พระเนื้อพิมพ์ลีลายุคแรก หลวงพ่อปี้ (พระครูสุวิชาวรวุฒิ) วัดด่านลานหอย จ.สุโขทัย ปี 2505 - webpra

ประมูล หมวด:พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

พระเนื้อพิมพ์ลีลายุคแรก หลวงพ่อปี้ (พระครูสุวิชาวรวุฒิ) วัดด่านลานหอย จ.สุโขทัย ปี 2505

พระเนื้อพิมพ์ลีลายุคแรก หลวงพ่อปี้ (พระครูสุวิชาวรวุฒิ) วัดด่านลานหอย จ.สุโขทัย ปี 2505 พระเนื้อพิมพ์ลีลายุคแรก หลวงพ่อปี้ (พระครูสุวิชาวรวุฒิ) วัดด่านลานหอย จ.สุโขทัย ปี 2505 พระเนื้อพิมพ์ลีลายุคแรก หลวงพ่อปี้ (พระครูสุวิชาวรวุฒิ) วัดด่านลานหอย จ.สุโขทัย ปี 2505
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระเนื้อพิมพ์ลีลายุคแรก หลวงพ่อปี้ (พระครูสุวิชาวรวุฒิ) วัดด่านลานหอย จ.สุโขทัย ปี 2505
รายละเอียด**รหัส ศ.ร.๐๐๗๐
พระเนื้อพิมพ์ลีลายุคแรก หลวงพ่อปี้ (พระครูสุวิชาวรวุฒิ) วัดด่านลานหอย จ.สุโขทัย ปี 2505

หลวงพ่อปี้ ทินโน วัดลานหอย ต.ลานหอย อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย
วันพฤหัสบดีที่ 04 เมษายน 2013 เวลา 10:18 น. อ้อ .ภาพและเรื่องโดย สุธน ศรีหิรัญ

เกจิอาจารย์ ในยุค พ.ศ.2500 ที่เก่งกล้าอาคมขลัง มีอยู่หลายองค์ด้วยกัน ในงาน ฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ มีการระดมมาเข้าพิธีพุทธาภิเษกพระบูชาและ พระเครื่องยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ เป็นที่กล่าวขวัญกันว่า เป็นการชุมนุม ยอดเกจิอาจารย์ ครั้งใหญ่ยิ่ง มีเกจิอาจารย์มากถึง 108 รูป หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น ท่านเป็นเกจิอาจารย์ที่มีอาคมขลังโด่งดังย่าน จ.สุโขทัย เป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของประชาชนจำนวนมาก มีญาณหยั่งรู้เหตุการณ์ต่างๆ ได้แม่นยำ แม้กระทั่งไปปรากฏกายที่ต่างๆ กันได้ในเวลาเดียวกันหลายแห่ง นายดำรงฤกษ์ กลิ่นแก้ว ผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษา อ.บ้านด่านลานหอย เล่าว่า เมื่อกว่า 20 ปีมาแล้ว อ.บ้านด่านลานหอย มีที่ดินและป่าไม้มาก ราษฎรที่ทำมาหากินในท้องถิ่นมีน้อย มีประชาชนอพยพมาจากจังหวัดอื่นๆ มากมาย เพื่อมาบุกเบิกที่ทำกิน มีอยู่วันหนึ่ง มีชายคนหนึ่งที่มาจากจังหวัดสุรินทร์ได้ไปกราบนมัสการ หลวงพ่อปี้ เมื่อเขาเห็นหน้า หลวงพ่อปี้ ก็ได้ร้องขึ้นด้วยความตกใจแล้วพูดว่า หลวงพ่อปี้ ได้เคยไปบิณฑบาตที่บ้านของเขาที่ จังหวัดสุรินทร์ บ่อยครั้ง เขาจำหลวงพ่อได้อย่างแม่นยำ

พระครูไพโรจน์ศาสนคุณ (สมบูรณ์ วิสารโธ) เจ้าอาวาส วัดลานหอย องค์องค์ปัจจุบัน ซึ่งเคยเป็นศิษย์ใกล้ชิดรับใช้ หลวงพ่อปี้ มานานเล่าว่า หลวงพ่อปี้ เป็นพระเถระที่มีการปฏิบัติดำรงสติอยู่ในญาณวิปัสสนาตลอดเวลา ไม่เคยวอกแวกไปจากอารมณ์กรรมฐาน ท่านเป็นพระที่ชอบออกธุดงค์ทุกๆ ปี ครั้งละนานหลายเดือน พระครูไพโรจน์ฯ เคยถามว่า หลวงพ่อปี้เรียนวิชาพุทธาคมมาจากอาจารย์ใดบ้าง ท่านตอบว่า มีอาจารย์อยู่ 32 องค์ เท่าที่ท่านพระครูไพโรจน์ฯ จำได้มี หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ หลวงพ่อต่วน วัดลาย ต.ทุ่งหลวง (คีรีมาศ) หลวงพ่อนุ้ย วัดคลองยาง และอาจารย์ที่ท่านนับถือมากอีกองค์หนึ่งคือ อุปัชฌาย์ของท่านชื่อ หลวงพ่อทิม วัดราชธานี พระครูไพโรจน์ฯเล่าว่า เคยเห็นมีคนนุ่งขาวห่มขาวมาสนทนากับ หลวงพ่อปี้ ยามค่ำคืนเป็นประจำ แล้วก็เดินหายไปในความมืดตอนใกล้รุ่ง บางทีก็เดินมาท่ามกลางสายฝน แต่ร่างกายไม่เปียก ท่านเคยถาม หลวงพ่อปี้ ท่านไม่ตอบอะไร

หลวงพ่อปี้ นามเดิม ปี้ นามสกุล ชูสุข เกิดเมื่อวันพุธที่ 15 ตุลาคม 2445 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีขาล ณ ต.ลานหอย อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย บิดาชื่อ นายสังข์ ห่วงตุ่น มารดาชื่อ นางเย็น ชูสุข บิดาเป็นคนมาจากจังหวัดอุตรดิตถ์ มาแต่งงานกับมารดาซึ่งเป็นคน ต.ลานหอย มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา 5 คน ต่างบิดา 2 คน คือ
1. พระครูสุวิชานวรวุฒิ (ปี้ ชูสุข)
2. นายเขียน ชูสุข (ถึงแก่กรรม)
3. นายน้ำค้าง ห่วงตุ่น (ถึงแก่กรรม)
4. นายธรรม ห่วงตุ่น
5. นายไหม ห่วงตุ่น
6. นายทอน ห่วงตุ่น ต่างบิดา (ถึงแก่กรรม)
7. นางประทิน ห่วงตุ่น (ต่างบิดา)
เมื่อเด็กชายปี้มีอายุได้ประมาณ 12 ปี บิดา-มารดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือกับ พระอธิการหน่าย น้อยผล เจ้าอาวาสวัดเชิงคีรี ต.ลานหอย อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย เด็กชายปี้ ชูสุข ได้เริ่มเรียนหนังสือมูลบทบรรพกิจเบื้องต้น ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอมกับ พระอธิการหน่าย เรียนด้วยความขยันหมั่นเพียร ประกอบกับเด็กชายปี้เป็นเด็กที่มีกิริยามารยาทเรียบร้อย ให้ความเคารพยำเกรงต่ออาจารย์และ พระภิกษุ-สามเณรทั่วๆ ไป จึงทำให้อาจารย์และพระภิกษุ-สามเณรในวัดเมตตาสงสารให้การแนะนำสั่งสอนเป็นอย่างดี จนเด็กชายปี้ ชูสุข มีความสามารถอ่านเขียนหนังสือไทย และหนังสือขอมได้เป็นอย่างดี เป็นที่พอใจของบิดา-มารดา และครูอาจารย์มาก



เมื่อเด็กชายปี้มีอายุได้ 16 ปี ก็มีความจำเป็นต้องลาออกจากวัดไปช่วยแม่ทำไร่ทำนาเลี้ยงน้อง เพราะฐานะทางครอบครัวของเด็กชายปี้ยากจนมาก มีที่ไร่ที่นาก็ไม่พอทำกิน บิดาก็มาเสียชีวิตลง ด้วยความสงสารแม่และน้องอีกหลายคน เด็กชายปี้จึงต้องดิ้นรนหารายได้มาช่วยเหลือครอบครัว เพราะว่าเป็นบุตรคนโต (แต่ตัวเล็กมาก) ด้วยการไปรับจ้างเขาเลี้ยงควาย-ทำนา ได้ค่าจ้างเป็นข้าวเปลือกปีละ 50 ถัง ไม่พอกินได้ตลอดปี

หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว เด็กชายปี้ยังต้องไปรับจ้างเขาขับเกวียนลากไม้ได้ ค่าจ้างเดือนละ 3 บาท เคยเล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า เมื่อถึงกำหนดแล้วไปขอเบิกเงินจากนายจ้าง นายจ้างก็จ่ายให้ไม่ครบ บางเดือนจ่ายให้ครั้งละ 2 สตางค์ 3 สตางค์ ต้องอดทนต่อความยากลำบากอย่างแสนสาหัสกว่าจะได้เงินมาแต่ละบาทแต่ละสตางค์ แต่ก็ต้องสู้ทน เพื่อแม่เพื่อน้อง

หลวงพ่อปี้ เคยเล่าให้พระภิกษุ-สามเณรฟังถึงความยากลำบากในวัยเด็กของเด็กชายปี้ ชูสุข ว่ามันถึงที่สุดแค่นั้นเอง เพราะถ้ามันเกินกว่านี้ไป ชีวิตก็ทนไม่ได้ ต้องตายแน่

เด็กชายปี้ เป็นคนมีเมตตากรุณาต่อคนและสัตว์มากมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กๆ เคยไปพบคนฆ่าสัตว์คือ เก้ง-กวาง ก็เกิดเมตตาสงสารจับใจ จนไม่สามารถรับประทานเนื้อสัตว์เหล่านั้นได้ เด็กชายปี้ ได้ใช้ชีวิตอยู่ในเพศฆราวาสอันเต็มไปด้วยความยากลำบากมาจนอายุได้ 20 ปี ก็เกิดศรัทธา มีความปรารถนาจะบรรพชา อุปสมบทเป็นพุทธบุตรในพระพุทธศาสนา

เมื่ออายุครบ 20 ปี มีศรัทธาอยากจะบวชในพระพุทธศาสนา แต่ไม่สามารถจะบวชได้เพราะความจน ไม่มีเงินซื้อผ้าไตร แม่จึงต้องพาไปหา นายโจทย์ เข็มคง กำนัน ต.ลานหอย ในขณะนั้น ได้ขอร้องนายโจทย์ให้ช่วยเป็นเจ้าภาพจัดการให้ นายปี้ได้บวชในพระพุทธศาสนา นายโจทย์ก็รับเป็นเจ้าภาพจัดการบวชให้สมความปรารถนา ยังความปลื้มปีติให้กับนายปี้และมารดาเป็นอย่างยิ่ง แม่ของนายปี้ มีเงินไปร่วมในการบวชลูกชายเพียง 25 สตางค์ เท่านั้นเอง

เป็นอันว่า นายปี้ ชูสุข ได้บวชเป็นพระภิกษุสมความปรารถนา เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2456 เวลา 13.15 น. ณ พัทธสีมา วัดสังฆาราม ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย โดยมี พระครูวินัยสาร ( ทิม ยสฺทินโน ) ภายหลังเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชประสิทธิคุณ เจ้าคณะ จ.สุโขทัย เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการน้อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเจิม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า ทินฺโน เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่ วัดเชิงคีรี ต.ลานหอย อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย

การศึกษาปริยัติธรรม ได้ศึกษานักธรรมชั้นตรีด้วยตนเอง แล้วสมัครสอบในสนามหลวง แต่สอบไม่ได้ เนื่องจากไม่ค่อยมีหนังสือเรียนและขาดครูสอน แต่ก็ได้พยายามศึกษาด้วยตนเองมาโดยตลอด สอบนักธรรมชั้นตรีได้เมื่อปี พ.ศ.2475 ท่านได้ไปเรียน วิปัสสนากัมมัฏฐาน และ การธุดงค์ กับพระอุปัชฌาย์ของท่านคือ หลวงพ่อทิม ที่ วัดราชธานี จนมีความเข้าใจในเรื่องการเดินธุดงค์เป็นอย่างดี มีศรัทธาเลื่อมใสตั้งใจที่จะออกเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เพื่อปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน

หลวงพ่อทิม ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ของ หลวงพ่อปี้ องค์นี้ เป็น พระมหาเถระสำคัญองค์หนึ่งของ จ.สุโขทัย มีเกียรติประวัติที่น่าศรัทธาเลื่อมใส ทั้งมีความบริสุทธิ์ผุดผ่องในศีลาจารวัตร ตลอดจนเชี่ยวชาญทางวิปัสสนาและพุทธาคมยิ่ง ได้เคยออกเหรียญเอาไว้หลายรุ่นน่าสนใจมาก จึงขอนำเรื่องราวของท่านมาเสนอรวมไว้ในเรื่อง หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย เพื่อท่านจะได้รู้จักเกจิอาจารย์อีกองค์หนึ่งของ จ.สุโขทัย ไปด้วยพร้อมกัน

พระราชประสิทธิคุณ ( ทิม ) เดิมชื่อ ขาว ชื่อสกุล มุ่งผล เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือนสิงหาคม พ.ศ.2424 ที่บ้านไผ่ดำ ต.ไผ่ดำ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง โยมผู้ชายของท่านชื่อ นายแป้น โยมผู้หญิงชื่อ ทองอยู่ อาชีพทำนา พระราชประสิทธิคุณ มีพี่น้องรวมกัน 4 คน คือ
1. นายปาน
2. นางลับ
3. นายขาว หรือทิม (พระราชประสิทธิคุณ)
4. นางบุญรอด
ตามประวัติของท่านปรากฏว่า โยมมารดานั้นมีบุตรเป็นระยะ คือ 3 ปี ต่อ 2 คนติดต่อกัน จนต่อมาเมื่อคลอดบุตรคนสุดท้องแล้ว โยมมารดาได้ถึงแก่กรรมขณะอยู่บนกระดานไฟ โดยเป็นอหิวาตกโรค โยมบิดาจึงได้ส่งน้องคนสุดท้องให้พวกญาติไปเลี้ยงไว้ที่ บ้านบางแพ โดยยกให้เป็นลูกของญาติเลย ส่วนศพโยมมารดาได้นำไปเผาที่วัดมหาดไทย (บางจัก) เด็กชายขาวยังเล็กนักไม่ทราบความ ก็วิ่งตามป้าจิ้ว ซึ่งอยู่ทางท้ายบ้านไผ่ดำไป โดยเข้าใจว่าเป็นแม่ของตน จนพวกญาติต้องไปตามตัวคืนมา ต่อมาในไม่ช้า บิดาได้นำเด็กชายขาวไปฝาก พระอาจารย์อ่ำ ไว้ที่ วัดมหาดไทย (บางจัก) เพราะก่อนเมื่อมารดาจะตายนั้น ได้สั่งให้โยมบิดานำเด็กชายขาวไปฝากพระอาจารย์อ่ำที่ วัดมหาดไทยให้ได้ เด็กชายขาวจึงอยู่วัดแต่นั้นมา

ในวัยเด็กเหตุที่เด็กชายขาวจะเปลี่ยนชื่อเป็นเด็กชายทิมนั้น ก็เพราะเมื่อมารดาถึงแก่กรรมใหม่ๆ ปู่ทวดได้อุปการะอยู่ วันหนึ่งเด็กชายขาวนั่งอยู่กับปู่ทวด เด็กชายขาวซึ่งพอจะรู้ความแล้ว เห็นไฝเม็ดหนึ่งอยู่ที่ใต้คางของปู่เข้า จึงเอามือจับดู แล้วบอกกับปู่ว่าอยากได้ แล้วถามปู่ว่านี่คืออะไร ปู่ตอบว่า เม็ดทับทิม เด็กชายขาวบอกว่าอยากได้ ปู่จึงยกให้ แล้วปู่ทวดจึงบอกแก่คนทั่วไปว่า ต่อไปอย่าให้ใครเรียกว่าเด็กชายขาวอีก ให้เรียกว่า เด็กชายทิม นับแต่นั้นมาเด็กชายขาวจึงมีนามใหม่ที่ปู่ทวดตั้งให้ว่า เด็กชายทิม

ส่วนนายปานพี่ชายนั้น โยมบิดาเอาไปฝากไว้กับ หลวงพ่อพูล อุปัชฌาย์ วัดประสาทบ้านบางแพ ต.ตะพุ่น (ปัจจุบันคือ ต.วชิระ เขตดุสิต จ.กรุงเทพฯ) และเมื่ออายุได้ 20 ปี ก็บวชเป็นพระแล้วไปจำพรรษาที่ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ ได้เล่าเรียนหนังสือขอม สำหรับเด็กชายทิมนั้น เมื่ออยู่วัดมหาดไทยก็เล่าเรียนหนังสือ และหนังสือขอม จนพออ่านออกเขียนได้ ต่อมาพระอาจารย์อ่ำได้ย้ายไปอยู่ที่ วัดท่าช้าง ต.ท่าช้าง อ.วิเศษไชยชาญ เด็กชายทิมก็ได้ตามอาจารย์อ่ำไปอยู่ที่วัดนั้นด้วย พอออกพรรษาแล้ว อาจารย์อ่ำก็ล่องเรือไปกรุงเทพฯ เด็กชายทิมก็ได้ติดตามอาจารย์อ่ำไปเยี่ยมญาติที่ คลองราชบูรณะ ไปอยู่ที่ วัดเสือรอด (ปัจจุบันคือเข้าใจว่าเป็นวัดสารอด ต.ราษฎร์บูรณะ เขตราษฎรบูรณะ จ.กรุงเทพฯ) และเข้าเรียนหนังสือ ต่อมาสอบได้ชั้น 2 ได้ที่โรงเรียน วัดนวลนรดิศ คลองบางหลวงแล้ว พระพี่ชายก็ไปรับมาไว้ที่ วัดสุทัศนเทพวราราม ด้วยกัน และได้บวชเณรเรียนหนังสือไทยชั้น 3 มี พระครูเงิน เป็นครูใหญ่ ต่อมาได้เข้าสอบชั้น 3 ที่โรงเรียนโรงเลี้ยงเด็กแล้ว ก็สึกจากเณรกลับบ้านไผ่ดำที่จังหวัดอ่างทอง ไปช่วยโยมบิดาทำนา

จนอายุได้ 20 ปี จึงไปบวชที่ วัดประสาท กับ พระอุปัชฌาย์พูลผู้เฒ่า พระอาจารย์หร่ำ วัดประสาท เป็นคู่สวด กับ พระอาจารย์แพ วัดมหาดไทย พอบวชเสร็จแล้วก็ล่องเรือไปที่ วัดสุทัศนเทพวราราม กับพระปาน ซึ่งเป็นพี่ชายอีก พอดีเป็นวันใกล้เข้าพรรษา ที่วัดสุทัศน์ปิดบัญชีรับพระเสียแล้ว ไม่รับอีกต่อไป พระพี่ชายจึงพาไปฝากไว้ที่ วัดเทวราชกุญชร กับพระประสิทธิคุณ (แดง) เจ้าอาวาส วัดสมอแคลง (ปัจจุบันคือ วัดราชาธิวาสวิหาร ต.วชิระ เขตดุสิต จ.กรุงเทพฯ) 1 พรรษา พอออกพรรษาแล้วพวกญาติได้ไปนิมนต์ให้มาจำพรรษาที่ วัดราชสิทธาราม คือ วัดพลับ ได้ตั้งใจเรียนบาลีอยู่กับ อาจารย์คง อยู่ 2 ปี จึงได้ย้ายไปอยู่ที่ วัดอนงคาราม ไปเรียนมูลกับ อาจารย์ดิสส์ ลูกศิษย์ อาจารย์ช้าง แล้วเรียนบาลีธรรมบทกับ อาจารย์ชวด และ อาจารย์หนู จบ 2 บั้นต้นบั้นปลาย ต่อแต่นั้นช่วยบอกหนังสือขอมแก่นักเรียน และนักธรรมบ้าง เจ้าคุณธรรมโกษาจารย์ เจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก ได้ตั้งให้เป็นฐานาที่สมุห์ แล้วให้ไปคอยรับเสด็จ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่คลองบางปะกอก บางปะแก้ว ธนบุรี เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เสด็จถึงวัดทุ่ง ได้โปรดประทานย่ามสมนุตมาภิเษก 1 ย่าม กับหนังสือ 1 เล่ม นอกจากนี้ พระทิมยังได้เคยถือพานแก้วใส่ด้ายสายสิญจน์ ถวายต่อพระหัตถ์สมเด็จฯอีกด้วย สมเด็จฯ โปรดมาก จึงได้ส่งพระทิม ซึ่งเมื่อบวชแล้วมีฉายาว่า ยสทินฺโน ไปเป็นเจ้าคณะแขวง อำเภอเมือง จ.สุโขทัย และ เมื่อ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เสด็จตรวจคณะสงฆ์ภาคเหนือครั้งใด พระทิม ก็ได้ไปรับเสด็จทุกคราว และครั้งที่สำคัญที่สุดก็คือ ครั้งที่เสด็จเมืองพิจิตรเก่า โดยเสด็จข้ามบึงสีไฟ ซึ่งมีเรื่องราวพิสดารในครั้งนั้นมาก เมื่อสมเด็จฯถึง จ.สุโขทัย ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่ วัดราชธานี ในพรรษานั้นได้จัดตั้ง
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 16 ก.ย. 2556 - 22:45.31
วันปิดประมูล อา. - 29 ก.ย. 2556 - 11:12.38 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
200 บาท อ. - 17 ก.ย. 2556 - 10:00.28
300 บาท อ. - 17 ก.ย. 2556 - 10:01.04
400 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) ส. - 28 ก.ย. 2556 - 11:12.38
500 บาท อา. - 29 ก.ย. 2556 - 10:59.23
600 บาท (auto) อา. - 29 ก.ย. 2556 - 10:59.23
กำลังโหลด...
Top