
ประมูล หมวด:พระสมเด็จทั่วไป
วัดใจ เคาะแรก !!สมเด็จปรกโพธิ์หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน จ.อยุธยา เนื้อดินเผา ยุคต้น


ชื่อพระเครื่อง | วัดใจ เคาะแรก !!สมเด็จปรกโพธิ์หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน จ.อยุธยา เนื้อดินเผา ยุคต้น |
---|---|
รายละเอียด | * หลวงปู่ยิ้มสิริโชติ ( พระครู พรหมวิหารคุณ ) หลวงปู่ยิ้มสิริโชติ เป็นคนดี ศรีอยุธยา เลือดคุ้งน้ำเจ้าเจ็ด…นามเดิม ยิ้ม กระจ่าง เป็นบุตรนายอ่วม นางสุด กระจ่าง ท่านเกิดที่ตำบลเจ้าเจ็ดอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดที่บ้านสาลี หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านแถว อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๑๘ (จันทรคติ วันเสาร์ -- ค่ำ เดือน – ปีกุน จ.ศ. ๑๒๓๗ ) มีพี่น้องร่วมบิดา มารดารวม ๓ คน คือ ๑. นายจ่าง กระจ่าง ๒. พระครูพรหมวิหารคุณ (ยิ้ม สิริโชติ) ๓. นายโชติ กระจ่าง โยมที่บ้านมีอาชีพทางกสิกรรม ทำไร่ ทำนาบรรพชาเป็นสามเณรมาตั้งแต่อายุได้ ๑๒ ขวบ พ.ศ. ๒๔๓๐ อุปสมบท เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ณ พัทธสีมา วัดเจ้าเจ็ดนอก มีพระอาจารย์สิน วัดโพธิ์ เป็นอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จาดเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สุ่มเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย ขนบธรรมเนียมประเพณีทางศาสนา ศึกษาพระคัมภีร์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน เขียนอักขระเลขยันต์ ลบผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ ผู้สืบสานวิชาอาคมมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า…คือพระอาจารย์จาด และพระอาจารย์จีน สำนักวัดเจ้าเจ็ดใน ( พระอาจารย์จีน เป็นพระอาจารย์สอนอักขร สมัยให้กับ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ในครั้งนั้นด้วย ) พออายุ ๑๘ ปี ก็ย้ายไปศึกษาที่วัดกระโดงทอง ภายใต้การปกครองของหลวงพ่อบุญมี สำเร็จยันต์นะ ปัดตลอด และสามารถเขียนยันต์ผงทะลุแผ่นกระดานชนวนได้อย่างอัศจรรย์ ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเจ้าเจ็ดใน ต่อจากพระอุปฌาย์ ปั้น ในสมัยนั้นวัดเจ้าเจ็ดใน ได้แบ่งออกเป็น ๓ คณะ โดยมีหลวงปู่ยิ้ม เป็นเจ้าคณะเหนือ หลวงปู่โฉม เป็นเจ้าคณะใต้ และหลวงปู่คำ เป็นเจ้าคณะตะวันออก และหลวงปู่ยิ้มยังเป็นเจ้าคณะตำบลเจ้าเจ็ด เป็นพระครูกรรมการศึกษาและเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘ ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็น พระครูพรหมวิหารคุณ พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นเจ้าคณะอำเภอบางซ้าย มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๙ รวมอายุได้ ๘๒ ปี ครั้งเมือหลวงปู่ยิ้ม ยังมีชีวิตอยู่ท่านเป็นพระที่อุดมด้วย ศีลลาจารวัตร ตลอดชีวิตของหลวงปู่ เป็นพระที่อารมณ์เย็น เคร่งครัด แต่มีเมตตาธรรมสูง พูดน้อย และมีผู้คนไปกราบนมัสการหาสู่ท่านมิได้ขาด พระเกจิอาจารย์ดังแห่งกรุงศรีอยุธยา, ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามอินโดจีน หลวงปู่ยิ้ม มีพระสหธรรมมิกที่ร่วม ครู-อุปัชฌาย์ อาจารย์องค์เดียวกันในยุคนั้นคือ หลวงพ่อจงวัดหน้าต่างนอก ซึ่งมีอายุมากกว่าหลวงปู่ยิ้ม ๓ ปี อีกรูปหนึ่งคือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเกิดปีเดียวกับหลวงปู่ยิ้ม มีญาติโยมที่เป็นนักเลงสมัยนั้นได้ตั้งสมญานามให้ดูน่ากลัวว่า “ สามเสือแห่งกรุงเก่า ” หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน จ. พระนครศรีอยุธยา เป็นอาจารย์ร่วมสมัยเดียวกับ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ท่านจึงเป็นพระอาจารย์อาวุโส มรณภาพเมื่อปี ๒๔๙๙ (อายุ ๘๑ ปี) หลังหลวงพ่อปาน ๑๘ ปี ( ๒๔๙๙ - ๒๔๘๑ ) แต่ก่อนหลวงพ่อจงราว ๘ ปี ( ๒๔๙๙ – ๒๕๐๗ ) วัดของท่านเหล่านี้อยู่ไม่ไกลกันนัก ท่านเป็นสหธรรมมิก และคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี จนชาวอยุธยาเรียกกันติดปากว่า “ พระหมอหลวงพ่อปาน เกจิอาจารย์หลวงพ่อจง เมตตาไหลหลง หลวงพ่อยิ้ม” หลวงพ่อทั้ง ๓ มีความสนิทสนมกลมเกลียวกันยิ่งนัก ต่างคนต่างผลัดไปมาหาสู่ต่อวิชา ซึ่งกันและกันที่วัดของแต่ละองค์ ครั้งละหลายๆ วันชาวกรุงเก่าที่รู้ซึ้ง จึงกระซิบต่อๆ กันว่า พระเครื่องของทั้ง ๓ องค์นี้พุทธคุณขลังเหมือนกัน ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี เมื่อต่างองค์ต่างสร้างพระเครื่องฯ เพื่อสืบทอดพระศาสนาต่างก็มานั่งปรกพุทธาภิเษก แทบทุกๆครั้งไป….. เหตุการณ์สำคัญ อธิเช่นการปลุกเสกทราย และขึ้นเครื่องบินโปรยลงสถานที่สำคัญๆ ในประเทศไทย เมื่อครั้งสมัยสงครามอินโดจีนฯ ช่วง พ.ศ. ๒๔๘๕ ฝรั่งเศสที่ต้องการจะยึดดินแดนของไทยเป็นประเทศใน อานานิคม มีผลร้ายแรง พอๆ กับ สงครามโลกครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นเรื่องของความสามัคคี เพื่อให้สถาบันชาติอยู่ได้ สถาบันศาสนาอยู่ได้ และสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ได้ และสืบต่อพระศาสนา ให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป. หลวงปู่ยิ้มท่านได้สร้างวัตถุมงคล ตั้งแต่ปี ๒๔๗๕ มีชื่อทางด้านพระงบน้ำอ้อยเนื้อดินเผา และพระพิมพ์เนื้อดินเผาพิมพ์ต่างๆ ซึ่งให้ผลทางด้านโชคลาภ เมตตา แคล้วคลาด และคงกระพันฯโดยวัตถุมงคลต่างๆ สร้างไว้เพื่อเป็นที่ระลึก แก่ผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ในการปฏิบัติบูชา อามิสบูชา บูรณปฏิสังขรณ์วัด ทำนุบำรุงศาสนา และสานต่อ หรือสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้แก่ชนรุ่นหลังหรือเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็น พุทธานุสติ ธรรมมานุสติ และสังฆานุสติ มิได้สร้างไว้เพื่อหลงงมงายในอิทธิปาฏิหาริย์ อิทธิปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากจิตศรัทธา เกิดจากสัจจะธรรม, กรรม คือการกระทำ ของผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ…… พระเครื่องของหลวงปู่ยิ้มที่รู้จักกันดีก็คือ พระงบน้ำอ้อย ทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก เนื้อพระเป็นดินเผาสีหม้อใหม่ เนื้อดินแบบเดียวกับของหลวงพ่อปาน แห่งวัดบางนมโค ส่วนพระเครื่องที่ท่านสร้างนอกจากพระงบน้ำอ้อย แล้วยังมีพระสมเด็จฯ พิมพ์ปรกโพธิ์ พระสมเด็จฯ พิมพ์รัศมี พระร่วงทรงยืนประทานพร พระพุทธทรงเดินลีลา พระพุทธชินราช พระพิมพ์ขุนแผน พระโคนสมอ พระกลีบบัว พระนางพญาพิมพ์ฐานบัว พิมพ์แขนอ่อน พิมพ์หยดน้ำพระหลวงพ่อโต พระพุทธทรงหนุมาน (หันซ้าย-ขวา และเศียรโต) พระปิตตา และนางกวัก ซึ่งเป็นพระเนื้อดินเผาสีหม้อสีหม้อใหม่สีน้ำตาลอิฐ, สีขาวนวล, เนื้อสีเทาอมน้ำตาล, สีเทาอมเขียว, เนื้อเขียวมอยแบบเนื้อผ่านไฟ ซึ่งเป็นพระยุคแรกๆ บางองค์จะทาทับด้วยสีบรอนซ์ทอง หรือสีบรอนซ์เงิน (ให้ดูสวยงาม ) ด้านหลังองค์พระจะมีรอยเสี้ยนไม้กระดาน เนื้อพระจะมีดินทรายละเอียดปนอยู่ มีอายุการสร้างไม่ต่ำกว่า ๕๐ปี ซึ่งพระเครื่องส่วนใหญ่จะสร้างเป็นแบบลักษณะพระกรุเก่าสมัยสุโขทัย กำแพงเพชร หรือพระกรุสมัยต่างๆ ที่มีอายุมากกว่า ๒๐๐ปี หรือว่ามีลักษณะแบบพระโบราณจารย์ เช่นงบน้ำอ้อยของหลวงพ่อเนียม วัดน้อย พระชินราช และพระพิมพ์ขุนแผนหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน พระสมเด็จพิมพ์รัศมีของหลวงปู่จีน พระสมเด็จพิมพ์รัศมีของหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า หรือ พระสมเด็จวัดเกศไชโยของสมเด็จพระพุทธาจารย์โตฯ ที่มีอายุการสร้างประมาณไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ปี เมื่อเอ่ยถามถึงหลวงปู่ยิ้ม สมภารวัดเจ้าเจ็ด ด้วยศรัทธาที่เปี่ยมล้นในจริยาวัตรของหลวงปู่ยิ้ม แห่งวัดเจ้าเจ็ด ท่านสร้างพระพิมพ์เนื้อดินเผา ด้วยความตั้งใจที่จะสืบอายุพระศาสนา ความตั้งใจของท่านนั้นจะสร้างให้ครบพระธรรมขันธ์ คือ ๘๔,๐๐๐ องค์ การแกะแม่พิมพ์ แกะจากหินลับมีด ( ลักษณะหินลับมีดโกนของพระ ) โดยมีลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้แกะให้ และให้พระ, เณร, ลูกศิษย์ใกล้ชิด และเด็กวัดฯ ช่วยกันผสม กดพิมพ์- แกะพิมพ์ และเผาตามพิธีการของท่าน ซึ่งกล่าวกันว่าท่าน ได้แรงบัลดาลใจมาจาก การสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผา พระกรุสมัยต่างๆ และจากพระโบราณจารย์ต่างๆ และพระเครื่องของท่านบางพิมพ์สร้างล้อพิมพ์ของวัดบางนมโค, มีบางท่านเล่าว่าพระพิมพ์ทรงสัตว์ของหลวงปู่ยิ้มนั้นช่างที่แกะแม่พิมพ์ของวัดเจ้าเจ็ดได้ขอต่อวิชา จากช่างที่แกะแม่พิมพ์ของวัดบางนมโค โดยค่าครูสำหรับการต่อวิชาแกะแม่พิมพ์เป็นเงิน ๑บาทในสมัยนั้นฯ ********************************************************************************************* ผู้ชนะการประมูล กรุณาโอน ธนาคาร - กสิกรไทย สาขา - เดอะมอลล์บางแค ชื่อบัญชี - ภัสกัญจนภรณ์ สุขโต เลขที่บัญชี - 7512625082 **คลิ๊กที่ชื่อ มืองาน แล้วเลือกรายการตั้งประมูล** ***ยังมีรายการประมูลให้เลือกอีกหลายรายการ*** มาตรการรับประกันจากทางร้าน + รับประกันความพอใจ 7 วัน หลังจากรับพระ ไม่พอใจยินดีคืนเงินเต็มจำนวน หลังจากได้รับพระแล้วโดยไม่มีงอแง ไม่จุกจิก และไม่ถาม พระต้องอยู่ในสภาพเดิม ไม่หักชำรุด หรือ ล้างผิว + ถ้าเวลาผ่านไปไม่ว่าจะนานเท่าใด รับเช่าคืนโดยหัก 20 % + รับประกันตามกฎเวปครับ (พระต้องอยู่ในสภาพเดิม ไม่หัก ชำรุด บิ่น หรือ ล้างผิวนะครับ) + โอนเข้า บัญชี ที่ลงไว้กับเวปพระเท่านั้นนะครับ หรือ จะโอนผ่านเวปก็ได้ครับ + โอนแล้วกรุณาแจ้ง sms เข้ามือถือ แจ้งชื่อผู้ส่ง หรือ หมายเลข Tel. ที่ลงทะเบียนกับทางเวป เพื่อง่ายต่อการเช็คยอดนะครับ + สำหรับท่านที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเวป สนใจติดต่อ 0844113313 + รายการที่ไม่ถีง 500 ส่งแบบลงทะเบียนครับ ถ้าต้องการให้ส่ง EMS กรุณาแจ้งบอก+เพิ่มค่าส่ง อีก 30 บาท ทางร้านจะจัดส่งให้ครับ + รายการทางร้านจัดส่ง EMS ทุกรายการที่เกิน 500 บาทขึ้นไปครับ *ขอบพระคุณที่ใช้บริการนะครับ |
ราคาเปิดประมูล | 900 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 1,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | อ. - 19 พ.ย. 2556 - 17:04.45 |
วันปิดประมูล |
ส. - 07 ธ.ค. 2556 - 23:04.37 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 1,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
ราคาประมูลด่วน | 1,500 บาท |
เพิ่มครั้งละ | 100 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
1,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | ศ. - 06 ธ.ค. 2556 - 23:04.37 |
กำลังโหลด...