@@@วัดใจร่วมสนุก@@@สมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล พิมพ์สมเด็จประธาน (เคาะเดียว) - webpra

ประมูล หมวด:พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

@@@วัดใจร่วมสนุก@@@สมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล พิมพ์สมเด็จประธาน (เคาะเดียว)

@@@วัดใจร่วมสนุก@@@สมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล พิมพ์สมเด็จประธาน (เคาะเดียว) @@@วัดใจร่วมสนุก@@@สมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล พิมพ์สมเด็จประธาน (เคาะเดียว) @@@วัดใจร่วมสนุก@@@สมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล พิมพ์สมเด็จประธาน (เคาะเดียว) @@@วัดใจร่วมสนุก@@@สมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล พิมพ์สมเด็จประธาน (เคาะเดียว)
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง @@@วัดใจร่วมสนุก@@@สมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล พิมพ์สมเด็จประธาน (เคาะเดียว)
รายละเอียดพระกรุวัดขุนอินทประมูล พิม พ์สมเด็จประธาน สวยสมบูรณ์

วัดขุนอินทประมูล เป็นพระอารามราษฎร์ ชั้นสามัญ ตั้งอยู่ หมู่ ๓ ตำบลบางพลับ อำเภอ โพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ประกาศขึ้นทะเบียนวัดในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๕๒ตอนที่ ๗๕เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๐เนื้อที่วิสุงคามสีมา ๘๐ไร่เศษ
ประวัติเดิมวัดเป็นเพียงสำนักสงฆ์ที่ใช้เป็นที่วิปัสสนาสร้างเป็นเพิงพักเครื่องไม้ไผ่หลังคามุงแฝกฝีมือชาวบ้านบริเวณ
เดิมเป็นโคกสูงน้ำท่วมไม่ถึง สมัยโบราณเป็นแหล่งที่ชาวบ้านนำวัวควายมาปลูกเพิงอาศัยดูแลในฤดูน้ำท่วม เดือน ๑๑-๑๒ ของทุกปี เมื่อน้ำลดก็นำวัวควายกลับ ที่พำนักยังถิ่นที่อยู่เดิม เป็นดังนี้มาตลอด สมัยโบราณทวาราวดี บริเวณบ้านบางพลับ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเล ซึ่งเป็นแนวผ่านมาจาก นครปฐม สุพรรณบุรี สิงห์บุรีไปจนถึงเมืองลพบุรีหรือเมืองละโว้เดิม ต่อมากลาย
เป็นแม่น้ำน้อยซึ่งมีคลอง บางพลับเป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อย เชื่อกันว่าในสมัยสุโขทัยนั้น บ้านบางพลับเป็นชุมชนใหญ่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยเชื่อมกับคลองบางพลับ และวัดขุนอินทประมูลตั้งอยู่ริมฝั่งคลองนี้
ตำนานสิงหนวัติกล่าวถึงประวัติที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพระพุทธไสยาสน์วัด ขุนอินทประมูลนี้ไว้ว่า สมัยกรุงสุโขทัยยังรุ่งเรือง ในยุคที่พระยาเลอไทสืบราชสมบัติต่อมาจากพระเจ้ารามคำแหงผู้เป็นบิดา ครั้งนั้นพระยาเลอไทเสด็จจากกรุงสุโขทัย เดินทางโดยชลมารค มานมัสการพระฤาษีสุกกะทันตะ ณ เขาสมอคอน ในเขตกรุงละโว้ การเสด็จมาครั้งนั้นมาทางแม่น้ำยมเข้าสู่แม่น้ำปิงแล้วเข้ามาสู่แม่น้ำเจ้า พระยาแยกแม่น้ำมหาศร (ปัจจุบันเพี้ยนเป็นมหาสอน)เข้ามาเขาสมอคอน
อันเป็นที่พำนักของฤาษี ผู้เป็นอาจารย์ (ฤาษีตนนี้เป็นพระอาจารย์ของพระเจ้ารามคำแหง ผู้เป็นบิดาด้วย)เมื่อนมัสการฤาษี
สุกกะทันตะแล้ว พักแรมอยู่ ณ เขาสมอคอน ๕ เพลา ได้เสด็จข้าม แม่น้ำเจ้าพระยาล่องมาตามแม่น้ำน้อย โดยผ่านมาตามคลองบางพลับเพื่อเสด็จประพาส ท้องทุ่ง เนื่องด้วยเวลาที่เสด็จมานั้นเป็นเวลาน้ำเหนือบ่า และได้แวะประทับโดยสร้างพลับพลา ณ โคกบางพลับแห่งนี้

พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล
ขณะประทับแรมอยู่ณโคกบางพลับเวลาสาม เกิดศุภนิมิตรทอดพระเนตรเห็นลูกไฟดวงใหญ่ลอยขึ้น เหนือยอดไม้
หายไปในอากาศทางทิศตะวันออก เกิดปิติโสมนัส ดำริสร้าง พระพุทธไสยาสน์ขึ้นเป็นพุทธบูชาด้วยคติที่ว่า พระองค์
ประทับแรมอยู่่ ณ ที่แห่งนี้ โดยมอบหมายให้นายบ้านเกณฑ์แรงงานทั่วแคว้นแดนลุ่มแม่น้ำน้อยทั้งหมดได้คนพัน เศษขุดหลุม
กว้าง ๒๐๐ วา นำท่อนซุงนับร้อยท่อนลงวางขัดตารางเป็นฐานแล้วขุดบ่อในทุ่งด้านหลังขนดิน ขึ้นถมสูง ๓ วา(ปัจจุบันเป็นสระกว้างอยู่ทางด้านหลังของวัด)ผู้คนอีกส่วนหนึ่งระดมทำอิฐ เผา (มีโคกที่เรียกว่า โคกเผาอิฐ และตำบลบ้านท่าอิฐ อยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ทองในปัจจุบัน) สร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้น ณ โคกบางพลับแห่งนี้สิ้นเวลานาน ๕ เดือนเป็นแล้วเสร็จ เมื่อเดือน ๕ ปี พ.ศ. ๑๘๗๐ ได้สำเร็จองค์พระพุทธไสยาสน์ยาว ๒๐ วา สูง ๕ วา
เมื่อสร้างพระพุทธไสยาสน์เสร็จแล้ว ขนานนามว่า พระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิตร มอบให้นายบ้านผู้ดูแลแต่งตั้งทาสไว้ ๕ คน แล้วเสด็จนิวัติสู่กรุงสุโขทัย เนื่องจากพระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิตร ถูกทอดทิ้งตากแดดตากฝนท่ามกลางป่ารก
อยู่นาน การดูแลรักษาก็ไม่ได้กระทำต่อเนื่อง จนในที่สุดก็ถูกทิ้งร้างมานานจนกรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจ

กรุงศรีอยุธยามีอำนาจขึ้นมาแทนที่ในระยะเวลาดังกล่าวนี้ มีพระภิกษุทรงวิทย (ชื่อตามคำเรียกของชาวบ้านหลังที่มีการสร้างพระพุทธไสยาสน์แล้ว) เป็นที่กระทำวิปัสสนา กรรมฐาน โดยมีกำลังศรัทธาของชาวบ้านสร้างเพิงพักให้เป็นที่จำวัด ต่อเนื่องกันมาเนิ่นนาน จนถึงกลางสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยพระเจ้าบรมโกศ ในครั้งนั้นมีนายอากรตำแหน่งที่ขุนอินทประมูล นายบ้านบางพลับ แขวงเมือง วิเศษไชยชาญ ในอดีตการปกครองครอบคลุม ถึง สิงห์บุรี ชัยนาท)ในประวัติเล่าสืบต่อมา นั้นกล่าวว่าขุนอินทประมูลนั้นเป็นคนจีนมีชื่อเดิมว่า เส็ง มีภรรยาเป็นคนไทยชื่อนาก ไม่มีบุตรสืบตระกูลเป็นผู้ที่มีจิตใจใฝ่ในการ พระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ปรารภว่าจะพยายามซ่อมสร้างพระพุทธไสยาสน์ และสร้างวัด ณ โคกวัด นี้ให้สำเร็จด้วยอุตสาหะแห่งตนให้จงได้ โดยเริ่มแรกได้นำทรัพย์สินส่วนตัวที่เก็บออมไว้ประมาณ ๑๐๐ ชั่งออกมาสร้างวิหาร และเจดีย์ขึ้น ณ โคกใหญ่ด้านตะวันออกสำเร็จลง เรียบร้อย ต่อมาเห็นว่าพระพุทธไสยาสน์ทรุดโทรมลงทุกวัน องค์พระแทบพังทั้งหมด ทลายลง กองกับพื้นดิน จึงดำริถากถางป่าและซ่อมองค์พระพุทธไสยาสน์ขึ้นใหม่ รวมทั้งจัด สร้างหลังคา คลุมองค์พระพุทธไสยาสน์ขึ้น โดยจัดทำเป็นเสาอิฐก่อเครื่องบนเป็นเครื่องไม้หลังคามุงด้วยหญ้าแฝกเป็น เครื่องกันแดดฝนขยายองค์พระออกไปเป็นความยาว ๒๕ วา สูง ๕ วา ๒ ศอก การซ่อมสร้างพระพุทธไสยาสน์ครั้งนั้นนับเป็นมูลค่าเงินหลายร้อยชั่ง ขุนอินทประมูลนำทรัพย์ส่วนตัวออกมาสร้างจนหมด จึงมีเจตนายักยอกพระราชทรัพย์หลายร้อยชั่งนำมา สร้างต่อจนสำเร็จแล้วพยายามปกปิดไว้ ไม่ยอมให้ข่าวแพร่งพรายไปถึงพระนครศรีอยุธยาแต่ข่าวก็เล่าลือไปถึง พระยาวิเศษไชยชาญ เจ้าแขวงเมืองวิเศษไชยชาญส่งคนมาสอบถามได้ความจริง จึงนำเรื่องขึ้นกราบทูล พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดเกล้าฯให้พระยากลาโหมขึ้นมาไต่สวน ขุนอินทประมูลให้การภาคเสธ จึงสั่งให้ราชมัณฑ์ลงฑัณฑ์เฆี่ยน ๓ ยกเพื่อรับเป็นสัตย์ แต่ขุนอินทประมูลไม่ยอมรับสารภาพผิดอ้างว่าเป็นทรัพย์์ส่วนตนจัดสร้างทั้งหมด ด้วยเกรงว่าเมื่อรับสารภาพแล้วส่วนกุศลทั้งหมดที่สร้างไว้จะตกแก่พระเจ้าแผ่นดินท้ายที่สุดทนการลงทัณฑ์ของราชมัณฑ์ไม่ไหวเมื่อใกล้สิ้นใจได้ขอพระราชทานโปรดเกล้าฯให้งดโทษ แล้วสารภาพว่าได้ยักยอกพระราชทรัพย์ไปจริง แต่มุ่งสร้างให้เป็นการเสริมพระบารมี ภายหลังขุนอินทประมูลทนรับการลงทัณฑ์ไม่ไหว ถึงแก่ชีวิตเมื่อวันอังคาร เดือน ๕ พ.ศ.๒๒๙๖ ประมาณอายุได้ ๘๐ ปีเศษพระยากลาโหมกลับไปทูลความให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทราบความตามกราบทูล เสด็จขึ้นมาทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง ทรงเห็นว่าขุนอินทประมูลมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาเป็นที่ยิ่ง เพื่อให้เกิดสมมโนรสทรงโปรดให้ฝังร่างของขุนอินทประมูลไว้ในเขตพระวิหาร ด้านหลังองค์พระพุทธไสยาสน์หลังจากทำพิธียกเกศทองคำหนัก ๑๐๐ ชั่ง พระราชทานประดับเหนือเศียรพระพุทธไสยาสน์ พระราชทานนามวัดว่า วัดขุนอินทประมูลและถวายนามพระพุทธไสยาสน์ว่า พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล มีประวัติบอกเล่าตามบันทึกคำให้การชาวกรุง เก่ากล่าวว่าพม่าบุกเข้าปล้นเอาพระเกศทองคำเผาพระวิหารและองค์พระพุทธ ไสยาสน์เสียหายทั้งหมด เมื่อเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ ความในประวัติศาตร์กล่าวสืบเนื่องต่อกันมาเช่นนี้ จริงเท็จเป็นประการใดขอยกเว้น

วัดขุนอินทประมูลถูกทอดทิ้งให้ร้างจมอยู่ในป่าโคกวัดนานถึง ๔๐๐ ปีจนล่วงมาสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีประวัติสำคัญเกี่ยวกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)วัดระฆังว่าครั้งหนึ่งเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๑๐ เมื่อสมเด็จฯเดินทางขึ้นมาตรวจสอบพื้่นที่ที่จะสร้างพระพุทธ รูปนั่งพระมหาพุทธพิมพ์ ณ วัดเกศไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ครั้งนั้นเป็นฤดูน้ำหลากสมเด็จฯให้ชาวบ้านผู้ติดตาม แจวเรือลัดทุ่งมานมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูลและพำนักพักค้างคืนอยู่ ณ บริเวณโคกวัดเป็นเวลา ๑ คืน หลังจากสมเด็จฯกลับไปวัดระฆังได้เข้าเฝ้าถวายพระพรเรื่องพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูลให้รัชกาลที่ ๔ ทรงทราบ อันเป็นเหตุ ให้เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ ได้เสด็จมานมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูลเมื่อพ.ศ. ๒๔๒๑ และเมื่อ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๑(ร.ศ.๑๒๗)วัดขุนอินทประมูลเริ่มมีการพัฒนาชัดเจนเมื่อ ปีพ.ศ.๒๕๐๑ ได้มีพระอธิการสร้าง ธีรปัญโญมาครองวัดเป็นเจ้าอาวาสแต่งตั้งองค์แรก ได้ซื้อที่ดินขยายอาณาเขตวัดออกไปทั้งทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เริ่มสร้างอาคารเสนาสนะต่าง ๆ อาทิ กุฏิสงฆ์ กุฏิเจ้าอาวาส ศาลาการเปรียญ ฯลฯ

พระนอนวัดขุนอินทประมูล
กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน วัดขุนอินทประมูลไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และเริ่มการซ่อมแซมครั้งแรก เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๐๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้เสด็จพระราชดำเนินนมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล๒ ครั้ง ในปี พ.ศ.๒๕๑๖ และ พ.ศ.๒๕๑๘ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูลนี้ในปีพ.ศ.๒๕๑๙
ปัจจุบันพระครูวิเศษชัยวัฒน์เจ้าอาวาสวัดชัยมงคลดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส งานนมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล มีปีละ ๒ ครั้งในเดือน ๕ แรม๗-๘ ค่ำ ครั้งหนึ่ง และเดือน ๑๑ แรม ๖ ค่ำ อีกครั้งหนึ่ง
ราคาเปิดประมูล190 บาท
ราคาปัจจุบัน280 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 27 พ.ค. 2554 - 14:30.32
วันปิดประมูล ส. - 28 พ.ค. 2554 - 15:02.21 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 280 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) ศ. - 27 พ.ค. 2554 - 14:56.52
210 บาท ศ. - 27 พ.ค. 2554 - 15:21.01
220 บาท ศ. - 27 พ.ค. 2554 - 17:36.21
230 บาท ส. - 28 พ.ค. 2554 - 05:37.16
240 บาท ส. - 28 พ.ค. 2554 - 14:09.47
250 บาท ส. - 28 พ.ค. 2554 - 14:24.22
260 บาท ส. - 28 พ.ค. 2554 - 14:34.07
270 บาท ส. - 28 พ.ค. 2554 - 14:55.33
280 บาท ส. - 28 พ.ค. 2554 - 14:57.21
กำลังโหลด...
Top