***เคาะเดียว***พระหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จ.สุพรรณบุรี - webpra

ประมูล หมวด:พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

***เคาะเดียว***พระหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จ.สุพรรณบุรี

***เคาะเดียว***พระหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จ.สุพรรณบุรี ***เคาะเดียว***พระหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จ.สุพรรณบุรี
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง ***เคาะเดียว***พระหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จ.สุพรรณบุรี
รายละเอียดพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ชินราช

หลวงพ่อโหน่งท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2409 ที่ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง สุพรรณบุรี โยมบิดาชื่อ โต โยมมารดาชื่อ จ้อย อาชีพทำนา เมื่ออายุได้ 24 ปี พ.ศ.2433 ท่านก็อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง โดยมีพระอาจารย์จันทร์ วัดทุ่งคอก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดิษฐ์ วัดทุ่งคอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสุด เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่อหลวงพ่อโหน่งท่านมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดคลองมะดัน ท่านฉันภัตตาหารเจ ก่อนออกบิณฑบาตจะมานมัสการต้นโพธิ์ทุกเช้า เมื่อบิณฑบาตกลับมาก็จะใส่บาตรถวายสังฆทาน
หลวงพ่อโหน่งท่านได้นำมารดาของท่านมาอยู่ที่วัดด้วย ปรนนิบัติจนกระทั่งถึงแก่กรรม
หลวงพ่อโหน่งท่านเคร่งครัดในการอบรมสั่งสอนพระเณรและลูกศิษย์วัด ไม่รับเงินทอง เจริญวิปัสสนากรรมฐานในป่าช้าเป็นประจำ ท่านถือสันโดษไม่สะสมทรัพย์สิน ท่านได้สร้างสาธารณูปการเพิ่มขึ้นอีกมากมาย หลวงพ่อโหน่งท่านล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้เสมอ พระเณรทำผิดอะไรที่ไหนท่านรู้หมดโดยที่ไม่มีใครมาบอกท่าน มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงพ่อปานจะไปหาหลวงพ่อโหน่งที่วัดคลองมะดัน หลวงพ่อโหน่งได้บอกกับลูกศิษย์ให้จัดเตรียมที่ทางไว้ วันนี้จะมีพระผู้ใหญ่มาหา และในวันนั้นหลวงพ่อปานก็ไปหาหลวงพ่อโหน่งที่วัดจริงๆ
หลวงพ่อโหน่งท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อวันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2477 สิริอายุได้ 68 ปี พรรษาที่ 44

หลวงพ่อโหน่งท่านได้สร้างพระเครื่อง ไว้ให้แก่ศิษย์เป็นพระเนื้อดินเผา สันนิษฐานว่าท่านสร้างไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2461 โดยใช้เวลาการสร้างนานถึง 10 ปี มีอยู่หลายพิมพ์ด้วยกันเช่น พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์สมเด็จ พิมพ์ท่ากระดาน พิมพ์ชินราช พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์ลีลา พิมพ์ปิดตา พิมพ์ขุนแผน พิมพ์ไสยาสน์ เป็นต้น
การสร้างพระเครื่องของหลวงพ่อโหน่ง ท่านได้ประกาศไปยังชาวบ้านที่ศรัทธานำพระเครื่องของแต่ละคนที่มีมากดลงในดินเหนียวแล้วยกออกมาเพื่อทำเป็นแม่พิมพ์ แล้วเอาแม่พิมพ์นั้นไปสุมไฟให้ดินสุก พอได้เวลาอันเป็นมงคลฤกษ์ท่านก็ให้ชาวบ้านเอาดินเหนียวมากดลงบนแม่พิมพ์นั้น แล้วแคะพระออกมาผึ่งแดดจนเต็มลานวัดพอพระแห้งดีแล้วก็เก็บรวบรวมมากองสุมเผาไฟแบบเผาอิฐ โดยทำการสุมไฟกันตั้งแต่หัวค่ำระหว่างที่สุมไฟหลวงพ่อโหน่งจะมาเดินจงกรมรอบๆกองไฟพร้อมกับบริกรรมภาวนาปลุกเสกไปด้วยจนกระทั่งย่ำรุ่งพระสุกได้ที่ ท่านจึงกลับเข้ากุฏิเพื่อพักผ่อน
พระจำนวนมากที่สร้างหลวงพ่อโหน่งได้เก็บไว้ พอเวลามีการทำบุญที่วัดท่านก็จะนำออกมาแจกผู้ที่มาทำบุญ การแจกพระของหลวงพ่อโหน่งท่านก็จะแจกให้คนละเป็นกำมือ เมื่อมีคนถามว่า “ทำไมแจกมากขนาดนั้น”ท่านก็จะบอกว่า “เอาไปเถอะแล้วเก็บไว้ให้ดี เพราะต่อไปจะหากันไม่ได้”และก็เป็นจริงเพราะพระเครื่องที่ท่านสร้างเป็นหมื่นองค์นั้นปัจจุบันหายากตามที่ท่านพูดไว้จริงๆ
พระเครื่องหลวงพ่อโหน่งนับจำนวนพิมพ์ก็หลายสิบพิมพ์ด้วยกัน ส่วนมากจะเป็นพิมพ์พระกรุ เพราะถอดแบบจากพระเก่ามาส่วนของพระเกจิอาจารย์ก็อย่างเช่นพิมพ์สมเด็จ เป็นต้น ด้านหลังส่วนมากจะเรียบ แต่พระบางองค์ด้านหลังเป็นรอยจารอักขระหรือชื่อคน ซึ่งคนที่มาช่วยกดพิมพ์จะจารด้านหลังกันเองตอนเนื้อพระยังหมาดๆ ส่วนประสบการณ์ของพระเครื่องหลวงพ่อโหน่งที่คนสุพรรณเจออยู่บ่อยๆก็พอสรุปได้ 4 อย่างด้วยกัน
1.เมตตามหานิยม
2.แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ
3.อาราธนาทำน้ำมนต์แก้คุณไสย และภูตผีปีศาจ
4.ไม่ปรากฎพบพระเครื่องหลวงพ่อโหน่งในศพที่มีสภาพอเนจอนาถ(พูดง่ายๆขนาดตายโหงแต่ศพก็ยังสวย)

ปัจจุบันพระเครื่องของหลวงพ่อโหน่งสนนราคาในการเล่นหาจะอยู่ในหลักพันเสียเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นพิมพ์ซุ้มกอที่สวยมากๆก็หลักหมื่นบาท เป็นพระเครื่องอีกสำนักหนึ่งที่น่าเสาะหามาขึ้นคอเป็นอย่างยิ่ง

ราคาเปิดประมูล450 บาท
ราคาปัจจุบัน450 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลพ. - 16 ต.ค. 2556 - 21:10.58
วันปิดประมูล อา. - 20 ต.ค. 2556 - 10:54.27 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 450 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดก่อนกำหนดโดยผู้ตั้งประมูล
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top