เหรียญ พระครูอโศกธรรมสาร(หลวงพ่อโศก) วัดปากคลองบางครก จ.เพชรบุรี ปี 19 เดิมๆครับ - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญ พระครูอโศกธรรมสาร(หลวงพ่อโศก) วัดปากคลองบางครก จ.เพชรบุรี ปี 19 เดิมๆครับ

เหรียญ พระครูอโศกธรรมสาร(หลวงพ่อโศก) วัดปากคลองบางครก จ.เพชรบุรี  ปี 19 เดิมๆครับ เหรียญ พระครูอโศกธรรมสาร(หลวงพ่อโศก) วัดปากคลองบางครก จ.เพชรบุรี  ปี 19 เดิมๆครับ
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญ พระครูอโศกธรรมสาร(หลวงพ่อโศก) วัดปากคลองบางครก จ.เพชรบุรี ปี 19 เดิมๆครับ
รายละเอียดพระครูอโศกธรรมสาร (สุวณฺณเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดปากคลอง และเจ้าคณะอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี นามเดิม โศก สกุล พันธุ์โพทอง เป็นบุตรคนแรกของ นายพัน นางนาก พันธุ์โพทอง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 7 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 3 คน ท่านพระครูอโศกธรรมสาร มีถิ่นกำเนิด ณ บ้านแคววังใหญ่ ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เกิดเมื่อ วันอังคาร ปีวอก พุทธศักราช 2415 สมัยวัยอยู่ในปฐมวัย บิดามารดาได้ฝากให้เล่าเรียนหนังสือ อยู่กับพระอธิการเพิ่ม วัดสวนทุ่ง ซึ่งเดี๋ยวนี้ได้ย้ายไปเป็นวัดเฟื้อสุธรรม ด้วยเหตุที่บิดามารดาของท่าน ประกอบอาชีพทำนา เมื่อถึงฤดูทำนา ท่านได้ช่วยเหลือบิดามารดาด้วย โดยปรกติวิสัย เป็นผู้ไม่ชอบอยู่นิ่ง ใคร่รู้ใคร่เห็น ชอบศึกษาหาความรู้ ชอบสนทนาวิสาสะ เป็นผู้เฉลียวฉลาดมีไหวพริบ จดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดี เป็นพหูสุต เข้าใครเข้าได้ เพราะคุยสนุก มีแง่คิด พูดจาชวนฟัง มีคติ เป็นคนอารมณ์ดี ไม่ถือตัว จึงเป็นที่ชอบพอ และถูกอัธยาศัยของเพื่อนบ้าน และมิตรสหาย
เมื่ออายุครบปีอุปสมบท บิดามารดาได้จัดการอุปสมบทให้ ณ วัดปากคลอง ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เมื่อปีเถาะ พุทธศักราช 2435 โดยมี พระอธิการคล้ำ วัดปากคลอง เป็นอุปัชฌายะ พระอธิการทรัพย์ วัดเขาตะเครา เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเพิ่ม วัดสวนทุ่ง เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า สุวณฺโณ ภายหลังที่ท่าน ได้อยู่ปฏิบัติอุปัชฌายวัตร และอาจาริยวัตร ในหน้าที่นวกภิกษุ พอสมควรแก่นิสัยแล้ว ก็ได้เดินทางมาจำพรรษา ณ วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และบาลีไวยากรณ์ต่อไป
ได้ศึกษาเล่าเรียนโดยความอุตสาหะเอาใจใส่ ตลอดระยะเวลาประมาณ 8 – 10 พรรษาแรก นับตั้งแต่อุปสมบท ด้วยวัตรปฏิบัติ และแบบแผนในเพศภิกษุภาวะของท่าน เรียบร้อย งดงาม สามารถเป็นแบบอย่างและผู้นำ ทั้งยังเข้าใจในศาสนกิจ และระเบียบการคณะสงฆ์เป็นอันดี มีอายุพรรษาเป็นเถระผู้ใหญ่แล้ว ฉะนั้นเมื่อท่านอธิการหลุบ เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ ลาออกจากตำแหน่ง ในปีพ.ศ.2447 ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งจากทางคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรีโดย พระพิศาลสมณกิจ (สิน) เจ้าคณะเมืองเพชรบุรี วัดคงคาราม ให้ท่านเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาส วัดมหาธาตุ นับเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 7 ของวัดนี้ แต่ท่านอยู่ในตำแหน่งนี้เพียงปีเศษก็ขอลาออก เพราะต้องไปรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากคลอง อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ก่อนหน้านี้วัดปากคลอง มีพระอธิการพร เป็นเจ้าอาวาสอยู่ แต่ได้ลาสิกขา ตำแหน่งเจ้าอาวาสจึงว่างลง บรรดามรรคทายกทายิกาของวัดนี้ เห็นพร้อมในกันว่า ควรไปอาราธนาพระอธิการโศก จากวัดมหาธาตุ มาเป็นเจ้าอาวาส ด้วยเป็นลูกเกิดของบ้านนี้ ท่านไม่สามารถปฏิเสธคำรบเร้าของผู้มีจิตศรัทธาในตัวท่านได้ จึงได้เดินทางมารับตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดปากคลอง เมื่อปี พ.ศ.2448 ขณะนั้นมีพรรษาได้ 13 พรรษา ตลอดเวลาที่ท่านดำรงอยู่ในสมณเพศ นอกจากจะได้ศึกษาเล่าเรียนทางพระธรรมวินัย และปฏิบัติศาสนกิจแล้ว ท่านยังได้ใช้เวลาว่าเท่าที่มีอยู่ ศึกษาศิลปวิทยาการต่าง ๆ เท่าที่นิยมกันอยู่ในสมัยนั้นด้วย เช่น วิชาโหราศาสตร์ เวชศาสตร์ ไสยศาสตร์ เป็นต้น ท่านได้ศึกษาอย่างจริงจัง และยังได้นำเอาสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาช่วยเหลือผู้อื่นในโอกาสต่อมาด้วย เมื่อท่านได้มาครองวัดปากคลองแล้ว ท่านก็ได้ใช้ควมรู้ที่ได้เล่าเรียนมา เช่น ในด้านเวชศาสตร์ อันเกี่ยวกับการแพทย์แผนโบราณ เป็นต้น ได้ทำประโยชน์สงเคราะห์ผู้อื่นตลอดมา อีกอย่างหนึ่ง ท่านเป็นผู้มีกฤตยาคมแก่กล้า มีจิตตานุภาพสูง จึงทำให้ท่านเป็นผู้มีเกียรติคุณมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพนับถือของชนทุกชั้น ตั้งแต่ราษฏรสามัญชนไปจนถึงข้าราชการผู้ใหญ่ เช่น พระยาสุรพันธุ์เสนีย์ (อิ้น บุนนาก) สมัยเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี ก็ยังเคยมาค้างแรมอยู่สนทนากับท่านที่วัดปากคลองบ่อยครั้ง ครั้งละหลาย ๆ วัน หลวงพ่อโศก ได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจของท่าน ช่วยเหลือประชาชนในด้านหยูกยาด้วยความเมตตา มิได้เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย แม้บางครั้งจะได้พักผ่อน หรือจำวัดในเวลากลางคืนแล้วก็ตาม แต่เมื่อใครมีธุระมาหาท่าน และมีเสียงสุนัขเห่าขึ้น หลวงพ่อก็จะลุกขึ้นลงจากกุฏิไปถามไถ่ดู ถ้าเกี่ยวกับเรื่องเจ็บไข้ ก็จะจัดยาให้ทันที เพราะหลวงพ่อมียาสะสมไว้มาก ทั้งยาสมุนไพรและยาสำเร็จรูป ยาต่าง ๆ ของหลวงพ่อ มีไว้แจกจ่ายเป็นทาน ไม่ต้องมีสิ่งตอบแทน แม้ใครจะนำหมากพลู บุหรี่ ของขบฉันติดมาถวายด้วย ก็ไม่ยอมรับ ยกเว้นจะนำมาถวายยามปรกติ
ท่านพระครูอโศกธรรมสาร (โศก) ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอบ้านแหลมอยู่เพียง 4 ปี ก็มาด่วนมรณภาพเสียเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2482 เวลา 11.55 น. ด้วยโรคลมปัจจุบัน สิริรวมอายุได้ 67 ปี พรรษา 47 ครองวัดปากคลองอยู่ 34 พรรษา นับว่าเป็นการสูญเสียพระสังฆาธิการที่ดี และหาได้ยากยิ่งรูปหนึ่งของเมืองเพชร แม้รูปกายของท่านจะแตกดับ แต่นาม ชื่อเสียงคุณธรรมความดี ยังคงปรากฏอยู่ และเป็นที่สรรเสริญสืบไป
ราคาเปิดประมูล79 บาท
ราคาปัจจุบัน89 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลพ. - 27 เม.ย. 2554 - 08:37.16
วันปิดประมูล อ. - 03 พ.ค. 2554 - 21:23.00 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 89 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
89 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) จ. - 02 พ.ค. 2554 - 21:23.00
กำลังโหลด...
Top