เหรียญหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม ปี 2516 (หลังศาลา) - webpra

ประมูล หมวด:หลวงพ่อเต๋ - หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม – หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา - หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง

เหรียญหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม ปี 2516 (หลังศาลา)

 เหรียญหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม ปี 2516 (หลังศาลา)  เหรียญหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม ปี 2516 (หลังศาลา)
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม ปี 2516 (หลังศาลา)
รายละเอียดเหรียญหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม ปี 2516 (หลังศาลา) เนื้อทองแดงพิมพ์นิยม สภาพสวยเดิมๆ เป็นเหรียญที่คณะศิษย์ได้สร้างไว้เพื่อบูชาพระคุณของหลวงพ่อ ถึงแม้เหรียญรุ่นนี้จะไม่ทันหลวงพ่อน้อยท่านปลุกเสก แต่มีหลวงปู่โต๊ะแห่งวัดประดู่ฉิมพลีและหลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอมมาปลุกเสก จึงทำให้เหรียญรุ่นนี้เริ่มมีคนเก็บสะสมมากขึ้น ตอนนี้นับว่าเป็นของดีราคาถูก แต่อนาคตอันใกล้นี้รับรองได้เลยว่ามีราคาไปอีกไกลแน่นอน


ประวัติ ท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ (หลวงพ่อน้อย)ชาติกำเนิด

ท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ มีนามเดิมว่า "น้อย" มีนามฉายาว่า "อินทสโร"

เกิดที่บ้านหนองอ้อ ตำบลธรรมศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เมื่อ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 เวลา 04.00 น. ซึ่งตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามดวงชะตาในแผ่นเงินที่เก็บเป็นประวัติ ณ วัดธรรมศาลา ปรากฏดังนี้

ปีมะแม เบญจศก ปริติมาสวารอธิถสุรทิน จุลศักราช 1245วันที่ 12 พฤษภาคม พุทธศักราช 2426 เวลา 04.00 น. พระลักษณาสถิต ราศรีเมษฤกษ์ที่ 7 - นาฑีฤกษ์ 52 มีนามว่าเพ็ชฒฤกษ์ จันทร์องศา 14 ลัคนา 37 พุทธรักษา ธัมมรักษา สังฆรักษา บิดารักษา พระอินทร์รักษา พระ…รักษา พระพรหมรักษา เทวดารักษา มารดารักษา "พระอาจารย์น้อย"


หลวงพ่อน้อย มีโยมบิดา ชื่อแสงโยมมารดาชื่อ อ่อน โยมพี่เป็นหญิง ชื่อ ปู๋ ซึ่งแต่ละท่านได้ถึงแก่ อนิจกรรมมานาแล้ว ตามที่สืบทราบมาได้ญาติคนสุดท้าย ของหลวงพ่อที่ยังอยู่บ้านหนองอ้อ คือ นายเอม มีศักดิ์เป็นหลาน

ตามความนิยมในประเพณี ของไทยแต่โบราณ วัดไม่เป็นที่พึ่งทางใจอย่างเดียว วัดเปรียบเสมือนเป็นโรงพยาบาลของชาวบ้าน ใครเป็นโรคอะไรเดือดร้อนก็ต้องวิ่งไปหาพระที่วัดช่วยเป่ารักษาด้วยเวทย์มนต์ หายกันมาส่วนมาก วัดเปรียบเสมือนโรงเรียน เด็กที่อยู่ใกล้วัดไหนก็มักจะไปเรียนหนังสือกันตามวัดมีพระเป็นครูวัดเป็นสถานที่ให้ความรู้ แก่ลูกหลานชาวบ้านมาก พร้อมกันนั้นชาวบ้านก็ช่วยเหลือถวายปัจจัย 4 แก่พระและช่วยสร้างถาวรวัตถุให้เป็นบางครั้งบางคราวจึงพูดกันเป็นบทเป็นกลอนติดปากว่า


วัดจะดี มีสถาน เพราะบ้านช่วย
บ้านจะสวย เพราะมีวัด ดัดนิสัย
บ้านกับวัด ผลัดกันช่วย ยิ่งอวยชัย
ถ้าขัดกัน ก็บรรลัย ทั้งสองทาง

ดังนั้นในสมัยที่หลวงพ่อมีชีวิตอยู่ในเยาว์วัยโยมบิดาได้นำหลวงพ่อไปฝากไว้กับท่านพระครู ปริมานุรักษ์ (นวม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลาในยุคนั้นเพื่อการศึกษา เล่าเรียนและรับการอบรม ตามความนิยมในประเพณีของไทยแต่โบราณ

การศึกษาและการบรรพชาอุปสมบท


ท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ

เมื่อหลวงพ่อได้ศึกษาเล่าเรียนและได้รับการอบรมจากท่านพระครูปริมานุรักษ์(นวม)เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา จนมีความรู้ ความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทยกับภาษาขอมได้

พอหลวงพ่อมีอายุได้ 15 ปี โยมบิดาได้นำไปฝากไว้กับท่านพระอธิการ "ชา" เจ้าอาวาสวัดสามกระบือเผือก เพื่อการศึกษาต่อ เรียนอักขระสมัยภาษาขอม ภาษาไทย ได้ดีและเขียนอ่านได้อย่างแตกฉานจนพระอธิการชา เจ้าอาวาส วัดสามกระบือเผือก เป็นที่ชอบอกชอบใจในตัวหลวงพ่อ

จากนั้นจึงได้ บรรพชาเป็นสามเณร ในระหว่างที่เป็นสามเณรนี้ได้ไปมาหาสู่ระหว่างวัดสามกระบือเผือกกับวัดธรรมศาลา เป็นประจำจวบจนกระทั่งโยมบิดาและโยมมารดาถึงวัยชรามีโรคภัยเบียดเบียน หลวงพ่อจึงได้สึกจากสามเณร มาช่วยเหลือบิดามารดา ในการประกอบอาชีพด้วยความกตัญญูกตเวที ณ บ้านหนองอ้อ อันเป็นภูมิลำเนาเดิม

เมื่อท่านมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท ณ วัดธรรมศาลา เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 มีพะอธิการทองวัดลมุด อำเภอนครชัยศรีเป็นพระอุปัชฌายะ พรครูปริมานุรักษ์ (นวม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา เป็นพระกัมมวาจาจารย์และพระสมุห์แสง วัดใหม่ อำเภอนครชัยศรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีนามฉายาว่า "อินทสโร"

นับแต่หลวงพ่ออุปสมบทแล้วก็ปฏิบัติพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด มีความสมใจศึกษาทางด้านวิปัสสนาธุระสมถะและไสยเวทย์ ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยเป็นเบื้องต้น จากอาจารย์หลายองค์ได้แก่ พระอธิการทอง วัดลมุด พระครูปริมานนุรักษ์(นวม) พระครูทักษินานุกิจ (แจ้ง) พระสมุห์ แสงวัดใหม่ รวมทั้งอาจารย์ อู๊ด ที่เป็นฆราวาสรวมอยู่ด้วย โดยอาศัยที่หลวงพ่อ มีความรู้ภาษาขอมมาแต่เดิมและมีสมาธิมั่งคงแน่วแน่ จึงให้การศึกษาทางพุทธาคม ของท่านเป็นได้ความรวดเร็ว ร่ำเรียนวิชาชนิดไหนก็สำเร็จไปทุกอย่าง
"อิทธิวัตถุของพระครูภาวนากิตติคุณ"


หลวงพ่อน้อย อินทสโร หรือท่านเจ้าพระคุณภาวนากิตติคุณองค์นี้ได้สร้างอิทธิวัตถุอันเป็นมงคลไว้หลายชนิด ทั้งที่สร้างเป็นรุ่นๆ ในจำนวนมาก และที่ปลุกเสกเป็นการเจาะจงให้กับลูกศิษย์เป็นเฉพาะรายในจำนวนน้อย เมื่อรวมกันแล้วถึง 50 กว่าชนิด การสร้างนั้นท่านมีวัตถุประสงค์เพื่อแจกเป็นที่ระลึกให้กับบรรดาผู้ที่มานมัสการหลวงพ่อ รวมทั้งแจกในโอกาสต่างๆ เช่น งานทอดกฐิน และผ้าป่า งานสร้างศาลาการเปรียญ-สร้างพระอุโบสถ-สร้างโรงเรียน-สร้างหอระฆัง หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่มีการฉลองสิ่งก่อสร้างทางสงฆ์ภายในวัดธรรมศาลา

"หลวงพ้อน้อย เป็นเกจิอาจารย์ที่เรืองด้วยวิทยาคุณ" การปลุกเสกก็มักจะเป็นไปในทำนองเกจิอาจารย์ทั้งหลายคือ มักจะปลุกเสกเพียงองค์เดียว แต่ก็ปรากฏอยู่บางครั้งเหมือนกันที่ปลุกเสกเพียงองค์เดียว แต่ก็ปรากฏอยู่บางครั้งเหมือนกันที่จัดเป็นพิธีพุทธาภิเษก อันเป็นงานใหญ่ของวัด โดยคณะกรรมการวัดได้นิมนต์พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง และคุ้นเคยชอบพอกับหลวงพ่ออีกหลายแห่ง มาร่วมการปลุกเสกกับหลวงพ่อ เช่นในงานสมโภชที่หลวงพ่อได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่พระครูภาวนากิตติคุณเมื่อเดือนมีนาคม 2512 เป็นต้น

นอกจากนั้นหลวงพ่อก็เคยรับนิมนต์ไปร่วมปลุกเสกที่อื่นๆ อยู่เสมอแต่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งอันควรทราบก็คืออิทธิวัตถุต่างๆ ที่ปลุกเสกนี้ หลวงพ่อจะเก็บเอาไว้นานอย่างน้อยก็ 1 พรรษา ระหว่างที่เก็บ ท่านก็จะปลุกเสกของท่านไปทุกวัน ตามเวลาจะเอื้ออำนวย กว่าจะนำเอาออกมาให้สาธุชนสักการะบูชาได้ก็ร่วมขวบปีผ่านไปแล้ว โดยลักษณะดังกล่าวนี้อิทธิมงคลวัตถุของหลวงพ่อแต่ละชิ้นจึงนับว่ามีกฤติยาคมหนักแน่นจริงๆ จนปรากฏข่าวทางอภินิหารเกิดขึ้นเสมอ


นอกจากนั้นอิทธิวัตถุจากที่อื่นๆ ก็มีอยู่หลายครั้งที่นำถวายหลวงพ่อให้ท่านช่วยปลุกเสก เมื่อแล้วเสร็จท่านก็มอบคืนไป และผู้รับก็มักจะแบ่งถวายหลวงพ่อท่านไว้ส่วนหนึ่ง เมื่อมีใครมาขอท่านก็ให้ไปจนหมด อิทธิวัตถุเหล่านี้มีผู้มาติดตามเพื่ออยากได้อยู่หลายราย โดยเฉพาะภายหลังที่หลวงพ่อมรณะภาพแล้ว ทางวัดก็มิรู้จะหาที่ไหน สอบรายละเอียดก็มิใช่ทางวัดสร้าง แต่เขาก็ยืนยันว่ารับไปจากหลวงพ่อ กว่าจะเข้าใจเรื่องราวตรงกันก็ต้องสืบถามคนเก่าๆ อยู่นานถึงได้รู้แล้วหลวงพ่อได้แจกไปจริง

อิทธิวัตถุต่างๆ ที่สร้างนี้ในยุคแรกๆ มีทั้งเนื้อโลหะและเนื้อผง บางส่วนจัดสร้างขึ้น โดยเฉพาะภิกษุเป็นช่างกันเองภายในวัดนั้น ดังนั้นของจำพวกหล่อที่แท้จริงไปบ้างส่วนจำพวกเหรียญอัดพิมพ์( ปั๊ม) นั้นก็มีการว่าจ้างโรงงานผลิตขึ้น ความปราณีตงดงามจึงสวยกว่าเป็นไปตามแบบมาตราฐานทั่วไป ที่มาของ "เหรียญหน้าเสือ" กรณีนี้ได้เล่าสู่กันว่า เหรียญหน้าเสือและเหรียญคอน้ำเต้ายุคแรกเมื่อออกมาใหม่ๆ ลูกศิษย์ให้ความสนใจกันน้อยเพราะด้อยในความปราณีตและสวยงาม เมื่อช่างหล่อเทพิมพ์และถอดออกมาจะพบเหรียญนี้ใบหน้าจะเทไม่ค่อยติด ช่างได้บอกกับหลวงพ่อว่า "หน้าเสีย" หลวงพ่อได้ยินก็ตอบช่างว่าไม่ใช่ "หน้าเสือ" แต่เมื่อลูกศิษย์ที่นำใช้ติดตัว เมื่อประสบผลทางกฤติยาคมกันเข้า ต่างก็เสาะหา แสวงหา จนเป็นของหายากในยุคนี้ไปเสียแล้ว


ในกรณีที่คนไปนมัสการหลวงพ่อ เพื่อจะขอของจากท่านและแทบทุกครั้งเมื่อเขาจะเอ่ยปาก หลวงพ่อท่านเห็นท่า ท่านก็ยิ้มก่อน แล้วลุกไปนำออกมา โดยไม่ต้องรอคำขอ เมื่อเลือดได้แล้วจึงจะส่งให้หลวงพ่อท่านประสาทให้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในกรณีที่ท่านหยิบให้เองมักจะเป็นของชนิดที่ตรงกับผู้ขอมาต้องการ ซึ่งได้สร้างความแปลกใจกันในหมู่ลูกศิษย์เสมอมา

มรณกาล

เมื่อวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา 34 นาที ความเศร้าโศกก็ได้ครอบงำตำบลธรรมศาลา เมื่อได้ทราบข่าวมรณภาพของหลวงพ่อด้วยโรคชรา สิริรวมอายุได้ 83 ปี พรรษาที่ 67 การนี้มีศิษยานุศิษย์ทั้งหลายต่างร่วมมือกันเป็นเจ้าภาพ สวดพระอภิธรรมถวายทุกคืนจนครบ 100 วัน และทางวัดก็ได้ตั้งศพของท่านที่กุฏิอินทรสรจวบจนในปี พ.ศ.2516 พระอธิการบำเพ็ญปญญาโภได้สร้างวิหารจตุรมุขเมื่อวัยที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2516 เพื่อให้ศิษยานุศิษย์และผู้เคารพนับถือท่านได้มีความสะดวกมาสักการะบูชาต่อไปจวบจนทุกวันนี้

ราคาเปิดประมูล50 บาท
ราคาปัจจุบัน100 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 31 ธ.ค. 2556 - 11:15.34
วันปิดประมูล จ. - 20 ม.ค. 2557 - 11:15.34 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 100 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
100 บาท อ. - 31 ธ.ค. 2556 - 21:01.05
กำลังโหลด...
Top