เคาะแรก @@@ รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเขียน หน้าลิง วัดวังตะกู อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร - webpra

ประมูล หมวด:หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน – หลวงพ่อเขียน วัดสำนักขุนเณร

เคาะแรก @@@ รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเขียน หน้าลิง วัดวังตะกู อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร

เคาะแรก @@@ รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเขียน หน้าลิง วัดวังตะกู อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร เคาะแรก @@@ รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเขียน หน้าลิง วัดวังตะกู อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร เคาะแรก @@@ รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเขียน หน้าลิง วัดวังตะกู อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร เคาะแรก @@@ รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเขียน หน้าลิง วัดวังตะกู อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร เคาะแรก @@@ รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเขียน หน้าลิง วัดวังตะกู อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เคาะแรก @@@ รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเขียน หน้าลิง วัดวังตะกู อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร
รายละเอียดประวัติความเป็นมา ประวัติหลวงพ่อเขียน ธมฺมรกฺขิโต วัดวังตะกู ต.วังตะกู อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร
หลวงพ่อเขียนเมื่อเป็นฆราวาส มีชื่อเรียกกันว่า “เสถียร” เกิดเมื่อวันเสาร์เดือน ๔ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๙ หลวงพ่อเกิดที่บ้านตลิ่งชัน ตำบลชอนไพร อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

บิดาชื่อทอง มารดาชื่อปลิด ภายหลังใช้นามสกุลว่า จันทร์แสง บ้านอยู่ติดกับวัดทุ่งเรไร หลวงพ่อเขียนมีพี่น้องร่วมสายโลหิตทั้งหมด ๕ คน เป็นชาย ๓ คน เป็นหญิง ๒ คน ดังนี้

คนที่ ๑ ชื่อ อินทร์ (ชาย)

คนที่ ๒ ชื่อ ทองใบ (หญิง)

คนที่ ๓ ชื่อ เสถียร (ชาย)

คนที่ ๔ ชื่อ แสง (ชาย)

คนที่ ๕ ชื่อ ระทวย (หญิง)

บิดา – มารดา ของหลวงพ่อเขียน มีอาชีพหลัก คือการทำนาและทำไร่ นอกจากอาชีพนี้แล้ว บิดาของหลวงพ่อเขียน ยังเป็นคนทรงประจำหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านเหล่านั้นมักเรียกกันว่า “สมุนเจ้าบ้าน”

เมื่อยังเด็กหลวงพ่อเป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่ายและเฉลียวฉลาดเมื่ออายุได้ ๑๒ ปี หลวงพ่อได้ขออนุญาตจากบิดา – มารดา ขอบวชเป็นสามเณร (พ.ศ. ๒๔๑๑) อยู่วัดทุ่งเรไร ในขณะที่บวชเป็นสามเณรนั้นได้ศึกษาอักษรสมัย ตามควรแก่การ จากท่านอาจารย์วัด พออ่านออกเขียนได้นอกจากนี้ยังได้ศึกษาภาษาขอม ควบคู่ไปกับภาษาไทย อันเนื่องมาจากขยันเล่าเรียนเขียนอ่าน อาจารย์ผู้สอนจึงได้เปลี่ยนชื่อจากเสถียรเป็น “เขียน” สามเณรเขียนได้บวชเรียนเป็นสามเณรตลอดมาโดยไม่สึกเลยจนกระทั่งอายุใกล้จะอุปสมบทได้ จึงได้สึกออกมาเป็นฆราวาส เมื่อครบอายุบวช บิดา – มารดา ตลอดจนพี่น้องได้ปรึกษาหารือกันในเรื่องจะบวช นายเขียน ซึ่งนายเขียนนั่งร่วมวงอยู่ด้วย และนั่งติดกับพี่สาวชื่อทองใบ ขณะนั้นแต่งงานมีบุตรแล้ว นายเขียนได้พูดปรารภกับพี่สาวว่า “นมผู้หญิงเป็นอย่างไรน่อ ไหนๆฉันจะบวชแล้ว อยากจะขอจับสักครั้งได้ไหม” เมื่อพี่สาวได้ยินดังนั้นก็อนุญาตให้จับนม เมื่อนายเขียน จับนมของพี่แล้ว ก็ลองจับน่องของตนบ้าง พร้อมกับพูดว่ามันคล้ายๆกับน่องของฉันไม่เข้าท่าเลย ดังนั้นใน พ.ศ. ๒๔๒๐ นายเขียนอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท ณ วัดภูเขาดิน(บางคนเรียกว่า วัดภูกระดึง) ซึ่งอยู่ใกล้กับแม่น้ำป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีอาจารย์ประดิษฐ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระอาจารย์สอนกับพระอาจารย์ทองมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลังจากหลวงพ่อเขียนได้อุปสมบทได้ ๑ พรรษา บิดา – มารดา ได้รบเร้าให้หลวงพ่อ สึกจากสมณเพศเพื่อจะได้มาแต่งงานกับหญิงคนหนึ่งซึ่งอยู่บ้านใกล้กัน หลวงพ่อไม่ยอมสึก จึงได้ลาญาติ โยมบิดา – มารดา ไปเยี่ยมญาติชื่อนางบุญมา บุญต้อ ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับท่านแต่งงานกับนายอินทร์ บุญต้อ และพามาอยู่ที่บ้านวังตะกู อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร

เมื่อหลวงพ่อมาเยี่ยมญาติที่บ้านวังตะกู ก็มีกำนันขุนพล(มาด สุขขำ) กำนันตำบลวังตะกู กับนายอินทร์ บุญต้อ ได้นิมนต์ให้หลวงพ่อจำพรรษาอยู่ที่วัดวังตะกู หลวงพ่อก็ไม่ขัดนิมนต์จึงได้จำพรรษาอยู่วัดนี้ ๑ พรรษา หลังจากนั้นท่านได้ออกจากวัดวังตะกูไปศึกษาปริยัติธรรมอยู่ที่วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี โดยมีพระอาจารย์ทองเป็นอาจารย์ผู้สอน เมื่อได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่วัดนี้เป็นเวลานานถึง ๙ พรรษา หลวงพ่อก็ลาอาจารย์ทองเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อไปศึกษาปริยัติธรรมต่อและได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดรังษี ซึ่งมีเจ้าคุณธรรมกิตติเป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระอยู่วัดรังษีนานถึง ๑๖ พรรษา ก็พอดีขณะนั้นวัดรังษีจะโอนจากวัดมหานิกายเข้าเป็นวัดธรรมยุตตินิกาย แต่หลวงพ่อไม่ยอมเปลี่ยนหลวงพ่อจึงต้องออกจากวัดรังษี ตั้งแต่นั้นมาและได้เดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรีอีกครั้งหนึ่ง ขณะนั้นท่านเจ้าคุณสังฆภาเป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อได้จำพรรษาอยู่วัดนี้อีก ๙ พรรษา

ในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ กำนันขุนพลพร้อมด้วยนายอินทร์ บุญต้อ ได้พากันเดินทางจากวัดวังตะกูไปนิมนต์หลวงพ่อให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดวังตะกู หลวงพ่อก็รับนิมนต์และได้ออกเดินทางมาพร้อมกับกำนันขุนพลและนายอินทร์ มาจำพรรษาอยู่ที่วัดวังตะกูตั้งแต่นั้นมา

ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อยังจำพรรษาอยู่ที่วัดวังตะกู ผู้ใหญ่พลาย บ้านห้วยเรียงใต้ได้นำม้าตัวเมียมาถวายหลวงพ่อ ๑ ตัว และนายทอง บ้านวังอีแร้งได้นำม้าตัวผู้มาถวายอีก ๑ ตัวในช่วงระยะเวลาประมาณ ๒๐ ปีม้าทั้งสองได้ขยายพันธุ์ออกมาเป็นม้า ๗๐ ตัวนับว่าเป็นม้าที่มาก ฝูงหนึ่งในวัดของหลวงพ่อนอกจากจะมีม้าแล้วยังมีผู้นำ ลิง ชะนี เก้ง กวาง วัวแดง จระเข้ (ขณะนี้จระเข้ตัวที่ชื่อสี อยู่ที่วัดเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตร โดยสร้างเป็นอ่างใหญ่โบกปูนซีเมนต์ให้อยู่ตรงปากถ้ำชาละวัน)เป็นสิ่งที่น่าสังเกต ว่าวัดนี้มีสัตว์เป็นจำนวนมาก คล้ายวัดหลวงพ่อเงิน บางคลาน

พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้มีอาจารย์วัดองค์หนึ่งชื่อใหญ่ สนิทบุรุษ มาจากจังหวัดนครราชสีมาได้มาขอพำนักอยู่ที่วัดวังตะกู ครั้นอยู่มานานๆเข้ามีประชาชนนับถือมาก เลยถือโอกาสตั้งตัวเป็นเจ้าอาวาสเสียเอง ทั้งนี้เนื่องจากมีทายกบางคนให้ความสนับสนุนจึงได้รื้อกุฏิปลูกใหม่ให้เข้าแถวเป็นระเบียบเป็นการขับไล่หลวงพ่อทางอ้อม เว้นกุฏิหลวงพ่อไว้ให้อยู่โดดเดี่ยวองค์เดียว นอกจากนี้ยังให้สร้างเชิงตะกอนเผาศพไว้ด้านตะวันออกใกล้ๆกุฏิหลวงพ่อเวลาเผาศพลมจะพัดควันและกลิ่นเข้ากุฏิหลวงพ่อ เรื่องนี้หลวงพ่อได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เพราะการเผาศพกว่าจะไหม้หมดก็ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง ถึงแม้หลวงพ่อจะได้รับความทุกข์ทนทรมานอย่างใด หลวงพ่อก็ทนอยู่ได้ไม่ยอมหนีไปไหนท่านชอบอยู่อย่างไม่จองเวร-จองกรรม หลวงพ่อท่านระงับความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นด้วยขันติธรรม ในขณะนั้นหลวงพ่อหมดที่พึ่งเนื่องจากทายกเก่าตายเกือบหมด

พ.ศ. ๒๔๙๑ กำนันเถาว์ ทิพย์ประเสริฐ บ้านสำนักขุนเณร ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นกำนันตำบลวังงิ้ว ซึ่งเป็นผู้มองเห็นการณ์ไกลกำนันพร้อมคณะทายก จึงได้พากันมานิมนต์หลวงพ่อให้ไปจำพรรษาอยู่วัดสำนักขุนเณร ซึ่งอยู่ห่างจากวัดวังตะกูไปทางตะวันออกระยะทางจากวัดวังตะกูถึงวัดสำนักขุนเณรประมาณ ๕ กม. และคณะที่ไปนิมนต์ได้รับปากบอกหลวงพ่อว่าจะช่วยกันสร้างกุฏิให้เพียงพอกับพระภิกษุสงฆ์ที่พำนักอยู่ที่วัดสำนักขุนเณรอย่างเพียงพอ นอกจากนี้จะสร้างคอกม้าให้อย่างกว้างขวาง หลวงพ่อได้มองเห็นเจตนาดีและความอ้อนวอน หลวงพ่อจึงรับนิมนต์ไปอยู่วัดสำนักขุนเณร ถึงแม้ว่าหลวงพ่อจะไปอยู่วัดสำนักขุนเณรแล้วก็ตาม หลวงพ่อก็ยังเทียวไป-มาระหว่างวัดสำนักขุนเณรและวัดวังตะกูมิได้ขาด

พ.ศ. ๒๔๙๓ หลวงพ่อพ่อได้ติดสินใจอย่างเด็ดขาดที่จะจำพรรษาอยู่วัดสำนักขุนเณร ด้วยความอาลัยอาวรณ์วัดวังตะกู หลวงพ่อได้กราบ ไหว้ต้นไม้ใหญ่ๆทุกต้นในบริเวณวัดวังตะกู ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าท่านเคยจำพรรษาอยู่วัดวังตะกูนานถึง ๔๙ พรรษาก็อาจเป็นได้ เมื่อหลวงพ่อไปอยู่วัดสำนักขุนเณรแล้ว คณะทายกวัดวังตะกู ก็พากันไปนิมนต์หลวงพ่อให้มาจำพรรษาอยู่วัดวังตะกู หลวงพ่อก็รับนิมนต์มาอยู่วัดวังตะกูตามเดิม ครั้นหลวงพ่อมาอยู่ได้ ๑ อาทิตย์หลวงพ่อก็ขอตัวกลับไปอยู่สำนักขุนเณรอีก ด้วยความอาลัยรักวัดทั้งสอง หลวงพ่อจึงเทียวไป เทียวมา มิได้ขาด

หลวงพ่อเขียนนับว่าท่านเป็นนักก่อสร้างองค์หนึ่ง จะสังเกตได้ว่าเมื่อหลวงพ่อไปอยู่ ณ วัดใดจะพยายามสร้างสรรค์วัดนั้นให้เจริญรุ่งเรืองสำหรับงานก่อสร้างนั้น เพื่อให้ผู้สนใจได้มองเห็นอย่างถี่ถ้วนจึงได้นำมาเขียนเป็นขั้นตอนดังนี้

ค้นหาข้อมูลจาก google

@@ ขอความกรุณาอย่าเคาะเล่นนะครับ ดูให้ดีให้ชอบแล้วเคาะ ไม่ชอบผ่านได้เลย จะได้ไม่เสียเครดิตตัวเอง และไม่ต้องเสียเวลาทั้ง 2 ฝ่ายครับ ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมประมูลนะครับ

*******************************************************************

ผู้ชนะการประมูล กรุณาโอน
ธนาคาร - กสิกรไทย
สาขา - เดอะมอลล์บางแค
ชื่อบัญชี - ภัสกัญจนภรณ์ สุขโต
เลขที่บัญชี - 7512625082

********************************************

+ รับประกันความพอใจ 7 วัน หลังจากรับพระ ไม่พอใจยินดีคืนเงินเต็มจำนวน หลังจากได้รับพระแล้วโดยไม่มีงอแง ไม่จุกจิก และไม่ถาม พระต้องอยู่ในสภาพเดิม ไม่หักชำรุด หรือ ล้างผิว แต่ขอหัก 100 บาทค่า EMS และค่าโอนเงินต่างธนาคารกรณีโอนเงินคืน เกิน 7 วัน หัก 20 % ในกรณีกฎความพอใจ
+ รับประกันตามกฎเวปครับ (พระต้องอยู่ในสภาพเดิม ไม่หัก ชำรุด บิ่น หรือ ล้างผิวนะครับ)
+ โอนเข้า บัญชี ที่ลงไว้กับเวปพระเท่านั้นนะครับ หรือ จะโอนผ่านเวปก็ได้ครับ
+ โอนแล้วกรุณาแจ้ง sms เข้ามือถือ แจ้งชื่อผู้ส่ง หรือ หมายเลข Tel. ที่ลงทะเบียนกับทางเวป เพื่อง่ายต่อการเช็คยอดนะครับ
+ สำหรับท่านที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเวป สนใจติดต่อ 0844113313
+ รายการที่ไม่ถีง 100 ติดแสตมป์ ไม่ถึง 500 ส่งแบบลงทะเบียนครับ ถ้าต้องการให้ส่ง EMS กรุณาแจ้งบอก+เพิ่มค่าส่ง อีก 30 บาท ทางร้านจะจัดส่งให้ครับ
+ รายการทางร้านจัดส่ง EMS ทุกรายการที่เกิน 500 บาทขึ้นไปครับ
*ขอบพระคุณที่ใช้บริการนะครับ
ราคาเปิดประมูล27,900 บาท
ราคาปัจจุบัน27,900 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 02 มิ.ย. 2557 - 18:29.31
วันปิดประมูล อา. - 22 มิ.ย. 2557 - 18:29.31 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
เบอร์ติดต่อ 0844113313
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 27,900 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top