พระร่วงหน้าพระธาตุ ปี 2517 พิธีมหาพุทธาภิเษกวัดหน้าพระธาตุ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ร่วมปลุกเสก - webpra

ประมูล หมวด:หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

พระร่วงหน้าพระธาตุ ปี 2517 พิธีมหาพุทธาภิเษกวัดหน้าพระธาตุ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ร่วมปลุกเสก

พระร่วงหน้าพระธาตุ ปี 2517 พิธีมหาพุทธาภิเษกวัดหน้าพระธาตุ  หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ร่วมปลุกเสก พระร่วงหน้าพระธาตุ ปี 2517 พิธีมหาพุทธาภิเษกวัดหน้าพระธาตุ  หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ร่วมปลุกเสก
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระร่วงหน้าพระธาตุ ปี 2517 พิธีมหาพุทธาภิเษกวัดหน้าพระธาตุ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ร่วมปลุกเสก
รายละเอียดพระร่วงหน้าพระธาตุ ปี 2517 เนื้อชินตะกั่ว วัดหน้าพระธาตุ จังหวัดชลบุรี สภาพสวยสมบูรณ์ เก็บรักษาไว้สภาพเดิมๆ ทุกอย่าง ผ่านการประจุพุทธาคมจากสุดยอดพระคณาจารย์ชั้นแนวหน้าของเมืองไทย และอยู่ในความศรัทธาของผู้ที่นิยมพระเครื่องของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ และหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

ผมขอนำคอลั่ม "พระร่วงหน้าพระธาตุ สิ่งมงคล-พนัสนิคม 2517" จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8075 มาเผยแพร่เพื่ออธิบายถึงความสำคัญแห่งพระเครื่องที่สร้างขึ้นเพื่อสืบทอดพุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์ในครั้งนี้

โดยเมื่อปีพ.ศ.2472 ได้มีผู้ขุดพบพระพุทธรูป "พระพนัสบดี" ได้ที่บริเวณ ต.หน้าพระธาตุ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เป็นพระพุทธรูปจำหลักจากศิลาดำ เนื้อละเอียด นักโบราณคดีกำหนดอายุว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี พระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะเช่นพระพนัสบดีนี้มีอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครหลายองค์ ทุกองค์งามสู้พระพนัสบดีองค์ที่ขุดพบนี้ไม่ได้

พระพนัสบดีมีพระพุทธลักษณะแปลกกว่าพระพุทธรูปอื่นๆ คือ เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนบนดอกบัว ยกพระหัตถ์ทั้งสองเสมอพระอุระ จีบนิ้วพระหัตถ์ทั้งสอง เช่น พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา บนฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองมีลายธรรมจักร เบื้องพระปฤษฎางค์มีประภามณฑล ประทับยืนบนสัตว์ที่แปลกพิเศษกว่าสัตว์ทั้งหลาย เป็นภาพสัตว์ที่เกิดจากจินตนาการจากประติมากรผู้สร้างพระพุทธรูป คือ นำโค ครุฑ หงส์ มารวมเป็นสัตว์ตัวเดียวกัน สัตว์นั้นหน้าเป็นครุฑ เขาเป็นโค ปีกเป็นหงส์ โค ครุฑ หงส์ เป็นพาหนะของเทพเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวรทรงโค พระนารายณ์ทรงครุฑ พระพรหมทรงหงส์ เมื่อรวมกันเข้าจึงเป็นสัตว์พิเศษที่มีเขาเป็นโค มีจะงอยปากเป็นครุฑ และมีปีกเป็นหงส์ ผู้สร้างอาจหมายถึงพระพุทธเจ้าอาศัยศาสนาพราหมณ์เป็นพาหนะ ในการประกาศพระศาสนาหรือหมายถึงพระพุทธเจ้าทรงชัยชนะแล้วซึ่งศาสนาพราหมณ์ก็ได้

นอกจากมีการขุดพบพระพนัสบดีแล้ว เมื่อ พ.ศ.2490 บริเวณหน้าวัดพระธาตุ มีคนขุดพบกรุพระพิมพ์เนื้อตะกั่ว สนิมแดง คราบไขขาว มีพระพุทธลักษณะเช่นเดียวกับพระร่วงหลังรางปืน สวรรคโลก พระร่วงหลังลายผ้าลพบุรี เป็นพุทธศิลป์สมัยทวารวดี พระเนตรโปนประหนึ่งตาตั๊กแตน ไม่ทรงเครื่องอลังการ พระเศียรไม่ทรงเทริด พระหัตถ์ขวาหงายทาบพระอุระ มีดอกจันทน์บนฝ่าพระหัตถ์ อาณาจักรพระเครื่องถวายนามว่า "พระร่วงหน้าพระธาตุ" มี 2 พิมพ์ คือ ชายจีวรแผ่กว้าง และชายจีวรธรรมดา องค์พระสูง 5 เซนติเมตร ชนิดชายจีวรแผ่กว้าง องค์พระกว้าง 2.5 เซนติเมตร ชนิดชายจีวรธรรมดา องค์พระกว้าง 2 เซนติเมตร

นับเป็นพระกรุที่เลื่องชื่อลือชาในอาณาจักรพระเครื่องเมืองชลบุรี เป็นพระร่วงเนื้อตะกั่วที่ราคาแพงที่สุดในภาคตะวันออก สภาพพอสวยต้องมีเลข 6 หลักขึ้นไปทีเดียว

เนื่องจากพระร่วงหน้าพระธาตุนั้นหายาก และมีจำนวนน้อยมาก คนในพื้นที่เชื่อว่ามีไม่กี่สิบองค์ อีกทั้งเป็นที่หมายปองของบรรดานักสะสมพระกรุทั้งหลาย ดังนั้น ในปีพ.ศ.2517 ทางอำเภอพนัสนิคมจึงจัดสร้าง "พระร่วงหน้าพระธาตุ ย้อนยุค" ขึ้น พร้อมกับ "เหรียญรุ่นแรกของพระพนัสบดี" วัตถุมงคลที่จัดสร้างประกอบด้วย พระพนัสบดีขนาดบูชาใหญ่สูง 45 เซนติเมตร 2.พระพนัสบดีขนาดบูชาเล็กสูง 30 เซนติเมตร 3.เหรียญพระพนัสบดีรูปไข่ เป็นเนื้อทองแดง มีทั้งผิวไฟ, กะไหล่ทอง, กะไหล่นาก 4.เข็มกลัด แจกกรรมการ กะไหล่ทองลงยา 5.พระร่วงหน้าพระธาตุ เนื้อชินตะกั่ว

พิธีมหาพุทธาพิเษกจัดขึ้นที่ ณ อุโบสถวัดหน้าพระธาตุ ต.หน้าพระธาตุ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี วันเสาร์ที่ 11 พ.ค.2517 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดราชบพิธฯ เป็นผู้จุดและดับเทียนชัยเช่นเดียวกัน มีพระเกจิคณาจารย์ระดับชาติร่วมปลุกเสกมากมาย 1.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ 2.หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง 3.หลวงปู่เหมือน วัดกำแพง จ.ชลบุรี 4.หลวงปู่โต วัดบ้านกล้วย จ.นครราชสีมา 5.ท่านเจ้าคุณธีระ (ศิษย์เอกหลวงพ่อสด) วัดปากน้ำ กรุงเทพฯ 6.พระปรมาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชา ธิวาส กรุงเทพฯ 7.หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว จ.ฉะเชิงเทรา 8.หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี 9.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม 10.หลวงพ่อวิเชียร วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี 11.หลวงพ่อวรรณ วัดพลับ จ.ชลบุรี 12.หลวงพ่อทองหยิบ วัดโบสถ์ จ.ชลบุรี 13.หลวงพ่อม่น วัดเนินตามาก จ.ชลบุรี 14.หลวงพ่อแร่ วัดเซิดสำราญ จ.ชลบุรี 15.หลวงพ่อเที่ยง วัดกลางทุมมาวาส จ.ชลบุรี เป็นต้น

พระร่วงหน้าพระธาตุเป็นเนื้อชินตะกั่ว สร้างล้อพิมพ์ของเก่าโดยเอาพระกรุที่ชำรุดของวัดหน้าพระธาตุมาจัดสร้างใหม่ พุทธลักษณะประทับยืนยกพระหัตถ์ขวา ทอดพระหัตถ์ซ้าย ด้านหลังระบุปีที่สร้างคือ 2517

พระร่วงหน้าพระธาตุของเก่านั้นปัจจุบันไม่ต้องไปเสาะหา เพราะว่าส่วนใหญ่อยู่ในครอบครองของเซียนและผู้มีอันจะกินหมดแล้ว ดังนั้น ขอแนะนำว่ารุ่นปี 2517 สามารถบูชาแทนของเก่าได้เลย พกพาสบายใจไม่หนักคอ พุทธคุณนั้นมีแน่นอน เนื่องจากผ่านการประจุพระคาถาอาคมจากสุดยอดคณาจารย์ชั้นแนวหน้าของเมืองไทยทั้งสิ้น

*****ค่าบูชา 1,200 บาท***** (พระชุดนี้มีของปลอมแล้วนะครับ โปรดพิจารณาศึกษาก่อนเช่าหาบูชา)

ราคาเปิดประมูล1,150 บาท
ราคาปัจจุบัน1,200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลอา. - 08 ธ.ค. 2556 - 15:28.05
วันปิดประมูล พ. - 11 ธ.ค. 2556 - 21:00.35 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
1,200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อ. - 10 ธ.ค. 2556 - 21:00.35
กำลังโหลด...
Top