หลวงพ่อพิบูลย์ วัดพระแท่น เนื้อฝาบาตร(พิมพ์นิยม) - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิภาคอีสานเหนือ

หลวงพ่อพิบูลย์ วัดพระแท่น เนื้อฝาบาตร(พิมพ์นิยม)

หลวงพ่อพิบูลย์ วัดพระแท่น เนื้อฝาบาตร(พิมพ์นิยม) หลวงพ่อพิบูลย์ วัดพระแท่น เนื้อฝาบาตร(พิมพ์นิยม) หลวงพ่อพิบูลย์ วัดพระแท่น เนื้อฝาบาตร(พิมพ์นิยม) หลวงพ่อพิบูลย์ วัดพระแท่น เนื้อฝาบาตร(พิมพ์นิยม) หลวงพ่อพิบูลย์ วัดพระแท่น เนื้อฝาบาตร(พิมพ์นิยม)
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง หลวงพ่อพิบูลย์ วัดพระแท่น เนื้อฝาบาตร(พิมพ์นิยม)
รายละเอียด เนื้อฝาบาตร พระเก่าเก็บสวย เส้นหน้าผาก รอยตีนกา จุดตำหนิมีครบ จุดจ่ายเงินเห็นชัด รมดำยังมีให้เห็น เนื้อกลับอมเขียวตามมาตรฐาน สนิมแดงเป็นหย่อมๆแบบนี้หายาก ถ้าเปิดให้เช่าห้ามล้างเด็ดขาด ต้องตกลงก่อนเช่า .ก็.ของฝีมือพยายามเลียนแบบยังไม่ได้เลย แบบนี้ถ้าล้างแล้วเมื่อไรจะเกิดขึ้นอีก...ตอนนี้ขอโชว์ก่อน นานๆจะพบสักที 1ใน2000เหรียญ ปัจุบันคงเหลือที่พอดูได้ไม่มาก สาเหตุจาก การใช้งานและเก็บชำรุดสึกกร่อน ตลาดพระก็หาหมุนเวียนยากนานๆจะมีมา องค์นี้รับประกันความแท้ตลอดชีพ
เมื่อพูดถึงหลวงพ่อพิบูลย์ เราก็คิดถึงเหรียญพุทธคุณและวิทยาคมของท่าน แต่ความจริงท่านมีดีหลายอย่างเช่นการสร้างบ้านแปลงเมือง จากหมู่บ้านจนป็นอำเภอพิบูลย์รักษ์ในปัจจุบัน เราลองมาอ่านเรื่องของท่านเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมกันบ้าง
“ ผู้อยู่ให้มีชัย ผู้ไปให้มีโชคเด้อ” คำอวยพรที่คล้ายการอำลานี้ แท้จริงเป็นคำอธิษฐานในประเพณีปล่อยโคมลมและโคมไฟของชาวอำเภอพิบูลย์รักษ์ อำเภอเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๕๕ กิโลเมตร ประเพณีท้องถิ่นเก่าแก่ดังกล่าว มีที่มาจากคติความเชื่อของชุมชนแห่งนี้ที่ว่าในช่วงเข้าพรรษา พระสงฆ์ต้องจำพรรษาอยู่แต่ในวัด ไม่สามารถออกธุดงค์โปรดสัตว์ไปในที่ต่างๆได้ เป็นโอกาสให้ภูตผีปีศาจออกสร้างเหตุร้ายเภทภัยแก่ประชาชนในแถบนี้เป็นประจำทุกปี เทวดาอารักษ์ที่สถิตย์อยู่บนสรวงสวรรค์จึงลงมาปกปักษ์รักษาชาวบ้านในช่วงเข้าพรรษา ดังนั้นในช่วงที่ออกพรรษาราษฎรจึงมีการปล่อยโคมลมและโคมไฟ เพื่อส่งเทวดาอารักษ์เหล่านั้นกลับคืนสู่สวรรค์ และยังถือเป็นการปล่อยทุกข์โศก อัปมงคลต่างๆ ให้ลอยไปกับโคมด้วย นอกจากคติความเชื่อดังกล่าวแล้ว ราษฎรยังใช้ประโยชน์จากโคมลม และโคมไฟในแง่การสื่อสาร โดยการเขียนฎีกาบอกบุญต่างๆ เช่นการทำบุญบูรณะซ่อมแซมวัดที่ชำรุดทรุดโทรม หรือการจัดงานทำบุญในเทศกาลต่างๆ ผูกติดกับตัวโคมแล้วปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เมื่อโคมลมหรือโคมไฟลอยไปตก ณ ที่ใดข่าวบุญก็จะแพร่สะพัดไปถึงที่นั้น
โคมลม มีลักษณะคล้ายถุงลมทำด้วยกระดาษบางๆ ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าโดยใช้อากาศร้อนจากควันที่ใส่เข้าไปพยุงตัวโคมให้ลอยขึ้น ส่วนใหญ่มีขนาดประมาณ ๒๗ ลูกบาศก์เมตร(๓X๓X๓ เมตร) ถึง ๑๒๕ ลูกบาศก์เมตร( ๕X๕X๕เมตร) ส่วนโคมไฟใช้ขี้ไต้จุดไฟใส่ภาชนะที่แขวนไว้ใต้โคมเพื่อให้เกิดอากาศร้อนพยุงตัวโคมให้ลอยขึ้น โดยทั่วไปมีขนาดเล็กกว่าโคมลม ทั้งโคมลมและโคมไฟสามารถลอยไปไกลได้หลายร้อยกิโลเมตรจากจุดที่ปล่อย บางลูกลอยอยู่ได้หลายวัน แต่เดิมชาวบ้านเหล่านี้นิยมเล่นโคมไฟมากกว่าโคมลม ทั้งนี้โคมลมมีขนาดใหญ่ประกอบยากกว่า นอกจากนั้นการปล่อยโคมลมมีขั้นตอนยุ่งยากกว่าโคมไฟ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญให้ชาวพิบูลย์รักษ์หันมาเล่นโคมลมมากกว่าโคมไฟเป็นพระภิกษุซึ่งราษฎรเลื่อมใสศรัทธาอย่างมากนามว่า “หลวงปู่พิบูลย์”
หลวงปู่พิบูลย์ ท่านมีความเห็นว่าการเล่นโคมลมและโคมไฟเป็นเอกลักษณ์ของชาวบ้านถิ่นนี้ แต่การปล่อยโคมไฟมีอันตรายที่แฝงอยู่ เพราะไฟจากขี้ไต้ที่เป็นเชื้อเพลิงเผาให้เกิดอากาศร้อน อาจจะยังไม่มอดเมื่อตกถึงพื้น และหากลูกไฟดังกล่าวตกลงทุ่งนาของชาวบ้านที่มีข้าวสุกเหลืองเต็มทุ่ง หรือตกลงหลังคาบ้านเรือนซึ่งมุงแฝก ก็จะเป็นเหตุเกิดไฟไหม้ ก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ หลวงปู่พิบูลย์ จึงแนะนำให้ชาวบ้านแดงเล่นโคมลมซึ่งไม่มีอันตรายแต่เพียงอย่างเดียว
แต่เดิมการปล่อยโคมลมเป็นกิจกรรมที่ชาวบ้านจัดขึ้นเอง มิได้จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ ปัจจุบันได้กำหนดให้การจัดงานโคมลมเป็นงานประเพณีระดับอำเภอ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำ ประมาณเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี งานประเพณีโคมลม ถือว่าเป็นงานประเพณีที่มีชื่อเสียงของอำเภอพิบูลย์รักษ์และของจังหวัดอุดรธานี โดยในปี ๒๕๔๖ ได้นำกิจกรรมการทอผ้ามัดหมี่ย้อมคราม มาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการจัดงาน เพื่อพัฒนาอำเภอพิบูลย์รักษ์ให้เป็นอำเภอที่มีชื่อเสียง ทางด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม จึงตั้งชื่อการจัดงานในปีนี้ว่า“ งานโคมลมลอยฟ้า และผ้ามัดหมี่ย้อมคราม อำเภอพิบูลย์รักษ์” โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำรงไว้ซึ่งประเพณี และเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรมของชาวอีสาน และพัฒนาภูมิปํญญาท้องถิ่นเพื่อก่อให้เกิดรายได้แก่ประชาชนชาวอำเภอพิบูลย์รักษ์ อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ
ข้อมูลได้จากสำนักงานบริหารการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอพิบูลย์รักษ์
ยังมีอีกหลายเรื่องที่ท่านพัฒนา เช่น การตัดถนนในหมู่บ้านเพื่อรองรับความเจริญในระดับอำเภอ แล้วท่านรู้ได้อย่างไรว่าภายหลังจากท่านมรณะภาพ ไปแล้ว 51 ปีทางการจึงให้ตั้งเป็นอำเภอ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน1,190 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 14 มิ.ย. 2553 - 09:07.00
วันปิดประมูล พฤ. - 24 มิ.ย. 2553 - 09:07.00 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,190 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เนื่องด้วยเจ้าของรายการประมูลนี้ ได้ทำผิดกฎ หรือ ถูกลดสิทธิ์ในการตั้งรายการประมูล ดังนั้นรายการประมูลทั้งหมดของเจ้าของรายการประมูลนี้จะถูกระงับชั่วคราว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
100 บาท พ. - 16 มิ.ย. 2553 - 18:15.18
psnan (3) (-1) 117.47.234.189
500 บาท พฤ. - 17 มิ.ย. 2553 - 09:03.53
psnan (3) (-1) 117.47.234.189
1,000 บาท พฤ. - 17 มิ.ย. 2553 - 09:04.03
udonteva (48) (-1) 125.26.156.68
1,190 บาท พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 14:00.37
กำลังโหลด...
Top