เหรียญนั่งพานหลวงปู่หลวง กตปุญโญ รุ่นแรก วัดคีรีสุบรรพต - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิภาคเหนือ

เหรียญนั่งพานหลวงปู่หลวง กตปุญโญ รุ่นแรก วัดคีรีสุบรรพต

เหรียญนั่งพานหลวงปู่หลวง กตปุญโญ รุ่นแรก วัดคีรีสุบรรพต เหรียญนั่งพานหลวงปู่หลวง กตปุญโญ รุ่นแรก วัดคีรีสุบรรพต เหรียญนั่งพานหลวงปู่หลวง กตปุญโญ รุ่นแรก วัดคีรีสุบรรพต เหรียญนั่งพานหลวงปู่หลวง กตปุญโญ รุ่นแรก วัดคีรีสุบรรพต เหรียญนั่งพานหลวงปู่หลวง กตปุญโญ รุ่นแรก วัดคีรีสุบรรพต
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญนั่งพานหลวงปู่หลวง กตปุญโญ รุ่นแรก วัดคีรีสุบรรพต
รายละเอียดสวยกล่องเดิมๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่หลวง กตปุญโญ

วัดสามัคคีบุญญาราม (วัดคีรีสุบรรพต)
บ้านทุ่งสามัคคี ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง


๏ ความเป็นมา

ในอดีตต้นตระกูลของหลวงปู่หลวง กตปุญโญ นั้น สืบย้อนไปประมาณสามชั่วอายุคน บรรพบุรุษทางสายโยมบิดา คือโยมปู่ของท่านมีเชื้อสายชาวภูไท ซึ่งเป็นชนเผ่าหนึ่งที่เดิมมีถิ่นฐานแถบนครเวียงจันทร์ ประเทศลาว ต่อมาได้พากันอพยพย้ายที่ทำกินข้ามแม่น้ำโขงมาทางฝั่งประเทศไทย โดยมาตั้งรกรากอยู่อาศัยทำมาหากินในเขตจังหวัดสกลนครเป็นส่วนใหญ่ โยมปู่ของท่านมีชื่อนิยมเรียกกันตามชื่อบุตรคนหัวปีว่า “พ่อตัน” ได้สืบทอดอาชีพเดิมๆ ที่บรรพบุรุษทำกันต่อๆ มา คือ การทำนาทำสวน ปลูกผัก และหาปลา เลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวเรื่อยมา และได้มาเจอคู่กรรมคือโยมย่า “สีแพง” ที่จังหวัดสกลนครนี่เอง เมื่อได้ตกลงอยู่กินด้วยกัน ทั้งสองคนก็ได้ร่วมกันสร้างครอบครัวขึ้นมาใหม่ ต่างมีลูกด้วยกันรวมแล้วถึง ๗ คน ตามลำดับดังนี้

๑. นายตัน
๒. นางน้อย
๓. นางจันทา
๔. นายจำปา
๕. นายสีทอง (ซึ่งต่อมาได้บวชเป็นพระ เป็นหลวงลุงของหลวงปู่)
๖. นายสน (โยมบิดาของหลวงปู่)
๗. นายสาน

บ้านเดิมของหลวงปู่หลวงท่าน ก็คือ บ้านบัว ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร อันเป็นบ้านเกิดเดียวกันกับ หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร และหลวงปู่แว่น ธนปาโล ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่หลวง นับเป็นญาติกันทางสายโยมมารดาอีกทีหนึ่ง ส่วนโยมตาของหลวงปู่ชื่อว่า “เกล้าน้อย” ซึ่งเดิมเป็นคนทางภาคเหนือ สืบเชื้อสายมาจากพวกไทยใหญ่ หรือที่เรียกว่า ไทยลื้อ มีถิ่นฐานบ้านเดิมอยู่แถบบ้านกล้วย อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ได้เอาสินค้าจำพวกเครื่องเขิน และเครื่องเงินเครื่องประดับเครื่องใช้ต่างๆ อันเป็นงานฝีมือของทางภาคเหนือ หาบด้วยบ่ากันเป็นหมู่นำไปค้าขายทางแถบภาคอีสาน รอนแรมไปเรื่อยๆ แล้วก็หาหรือแลกซื้อสินค้าจำพวกผ้าที่ทอด้วยมือ มีลวดลายสวยงามทางภาคอีสานกลับไปขายทางภาคเหนืออีกทีหนึ่ง เที่ยวหนึ่งๆ ก็นับเป็นเดือนๆ บ่อยเข้าก็ได้ไปเจอกับโยมยาย (ไม่ทราบชื่อ) ซึ่งมีอาชีพทำนาและอยู่อาศัยในจังหวัดสกลนคร เมื่อถูกใจกันก็ตกลงอยู่กินร่วมกัน โดยช่วยกันทำมาค้าขาย รับซื้อปลาซื้อผักจากชาวบ้านมาขายต่อ บางทีก็กลับไปทางเหนือเพื่อเอาสินค้ามาขาย ต่างช่วยกันประกอบสัมมาอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว จนมีลูกด้วยกัน ๗ คนด้วยกัน ตามลำดับดังนี้

๑. นายคุด
๒. นางนา
๓. นางสา
๔. นางสอน
๕. นางซ้อน
๖. นางสียา (โยมมารดาของหลวงปู่)
๗. นางน้อย


หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร


๏ ครอบครัวสอนวงศ์ษา

ต่อมาเมื่อนายสนได้มาพบนางสียา และได้รักใคร่ชอบพอกัน ตกลงใช้ชีวิตร่วมกันสร้างครอบครัวขึ้นมา โดยใช้นามสกุลว่า “สอนวงศ์ษา” ตั้งตามชื่อของบรรพบุรุษที่แรกเริ่มย้ายถิ่นฐานเข้ามาตั้งรกรากทางฝั่งไทย อันเป็นธรรมเนียมนิยมในสมันเริ่มแรกที่ให้มีการใช้นามสกุล ได้มีลูกด้วยกัน ๖ คน ตามลำดับดังนี้

๑. นายหลวง สอนวงศ์ษา (หลวงปู่หลวง กตปุญโญ)
๒. นายหลวย สอนวงศ์ษา (ถึงแก่กรรม)
๓. นางหลาว สอนวงศ์ษา ปัจจุบันบวชเป็นแม่ชี
อยู่ปฏิบัติพระลูกชายที่วัดศิลาวารี อ.เถิน จ.ลำปาง
๔. นางเลี่ยน สอนวงศ์ษา (ถึงแก่กรรม)
๕. นางล้อง สอนวงศ์ษา (ถึงแก่กรรม)
๖. นายไหล สอนวงศ์ษา (ถึงแก่กรรม)

นายหลวง สอนวงศ์ษา หรือหลวงปู่หลวง กตปุญโญ ได้ถือกำเนิดเกิดมาเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๔ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีระกา ที่บ้านบัว ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

การเป็นลูกชายคนโตของบิดามารดา จึงจำเป็นต้องช่วยเป็นกำลังสำคัญของทางบ้าน ช่วยแบ่งเบาภาระของบิดามารดาในการดูแลน้องๆ และงานในบ้านทั่วไป ตลอดจนช่วยเก็บหาพืชผักจับปลามาเลี้ยงชีพมาตั้งแต่ท่านอายุยังน้อย ชีวิตของชาวไร่ชาวนาในชนบทสมัยนั้น จำต้องพึ่งพาดินฟ้าอากาศเข้าช่วย หากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลหรือมีโรคแมลงระบาดเบียดเบียน พืชผลผลิตที่ปลูกก็เก็บเกี่ยวได้ไม่เต็มที่ เสียหายเยอะ ก็ต้องหาอาชีพอื่นมาช่วยเสริม เช่น รับจ้างทำงานต่างๆ ตามแต่จะหาได้ หรือปลูกพืชไร่อย่างอื่นทดแทน พอมีพอกินไม่ให้อดอยาก แม้ต้องเหน็ดเหนื่อยเพียงไรก็ตาม

นายสน-นางสียา ตลอดจนเด็กชายหลวงในสมัยนั้น ก็ต้องพากเพียรพยายามอดทนหาเลี้ยงชีวิตและครอบครัว โดยการทำนาทำสวนและค้าขายปลา หมุนเวียนกันไปตามแต่วาระโอกาส เฉกเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ซึ่งต่างต้องดิ้นรนทำมาหากินด้วยกันทั้งนั้น จะดีกว่าปัจจุบันก็ตรงที่ค่าครองชีพไม่สูงนักอย่างสมัยนี้ ผักปลาก็หาได้ง่ายไม่ลำบากนัก ชีวิตความเป็นอยู่จึงสุขสบายตามอัตภาพ และดีที่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ไม่ต้องไปเช่าเขาทำกิน


๏ ใช้กรรมเก่าตั้งแต่เด็ก

ด้วยเหตุที่ต้องช่วยงานทางบ้านตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก เด็กชายหลวงในขณะนั้นแม้อายุเพียง ๕ ขวบ วันหนึ่งขณะที่ได้ช่วยแม่ใช้มอง (ที่ตำข้าว) ตำขาวอยู่นั้น เด็กชายหลวงมิทันระวังตัว ไม้ค้ำมองตำข้าวได้เกิดล้มมาทับข้อเท้าข้างขวาอย่างจัง จนข้อเท้าพลิกเดินไม่ปกติตั้งแต่นั้นมา

หลวงปู่หลวงท่านบอกว่า “เป็นกรรมเก่าของท่านเอง” ตั้งแต่อดีตชาติ เคยใช้เท้าขวาเตะผู้มีพระคุณ กรรมนั้นได้ตามมาส่งผลให้ต้องชดใช้ แม้จะล่วงเลยมานานนับอีกชาติหนึ่งก็ตาม ท่านว่ากรรมใดๆ ก็ตาม มิอาจตัดหรือลบล้างได้ ต้องชดใช้ เว้นแต่กรรมที่คู่กรณีต่างอโหสิกรรมต่อกันแล้วเท่านั้น จึงอาจระงับหมดไปได้ ยกเว้นกรรมที่เป็นอนันตริยกรรม คือ กรรมหนัก กรรมบางอย่างอาจขอผ่อนปรนจากหนักเป็นเบาได้ด้วยบุญกุศลที่ได้สร้างได้ทำ แต่ก็ยังต้องชดใช้บางส่วนที่เหลืออยู่ กรรมมันตามคอยส่งผลได้นับร้อยๆ ชาติ “คนเราทำกรรมก่อกรรมไว้ เมื่อตายไปก็ต้องชดใช้กรรมอยู่ในนรก จะยาวนานอย่างไรก็ตามความหนักเบาของกรรม พ้นจากนรกขึ้นมา ก็ต้องมาใช้เศษกรรมในภพภูมิอื่นต่ออีกจนหมดกรรม ใช่ว่าจะใช้กรรมหมดได้ในครั้งเดียว ชาติเดียว ครู่เดียว ฉะนั้น เราจึงไม่ควรประมาทในกรรม กรรมมันเป็นวิบาก กรรมมันตัดรอนเอาได้ทุกเมื่อ”

จากอุบัติเหตุในครั้งนั้น มีผลให้เด็กชายหลวงต้องป่วยหนักจนเกือบตาย นางสียาได้ไปขอบนบวชไว้ว่า ถ้าลูกของนางหายจากการป่วยครั้งนี้ จะให้บวชเป็นพระ อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ฝังใจเด็กชายหลวง นำไปสู่ความคิดที่จะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ แม้ในภายหลังก่อนที่นางสียาจะถึงแก่กรรม นางก็ยังได้สั่งเสียลูกชายในวาระสุดท้ายว่า “ขอให้ลูกหลวงบวชให้ได้”


๏ บวชเป็นพระในมหานิกาย

ระหว่างนี้ นายหลวง สอนวงศ์ษา ได้ทำงานรับจ้างทั่วไป โดยเป็นช่างลูกมือการก่อสร้างบ้านและงานอื่นๆ เท่าที่จะหาได้ ทั้งในตัวจังหวัดอุดรธานีหรือแถบใกล้บ้าน เมื่อมีเวลาว่างก็เพียรศึกษาอ่านหนังสือธรรมะ และฝึกนั่งสมาธิตามตำราควบคู่กันไป ได้เห็นผู้คนรอบข้างต้องดิ้นรนทำมาหากิน ต้องเหน็ดเหนื่อยเมื้อยล้าอยู่แทบทุกวันตั้งแต่เช้ายันค่ำ วนเวียนอยู่เช่นนั้นเป็นกิจวัตร จะหาความสุขที่แท้จริงไม่ได้เลย ต่างมีภาระหน้าที่ที่ต้องทำเพื่อให้ชีวิตตนเองและครอบครัวอยู่ได้ บ้างก็พยายามสะสมเงินทองทรัพย์สมบัติ แต่ถึงจะยากดีมีจน มีฐานะ มีหน้าที่ มีชื่อเสียงเช่นไร ต่างก็หนีไม่พ้นที่จะต้องพบกับการเกิด การแก่ การเจ็บ และการตายไปได้ ไม่มีสิ้นสุด ชีวิตคนเราก็เท่านี้ ทำอย่างไรจึงจะพ้นจากวงเวียนแห่งกรรมเหล่านี้ไปได้

นายหลวงยิ่งศึกษาธรรมะจากหนังสือ แม้ไม่มีผู้ใดชี้แนะสั่งสอนเป็นครูบาอาจารย์ คงมีแต่หลวงลุงที่วัดเท่านั้นที่จะพอพึ่งพาปรึกษาได้ในบางเรื่อง ถึงแม้หลวงลุงจะเป็นพระที่บวชในพระศาสนา แต่ท่านก็มีกิจภาระมากมาย ทั้งต้องยุ่งกับเรื่องทุกข์ของชาวบ้านที่มาพึ่งพาขอความช่วยเหลือจากท่าน ด้วยเหตุที่ท่านเป็นพระที่เก่งทางไสยศาสตร์ ไหนจะสอนงานหนังสือนักธรรมที่ทำอยู่ ก็ไม่พ้นเรื่องยุ่งๆ ทางโลก

มีแต่หนังสือธรรมะที่หาอ่านได้เท่านั้น พอยึดเป็นแนวทางปฏิบัติได้ จะผิดถูกอย่างไรก็ตามที แต่เมื่อได้ทำสมาธิตามหนังสือแล้ว ก็เกิดผลจนน่าพอใจในระดับหนึ่ง จุดใดที่สงสัยก็ยังติดอยู่อย่างนั้น ไม่สามารถแก้ได้เอง คงทำตามความเข้าใจของตนเองเท่าที่ทำได้เท่านั้น ใจหนึ่งก็คิดอยากจะบวชเรียน เพื่อที่จะได้มีเวลาอ่านหนังสือและศึกษาธรรมให้เต็มที่ จะได้แสวงหาครูบาอาจารย์มาช่วยชี้แนะสั่งสอน ก็ได้แต่เพียงคิดดำริไว้ในใจเท่านั้น ยังหาโอกาสปล่อยวางภาระหน้าที่ไม่ได้สักที

จนวันหนึ่งได้มีโอกาสไปช่วยอาทำการก่อสร้างกฏิพระที่วัด ก็ได้ปรารภกับอาว่า ถ้าได้บวชก็จะดี เพราะตอนนี้ก็มีอายุครบบวชได้แล้ว ได้ปรึกษากับญาติผู้ใหญ่คนอื่นๆ ก็เห็นดีด้วย อนุญาตให้ได้บวชตามประสงค์

ครั้นเมื่อมีอายุได้ 22 ปีเต็มบริบูรณ์ ก็มีจังหวะที่ว่างเว้นจากหน้าที่การงาน หลวงลุงก็ได้ชวนให้บวชและไปอยู่ด้วยที่วัด จึงได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ในสังกัดมหานิกาย เช่นเดียวกับหลวงลุง คือ พระอาจารย์สีทอง พนฺธุโล ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “ขนฺติพโลภิกฺขุ” ณ พัทธสีมาวัดศรีรัตนาราม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ นั่นเอง

พรรษาแรก

เมื่อได้บวชเป็นพระสมดังใจแล้ว ในพรรษาแรก พระภิกษุหลวง ขนฺติพโล ก็ได้อยู่จำพรรษาในวัดที่หลวงลุงเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ได้ช่วยปฏิบัติรับใช้และศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม จนสามารถสอบนักธรรมชั้นตรีได้ ด้วยความเอาใจใส่ฝึกฝนและขยันท่องบ่นอ่านหนังสือ จนในบางครั้งครูที่สอนนักธรรมก็ให้ท่านช่วยสอนแทนในบางโอกาส พระหลวงก็ตั้งใจทำตามความสามารถ ทั้งยังช่วยหลวงลุงดูแลกิจของสงฆ์เป็นอันดี จนเป็นที่รักและไว้วางใจของทุกคนทั้งพระผู้ใหญ่และหมู่เพื่อน ถึงงานจะมากแต่ท่านก็ไม่ทิ้งกรรมฐาน คงหาโอกาสทำความเพียรโดยอาศัยตำราเป็นครูสอน เพราะเห็นผลจากการทำสมาธิแล้วว่า ช่วยให้มีความทรงจำดีและสติมั่นคงเช่นไร อาทิเช่น สามารถท่องจำบทสวดมนต์ได้หมดภายในเวลาเพียง ๒ วัน แต่ไม่จบปาฏิโมกข์เพราะไม่สบายเสียก่อน

พรรษาที่ ๒ เห็นความไม่แน่นอน

พระภิกษุหลวง ขนฺติพโล ได้พยายามใช้เวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพราะเมื่อได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว ด้วยใจศรัทธาที่มีอยู่อย่างแรงกล้าตั้งแต่ครั้งที่เป็นฆราวาสได้เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ มีความตั้งใจที่จะเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ดีตามแบบอย่างของครูบาอาจารย์ที่ได้อ่านพบ จึงได้หมั่นปฏิบัติสมาธิภาวนา จนพระที่บวชอยู่ด้วยกันรู้สึกแปลกใจในการกระทำ บางองค์ถึงแม้บวชมากว่า ๒๐ พรรษา ก็ยังมาถามท่านว่า “ปฏิบัติหลายๆ ทิ้งกรรมฐานแล้วบ่” ซึ่งพอท่านได้ยินผู้ถามเช่นนั้น ก็รู้สึกสลดสังเวชใจที่พระทั่วไปส่วนใหญ่ถึงบวชมานานเพียงใด ก็ยังไม่มีความเข้าใจในกรรมฐานอย่างแท้จริง ไม่เข้าใจว่ากรรมฐานคืออะไร แต่ท่านก็ไม่ได้แสดงอาการโต้ตอบอย่างไร คงวางเฉยแล้วทำความเพียรต่อไปตามปกติ แต่เมื่อถูกพระผู้นั้นถามบ่อยๆ เข้า ท่านก็ตอบกลับไปว่า “ทิ้งได้อย่างไร” พลางเอามือจับที่เส้นผม แล้วพูดว่า “กรรมฐานคือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นี่แหละ” จากนั้นมาก็ไม่มีใครมาถามท่านในเรื่องเช่นนี้อีกเลย

การบวชเป็นพระภิกษุต้องมีความศรัทธาและมีความอดทน ทั้งต่อกิเลสกามและวัตุกาม ที่อยู่รายรอบและนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานมาช้านาน หากไม่รู้จักหักห้ามจิตและอดทนแล้ว ก็ย่อมต้องพ่ายแพ้ต่อภัยกิเลสทั้งหลายได้โดยง่าย มักจะอยู่ได้ไม่ยืดไม่ทน หรือหากอยู่ได้นานก็เพราะจำทนอยู่ไม่มีหนทางที่ไปทำอย่างอื่น จึงจำเป็นต้องเป็นพระอยู่อย่างนั้น ยิ่งอยู่นานวันก็ยิ่งทำผิดพลาด เพราะอาจย่อหย่อนต่ออาบัติโดยไม่รู้ตัว มีแต่จะติดลบเป็นบาปเป็นกรรมมากยิ่งขึ้น ไม่ได้กระทำตนหรือประพฤติปฏิบัติให้เป็นพระที่แท้จริงให้เป็นเนื้อนาบุญที่ดี
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน200 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลอา. - 13 มี.ค. 2554 - 18:40.57
วันปิดประมูล อา. - 20 มี.ค. 2554 - 18:40.57 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
PUCHONG (71) (-3) 222.123.56.117
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 200 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เนื่องด้วยเจ้าของรายการประมูลนี้ ได้ทำผิดกฎ หรือ ถูกลดสิทธิ์ในการตั้งรายการประมูล ดังนั้นรายการประมูลทั้งหมดของเจ้าของรายการประมูลนี้จะถูกระงับชั่วคราว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
200 บาท ศ. - 18 มี.ค. 2554 - 17:07.56
กำลังโหลด...
Top