เหรียญ หลวงพ่อชารี วัดกลางอุดมเวทย์ จังหวัดร้อยเอ็ด - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิภาคอีสานเหนือ

เหรียญ หลวงพ่อชารี วัดกลางอุดมเวทย์ จังหวัดร้อยเอ็ด

เหรียญ หลวงพ่อชารี วัดกลางอุดมเวทย์  จังหวัดร้อยเอ็ด เหรียญ หลวงพ่อชารี วัดกลางอุดมเวทย์  จังหวัดร้อยเอ็ด เหรียญ หลวงพ่อชารี วัดกลางอุดมเวทย์  จังหวัดร้อยเอ็ด เหรียญ หลวงพ่อชารี วัดกลางอุดมเวทย์  จังหวัดร้อยเอ็ด เหรียญ หลวงพ่อชารี วัดกลางอุดมเวทย์  จังหวัดร้อยเอ็ด
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญ หลวงพ่อชารี วัดกลางอุดมเวทย์ จังหวัดร้อยเอ็ด
รายละเอียดเหรียญรุ่นที่ 2 พระครูประโชติธรรมานุยุต (หลวงพ่อชารี) วัดกลางอุดมเวทย์ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด สร้างประมาณปี พ.ศ. 2500 กว่า ๆ เนื้อทองแดงสภาพสวยเดิม ๆ (องค์จริงสวยกว่าในภาพ) จำนวนการสร้างไม่มากหายากครับ สายตรงเก็บเงียบ เรื่องพุทธคุณครอบจักรวาลไม่ต้องโม้ให้เสียเวลาจ้า สำหรับท่านที่กำลังมองหาวัตถุมงคลดีราคาย่อมเยา เรามีวัตถุมงคลหลายรายการไว้บริการท่าน ตามลิงค์นี้เลยจ้า http://www.web-pra.com/Shop/silalad

ประวัติความเป็นมาของวัดกลางอุดมเวทย์

วัดกลางอุดมเวทย์ เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่มากวัดหนึ่งใน ประเทศไทย จาก ตำนานที่คนแก่ได้เล่าสืบต่อกันมาและจากหนังสือประวัติพนมไพรและประวัติพระ มหาธาตุวัดกลางอุดมเวทย์ที่ครูแก้ว ทิพยอาสน์ได้เขียนรวบรวมไว้ ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของวัดกลางอุดมเวทย์ไว้ว่า ...ย้อน หลังไปในสมัยนับพันปีมาแล้ว สมัย นั้นพื้นที่อำเภอพนมไพรในปัจจุบัน เป็นที่อาศัยของชาวชนพื้นเมืองที่เราเรียกกันว่า “ข่า”ชาวข่าได้พากันตั้งบ้าน เรือนอยู่เป็นชุมชนใหญ่เรียกชื่อหมู่บ้านของตนเองว่า จะแจ หรือบ้านแก ในสมันหนึ่ง ได้มีพระภิกษุ ๒ รูป มีนามว่า พระครูมหารัตนชัยยะและพระครูมหาปะสะมัน ได้ เดินธุดงค์ออกจากเมืองอินทปัฐถานคร (ประเทศกัมพูชา) ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่เมืองมรุกขนคร เมืองหลวงของแคว้นโคตรบูรณ์ (คาดว่าอยู่ในท้องที่จังหวัดนครพนมปัจจุบัน) เมื่อทั้งสองรูปผ่านมาถึงบ้านจะแจ หรือบ้านแก ได้ ปักกลดพักผ่อนอยู่ชายป่าท้ายบ้านชาวบ้านทราบข่าวและเกิดความเสื่อมใสศรัทธา จึงนิมนต์ให้อยู่ที่บ้านแก พระครูมหาปะสะมันรับนิมนต์อยู่ที่บ้านแก ส่วนพระครูมหารัตนชัยยะได้เดินธุดงค์ไปเมืองมรุกขนครต่อไป
เมื่อพระครูมหาปะสะมันรับนิมนต์อยู่บ้านแก ชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นเพื่อให้เป็นที่ปฏิบัติกิจ ทางศาสนาและอบรมสั่งสอนชาวบ้านและพากันตั้งชื่อวัดนี้ว่า วัด ปะสะมัน และพระครูมหาปะสะมันได้จำพรรษาอยู่ที่นี่หลายสิบปีและ เห็นว่าพระพุทธศาสนามีความเป็นปึกแผ่นบนแผ่นดินของชาวข่าบ้านแกแล้ว จึงต้องออกเดินธุดงค์ตามพระครูมหารัตนชัยยะไปยังเมืองมรุกขนครต่อไป
ต่อมาถึงสมัยที่พระครูยอดแก้วหรือพระลูกแก้ว พระภิกษุชาวเวียงจันทน์ ได้พาชาวลาวอพยพข้ามลำน้ำโขงเข้าสู่ดินแดนของชาวข่า ได้เห็นว่าดินแดนบ้านแกเป็น ชุมชนใหญ่น่าอยู่จึงได้พากันตั้งรกรากอยู่ปะปนกับชาวข่า ต่อมาบ้านแกจึงกลายเป็นเมืองแสนล้านช้าง และพระครูยอดแก้วได้เปลี่ยนชื่อจากวัดปะสะมันเป็น วัดโพธิ์ เพราะเห็นว่า เป็นวัดที่ต้นโพธิ์มากและได้เดินทางไปขอแบ่งชิ้นส่วนของพระอุรังคธาตุมาจาก ภูกำพร้า นำมาประดิษฐานไว้ที่วัดโพธิ์ และมีการสร้างพระสถูปเจดีย์เพื่อบรรจุชิ้นส่วน ของพระอุรังค-ธาตุ และพระพุทธรูปที่ได้อัญเชิญมาจากภูกำพร้าซึ่งพระ เจดีย์นี้ก็คือ องค์พระมหาธาตุในปัจจุบันนั่นเอง
ต่อมาอีกนับพันปี ถึง สมัยถึงพระครูกิตติมาศักดิ์ (พระครูม้าวหรือยาคูตุ้ย) ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๐๒-๒๕๓๒ สมัยนี้เมืองแสนล้านช้าง ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองมโนไพร แขวง มโนไพร พระครูกิตติมาศักดิ์ได้เป็นเจ้าอาวาส ได้ทำการปฏิสังขรณ์และบูรณะวัดโพธิ์ ได้เปลี่ยนชื่อวัดโพธิ์ใหม่และประกาศ ชื่อใหม่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๔๒๕ ซึ่งชื่อใหม่ของวัดโพธิ์ก็คือ วัดกลางอุดมเวทย์ เพราะเห็นว่าเป็นวัดที่ตั้งอยู่ กึ่งกลางของย่านชุมชนและเป็นวัดที่เป็นแหล่ง การศึกษาหาความรู้ของประชาชนในสมัยนั้น นอกจากพระครูกิตติมาศักดิ์ยังได้ทำการบูรณะพระอุโบสถ ขอพระราชทานวิสุงคามวาสีและได้รับพระราชทานวิสุงคามวาสี เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๔๕๐
ต่อมาในสมัยของพระครูประโชตธรรมานุยุต (หลวงพ่อชารี) เป็นเจ้า อาวาสระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๗-พ.ศ.๒๕๑๔ ได้เห็นว่าองค์พระมหาธาตุได้ทรุดโทรมปรักหักพังลงมามาก จึงได้ชักชวนญาติโยมช่วยกันทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่จนสำเร็จเป็นองค์พระ มหาธาตุที่เด่นเป็นสง่าและเป็นศักดิ์ศรีของชาวอำเภอพนมไพรจนถึงปัจจุบันนี้
ในขณะ นั้นวัดกลางอุดมเวทย์ได้ พระปลัด นรินทร์สุภทฺโท เป็นเจ้าอาวาส ( พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๓๙) ได้มีการพัฒนา ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุและการพัฒนาด้านจิตใจของประชาชน การพัฒนาด้านวัตถุนั้น ได้มีการสร้างสิ่งก่อสร้างหลายอย่างเป็นต้นว่า พระ อุโบสถ สร้างกุฏิ สร้างหอสมุด และ อื่นๆ อีกมากมาย ส่วนการ พัฒนาด้านจิตใจนั้น ทางวัดกลางอุดมเวทย์โดยการนำของพระปลัดนรินทร์ สุ ภทฺโท ได้มีโครงการบรรพชาอุปสมบทพระภิกษุสามเณรภาคฤดูร้อน มีการจัดตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และตั้งมูลนิธิวัดกลางอุดมเวทย์ เพื่อเป็นการสงเคราะห์ช่วยเหลือสังคม
ปัจจุบัน ท่านพระครู อดุลจันทคุณ (หลวงพ่อประดิษฐ์ จนฺทโร) เจ้าอาวาส วัดกลางอุดมเวทย์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสตั้งแต่วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๓๙ จนถึงปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาด้านต่างๆ มากมายอย่างต่อเนื่อง เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของอดีตท่านเจ้าอาวาส อีกทั้งยังได้ก่อตั้งสมาคมจันทคุณแสนธรรมการกุศล หน่วย กู้ภัยวัดกลางอุดมเวทย์ เพื่อช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้ประสบภัยต่างๆ และจัดตั้งศูนย์การรู้ ICT ชุมชนวัดกลางอุดมเวทย์ โดยการสนับสนุนจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สาร เพื่อให้คนในชุมชนได้ศึกษาหาความรู้และสามารถสืบค้นหาข้อมูลต่างๆด้วยตัวเอง ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตอีกด้วย

ความสำคัญของวัดกลางอุดมเวทย์

วัดกลางอุดมเวทย์ ตั้ง อยู่ในเขตเทศบาลตำบลพนมไพร อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ มีปูชนีย์สถานปูชนียวัตถุตลอดจนโบราณวัตถุ อยู่ในวัดมากมายที่สำคัญเป็นที่เคารพ นับถือกันมาแต่โบราณกาลคงจะได้แก่ องค์พระมหาธาตุซึ่งเป็นเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่นับพันปี ซึ่งตาม ตำนานเล่าต่อกันมาว่า เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังประวัติพอ สังเขปดังต่อไปนี้
ครั้งหนึ่งพระมหากัสสปะอริยเจ้า เถระองค์สำคัญของพุทธศาสนาได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า(กระดูก หน้าอก) มา ประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้า (คาดว่าคงเป็นที่ตั้งของพระธาตุพนมในปัจจุบัน) พระสงฆ์เถระองค์สำคัญของเมืองอินทปัฏถานครและ เมืองแสนล้านช้าง (อำเภอพนมไพรปัจจุบัน) ได้ทราบข่าวจึงได้พากันเดินทางไปที่ ภูกำพร้าเพื่อขอแบ่งพระอุรังคธาตุนั้น และได้นำมาประดิษฐานไว้ในดินแดนของตนเพื่อเป็นหลักของพระพุทธศาสนา
ต่อมาชาวเมืองแสน ล้านช้างได้ก่อสร้างเจดีย์ขึ้นและอัญเชิญพระสารีริกธาตุบรรจุไว้ในพระเจดีย์ ซึ่งเจดีย์องค์นั้นก็คือองค์พระมหาธาตุวัด กลางอุดมเวทย์ปัจจุบันนี้.....
นับว่าเป็นที่น่ายินดีของชาวเมืองอำเภอพนมไพรและอำเภอ ใกล้เคียงที่มีองค์พระมหาธาตุไว้เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่ยึดเหนี่ยวรวมใจของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดจนมาถึงทุกวันนี้
เพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธคุณ เป็นการเคารพสักการบูชาองค์พระมหาธาตุ ในแต่ละปีทางวัดกลางอุดมเวทย์และชาว อำเภอพนมไพรได้พากันจัดงานเพื่อสมโภช ปีละ ๒-๓ ครั้ง ได้แก่ ในวันเพ็ญ เดือน ๓ ทางวัดและชาวอำเภอพนมไพรได้จัดงานเทศกาลบุญเดือน ๓ เพื่อเฉลิมฉลององค์พระมหาธาตุ และในวันเพ็ญเดือน ๗ ชาวอำเภอพนมไพรได้ร่วมกันจัด งานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการสักการบูชาองค์พระมหาธาตุ และถือว่าเป็นประเพณีจัดสืบทอดติดต่อกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน

เมื่อถึงงานเทศกาล ฉลอง และสักการะองค์พระมหาธาตุวัดกลาง ชาวอำเภอพนมไพร อำเภอใกล้เคียง แม้แต่ผู้ที่จากบ้านไปทำงานในต่างแดนที่ไกลๆ ต่างก็มีอุตสาหะที่จะต้องเดินทางกลับมาเพื่อสักการะ องค์พระมหาธาตุเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวเป็นประจำสม่ำเสมอมิขาด ได้ สมดั่ง พุทธภาษิตตรัสไว้ว่า การบูชาบุคคลที่ควรบูชานั้นเป็นมงคลอันสูงสุด
เกี่ยวกับความน่าอัศจรรย์ หรือความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระมหาธาตุวัดกลางอุดมเวทย์นั้น ได้ปรากฏเป็นที่ประจักษ์ให้ชาวอำเภอพนมไพรและอำเภอใกล้ เคียงได้เห็นมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็นมาแต่ในอดีตหรือปัจจุบัน ชาว อำเภอพนมไพรมีความเชื่อมั่นและศรัทธาว่าองค์พระมหาธาตุมีความศักดิ์สิทธ์ที่ จะได้ปกป้องคุ้มครองลูกหลานทุกคน ให้อยู่เย็นเป็นสุขและลอดปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งปวงได้
นอกจากวัดกลางอุดมเวทย์จะมีองค์พระมหาธาตุที่สำคัญ แล้วภายในวัดกลางอุดมเวทย์ยังมีปูชนีย-วัตถุโบราณวัตถุที่เก่าแก่และสำคัญ อีกมากมาย เป็นต้นว่า องค์ สถูป ที่มีอายุและความเป็นมาเก่าแก่คาดกันว่าคงจะก่อ สร้างในสมัยเดียวกันกับองค์พระมหาธาตุมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ชาวพนมไพร เรียกท่านว่า พระเจ้าใหญ่ และยังมีรูปหล่อเป็นรูปเหมือนของพระครูกิตติมาศักดิ์ (พระครูม้าวหรือยาคูตุ้ย) รูปหล่อเหมือนของพระครูประโชตธรรมมานุยุต (หลวงพ่อชารี) รูป หล่อเหมือนพระครูสุภัทรอุดมเวทย์ (หลวงพ่อนรินทร์ สุภทฺโท) ซึ่งทั้งสามท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสของวัดกลางอุดมเวทย์ ที่มีผลงานในการปฏิสังขรณ์วัดกลางอุดมเวทย์ให้มีความเจริญรุ่งเรืองมาในอดีต อีกทั้งยังเป็นที่เคารพของศิษยานุศิษย์ตลอดจนลูกหลานชาวอำเภอพนมไพรตลอดมา
จากการที่ วัดกลางอุดมเวทย์ เป็นวัดที่มี ปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ และโบราณวัตถุมากมาย ทั้ง ยังเป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่น่าศึกษาที่เราท่านทั้งหลายน่า จะให้ความสนใจและช่วยกันดูแล บำรุงรักษาไว้เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่อนุชนรุ่นหลังสืบต่อไป

ที่มา http://www.watklang101.com
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน2,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 01 มี.ค. 2556 - 23:13.25
วันปิดประมูล จ. - 04 มี.ค. 2556 - 02:24.36 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 2,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
1,000 บาท ส. - 02 มี.ค. 2556 - 22:07.54
1,100 บาท ส. - 02 มี.ค. 2556 - 22:07.58
1,200 บาท ส. - 02 มี.ค. 2556 - 22:08.10
1,300 บาท ส. - 02 มี.ค. 2556 - 22:08.14
1,400 บาท ส. - 02 มี.ค. 2556 - 22:08.25
1,500 บาท ส. - 02 มี.ค. 2556 - 22:08.39
1,600 บาท อา. - 03 มี.ค. 2556 - 02:21.06
1,700 บาท อา. - 03 มี.ค. 2556 - 02:21.09
1,800 บาท อา. - 03 มี.ค. 2556 - 02:21.13
1,900 บาท อา. - 03 มี.ค. 2556 - 02:21.16
2,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อา. - 03 มี.ค. 2556 - 02:24.36
กำลังโหลด...
Top