุหนัง” รวมทั้ง “ช่างดอกไม้เพลิง” ก็ชำนาญแม้กระทั่งงานช่างที่เรียกว่า “ช่างสิบหมู่” ก็ทำได้เช่นกันซึ่งท่าน “พระครูพิศาลกิจจาทร” แห่ง วัดเกาะแก้วอรุณคาม อ.วิหารแดง จ.สระบุรี ซึ่งเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเล่าว่า “มีอยู่ครั้งหนึ่งที่หลวงปู่เทียมทำการบูรณะพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ที่ ชำรุดเอนเอียงแตกร้าวจะล้มมิล้มแหล่ด้วยวิธี “ขันชะเนาะ” โดยพระพุทธรูปดังกล่าวหากเป็นสมัยนี้ก็จะต้องทุบทำลายทิ้งแล้วสร้างขึ้นใหม่ แต่ด้วยจิตวิญญาณความเป็นช่างของ “หลวงปู่เทียม” ท่านกลับเลือกวิธี “ขันชะเนาะ” ด้วยความอดทนวันละเล็กละน้อยในที่สุดก็ฉุดเอาพระพุทธรูปองค์นั้นตั้งตรงได้ แล้วบูรณะให้มีสภาพสมบูรณ์ดุจเดิมพร้อมทำการลงรักปิดทองสวยงามมากขึ้น” นอกจากนี้ยังทำการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและเสนาสนะของวัดกษัตราธิราชโดย เฉพาะ “พระอุโบสถมหาอุตม์” อันเป็นศิลปะสถาปัตยกรรมสมัย กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หลวงปู่เทียมก็ใช้ความรู้ความสามารถบูรณะรักษาพระอุโบสถหลังนี้ให้คงทนถาวร มาถึงปัจจุบันซึ่งมีอายุกว่า ๔๐๐ ปี ขอบคุณข้อมูลจากเดลินิวส์ครับ |
ราคาเปิดประมูล | 300 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 310 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 10 บาท |
วันเปิดประมูล | อา. - 09 ม.ค. 2554 - 18:02.19 |
วันปิดประมูล |
อ. - 11 ม.ค. 2554 - 19:42.38 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...