เหรียญท่าน เจ้าคุณอุบาลี (จันทร์ สิริจันโท) ปี 2516 วัดบรมนิวาส - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญท่าน เจ้าคุณอุบาลี (จันทร์ สิริจันโท) ปี 2516 วัดบรมนิวาส

  เหรียญท่าน เจ้าคุณอุบาลี (จันทร์ สิริจันโท) ปี 2516 วัดบรมนิวาส   เหรียญท่าน เจ้าคุณอุบาลี (จันทร์ สิริจันโท) ปี 2516 วัดบรมนิวาส   เหรียญท่าน เจ้าคุณอุบาลี (จันทร์ สิริจันโท) ปี 2516 วัดบรมนิวาส
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญท่าน เจ้าคุณอุบาลี (จันทร์ สิริจันโท) ปี 2516 วัดบรมนิวาส
รายละเอียดพระอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจันโท) หรือ มีเรียกกันย่อๆว่าท่านเจ้าคุณสิริจันโท (จันทร์) เป็นพระวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงมากๆในอดีตรูปหนึ่ง เก่งทั้งด้านปฏิบัติและปริยัติ มีผลงานเป็นหนังสือธรรมะและบทความมากมาย ท่านเจ้าคุณอุบาลี นอกจากจะเป็นสหธรรมมิกกับหลวงปู่มั่น ยังเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่นให้มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นตราบถึงปัจจุบัน มีพระสายหลวงปู่มั่นหลายองค์ที่ได้มาพักศึกษาที่วัดบรมนิวาสเช่น หลวงปู่สิม หลวงพ่อลี หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่แหวน เป็นต้น ในปัจจุบันทางวัดบรมนิวาสก็ยังมีกิจกรรมให้การอบรมปฏิบัติแก่ประชาชนโดยนิมนต์พระสายหลวงปู่มั่นมาสอนตลอดทั้งปี ในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์และบารมีของเจ้าคุณสิริจันโท ก็มีเรื่องเล่ามากมายเช่นกัน ท่านเจ้าคุณสิริจันโท นอกจากจะเชี่ยวชาญด้านกรรมฐานแล้ว ยังเป็นพระแนวอภิญญาที่เก่งไม่เป็นรองใครในสมัยนั้น ท่านเป็นพระสงฆ์องค์แรกของไทยที่ได้ทำการสร้างพระเศรษฐีนวโกศ อันเป็นตำราเก่าแก่ที่ท่านได้สืบทอดมาจากประเทศลาว เชื่อกันว่ามาทางสายสมเด็จลุน แสดงว่าเจ้าคุณอุบาลี ท่านก็มีวิชาแนวอาคมพอตัว สำหรับประวัติคร่าวๆของท่านที่ผมได้มาจากเวปของวัดบรมนิวาสมีดังนี้

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจันโท) เดิมท่านเป็นคนชาวอุบลราชธานีโดยกำเนิดท่านชื่อ จันทร์ สุภสร บิดาชื่อ สอน มารดาชื่อ แก้ว นามสกุล สุภสร ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คน ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เป็นบุตรคนโต (หัวปี) ท่านเกิดเมื่อเดือน ๔ แรม ๒ ค่ำ วันศุกร์ ปีมะโรง เวลา ๒๓.๐๐ น. ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๙๘ ที่บ้านหนองไหล ตำบล หนองไหล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พื้นเพของครอบครัวเป็นชาวนาเป็นฐานของชีวิต ท่านเจ้า คุณอุบาลี เป็นเด็กที่มีความคิดพิจารณามาแต่อายุ ๗ ขวบ บิดามารดาเป็นคนใจบุญสุนทานมีความใกล้ ชิดกับวัดวาครูบาอาจารย์มากครอบครัวหนึ่งยังผลให้บุตรคือท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ผู้ติดตามบิดามารดา เห็นความแน่นแฟ้นในศีลในธรรมมีสัจจะวาจามีความเลื่อมใสศรัทธาตามบิดาของตน เป็นอันมาก พออายุ ได้ ๑๓ ปี ก็พอดีปี พ.ศ. ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จสวรรคต เป็นธรรมเนียมของชาวไทยทุกคนต้องโกนผมไว้ทุกข์แด่องค์พระมหากษัตริย์และ รักษาศีลเจริญภาวนา เป็นการบูชาพระคุณแต่บุคคลที่รักรูปรักกายสังขารก็มีอยู่บางคนถึงกับร้องไห้ เสียใจเพราะตนต้องเป็นคน หัวโล้นโดยเฉพาะเป็นสตรีที่เสียใจกันมากแต่ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ (สมัยเป็นเด็ก) กลับมองตรงกันข้าม ท่านคิดในใจว่า “ศีรษะโล้นนี่เป็นของดีงามวิเศษกว่ามีผมที่รุงรังบนหัว” ตั้งแต่ถูกโกนผมหมดหัวไปแล้ว ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ (สมัยเป็นเด็กเล็กอยู่นั้น) เกิดชอบอกชอบใจเป็นที่สุดจิตใจเบิกบานอย่างผิดสังเกต บิดาเห็นเช่นนั้นก็ได้ถามขึ้นว่า “ถ้าจะให้บวชเป็นสามเณรจะอดข้าวเย็นได้บ่” สิ้นเสียงที่บิดาถามบุญบารมีเก่าได้มาหนุนนำชีวิตให้รุ่งโรจน์ต่อไป ท่านตอบอย่างไม่ต้องคิดว่า “อดได้”ต่อมาบิดามารดาได้นำบุตรชายที่อยากบวชเณรมาฝากบวชกับท่านเจ้าอาวาส วัดบ้านหนองไหล และได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณรจันทร์ สุภสร ในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ นั้นเองต่อมาอายุครบบวชบิดาจึงหาอุบายที่จะให้บุตรของตนได้บวชพระโยมบิดาของ ท่านได้เล่าดังนี้ “บุตรชายของท่านคือท่านเจ้าคุณอุบาลีฯเป็นเด็กเลี้ยงยากที่สุดและเป็นเด็ก ที่แสนซนอีกทั้งยังเป็นเด็ก ขี้ร้องไห้ใจน้อยถ้าร้องไห้แล้วละก็จะต้องเป็นชั่วโมงเลยทีเดียวไม่ยอมหยุด” ด้วยอุบายนี้โยมบิดาจึงนำไป
กล่าวแก่บุตรชาย (จันทร์) ได้ฟังว่า “บิดามารดาได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส ถ้าไม่บวชให้ก็เห็นทีจะไม่พ้นโทษ ต้องบวชให้บิดามารดาจึงพ้นโทษจากความเลี้ยงยากซนและขี้ ร้องไห้” ด้วยเหตุนี้จึงรับปากบิดามารดาว่า “จะบวชให้สัก ๓ ปี บิดามารดาจะพอใจหรือไม่” บิดาจึงตอบไปว่า “ลูกจะบวชให้สักปีสองปีก็ได้ไม่ว่าแต่ขอให้บวชเป็นพระก็แล้วกัน”

บรรพชา เดือนยี่ ปี มะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ (อายุย่าง ๑๓ ปี) ที่วัดบ้านหนองไหล โดยเจ้าอธิการโสดา เป็นพระอุปัชฌาย์

อุปสมบท วันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๒๐ (อายุย่าง ๒๒ ปี) ณ วัดศรีทอง (ปัจจุบันคือวัดศรีอุบลรัตนาราม) โดยท่านเทวธมฺมี (ม้าว) เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการสีโห วัดไชยมงคล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ศึกษาพระปริยัตธรรมอยู่ในสำนักท่านเทวธมฺมีพระอุปัชฌาย์ ต่อมาอายุท่านได้ ๒๔ ปี พระอุปัชฌาย์ก็ได้ส่งให่เข้ามาเรียนในพระนคร สำนักวัดเทพศิรินทราวาส กับด้วยพระปลัดผา ภายหลังได้ย้ายไปวัดบุปผารามกับด้วยพระศาสนโศภณ (อ่อน) แต่ครั้งยังเป็นเปรียญเมื่อสอบพระปริญญัติธรรมได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยคแล้วก็ได้กลับไปเมืองอุบลราชธานี ทำกิจพระศาสนาช่วยพระอุปัชฌาย์อยู่ที่วัดศรีทอง คือ ได้ตั้งการสอนพระปริญัติธรรมมีคณะศิษย์เข้ามาเล่าเรียนอยู่ด้วยมาก ต่อมาก็ได้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดมหามาตยาราม เมืองนครจำปาศักดิ์ ลุถึงปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ได้เข้ามารับสมณศักดิ์เป็นพระครูวิจิตรธรรมภาณี เจ้าคณะใหญ่เมืองจำปาศักดิ์ และได้พาคณะศิษย์เข้ามาเล่าเรียนหลายรูปด้วยกัน เมื่อเสร็จจิดส่วนนี้ได้กลับออกไปจัดการงานในหน้าที่อยู่ที่นครจำปาศักดิ์ ในคราวนี้ได้ตั้งโรรงเรียนหนังสือไทยขึ้น ชื่อว่า โรงเรียนบูรพาสยามเขตต์ จัดการสอนทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย ส่วนทางวัดสุปัฏนารามนั้น ได้จัดการสอนออกเป็น ๒ แผนก คือ สอนภาษาบาลีและสอนภาษาไทย ให้ชื่อโรงเรียนว่า “อุบลวิทยาคม” ต่อมาเมื่อเขตแดนนครจำปาศักดิ์ได้เปลี่ยนแปลงไป เพราะเกี่ยวข้องด้วยฝรั่งเศสก็ได้กลับมาอยู่กรุงเทพมหานคร พอลุ พ.ศ. ๒๔๔๗ ทรงพระกรุณาโปรดให้ครองวัดบรมนิวาส ท่านตั้งหน้าบำเพ็ญสมณกิจ และก่อสร้างปฎิสังขรณ์วัดบรมนิวาส ให้เจริญรุ่งเรียงขึ้นเต็มที่

อุปการ คุณของท่านที่มีปรากฏแก่โลกเมื่อสรุปส่วนที่สำคุญคือ ทางคันถธุระท่านได้ประกอบการศึกษาเล่าเรียนและได้อบรมสั่งสอนให้กับ ศิษยานุศิษย์เป็นจำนวนมาก
อย่างเต็มความสามารถ ส่วนในทางวิปัสสนาธุระ ท่านได้ตั้งใจบำเพ็ญทั้งส่วนตนและส่วนแนะนำผู้อื่น นอกจากนี้ท่านเป็นธรรมกถกเอกเป็นผู้มักน้อนสันโดษ ไม่สะสมปัจจันลาภทั้ง ๔ ท่านได้ประกอบนวกรรมถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนามีจำนวนมากอีกทั้งได้รจนา หนังสืออธิบายอรรถ
ธรรม โดยมติไว้ได้มาก ฯลฯ ชีวิตของผู้ประกอบด้วยคุณภาพเห็นปานนี้เป็นชีวิตที่หาได้ยาก

สมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๔๔๗ ทรงพระกรุณาโปรดให้ครองวัดบรมนิวาส ท่านตั้งหน้าบำเพ็ญสมณกิจ และก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดบรมนิวาสให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นเต็มที่
พ.ศ. ๒๔๕๒ ได้เลื่อนเป็นพระราชกวี
พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้เลื่อนเป็นพระเทพโมลี ครั้นลุ
พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นพระราชาคณะที่พระธรรมธีรราชมหามุนี
พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้เลื่อนเป็นพระโพธิวงศาจารย์ปี
พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้เลื่อนเป็นพระอุบาลีคุณูปมาจารย์อุปการคุณของท่านที่มีปรากฏแก่โลก

เมื่อ สรุปส่วนที่สำคัญคือ ทางคันถธุระ ท่านได้ประกอบการศึกษาเล่าเรียน และอบรมสั่งสอนให้กับศิษยานุศิษย์เป็นจำนวนมากอย่างเต็มความสามารถ ส่วนในทางวิปัสสนาธุระ ท่านได้ตั้งใจบำเพ็ญทั้งส่วนตนทั้งส่วนรวมแนะนำผู้อื่น นอกจากนี้ท่านเป็นธรรมกถึกเอง เป็นผู้มักน้อยสันโดษ ไม่สะสมปัจจัยลาภทั้ง 4 ท่านได้ประกอบนวกรรมถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนามีจำนวนมาก อีกทั้งได้รจนาหนังสืออธิบายอรรถธรรมโดยมติไว้ได้มาก ฯลฯ ชีวิตของผู้ประกอบด้วยคุณภาพเห็นปานนี้ เป็นชีวิตที่หาได้ด้วยยาก

มรณภาพ วันที่ ๑๙ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เวลา ๑๑.๔๐ น. ด้วยอิริยาบถนั่ง ด้วยอาการสงบปราศจากความกระวนกระวาย ณ ห้องกลาง กุฏิหอเขียว วัดบรมนิวาสกรุงเทพมหานคร สิริรวมอายุได้ ๗๗ ปี พรรษา ๕๕

*******
**ท่านที่สนใจรายการตั้งประมูลของ หนุ่มเหนือ สามารถสอบถามได้ตลอด 24 ชม ที่ หมายเลข 081-2885930

***มีทางเลือกในการโอนเงิน ได้ 2 บัญชีนะครับแล้วแต่ท่านจะสะดวกครับ***

*บัญชีที่ 1 เขตกรุงเทพและปริมณฑล โอนที่ ธ.กรุงไทยได้ฟรีครับ
ชื่อธนาคาร : กรุงไทย
สาขา : กรมการขนส่งทางบก
เลขบัญชี : 9811200939
ชื่อเจ้าของบัญชี : ชัยทนันท์ ศรีอภิวงศ์
ชนิดของบัญชี : ออมทรัพย์

**บัญชีที่ 2 เชียงใหม่ โอนที่ ธ.กรุงไทยได้ฟรีครับ
ชื่อธนาคาร : กรุงไทย
สาขา : สุเทพ
เลขบัญชี : 5210198987
ชื่อเจ้าของบัญชี : นายชัยทนันท์ ศรีอภิวงศ์
ชนิดของบัญชี : ออมทรัพย์

******** ขอบคุณครับ *************
ราคาเปิดประมูล120 บาท
ราคาปัจจุบัน160 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ40 บาท
วันเปิดประมูลพฤ. - 28 พ.ย. 2556 - 00:23.15
วันปิดประมูล อ. - 03 ธ.ค. 2556 - 20:02.46 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 160 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ40 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
160 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) จ. - 02 ธ.ค. 2556 - 20:02.46
กำลังโหลด...
Top