เหรียญพระครูสนิธวินัยการ วัดท่าโขลง ลพบุรี ปี2526 - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540

เหรียญพระครูสนิธวินัยการ วัดท่าโขลง ลพบุรี ปี2526

เหรียญพระครูสนิธวินัยการ วัดท่าโขลง ลพบุรี ปี2526 เหรียญพระครูสนิธวินัยการ วัดท่าโขลง ลพบุรี ปี2526
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญพระครูสนิธวินัยการ วัดท่าโขลง ลพบุรี ปี2526
รายละเอียดวัดท่าโขลง ต.สมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรีเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตามทำเนียบวัดในวัดจังหวัดลพบุรี ระบุว่าประกาศตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2226 ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จึงเป็นวัดที่เก่าแก่และมีอายุ 327 ปีแล้ว ปัจจุบันวัดท่าโขลง อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็นวัดที่มีชื่อเสียงด้านเครื่องรางของขลัง มีผู้นับถือศรัทธามากมาย จุดเริ่มต้นความศรัทธาทั้งหมดนั้นมาจากพระครูสนิธวินัยการ หรือ หลวงพ่อสนิธ ยโสธโร อดีตเจ้าอาวาส อดีต เจ้าคณะตำบลเขาสมอคอน หากย้อนเวลาไปเมื่อ 70 ปีที่แล้วใครๆ ต่างทราบกิตติศัพท์ของท่านดีว่า เป็นพระที่มีเมตตาและมีคุณธรรมสูง มีวิทยาอาคมแก่กล้า จนเป็นที่โจษขาน วัดท่าโขลงจึงเป็นแหล่งเช่าพระเครื่องรางของขลังต่างๆ แม้ท่านจะสิ้นไปแล้ว พิพิธภัณฑ์พระครูสนิธวินัยการสร้างขึ้นในพ.ศ. 2550โดยเจตนาของเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน พระอาจารย์หนึ่ง อุปฺคุตฺโต ซึ่งท่านมีความนิยมสะสมของเก่าและชอบศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์อยู่แล้ว อีกทั้งทางวัดท่าโขลงได้เก็บพระรุ่นต่างๆ ที่พระครูสนิธวินัยการเคยปลุกเสกไว้ด้วย จึงได้รวบรวมนำมาจัดแสดง เดินผ่านแผงเช่าพระ เครื่องรางของขลังและจุดทำบุญต่างๆ แล้ว เราจะพบอาคารสองชั้นเป็นหอประชุม บริเวณใจกลางวัด ชั้นล่างติดป้ายว่าพิพิธภัณฑ์พระครูสนิธวินัยการ ด้านล่างเป็นกุฏิของท่านเจ้าอาวาส และเก็บเครื่องรางของขลังต่างๆ ส่วนพิพิธภัณฑ์นั้นต้องขึ้นไปชั้นสองของอาคาร ส่วนแรกของพิพิธภัณฑ์อยู่ที่บันไดทางขึ้นไปชั้นสอง เต็มไปด้วยโอ่งมังกรเคลือบแบบเก่า สวยงามและลวดลายมังกรที่อ่อนช้อย และบนฝาผนังประดับไปด้วยเขาสัตว์ต่างๆ ซึ่งไม่ได้ระบุว่าเป็นตัวใดบ้าง แต่เดาว่าน่าจะเป็นพวกกระทิงหรือควายป่า ระหว่างทางขึ้นก็ประดับด้วยรูปถ่ายโบราณของชาวบ้านและวัดท่าโขลงสมัยก่อนระบุปี พ.ศ. 2493 ที่มาของชื่อวัดท่าโขลงเล่ากันว่า สมัยก่อนวัดท่าโขลงเป็นป่าติดกับแม่น้ำท่าขามบริเวณหน้าวัด มักจะมีโขลงช้างป่าลงมากินน้ำเป็นประจำ และช้างก็จะเดินตามสายน้ำไปขึ้นที่ท่าวัดช้าง วัดนี้น่าจะสร้าง ขึ้นหลังวัดไลย์ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน แต่มีความเกี่ยวเนื่อง ผูกพันกันมาเสมือน วัดพี่น้อง เหตุนี้จึงเป็นที่มาของชื่อวัดท่าโขลง ที่เรียกขานมาถึงปัจจุบัน ชั้นสองของอาคารคือพิพิธภัณฑ์ แบ่งเป็นห้องต่างๆ 4 ห้อง แต่เปิดให้ชมแค่ 3 ห้องเท่านั้น เพราะห้องที่ 4 เป็นห้องอธิษฐานจิตสำหรับปลุกเสกเครื่องรางของขลังต่างๆ จึงห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไป ห้องจัดแสดงห้องแรกคือบริเวณห้องโถงใหญ่ของชั้น 2 ส่วนแรกติดกับบันได มีโอ่งมังกรเคลือบลายสวยอยู่หลายใบ นาฬิกากระสือ และเครื่องกระเบื้องสวยๆ ที่เป็นสมบัติของวัด ตู้เย็นโบราณเครื่องใหญ่ ป้านน้ำชาหลายใบจัดอยู่ในตู้กระจกอย่างเป็นระเบียบ ถัดมาเป็นใบ ประกาศแต่งตั้งเจ้าอาวาสและพระสำคัญในวัดท่าโขลง พัดยศและโกศอัฐิของเจ้าอาวาสองค์ก่อน และแผนผังอาคารต่างๆ ในวัด จากนั้นจึงเป็นตู้จัดแสดงเครื่องกระเบื้องต่างๆ ริมฝาผนัง ตรงกลางห้องเป็นเครื่องทองเหลืองที่เคยใช้งานในวัดและตู้เก็บพระธรรมที่ทำจากใบลาน ผนังห้องด้านขวาเป็นตู้เก็บหอยทะเลตัวใหญ่ๆ ถ้วยกระเบื้องเขียนลายครามและสีต่างๆ จานแผ่นเสียงและเครื่องเล่น ตาลปัตรโบราณที่สานจากไม้ไผ่ลายยกดอกสวยงาม และตู้คัมภีร์ สิ่งของจัดแสดงที่น่าสนใจในห้องนี้ก็คือคูลเลอร์น้ำกระเบื้องเคลือบจากประเทศอังกฤษ และปิ่นโตโลหะขนาดใหญ่ ซึ่งพระอาจารย์หนึ่งเล่าว่าเป็นของเก่าแก่คู่กับวัด น่าจะเป็นของที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้วัด เมื่อครั้งพระองค์เสด็จประพาสต้น ห้องถัดไปเป็นห้องพระพุทธรูปและห้องพระเครื่อง เป็นห้องที่เหมาะกับผู้นิยมเรื่องเมตตามหานิยมและพุทธคุณ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมายให้พิจารณา ทั้งพระพิมพ์ดินเผารุ่นเก่า เครื่องรางของขลังรุ่นต่างที่วัดท่าโขลงจัดสร้างขึ้น ทั้งพระจตุคามรามเทพ ตะกรุด มีดหมอต่างๆ และพระพุทธรูปเก่าแก่ อีกอย่างที่น่าสนใจก็คือตรายางประทับราศีและสัตว์ต่างๆ ที่เก็บไว้เต็มตู้ ห้องที่ 3 เป็นห้องที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะญาติโยมที่ขึ้นมาชมพิพิธภัณฑ์ต่างต้องการมากราบไหว้ หลวงพ่อสมปรารถนา หลวงพ่อเจริญยศ หลวงพ่อเจริญลาภ เพื่อขอพรให้สมความปรารถนาและมีโชคภาพดังที่กล่าว จากนั้นถ้ามาตรงกับช่วงเสี่ยงดวงรายปักษ์ของรัฐบาลก็จะมาบนบานขอเลขจาก วัว 8 ขา และหมู 9 ขา ของแปลกและศักดิ์สิทธิ์ที่เคยให้โชคให้ลาภกันมาแล้ว พระอาจารย์หนึ่งเล่าว่าบางครั้งก็มีคนนำของมาเซ่นไหว้โดยที่ท่านก็ไม่ทราบว่าไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์องค์ไหนกันแน่ แต่ทุก 15 วันจะมีขาประจำมาเอาฤกษ์เอาชัยกันเป็นประจำ สิ่งที่พระอาจารย์ฯ ต้องการเพิ่มเติมให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็คืออยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับโบราณวัตถุของทางวัดได้ มาช่วยจัดการพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ให้เป็นระเบียบและมีฐานข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อที่ผู้เข้าชมจะได้ความรู้เพิ่มเติมกลับไปด้วยนอกจากจะได้มาชมเครื่องรางของขลังเท่านั้น ข้อมูลจาก: การสำรวจภาคสนามวันที่ 1 มีนาคม 2553
ราคาเปิดประมูล10 บาท
ราคาปัจจุบัน20 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลพฤ. - 07 มี.ค. 2556 - 11:16.53
วันปิดประมูล อ. - 12 มี.ค. 2556 - 12:59.19 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 20 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
20 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) จ. - 11 มี.ค. 2556 - 12:59.19
กำลังโหลด...
Top