
ประมูล หมวด:หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร
พระพุทธชินราชอินโดจีน 2485 สังฆาฏิสั้น ผิวเดิมๆ มีใบประกาศแชมป์ชนะเลิศ พร้อมตลับเงิน






ชื่อพระเครื่อง | พระพุทธชินราชอินโดจีน 2485 สังฆาฏิสั้น ผิวเดิมๆ มีใบประกาศแชมป์ชนะเลิศ พร้อมตลับเงิน |
---|---|
รายละเอียด | ในประเทศไทยนั้นพระนามแห่งหลวงพ่อพระพุทธชินราชพระพุทธปฏิมาอันเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของเมืองพิษณุโลกสองแควเป็นที่รู้จักและสักการบูชาของพุทธศาสนาทั่วประเทศไทย ทั้งนี้เพราะเหตุว่าหลวงพ่อพระพุทธชินราชมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่ง เป็นพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญานามว่า “สมเด็จพระมหาธรรมราชา” อันหมายถึง “พระผู้ประกอบไปด้วยภูมิธรรม ราชธรรม ศีลธรรมอันถึงพร้อมด้วยไตรทวาร” สาเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปขึ้น ณ เมืองพิษณุโลกสองแควของสมเด็จพระเจ้าลิไท พระมหากษัตริย์แห่งมหาอาณาจักรสุโขทัย พระราชโอรสแห่งสมเด็จพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่รู้จักกันในนาม “สมณลังกาวงศ์” มาสู่ดินแดนสุโขทัย ทรงให้การทำนุบำรุงเผยแพร่ให้ลงหลักปักฐานในกรุงสุโขทัยและมหาอาณาจักรล้านนามหาพันธมิตร ทำให้พระพุทธศาสนาดำรงคงอยู่คู่ชาติไทยมาได้จนถึงปัจจุบันนี้มีอยู่ว่า เมืองพิษณุโลกสองแควเป็นเมืองหน้าด่านอันดับที่ 2 รองลงมาจากเมืองกำแพงเพชร เป็นประตูเปิดสู่ภาคกลาง อันเป็นเมืองท่าที่มหาอาณาจักรสุโขทัยใช้เป็นเมืองท่าติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ โดยมีประเทศจีนเป็นคู่ค้ารายสำคัญ เป็นปราการที่ใช้ในการป้องกันการรุกรานของอริราชศัตรู แต่ยังไม่มีพระพุทธรูปสำคัญเป็นหลักยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณของชาวพิษณุโลกสองแคว ให้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อให้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับผู้รุกรานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พระมหาธรรมราชลิไท ทรงโปรดให้ออกแบบพระพุทธรูปขึ้นมา 3 องค์ด้วยกัน ถวายพระนามตามลำดับว่า “พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระพุทธศาสดา” มีพุทธลักษณะเป็นพระปฏิมาประทับนั่งมารวิชัยทั้งสามองค์ ปั้นพระพักตร์ให้แตกต่างกันออกไป พระพุทธชินสีห์กับพระศาสดามีพระพักตร์เป็นแบบที่เรียกว่า “พระพักตร์ (หน้า) ที่เป็นบุรุษ” ส่วนพระพุทธชินราชนั้นมีพระพักตร์ (หน้า) ที่เป็นสตรี (หน้านาง) พระพุทธชินสีห์ และ พระพุทธศาสดา เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งมารวิชัยแบบพระพุทธรูปทั่วไป แต่สำหรับพระพุทธชินราชอันสื่อพระนามถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระผู้ทรงมีชัยชนะเหนือพญาวัสวดีมารและพหลพลมารทั้งปวง เมื่อวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนพระพุทธศักราชเป็นเวลา 45 ปี ภายหลังจึงมีการเพิ่มซุ้มเรือนแก้วขึ้นประกอบกับองค์พระเพื่อแสดงให้เห็นถึงชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระบรมศาสดาในครั้งนั้น ตามตำนานการสร้างนั้นได้กล่าวไว้อย่างพิสดารว่า การปั้นหุ่นพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ดำเนินการโดยประติมากรฝีมือเลิศที่สุดของมหาอาณาจักรสุโขทัย โดยสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไททรงเสด็จทอดพระเนตรและพระราชทาน พระราชวินิจฉัย จนได้หุ่นพระพุทธรูปที่พร้อมจะประกอบพิธีเททอง ครั้นพอกหุ่นต่อชนวนพร้อมแล้ว สมเด็จพระมหาธรรมราชาในพระภูษาแบบทรงศีลเสด็จมาทรงเป็นประธานในการเททองหล่อพระพุทธรูปทั้งสามองค์ ครั้นเมื่อทุบหุ่นออกดูปรากฏว่าพระพุทธชินสีห์กับพระพุทธศาสดาทองแล่นเต็มตลอดพระองค์ แต่พระพุทธชินราชทองไม่แล่นเต็มตลอด ทรงโปรดเกล้าฯให้ประติมากรปั้นหุ่นขึ้นมาเป็นครั้งที่ 2 หาจุดบกพร่องที่เป็นสาเหตุให้ทองแล่นไม่เต็มตลอดหุ่นองค์พระ ทรงมีพระราชศรัทธาเสด็จมาเททองเป็นครั้งที่ 2 ทองก็แล่นไม่เต็มตลอดอีกครั้งหนึ่ง ในเพลานั้นเองก็มีประติมากรแปลกหน้านุ่งขาวห่มขาวมุ่นมวยมาเข้าเฝ้ากราบทูลสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ขอแสดงฝีมือปั้นหุ่นและกำกับการเททอง หากไม่สำเร็จอีกก็จะถวายชีวิตถ่ายโทษ สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงทรงมีพระราชดำรัสว่า “เมื่อมีจิตศรัทธาแล้วก็พึงดำเนินการไปตามที่ต้องการ มิต้องมาถวายชีวิตถ่ายโทษให้เป็นราคีต่อพระพุทธรูปพระพุทธชินราชไปเปล่าๆ” ตาผ้าขาวจึงรับหน้าที่ในการปั้นหุ่นพระพุทธชินราชจนสำเร็จ สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงทอดพระเนตรแล้วถึงกับทรงพระอุทานออกมาว่า “ฝีมือราวกับเทพยดาจากฟากฟ้ามาปั้นโดยแท้” สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไททรงเสด็จมาทรงศีลและเททองด้วยพระองค์เอง ตาผ้าขาวควบคุมกำกับการเททองด้วยตัวเองทุกขั้นตอน ครั้นเททองเสร็จสิ้นลงแล้ว สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทก็ทรงมีรับสั่งให้หาตัวตาผ้าขาวมาเฝ้าเพื่อพระราชทานรางวัล แต่ตาผ้าขาวได้เดินออกไปจากปริมณฑลพิธีขึ้นไปทางด้านทิศเหนือ ผู้ที่รับพระบรมราชโองการตามไปทันตาผ้าขาวร้องเรียกให้หยุด ตาผ้าขาวก็หายไปต่อหน้าสมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงทรงโปรดฯให้สร้างวัดอุทิศกุศลให้แก่ตาผ้าขาว ณ บริเวณที่ตาผ้าขาวหายตัวไปเรียกกันว่า “วัดตาผ้าขาวหาย” ปัจจุบันเรียกชื่อเพี้ยนไปว่า “วัดชีปะขาวหาย”ครั้นหุ่นเย็นลงแล้วบรรดาช่างหล่อได้ทุบหุ่นออกดูก็พบว่าทองติดเต็มตลอด เพียงตกแต่งไม่นานนักก็สำเร็จสามารถลงรักปิดทองแล้วนำเข้าประดิษฐานในวิหารได้ในที่สุด ทรงโปรดเกล้าให้สร้างวัดขึ้นถวายพระนามวัดว่า “วัดพระพุทธชินราช” แต่ชาวพิษณุโลกสองแควมักเรียกกันติดปากว่า “วัดใหญ่” แม้ว่าพิษณุโลกสองแควจะผ่านกาลเวลาและการศึกมาแต่ครั้งสุโขทัย ศรีอยุธยา ธนบุรี แต่พระพุทธชินราชมิได้รับผลกระทบจากการศึกการสงครามแม้แต่น้อย เป็นมิ่งขวัญของชาวเมืองตลอดมา มีเพียงครั้งเดียวที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบรมราชาธิราช ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตรขึ้นแล้วทรงโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระพุทธรูปจากเมืองเหนือมาเป็นพระปฏิมาประทานในพระอุโบสถ ทรงทอดพระเนตรพระพุทธชินราชเมืองพิษณุโลกสองแคว แล้วทรงโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญลงมาเป็นพระปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ชาวพิษณุโลกสองแควต่างมีความโศกเศร้า ร้านรวงปิดทำการค้าพิษณุโลกสองแควกลายเป็นเมืองร้างไปในทันที ไปทางใดก็เห็นแต่ใบหน้าอันเศร้าหมองของชาวเมือง และเสียงร่ำไห้ของผู้ที่ได้เข้าไปนมัสการหลวงพ่อพระพุทธชินราชในวิหาร ความทราบถึงพระเนตรพระ กรรณของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงบรมราชาธิราชจึงโปรดเกล้าฯให้เจ้ากรมช่างสิบหมู่ไปทำการปั้นหุ่นจำลองแบบพระพุทธชินราช ให้มีพระพักตร์และขนาดที่เท่ากับองค์จริง ทรงเสด็จไปทรงเททอง ณ ปริมณฑลพิธีหน้าวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช จากนั้นให้ชะลอขึ้นมากรุงเทพฯโดยทางน้ำ ในปีพุทธศักราช 2484 ประเทศไทยส่งกำลังไปรบเรียกร้องดินแดนที่ถูกฝรั่งเศสยึดไปจากประเทศไทย อันได้แก่ ดินแดนในประเทศลาวและเขมร ทำให้เกิดความพัวพันกับสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกทางภาคใต้ของประเทศไทยขอใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านไปรบกับอังกฤษและอเมริกัน ภัยสงครามมาเยือนประเทศไทย เมื่อสัมพันธมิตรเข้ามาโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายในกรุงเทพฯอย่างหนัก ท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์ วัดสุทัศนเทพวราราม ได้กราบขอประทานอนุญาตจาก สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสเทวะ) สร้างวัตถุมงคลเพื่อให้ประชาชนชาวกรุงเทพฯได้นำไปติดตัวเพื่อป้องกันภัย โดยเลือกสร้างรูปจำลองขนาดเล็กของ หลวงพ่อพระพุทธชินราช เปิดให้ประชาชนได้สั่งจองอย่างกว้างขวาง พร้อมกับ เหรียญพระพุทธชินราชด้านหลังตราอกเลาพระวิหารพระพุทธชินราช ท่านเจ้าคุณศรีอัญเชิญเสด็จพระสังฆราช(แพ) ทรงเสด็จเททองด้วยพระองค์เอง ท่านอาจารย์ นิรันดร์ แดงวิจิตร (พระครูหนู) เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เป็นงานใหญ่มาก มีช่างเททองที่รับงานไปมากันจนล้นสถานที่ประกอบพิธีเททอง ท่านเจ้าคุณศรีฯได้จัดเบ้าหลอมกลางไว้โดยเป็นส่วนผสมมงคลตามตำรับ โดยได้ให้ตักแบ่งโลหะในเบ้าหลอมกลางไปใส่ในเบ้าหลอมของช่างหล่อทุกเบ้า เพื่อให้มีส่วนผสมของโลหะมงคลทั่วกัน เททองเป็นช่อแบบพระกริ่ง ทุบออกจากเบ้าตัดจากช่อแล้วแต่งให้เรียบร้อย ให้ตอกโค้ดกันปลอมไว้ที่ก้นสองตราด้วยกันคือ กงล้อพระธรรมจักรกับอกเลาวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช ครั้นใกล้จะถึงเวลาฤกษ์ที่จะประกอบพิธีพุทธาภิเษกจึงให้หยุดตอกโค้ด นำพระพุทธชินราชที่มิได้ตอกโค้ดบรรจุใส่ลังนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกร่วมกับที่ตอกโค้ด (ที่มิได้ตอกโค้ดมอบให้พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยได้เก็บไว้หาทุนดำเนินการในกิจการของพุทธสมาคม) พระพุทธชินราชอินโดจีน มีพระพุทธคุณเป็นที่ประจักษ์ในสามด้าน คือ แคล้วคลาด คงกระพัน กับมหาอุด เพราะสร้างในระหว่างสงครามประชิดติดพันประเทศไทย จึงเน้นในด้านที่กล่าวมาแล้ว เนื่องจากมีการสร้างเป็นจำนวนมาก จึงมีช่างหล่อหลายสำนักมาร่วมงานทำให้การปั้นหุ่นมีความหลากหลายกันออกไป มีการแยกพิมพ์กันในวงการนักเลงพระในยุคหลัง เพราะในปี พ.ศ.2484 นั้นไม่มีการแยกพิมพ์เพื่อกำหนดราคาในการให้บูชาแบบในปัจจุบัน การแยกพิมพ์ย่อๆ คือ พิมพ์นิยมหน้านาง สังฆาฏิยาว และ สั้น กับ พิมพ์ต้อ สังฆาฏิยาว และ สั้น |
ราคาเปิดประมูล | 500 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 12,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | จ. - 10 ม.ค. 2554 - 18:53.41 |
วันปิดประมูล |
จ. - 17 ม.ค. 2554 - 19:19.22 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 12,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
เพิ่มครั้งละ | 100 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดก่อนกำหนดโดยผู้ตั้งประมูล
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
2,000 บาท | จ. - 10 ม.ค. 2554 - 19:17.04 | |
3,000 บาท | จ. - 10 ม.ค. 2554 - 19:17.11 | |
4,000 บาท | จ. - 10 ม.ค. 2554 - 19:17.17 | |
5,000 บาท | จ. - 10 ม.ค. 2554 - 19:17.23 | |
6,000 บาท | จ. - 10 ม.ค. 2554 - 19:17.27 | |
7,000 บาท | จ. - 10 ม.ค. 2554 - 19:17.32 | |
8,000 บาท | จ. - 10 ม.ค. 2554 - 19:17.36 | |
9,000 บาท | จ. - 10 ม.ค. 2554 - 19:17.40 | |
9,100 บาท | พฤ. - 13 ม.ค. 2554 - 06:35.50 | |
9,200 บาท | พฤ. - 13 ม.ค. 2554 - 06:35.59 | |
9,300 บาท | พฤ. - 13 ม.ค. 2554 - 06:36.10 | |
9,400 บาท | พฤ. - 13 ม.ค. 2554 - 06:36.18 | |
9,500 บาท | พฤ. - 13 ม.ค. 2554 - 06:36.23 | |
9,600 บาท | พฤ. - 13 ม.ค. 2554 - 06:36.28 | |
9,700 บาท | พฤ. - 13 ม.ค. 2554 - 06:36.32 | |
9,800 บาท | พฤ. - 13 ม.ค. 2554 - 06:36.38 | |
9,900 บาท | พฤ. - 13 ม.ค. 2554 - 06:36.43 | |
10,000 บาท | พฤ. - 13 ม.ค. 2554 - 06:36.50 | |
10,100 บาท | พฤ. - 13 ม.ค. 2554 - 11:49.19 | |
11,000 บาท | ศ. - 14 ม.ค. 2554 - 05:21.36 | |
12,000 บาท | ศ. - 14 ม.ค. 2554 - 05:22.09 |
กำลังโหลด...