
ประมูล หมวด:พระเกจิภาคอีสานใต้
เหรียญรุ่นสอง พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ (ญาท่านน้อย) วัดทุ่งนางโอก จ.ยโสธร พ.ศ. 2510


ชื่อพระเครื่อง | เหรียญรุ่นสอง พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ (ญาท่านน้อย) วัดทุ่งนางโอก จ.ยโสธร พ.ศ. 2510 |
---|---|
รายละเอียด | เหรียญพระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ เนื้อทองแดงรมดําสวยๆหายากในผื้นที่นิยมมาก - เหรียญ ประสบการณ์ แท้ๆ สวยๆ!นะครับ -พุทธคุณ เด่นแคล้วคลาด มหาอุด!และ ทางด้านเมตตา ปล.เหรียญจริงผิวเหรียญแห้งสวยมาก...นะครับ! # หลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย สุวโจ เป็นพระภิกษุที่ชาวบ้านทุ่งนางโอก ชาวบ้านผือฮี และ ประชาชนในเขตอำเภอเมือง อำเภอทรายมูล ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก เหตุเพราะท่านหลวงปู่เป็นพระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พร้อมกับเป็นพระสงฆ์ที่สงบเยือกเย็นมีเมตตาธรรมสูง จึงเป็นที่เคารพสักการะของคนในพื้นที่และนอกพื้นที่ ซึ่งได้ทราบถึงเกียรติคุณของท่านหลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย สุวโจ ท่านดำรงอยู่ในสมณเพศตั้งแต่เป็นสามเณรจนถึงมรณภาพท่านเป็นพระสงฆ์ที่ทรงปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวก ครบทั้ง สามประการ สมดังคำว่า สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้พระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว หรือ อีกประการหนึ่งหลวงปู่เป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยความบริสุทธิ์แห่งศีลอย่างยอดยิ่ง ท่านเป็นผู้สำรวมแล้วในกาย วาจา ใจ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว ในศีลาจารวัตร เป็นพหุสูตร และอยู่ ในฐานะ ควรแก่การกราบไหว้ ตามรอยแห่งองค์ สมเด็จพระบรมศาสดา ดังจะเห็นได้ในทุกวันนี้ ที่เหรียญรูปเหมือนของท่าน เป็นที่ต้องการของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเหรียญรุ่นแรกของท่าน ถึงแม้หลวงปู่จะมิได้อธิฐานจิตทำพิธีเองก็ตาม ชาติกำเนิด หลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย สุวโจ เป็นชาวบ้านทุ่งนางโอกโดยกำเนิดจากการบอกเล่าของพ่อใหญ่อ้วน โสมณวัฒน์ และ แม่ใหญ่โม่ โสมณวัฒน์ ซึ่งเป็นบุตรของนางเกี้ยง โสมณวัฒนน้องสาวของหลวงปู่ เล่าว่า บิดาของหลวงปู่ ชื่อนาย สิงห์ หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เขียว ส่วนมารดาของท่านไม่รู้จักชื่อ หลวงปู่เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗ มี พี่น้องร่วมบิดามารดา ๔ คนตามลำดับดังนี้ ๑. หลวงปู่พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ (โสมณวัฒน์) ๒.นายตุ่น โสมณวัฒน์หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พ่อใหญ่สีหราช ๓.นายอ่อน โสมณวัฒน์ ๔. นางเกี้ยง โสมณวัฒน์ ทั้ง ๔ คนนี้ได้เสียชีวิตไปนานแล้ว แม้แต่พ่อใหญ่อ้วน แม่ใหญ่โม่ โสมณวัฒน์ ซึ่งเป็นลูกของนางเกี้ยง ผู้ให้ข้อมูลนี้ ปัจจุบัน ได้เสียชีวิตแล้ว การบรรพชาและอุปสมบท หลวงปู่ เป็นผู้เลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งได้บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๙ ปี กับพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในละแวกนี้ คือ พระปลัดอ่อนตา ( ไม่ทราบนามฉายา ) โดยไป บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านทรายมูล ( ในปัจจุบัน คือ วัดบูรพารามใต้ มีท่านเจ้าคุณหลวงพ่อพระราชสุตาลงกรณ์ ( เดือน สิริธมฺโม ป.ธ. ๔ ) เป็นเจ้าอาวาสและรองเจ้าคณะจังหวัดยโสธร ) และ คาดว่า ท่านหลวงปู่คงจะเป็นศิษย์ใกล้ชิด ของอาจารย์ เหตุเพราะหลวงปู่เคยเล่าให้ พ่อใหญ่จารย์ครูอ่อน คำศรี ขณะที่ท่านบวชอยู่นั้นฟังว่า เมื่อครั้งหลวงพ่อเป็นสามเณรได้ธุดงค์ไปกับพระอาจารย์ คือ พระปลัดอ่อนตา เพื่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ไปที่ประเทศพม่า แล้วเข้าสู่ประเทศอินเดียต่อเมื่อถึงอินเดียแล้ว อาจารย์ของท่าน ได้ฝากท่านไว้ กับพระภิกษุที่คุ้นเคยกัน ส่วนอาจารย์ของท่าน ได้ธุดงค์ต่อไปเมืองลังกา หลวงปู่ได้พักคอยอาจารย์ของท่านที่อินเดียนานประมาณ ๔ เดือน อาจารย์จึงได้มาและพาท่านกลับประเทศในเส้นทางเดิม ต่อเมื่อกลับถึงวัดแล้ว ไม่นานท่านก็อุปสมบท เป็นพระภิกษุ ท่านหลวงปู่มีอายุ ประมาณ ๒๐ ปี โดยในการอุปสมบทนั้น ท่านพระปลัดอ่อนตา คงจะได้พาหลวงปู่ไปบวชกับอาจารย์ของ พระปลัดอ่อนตา อีกชั้นหนึ่ง นั้นก็ คือ สมเด็จลุน หรือ สำเร็จลุน พระอริยสงฆ์แห่งเมืองจำปาสัก ประเทศลาว โดยมีท่านพระปลัดอ่อนตา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ขณะที่ท่านอุปสมบท คงจะเป็น ปี พ.ศ. ๒๔๓๘ และได้รับนามฉายาว่า สุวโจ ( ผู้ว่ากล่าวสอนได้โดยง่าย ) สมเด็จลุน หรือ สำเร็จลุน๑ ดังได้กล่าวแล้วว่า พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่ท่าน คือ สำเร็จลุน แห่งนครจำปาสัก ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ เช่น ในเรื่องของ ท่านพระครูพิศาลสังฆกิจ ( โทน ) ซึ่งเป็นศิษย์อีกรูปหนึ่งของสำเร็จลุน ได้กล่าวถึง สำเร็จลุนว่า เป็นที่ทราบกันดีของพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและ ชาวลาวว่า ท่านสำเร็จลุน สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ และ ย่อระยะทางได้ สามารถเดินจากเวินชัย ประเทศลาว มาหาซื้อน้ำปลาไทยที่พาหุรัดในชั่วพริบตา หรือ แม้แต่การบิณฑบาตรอีกประการหนึ่ง ท่านคงเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมพิทาญาณ เป็นแน่แท้ บางทียังเรียกท่านว่า เป็นพระครูขี้หอม ด้วย เหตุเพราะอุจจาระของท่านนั้นประชาชนจะแย่งกันเก็บไว้เป็นเครื่องรางของขลัง อนึ่ง ผู้เขียนได้สอบถามจาก ท่านหลวงปู่สวน อิสิญาโณ เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองซองแมวซึ่งเป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิดของหลวงปู่อีกรูปหนึ่ง ท่านก็เล่าว่า สำเร็จลุน เป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่เฒ่า ( หลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย ) จริง มรณภาพ เมื่อหลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย สุวโจ ได้เกิดอาพาธในวัยชรา ชาวบ้านทุ่งอีโอก จึงได้ไปกราบอาราธนานิมนต์ท่าน จากวัดบ้านผือฮี มาอยู่ที่วัดบ้านทุ่งอีโอก โดยเอารถไปรับท่านมาและมีเหตุอัศจรรย์ในวันไปรับนั้น โดยเป็นการบอกเล่าของ พ่อใหญ่ทองหล่อ บุญศรี พ่อใหญ่มี ไชยรักษ์ และ พ่อใหญ่เสริม ไชยรักษ์ ให้ฟังว่า ครั้นพอรถมาถึง ท่านหลวงปู่ก็ได้ขึ้นไปนั่งเรียบร้อยแล้ว พอจะออกเดินทางรถคันนั้นกับไม่สามารถสตาร์ทติดได้ จึงได้ไปเก็บดอกไม้มานิมนต์หลวงปู่ท่าน อีกครั้งหนึ่ง รถจึงสตาร์ทติด ครั้นพอหลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย สุวโจ มาอยู่ที่วัดบ้านทุ่งอีโอก แล้ว โดยเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านทุ่งอีโอกทุกครัวเรือน และในวันที่หลวงปู่มรณภาพนั้น ได้มีเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างเกิดขึ้น ท่านหลวงปู่มาอยู่ที่วัดบ้านทุ่งอีโอก ประมาณ ๑ อาทิตย์ ท่านก็ได้มรณภาพลง ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ รวมสิริอายุได้ ๘๗ ปี ๖๔ พรรษาในสมณเพศ ที่กุฎีหลังเก่า ( อยู่ตรงด้านหน้าห้องสมุดในปัจจุบัน ) นับเป็นการสูญเสีย พระอริยสงฆ์ ผู้สุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ดำเนินตามรอยพระบาทขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างแท้จริงหลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย สุวโจ ท่านเป็นเสมือนร่มโพธิ์ของพระภิกษุสงฆ์ และ ชาวบ้านทุ่งอีโอก ชาวบ้านผือฮี ชาวบ้านทรายมูล ชาวบ้านนาโป่ง และชาวบ้านไผ่ อย่างแท้จริง |
ราคาเปิดประมูล | 150 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 250 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | จ. - 25 ก.พ. 2556 - 15:19.40 |
วันปิดประมูล |
อา. - 17 มี.ค. 2556 - 15:19.40 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 250 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
เพิ่มครั้งละ | 100 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...