
ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540
เทพนารีผู้รักษาพระพุทธศาสนา...พระสุนทรีวาณี วัดสุทัศน์เทพวราราม
ชื่อพระเครื่อง | เทพนารีผู้รักษาพระพุทธศาสนา...พระสุนทรีวาณี วัดสุทัศน์เทพวราราม |
---|---|
รายละเอียด | เทพนารีผู้รักษาพระพุทธศาสนา...พระสุนทรีวาณี วัดสุทัศน์เทพวราราม พิธีดี พิธีใหญ่ เหรียญออกแบบได้สวยมากครับ พระสุนทรีวาณี เป็นพระที่ทรงไว้ด้วยความเมตตาอย่างสูง เป็นพระที่เป็นสิริมงคล มหาลาภต่าง ๆ จึงเหมาะแก่ห้างร้าน บริษัท และร้านค้าทั่วไปจะมีไว้บูชาเพื่อเจริญด้วยลาภ ยศ ความสุข สรรเสริญ ตลอดจนการเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงานของตน คาถา พระสุนทรีวาณี ตั้ง นะโม 3 จบ มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรีปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนังฯ (ท่อง สาม ห้า หรือ เจ็ด จบพร้อมคำแปล) ทำการค้าขาย โชคลาภ ให้ภาวนาเพิ่มว่า... เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก โส มานิมา ฤ ฤา ฦ ฦา สา มานิมา ฤ ฤา ฦ ฦา คำแปล:นางฟ้า คือพระไตรปิฎกอันเกิดจากดอกอุบล คือพระโอษฐ์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้พึ่งพำนักของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอจงยังใจของข้าพเจ้าให้เอิบอิ่มปรีดาปราโมทย์ รู้แจ่มแจ้งแทงตลอดจำได้ ปฏิบัติตามได้ ในพระไตรปิฏกทั้งโลกียะและโลกุตตระนั้นเทอญ ประวัติ ความเป็นมา พระสุนทรีวาณี แต่เดิมนั้น เป็นภาพพระสุนทรีวาณี (นางฟ้า) สถิตอยู่บนดอกบัว สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศนเทพวราราม ทรงคิดแบบขึ้นจากพระสูตรสัททาวิเศษ แล้วทรงให้หมื่นศิริธัชสังกาศ เจ้ากรม (แดง) จัดการเขียนขึ้นเอาไว้ในพระตำหนักของสมเด็จฯ ปรากฏว่าเป็นที่สนพระทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงได้ทรงมีพระราชวิจารณ์เรื่องภาพสุนทรีวาณีนี้ พระราชทานสมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ครั้นกาลต่อมาภายหลังพระองค์ได้ทรงเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ พิมพ์พระราชวิจารณ์สุนทรีวาณีนี้ พระราชทานในงานพระราชทานกุศล คล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๗๑ พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวิจารณ์ภาพสุนทรีวาณี พระราชทานแด่สมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ที่ได้ทูลถามสาเหตุให้ทรงพระราชวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องลัทธิมหายาน กับหินยาน เป็นรูปกอดอกบัวขึ้นจากน้ำ ดอกกลางเป็นดอกบัวบาน มีรูปนางฟ้านั่งขัดสมาธิอยู่บนนั้น หัตถ์ซ้ายพาดตักอย่างพระมารวิชัย ในอุ้งหัตถ์มีดวงแก้ว หัตถ์ขวาทำอาการกวักดุจพระคันธารราษฎร์ ดอกริมเป็นดอกบัวโรย เบื้องขวามีรูปบุรุษ เบื้องซ้ายมีรูปสตรีนั่งพับเพียบประนมมืออยู่บนนั้น เบื้องบนมีรูปเทวดาถือเครื่องสักการะดั้นเมฆสองแถวซ้อนกัน เบื้องล่างมีรูปนาคกับสัตว์ต่าง ๆ ตีความไม่ออกว่าเป็นรูปอะไร แต่มีท่วงทีคล้ายพระทางลัทธิมหายาน ซึ่งทำเป็นดอกบัวขึ้นจากน้ำ มีพระพุทธรูปนั่งบนนั้น องค์เดียวบ้าง สามองค์บ้าง ห้าองค์บ้าง จึงพระราชทานไปสอบถามกรมพระสมมตอมรพันธ์ แล้วพระราชทาน พระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ สมเด็จ พระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ไม่ทราบลัทธิทางมหายาน มีใจใคร่จะทราบจึงเขียนหนังสือกราบบังคมทูลถามท้าวถึงความคาดคะเนตามที่สัง เกตุเห็นมาบ้าง จึงทรงพระราชวิจารณ์พระราชทาน ส่วนทางที่กรมพระสมมต อมรพันธ์ไปสืบนั้น ได้ความว่า เป็นแบบที่สมเด็จพระวันรัต (แดง) คิดออกมาจากคาถาบทหนึ่ง ซึ่งมาในหนังสือสัททาวิเศษ ให้เขียนกรอบไว้ ท่านเรียกว่า “รูปสุนทรีวาณี” กรมพระสมมตอมรพันธ์ ได้นำรูปแผ่นต้นนั้นมาถวายทอดพระเนตร รูปนั้นเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเป็นอันมากจนถึงพระราชดำหริจะทำประกอบกับแผ่น ศิลาจารึก ประดิษฐานไว้ที่วัดเบญจมบพิตร ดูประหนึ่งทรงพระราชดำหริให้เป็นที่ระลึกถึงสมเด็จพระวันรัตด้วย สมเด็จ พระวันรัต (แดง) ได้อธิบายว่า “รูปสุนทรีวาณี” นั้น หมายถึง พระธรรม ”ดอกบัว” นั้น หมายถึง พระโอษฐ์พระพุทธเจ้า ตามที่มาในพระคาถานี้ เป็นหลัก มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรี ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนังฯ วาณี หมายถึง นางฟ้า คือ พระไตรปิฎก มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรี มีรูปอันงดงาม เกิดแต่ท้องแห่งดอกบัว คือ พระโอษฐ์แห่งพระพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมแห่งนักปราชญ์ทั้งหลาย ปาณีนัง สะระณัง เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ผู้มีปรารถนาทั้งหลาย มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง จงยังใจแห่งข้าพเจ้าทั้งหลายได้ยินดี สมเด็จพระวันรัต (แดง) กล่าวว่า อาจารย์ของท่านทั้งทางคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ สอนให้บริกรรมคาถานี้ ก่อนจะเริ่มเรียนพระปริยัติ และเข้าที่ภาวนาทุกคราวไป ท่านผู้ใหญ่ทั้งหลายมีสมเด็จพระสังฆราช (วัดราชสิทธาราม) เป็นต้น ล้วนนับถือคาถานี้อยู่ทั่วกัน จนกระทั้งอาราธนากัมมัฏฐานก็ใช้ถาคานี้ ท่านจึงคิดเอาคาถานี้อยู่ทั่วไป จนถึงอาราธนาธรรมก็ใช้คาถานี้ ท่านจึงคิดเอามาผูกเป็นรูป ปรุงเปรียบเข้าอีกหลายอย่าง หัตถ์ขวาแห่งสุนทรีวาณี ซึ่งทำเพียงดังอาการกวักนั้น เพื่อจะให้ได้กับคำว่า “เอหิ ปัสสิโก” ซึ่งถือเอาความหมายว่า เรียกให้มาดูดวงแก้วในหัตถ์ซ้าย เปรียบเป็น อมตะ รูปบุรุษเบื้องขวานั้น เปรียบเป็นภิกษุสงฆ์สาวก รูปสตรีเบื้องซ้ายนั้นเป็นพระภิกษุณีสงฆ์วิกาเทวดา แถวล่างนั้น หมายถึง เทวโลก พรหมแถวบน หมายถึงพรหมโลก ต่างมาทำสักการะบูชา น่านน้ำภายใต้นั้นเปรียบด้วยสังสารวัฏ นาค และสัตว์น้ำ เปรียบเป็นพุทธบริษัท ท่านหมื่นศิริธัชสังกาศเจ้ากรม (แดง) มาเขียนแล้วเข้ากรอบลับแลตั้งไว้บูชา ภายหลังได้ทำเป็นรูปหล่อขึ้นด้วย ใน สมัยต่อมาสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม หล่อพระกริ่ง ท่านเจ้าคุณมงคลราชมุนีผู้เป็นศิษย์ ก็ได้สร้างพระสุนทรีวาณีขึ้นด้วยโลหะชนวนที่เหลือจากการหล่อพระกิ่งของ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) เป็นรูปลอยนูนออกมางดงามมากทำเป็นแบบเหรียญ มีรูปทั้งหมดทรงกลีบบัว ด้านหลังมีอักษร ม.ค. ๑ อีกทั้งให้บรรดาเยาวชน และนิสิตนักศึกษาทั้งหลาย ผู้เริ่มแรกจะเข้าศึกษาให้ภาวนาคาถาดังกล่าวนี้ก่อน จะเป็นผู้เจริญด้วยการศึกษาเป็นอย่างดี |
ราคาเปิดประมูล | 309 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 319 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 10 บาท |
วันเปิดประมูล | พฤ. - 12 ธ.ค. 2556 - 09:39.34 |
วันปิดประมูล |
อ. - 17 ธ.ค. 2556 - 20:32.03 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
319 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | จ. - 16 ธ.ค. 2556 - 20:32.03 |
กำลังโหลด...