เหรียญ พระครูวิชิตธรรมคุณ วัดลำดวน จังหวัดสุรินทร์ - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิภาคอีสานใต้

เหรียญ พระครูวิชิตธรรมคุณ วัดลำดวน จังหวัดสุรินทร์

เหรียญ พระครูวิชิตธรรมคุณ  วัดลำดวน  จังหวัดสุรินทร์ เหรียญ พระครูวิชิตธรรมคุณ  วัดลำดวน  จังหวัดสุรินทร์ เหรียญ พระครูวิชิตธรรมคุณ  วัดลำดวน  จังหวัดสุรินทร์ เหรียญ พระครูวิชิตธรรมคุณ  วัดลำดวน  จังหวัดสุรินทร์
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญ พระครูวิชิตธรรมคุณ วัดลำดวน จังหวัดสุรินทร์
รายละเอียดเหรียญรุ่นแรก พระครูวิชิตธรรมคุณ (ชิต) วัดลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ สร้างปี พ.ศ. 2509 พิมพ์ยันต์เล็กเนื้อทองฝาบาตร สภาพพอสวย ณ เวลานี้หายากแล้วเพราะสายตรงเก็บหมด เนื่องจากประสบการณ์ล้วน ๆ ซึ่งสมัยก่อนแถวนั้นยังเป็นชุมชนไกลปืนเที่ยง ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนในพื้นทีเคารพนับถือท่านมาก เนื่องจากท่านค่อยให้การช่วยเหลือชาวบ้านทุกอย่าง ทั้งการรักษาโรคด้วยสมุนไพรและการขจัดปัดเป่าผีเข้าเจ้าทรงด้วยพุทธาคมที่ท่านเชี่ยวชาญชนิดหาตัวจับยาก แต่ท่านชอบอยู่เงียบ ๆ เกียรติคุณจึงไม่ค่อยแพร่หลาย เรื่องพุทธคุณครอบจักรวาลไม่ต้องโม้ให้เสียเวลาจ้า สำหรับท่านที่กำลังมองหาวัตถุมงคลดีราคาย่อมเยา เรามีวัตถุมงคลหลายรายการไว้บริการท่าน ตามลิงค์นี้เลยจ้า http://www.web-pra.com/Shop/silalad

ประวัติพระครูวิชิตธรรมคุณ
พระครูวิชิตธรรมคุณ เกิดเมื่อวันที่ 10 ธ.ค 2434 ตรงกับวันพฤหัสบดีขึ้น 10 ค่ำเดีอนอ้าย ปีมะโรง ณ หมู่ 1 ต.บึง อ.เมือง จ.สุรินทร์ พระครูวิชิต เป็นบุตรคนสุดท้องนามเดิม ชื่อว่า ชิต สายยศ บิดาชื่อ เทิง มารดาชื่ออิฐ สายยศ มีพีชายชื่อ เป็น
ต่อมาเมื่อท่าน อายุได้ 13 ขวบ มารดาก็ได้สิ้นบุญ ต่อมาบิดา ได้พาหลวงปู่กับพีชายอพยพออกจากบ้านเกิดมาตั้งหลักปักอาชิพที่บ้านลำดวน อีกไม่นานบิดาได้แต่งงานไหม่ ชึ่งเป็นหม้ายลูกติด 4 คน ชื่อนางดาแล้วอพยพจากบ้านลำดวนไปอยู่บ้านศรีภูมิพร้อมกับแม่เลี้ยงตลอดเวลาที่หลวงปู่ดำรงชีวิตอยู่กับแม่เลี้ยงนั้น ชีวิตความเป็นอยู่ไม่ค่อยจะราบรึ่นและมีความสุขเท่าที่ควรนักหลวงปู่เป็นคนชอบสันโดษเงียบขรึมดังนั้น จึงถูกแม่เลี้ยงกลั่นแกล้งต่างๆนาๆด้วยเหตุนี้เองหลวงปู่จึงได้ออกจาก บ้านศรีภูมิมาอาศัยเป็นลูกศิษย์วัดบ้านลำดวนกับหลวงปู่แสงโดยบิดานำมาฝากในระหว่างนั้นหลวงปู่แสงเป็นเจ้าอาวาสวัดลำดวนหลวงปู่แสงได้อุปการะเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนหลวงปู่เป็นอย่างดี ท่านก็ได้ศึกษาเล่าเรียนด้วยความขยันหมั่นเพียรเป็นศิษย์ที่ดีของหลวงปู่แสง ต่อมาเมื่อมีอายุครบ 15 ปี ได้บวชเป็นสามเณรแล้วได้ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยต่างๆตลอดจนศึกษาภาษาขอมจนสามารถอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี
ต่อมาในวันอังคารที่ 13 พ.ค.ขึ้น15ค่ำปีชวด พ.ศ.2455 จึงได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดบ้านเพี้ยราม หมู่1 ต. เพี้ยราม อ. เมือง จ. สุรินทร์ โดยได้รับเมตตาจากคุณพ่อตัน แม่ล้วน พะนิรัมย์ เป็นเจ้าภาพให้ มีพระอาจารย์มอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์โล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์แสง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่าพุทธสาโร และมาจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านลำดวนโดยตลอดมา

การศึกษา ในเบื้องต้นแห่งการอุปสมบท เนื่องจากหลวงปู่มีพื้นฐานในการศึกษาพระธรรมคัมภีร์ และภาษาขอมมาก่อนในคราวเป็นเณร ดังนั้นจึงได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ตามแบบมูลศึกษาเดิมที่มีอยู่ในสำนักของพระอาจารย์แสง และในเวลาต่อมาหลวงปู่ได้จารึกอักษรขอม ไว้ในพระพุทธศาสนาหลายพระคุมภีร์ จะเห็นได้ว่าหลวงปู่มีความขยันหมั่นเพียรต่อการศึกษาเล่าเรียนเป็นอย่างมากจึงเป็นตัวอย่างที่ดีและสมควรอย่างยิ่งที่ศิษยานุศิษย์สมควรเอาเป็นเยี่ยงอย่างที่ดีนี้ไว้ในการศึกษาหาความรู้สืบต่อไปหลวงปู่สำเร็จสมณศักดิ์ฝ่ายสงฆ์โดยเป็นผู้บริสุทธิ์ในทางธรรมและวินัยอยู่ในกฏเกณฑ์ไม่มีมลทินมีน้ำใจอันประเสริฐเมื่อหลวงปู่สำเร็จการศึกษาตามแบบโบราณแล้ว พระคุณท่านก็ยังไม่นี่งนอนใจยังค้นคว้าเรียนหนังสือไทยต่อเพื่อเพิ่มเติมความรู้ของท่านอีก ในสมัยนั้นพึ่งมีครูสอนภาษาไทยเป็นคนแรกของบ้านลำดวน

การเลื่อนตำแหน่ง
พ.ศ.๒๔๕๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดลำดวน
พ.ศ.๒๔๖๑ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดลำดวน
พ.ศ.๒๔๘๒ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.๒๔๘๓ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลลำดวน
พ.ศ.๒๔๙๒ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอธิการชิต
พ.ศ.๒๔๙๖ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูวิชิตธรรมคุณ
พ.ศ.๒๕๑๕ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท
นอกจากตำแหน่งทางการปกครองต่างๆแล้ว ท่านได้วางระเบียบเกี่ยวกับการปกครองวัด และให้ความสนใจต่อการปกครองคณะสงฆ์ตามลำดับชั้น ตลอดทั้งให้ความร่วมมือต่อคณะสงฆ์ในทุกกรณีด้วยดีเสมอมาตลอดทั้งได้เอาใจใส่ดูแลตักเตือนคณะสงฆ์ในเขตปกครองอย่างสมํ่าเสมอ

งานด้านการเผยแผ่
หลวงปู่ได้ตระหนักถึงความดำรงอยู่แห่พระสัทธรรมอย่างยวดยิ่ง โดยให้ความสนใจต่อการเผยแผ่พระพุทธธรรม และนำประชาชนปฏิบัติธรรมอย่างสมํ่าเสมอโดยเฉพาะในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนามิเคยขาด ท่านให้การศึกษาแก่พระสงฆ์ใต้ปกครองให้เข้าใจถึงระเบียบปฏิบัติในพระวินัยในกฎมหาเถรสมาคมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการปกครองของคณะสงฆ์ไทย โดยยึดหลักว่าผู้เผยแผ่ที่ดีจะต้องเป็นนักปกครองที่ดีด้วยและประการสำคัญที่สุด หลวงปู่ท่านเป็นผู้มีสมาธิจิตสูง ได้แผ่เมตตาธรรมปกป้องพิทักษ์เหล่าศิษยานุศิษย์อย่างสมํ่าเสมอ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ด้วยเหตุนี้เองเหล่าพุทธศาสนิกชนจึงหลั่งไหลเข้ามารับนํ้าพระพุทธมนต์จากท่านวันละมากๆ จนแทบไม่มีเวลาเป็นของตน ท่านมักอวยพรแก่ผู้มารับนํ้าพุทธมนต์เป็นเชิงเปรียบเทียบบ่อยๆว่า "นํ้าเป็นของเย็นมีคุณช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกได้อย่างดีฉันใด ใจคนเยือกเย็นย่อมมีอุปการะช่วยให้คนคิดแก้ไขอุปสรรคได้อย่างสุขุมรอบคอบฉันนั้น" ดังนั้นทุกคนควรทำใจให้เย็นดุจนํ้าได้ช่วยชำระล้างมลทินในใจออกไปได้ นอกจากนี้ท่านยังได้รับภาระในการให้การศึกษาอบรมแก่เด็กนักเรียนตลอดทั้งจัดให้มีการอภิปราย-สนทนาธรรมขึ้นที่วัดเป็นประจำทุกวันพระในเทศกาลเข้าพรรษา ท่านได้ให้ความร่วมมือกับทางคณะสงฆ์ โดยให้ความสะดวกแก่พระธรรมทูตที่ทำการอบรมเผยแผ่หลักธรรมมาโดยตลอด นอกจากนี้มีคุณลักษณะพิเศษของท่านที่ควรกล่าวถึงคือ การประกาศหลักคำสอนด้วยวิธีการปฏิบัติมาให้เป็นตัวอย่าง คุณธรรมดังกล่าวของท่านคือ " ความเป็นผู้นิ่ง " ท่านปรารภเสมอว่าหลักคำสอนของพระบรมครูนั้น บางอย่างสอนโดยการพูด บางอย่างสอนโดยทางกาย และบางอย่างสอนโดยทางใจ เมื่อมีสิ่งไม่ต้องการเกิดขึ้นท่านจะสำรวมกาย วาจา ใจเป็นสมาธิด้วยความเป็นผู้นิ่งเพื่อให้เกิดความสงบ และนี้คือจุดสุดยอดแห่งการประกาศพระศาสนาที่มีประสิทธิภาพ เพราะท่านถือว่าการณ์ทุกอย่างจะดำเนินตามหลักพุทธธรรมก็ต่อเมื่อเกิดความสงบในหมู่คณะนั่นเอง

งานด้านสาธารณูปการ
หลวงปู่ได้สร้างถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนาตามลำดับดังนี้
พ.ศ.๒๔๖๐ สร้างกุฏิที่วัดลำดวน ๑ หลัง
พ.ศ.๒๔๖๖ สร้างกุฏิที่วัดลำดวนอีก ๑ หลัง
พ.ศ.๒๔๖๗ สร้างศาลาการเปรียญวัดลำดวน
พ.ศ.๒๔๗๔ สร้างอุโบสถวัดลำดวน
พ.ศ.๒๔๘๔ สร้างอุโบสถวัดหนองพลวง
พ.ศ.๒๔๘๖ สร้างกุฏิที่วัดชุมแสง ต.หนองใหญ่ อ.สตึก
พ.ศ.๒๔๘๘ สร้างศาลาการเปรียญวัดบ้านตามา
พ.ศ.๒๔๙๐ สร้างกุฏิที่วัดกุดโคลน
พ.ศ.๒๔๙๙ สร้างโรงเรียนประชาบาลที่วัดลำดวน
สร้างกุฏิที่วัดลำดวนอีก ๑ หลัง
สร้างโรงเรียนบ้านยาง
ขุดลอกสระนํ้าวัดลำดวน
พ.ศ.๒๕๐๓ สร้างโรงเรียนประชาบาลที่บ้านห้วยสำราญ
พ.ศ.๒๕๐๕ สร้างโรงเรียนประชาบาลที่วัดกุดโคลน
พ.ศ.๒๕๐๗ สร้างโรงเรียนประชาบาลที่บ้านยาง
พ.ศ.๒๕๐๘ สร้างโรงเรียนประชาบาลที่บ้านแซว
สร้างกุฏิที่วัดหนองใหญ่
พ.ศ.๒๕๐๙ สร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นที่วัดลำดวน พระคุณท่านเคยปรารภอยู่เสมอ ว่ายังขาดปัจจัยเป็นเรื่องสำคัญไม่สามารถที่จะสร้างอุโบสถขึ้นได้และมีนายประสงค์ สุขประจักษ์ทอง ร่วมหาปัจจัยในการสร้างอุโบสถครั้งนั้นด้วย โดยการขออนุญาตสร้างเหรียญของพระคุณท่านขึ้นเพื่อบูชา หารายได้ในการสร้างอุโบสถ จึงได้สร้างเหรียญรุ่น ๑ ขึ้นมีจำนวนทั้งสิ้น๕๙๐๐เหรียญ และพระคุณท่านได้แจกจ่ายให้แก่ศิษยานุศิษย์เพื่อบูชา บูชาเหรียญละ ๑๐-๑๐๐บาทด้วยความเลื่อมใสศรัทธาของคณะศิษย์ทั้งหลายในการบูชาเหรียญของพระคุณท่าน และเหรียญได้หมดไปจึงได้สร้างเพิ่มขึ้นเรื่อยมาใหม่ทั้งหมดมีถึง ๗ รุ่นและเป็นรุ่นสุดท้าย

ปัจฉิมวัย
พระครูวิชิตธรรมคุณ เป็นผู้มีร่าง เล็กและแข็งแรงปกติเป็นผู้มีโรคน้อย ไม่ค่อยจำเป็นในการรักษาพยาบาลมากนัก นอกเสียจากไข้หวัด เล็กน้อย ธรรมดาของสังขาร ชึ่งนับว่าเป็นลาภอันประเสริฐของท่าน จวบจนสิริมายุลุถึงปีที่๙๑
วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๕ ท่านได้อาพาธลง มีอาการรับประทานอาหารตามปกติมิได้และไข้ขึ้นสูง พระคำรน กตปุญฺโญ(พระครูประดิษฐ์วราลังการ) ซึ่งเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดได้ไปตามนายแพทย์สมาน ทิพยางค์ นายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกระสัง มาทำการตรวจอาการไข้ถวาย
วันที่ ๒ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๒๕ ท่านนายแพทย์สมานพร้อมด้วยพยาบาลหลายท่านได้ไปตรวจเยี่ยมอาการอีกครั้งหนึ่งเมื่อเห็นอาการไข้สูงขึ้นกว่าปกติ จึงได้ลงความเห็นพร้อมกันว่าสมควรอาราธณาท่านไปพักรักษาที่โรงพยาบาลกระสัง เพราะเป็นการสะดวกในเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ พระคำรน พร้อมด้วยอุบาสก อุบาสิกา ได้อาราธณาหลวงปู่เข้ารับการรักษายังโรงพยาบาลกระสัง ท่านนายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกระสังพร้อมด้วยพยาบาลทุกท่านได้ถวายการรักษาพยาบาลหลวงปู่อย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากหลักสัจจะแห่งพุทธธรรมมีอยู่ว่า "สพฺเพสังขาราอนิจจา" สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่ทนอยู่ได้ตลอดไป มีวันต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหลวงปู่ก็เป็นสังขารกองหนึ่งได้ปรุงแต่งและดำรงอยู่ตามกาลอันสมควรและในที่สุดหลวงปู่ก็ได้ละสังขารด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๒๕
ณ โรงพยาบาลกระสัง ท้ามกลางความโศกเศ้าอาลัยของเหล่าศิษยานุศิษย์และมวลศาสนิกชนทั้งหลาย สิริรวมอายุได้ ๙๑ ปีพรรษา ๗๐

จบเพียงเท่านี้
พุทธานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า
ธัมมานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม
สังฆานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์
ตลอดจนเดชะบารมีของหลวงปู่ขอจงคุ้มครองดลบันดาลประทานพรให้ผู้ติดตามประวัติของหลวงปู่พระครูวิชิตธรรมคุณจงประสบแต่ความสุข ความเจริญ จงประสบด้วยพรทั้ง ๔ประการคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภานธนสารสมบัติ ธัมสารสมบัติทุกทิวาราตรีกาลด้วยกันทุกคนทุกท่านเทอญ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 05 พ.ย. 2556 - 16:10.14
วันปิดประมูล จ. - 18 พ.ย. 2556 - 19:56.28 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
150 บาท อ. - 05 พ.ย. 2556 - 20:14.33
250 บาท อ. - 05 พ.ย. 2556 - 20:15.14
300 บาท อ. - 05 พ.ย. 2556 - 20:15.28
500 บาท อา. - 17 พ.ย. 2556 - 19:55.46
600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อา. - 17 พ.ย. 2556 - 19:56.28
กำลังโหลด...
Top