@@@ พระปิดตา กรุวัดคลองขอม ### หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ปลุกเสก ### สวยยยยยยยยยยย U2 @@@ - webpra

ประมูล หมวด:พระปิดตาทั่วไป

@@@ พระปิดตา กรุวัดคลองขอม ### หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ปลุกเสก ### สวยยยยยยยยยยย U2 @@@

@@@ พระปิดตา กรุวัดคลองขอม ### หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ปลุกเสก ### สวยยยยยยยยยยย U2 @@@ @@@ พระปิดตา กรุวัดคลองขอม ### หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ปลุกเสก ### สวยยยยยยยยยยย U2 @@@ @@@ พระปิดตา กรุวัดคลองขอม ### หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ปลุกเสก ### สวยยยยยยยยยยย U2 @@@
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง @@@ พระปิดตา กรุวัดคลองขอม ### หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ปลุกเสก ### สวยยยยยยยยยยย U2 @@@
รายละเอียดวัดคลองขอม หมู่ 3 คลองขอม เขตสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อราวปีพุทธศักราช 2460 เจ้าอาวาสวัดคลองขอมในขณะนั้น คือหลวงพ่ออุ่ม ท่านเป็นศิษย์องค์หนึ่งของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าเกี่ยวกับการสร้างพระ หลวงพ่ออุ่มมักไปมาหาสู่กับหลวงปู่ศุขเป็นประจำ หลวงปู่ศุข ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็มักได้รับนิมนต์ให้ไปปลุกเสกพระที่วัดต่างๆ เช่นวัดอนงคาราม ในกรณีนี้ก็เช่นกัน หลวงปู่ศุข ท่านก็ได้มาช่วยสร้างพระเพื่อหาทุนสร้างพระอุโบสถที่วัดคลองขอมแห่งนี้ส่วนหนึ่งของประวัติบรรยายถึงการปลุกเสกพระไว้ว่า ขณะที่นำเอาตำราใบลานเก่าที่ชำรุดมาเผา หลวงปู่ศุข และหลวงพ่ออุ่ม ก็ได้เดินจงกรมทำสมาธิไปรอบๆกองไฟด้วย เชื่อกันว่าผงใบลานนี้ให้ผลทางคงกระพันชาตรีเมื่อสร้างเสร็จ หลวงพ่ออุ่มและหลวงปู่ศุขได้ร่วมกันปลุกเสกเป็นเวลา 1 ไตรมาส (ก่อนเข้าพิธีใหญ่)*
พิธีพุทธาภิเศกพระที่บรรจุในกรุคลองขอม จากที่ลองสอบถามประวัติจากชาวสามชุก เขาบอกว่า การปลุกเสกพระกรุคลองขอม ปีพ.ศ.2460 ในสมัยหลวงพ่ออุ่มเป็นเจ้าอาวาสนั้น เป็นการปลุกเสกหมู่ครั้งใหญ่ โดยมีหลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นประธานในพิธี นอกจากนี้ยังมีพระเกจิอาจารย์จากเขตสุพรรณบุรี ชัยนาทและจากที่อื่นๆที่เก่งๆอีกหลายท่าน มาร่วมปลุกเสก แต่ที่รู้จักกันดีได้แก่ หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว, หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา แม้กระทั่งหลวงพ่อปาน แห่งวัดบางนมโค ก็มาร่วมพิธีนี้ด้วย หลังจากนั้นก็แจกแก่บรรดาผู้มาร่วมการกุศล กล่าวกันว่า เมื่อโบสถ์สร้างเสร็จ พระผงยังคงเหลืออยู่จำนวนมาก ส่วนเนื้อทองเหลืองเหลือน้อย หลวงพ่ออุ่ม ได้บรรจุพระเข้าในเจดีย์ที่สร้างขึ้นหน้าโบสถ์ และใต้ฐานชุกชีพระประธานในโบสถ์ พร้อมกับบันทึกเหล็กจารในแผ่นเงิน ระบุความเป็นมาของพระชุดนี้บรรจุเข้าไปในพระเจดีย์ด้วย และที่เจดีย์นั้นได้มีการเขียนป้ายปิดไว้ว่าเป็นกรุพระของหลวงปู่ศุขอย่างชัดเจน
แบบพิมพ์ของพระในกรุวัดคลองขอม สุพรรณบุรีนี้มีหลายแบบด้วยกัน
1. เหรียญหล่อ เนื้อโลหะผสม แก่ทองเหลือง เป็นสมเด็จสี่เหลี่ยมทรงครุฑ มีหลายพิมพ์ เนื้อโลหะนี้รู้จักกันในวงกว้าง เพราะส่วนหนึ่งหลวงปู่ศุขท่านนำติดตัวไปแจกที่ชัยนาทด้วย
2. พระเนื้อผงใบลาน เนื้อแห้งสนิท สีออกเทาดำ ทำเป็นพิมพ์สมเด็จรัศมีแขนสอบ ขนาดเท่าพระหลวงปู่ศุขทั่วๆไป หรือเท่ากับพระคะแนนของวัดต่างๆ พุทธลักษณะจะผอมเห็นองค์เป็นลายเส้น พระเศียรเป็นรูปข้าวหลามตัด หูเป็นแบบบายศรี มีเส้นรัศมีเล็กๆโดยรอบ ครอบด้วยซุ้มระฆัง และประทับบนฐาน 3 ชั้น มีด้วยกันหลายบล็อค เพราะสร้างพิมพ์นี้เป็นพิมพ์หลัก ที่เป็นพระปิดตาเนื้อดำลงรักทับ มีน้อยมาก
3. พระเนื้อผงขาว มีหลายพิมพ์ด้วยกัน ได้แก่
- พิมพ์สมเด็จรัศมีแขนสอบ มีหลายบล็อค
- พิมพ์สมเด็จรัศมีแขนกลม (องค์พระต้อกว่า เศียรกลม และเส้นสายใหญ่ วงแขนเป็นรูปวงกลม)
- พิมพ์ปิดตา มีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก
- พิมพ์พิเศษ หรือพิมพ์พระประธาน มีขนาดใหญ่เท่ากับสมเด็จพิมพ์ใหญ่ และที่ขนาดใหญ่มากเกือบคืบก็มีแต่พบน้อย มีด้วยกัน 3-4 พิมพ์ เนื้อหาเหมือนกับพระพิมพ์เนื้อขาวปกติทุกประการ บางองค์ปิดทองด้วย หาคนรู้จักได้น้อย ปัจจุบันหาชมยากมาก
4. พระเนื้อผงสีชมพู เป็นเนื้อที่ผสมว่านสบู่เลือด ซึ่งมีสีแดง ว่านนี้มีผลทางอยู่ยงคงกระพัน เมื่อผสมกับผงพระพุทธคุณแล้วทำให้มีสีขาวเจือชมพู ที่พบทำเป็นพิมพ์สมเด็จรัศมีแขนสอบ ลักษณะเหมือนๆกันแต่ก็มีหลายบล็อค พิมพ์แขนกลมมีเป็นส่วนน้อยมาก
การแตกกรุ
ในคราวที่แตกกรุมาใหม่ๆ เมื่อประมาณปี 2520 ว่ากันว่ามีจำนวนมากมาย เซียนส่วนกลางได้เหมามาเป็นจำนวนมากเป็นค่อนกรุเลยทีเดียว แล้วนำมาเก็บเงียบไว้นาน จนประมาณสิบก่อนได้ลงในหนังสือมหาโพธิ์เป็นเจ้าแรก ให้ลูกค้าตัดบัตรไปแลกซื้อ และต่อมาก็มีข่าวว่ามีหนังสือเล่มอื่นทำด้วยเหมือนกัน
เกี่ยวกับการแตกกรุ ได้ฟังจากเซียนผู้ใหญ่ที่ได้พระมาตั้งแต่ครั้งแตกกรุใหม่ๆเป็นจำนวนมาก
ท่านว่ากรุที่อยู่ใต้พระประธานอุโบสถวัดคลองขอมแตกออกมาเนื่องจากหลังคารั่ว น้ำฝนได้ตกลงมาที่องค์พระเป็นเวลานาน ทำให้ฐานด้านหนึ่งขององค์พระผุและหักล้มลงพิงกำแพง ชาวบ้านต้องช่วยกันยกไว้วางข้างๆตำแหน่งเดิมจึงได้พบกรุที่บรรจุพระพิมพ์เป็นหลุมขนาดใหญ่ สภาพกรุมีสองชั้น พระที่อยู่ชั้นบนผิวพรรณสะอาด ชั้นล่างมีน้ำฝนไหลซึมผ่าน ขังแล้วแห้งไปๆ เมื่อได้นำพระขึ้นมา ปรากฎมีทั้งดินทรายจับเป็นจำนวนมาก ทางวัดได้นำมากองเรียงๆไว้เป็นก้อนใหญ่บ้าง เล็กบ้าง พระมีดินจับอยู่เต็ม และติดกันเป็นก้อน พอจะนับแยกองค์ ก็ต้องเอาน้ำหยอดแล้วเอาอะไรค่อยๆเซาะพระออกจากกันทีละน้อยๆ ซึ่งพวกพระกรุที่เก็บในชั้นล่างนี้จะเป็นพระที่หย่อนงาม
อีกจุดหนึ่งคือกรุพระที่อยู่ภายในเจดีย์ ซึ่งได้ถูกคนร้ายแอบเจาะจนชำรุด ทางวัดจึงได้ปรึกษาคณะกรรมการทำการเปิดกรุ พบพระเครื่องเหล่านี้บรรจุอยู่มากมาย ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง(กรุงเทพ สุพรรณและชัยนาท)ต่างก็พามาเช่าหากันหมดเกลี้ยงไปอย่างรวดเร็ว ฟังเรื่องเล่าแล้วก็อยากจะเห็นบรรยากาศการพบพระจริงๆมั่งเลยครับ..
ปัจจุบันของแท้สวยแบบกริบๆ ออกจะหาชมยากแล้ว ตามตลาดที่ไปเดินดูด้วยตัวเอง โดยมากจะมีแต่สภาพหย่อนงามหรือแค่พอใช้ แต่ว่าพระราคาเบาๆอย่านึกว่าไม่มีทำเทียมนะครับ ผมเคยเห็นมาแล้ว (ที่พบเป็นสีดำ) แบบหนึ่งจะมีสีเข้มดำปี๋เนื้อสดใหม่ อีกแบบจะเป็นเนื้อสีน้ำตาลมีคราบดินจับ แต่ไม่มีจุดดำในเนื้อ และพิมพ์ผิดไม่ถูกต้อง (ให้สังเกตว่าทุกพิมพ์หูจะเป็นบายศรี >0<) เนื้อพระของแท้ สีดำจะออกเทาเข้ม และต้องแห้งเหมือนผงธูป มีจุดสีดำในเนื้อ เนื้อสีขาวจะต้องมีการหดตัวโค้งงอ มีรอยเหนอะจากการกดพิมพ์ บางองค์จะมีคราบน้ำมันตั้งอิ้ว สำคัญเนื้อต้องมีความแห้งเก่า คราบที่อยู่บนพระจะเป็นดินเหนียว(เลอะทีหลัง)หรือทรายคราบปลวกดินทราย อิฐแดง ก็แล้วแต่ที่บรรจุพระสำหรับตอนนี้พระจำนวนมากๆยังจำพรรษาอยู่ในกรุในรังใหญ่เจ้าละมากๆ ทำให้ไม่เป็นที่แพร่หลายหรือรู้จักเท่าที่ควร ที่มีออกมาให้เห็นโดยมากเป็นของเก็บเก่าของชาวบ้าน แต่พระเนื้อผงมีจำนวนค่อนข้างมาก ราคาจึงยังไม่สูง อย่างไรถ้าคิดจะเก็บก็ควรเก็บช่วงนี้ละครับ พระชุดนี้แม้แต่ต่างชาติที่นับถือหลวงปู่ศุข อย่างชาวสิงค์โปร์ มาเมืองไทยทีก็จะกว้านซื้อไปทีนึงเยอะๆเหมือนกัน และถ้าพูดถึงในระดับวงการ ก็มีงานประกวดกันมานานแล้วนะครับค่านิยมปัจจุบันยังไม่สูงนักเมื่อเทียบกับคุณค่า แต่เชื่อว่าเมื่อผู้คนได้ทราบข้อมูลว่าหลวงปู่ศุขท่านได้ปลุกเศกไว้และเป็นพระเก่ามีเกือบร้อยปี (เพราะเนื้อพระท่านเก่าจริงๆครับ ไม่เชื่อลองหาองค์แท้ๆมาเทียบกันกับพระผงรุ่นใหม่อย่างพระวัดประสาทปี 06 จะพบว่าพระกรุคลองขอมนั้นมีความแห้งกว่ากันอย่างมาก) ถ้าได้ลองศึกษาดูจะพบความกระจ่างเมื่อนั้น และเมื่อมีผู้ที่รู้จริงสนใจสะสมกัน อีกหน่อยคนก็คงจะต้องหันมาเล่นมานิยมเก็บพระกรุนี้กันอย่างแน่นอนครับ
ราคาเปิดประมูล400 บาท
ราคาปัจจุบัน430 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ30 บาท
วันเปิดประมูลพ. - 30 ต.ค. 2556 - 01:17.09
วันปิดประมูล ศ. - 01 พ.ย. 2556 - 08:26.34 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 430 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ30 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
430 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พฤ. - 31 ต.ค. 2556 - 08:26.34
กำลังโหลด...
Top