
ประมูล หมวด:พระกรุ เนื้อชิน
พระโคนสมอ กรุวังหน้า องค์นี้เนื้อชินเงิน พิมพ์ห้อยพระบาท นิยมสุดของกรุนี้มาแล้วจ้า



ชื่อพระเครื่อง | พระโคนสมอ กรุวังหน้า องค์นี้เนื้อชินเงิน พิมพ์ห้อยพระบาท นิยมสุดของกรุนี้มาแล้วจ้า |
---|---|
รายละเอียด | องค์นี้เป็นพระโคนสมอ เนื้อชินเงิน พิมพ์ประทับนั่งห้อยพระบาท อันเป็นเนื้อและพิมพ์นิยมสุดของกรุนี้ อาจเป็นเพราะขนาดที่กำลังพอเหมาะสามารถห้อยอาราธนาติดตัวได้ และหลังจากมีผู้นำไปห้อยบูชาแล้วเกิดประสบการณ์กันมากมายทั้งทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และมหาอุด จึงทำให้กลายเป็นพระยอดนิยมนับแต่แตกกรุตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน พระองค์นี้จัดเป็นพระสวยสมบูรณ์ มีรายละเอียดของพระพักตร์พอมองเห็น ที่บริเวณฐานปรากฎ คราบยางไม้ ที่มักมีให้เห็นในพระโคนสมอที่ขึ้นจากกรุวังหน้าทั้งยังมีมีร่องรอยการระเบิดจากภายในประทุขึ้นบนผิวทั่วองต์พระทำให้ง่ายต่อการพิจารณาสำหรับพระเนื้อชินเงิน ส่วนด้านหลังเป็นหลังแอ่ง อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพระโตยสมอชินเงินของกรุวังหน้า มีร่องรอยขาวโพลนแต่แห้งซีดของปรอทให้เห็นอยู่ตามซอกในแอ่ง พร้อมรอยระบิด ขอบแอ่งมีร่องรอยการฝนขอบ แม้ผิวพระจะไม่ขาวแต่ก็ทดแทนด้วยความแข็งแรง ไม่ผุ ไม่มีอุดซ่อมขององค์พระ ซึ่งในปัจจุบันจัดว่าหาได้ยากมาก สำหรับพระโคนสมอ เนื้อชินเงิน กรุวังหน้า ฟอร์มแบบนี้ ที่ส่วนใหญ่จะพบเห็นเพียงพระผุ กร่อนเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา พระโคนสมอกรุวังหน้านั้น สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายคาบเกี่ยวกับรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเรียกตามสถานที่ ๆ พบ คือวังหน้า หรือชื่อเป็นทางการคือ พระราชวังบวรสถานมงคล ที่ได้สร้างวัดไว้ในวังตามแบบราชประเพณีตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า และโปรดพระราชทานนามว่า “ วัดบวรสถานสุทธาวาส “แตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๕ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เป็นผู้บูรณะโดยโปรดถอนวิสุงคามสีมาส่วนของวัดบวรฯ เพื่อสร้างโรงเรียนนาฏดุริยางศาสตร์ หรือโรงเรียนนาฏศิลป์ในปัจจุบัน พร้อมกันกับวัดพระแก้วในคราวเดียวกันเพื่อจัดงานฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ ๑๕๐ ปี ขณะทำการปรับรื้อได้พบพระเครื่องจำนวนมากใต้ฐานชุกชี ภายในบริเวณวัดบวรฯ มีทั้งเนื้อดิน ชินเงิน ตะกั่วสนิมแดง และผง เมื่อแรกพบคนงานได้นำมากองไว้ที่โคนต้นสมอพิเภกภายในบริเวณนั้น จึงเรียกกันต่อมาว่าพระโคนสมอ และภายหลังมีผู้พบอีกหลายครั้ง และ กรุ ตามวัดสำคัญ ๆ ต่าง ๆ รวมถึงวัดรั้วเหล็ก หรือ วัดประยุรวงศาวาส ต่อมาก็ได้พบพระแบบเดียวกันนี้อีกตามกรุต่างๆ ในกทม.และอยุธยา ซึ่งเมื่อพิจารณาจากพุทธศิลป์แล้วสันนิษฐานได้ว่าเป็นพระสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อเสียกรุงศรี ฯ ครั้งที่ 2 หลังจากเริ่มสร้างกรุงเทพฯ นั้นก็ได้มีการชะลอพระพุทธรูปจากโบราณสถานต่างๆ ในจังหวัดที่เป็นวัดร้างเข้ามาประดิษฐานไว้ตามพระอารามต่างๆ ในกทม. พระพุทธรูปจากอยุธยาเองก็ถูกนำเข้ามาไว้ในกรุง หลายองค์ประจำอยู่ตามวัดต่างๆ ในกทม. นอกจากพระพุทธรูปที่ได้นำเข้ามาไว้ในกรุงแล้วก็ยังได้นำพระเครื่องที่พบตามกรุในอยุธยาเข้ามาบรรจุไว้ตามวัดต่างๆ ด้วย และพระโคนสมอก็ได้ถูกนำเข้ามาบรรจุไว้ตามสถานที่ต่างๆ ในครั้งนั้นด้วย แต่เป็นที่น่าเสียดายคือ ไม่มีบันทึกไว้ว่า พระทั้งหมดนั้นได้นำมาจากที่วัดใดบ้างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระโคนสมอเนื้อชิน กรุวังหน้านี้ ภายหลังมีแตกกรุออกมาอีกหลังสงครามมหาเอเซียบูรพา สิ้นสุดลง (พ.ศ.2488)เมื่องสงครามโลกสงบใหม่ ๆ เศรษฐกิจฝืดเคืองข้าวยากหมากแพง มักมีขโมยลักลอบเข้าไปขุดสมบัติที่ในบริเวณอาณาเขตของวังหน้าที่ค้นพบกรุในครั้งแรก จนลักลอบนำออกมาขายในตลาดมืดจำนวนไม่น้อย ก่อนที่กรมศิลปากรจะได้ขึ้นบัญชี ณ สถานที่นี้ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เพื่อจัดเตรียมสถานที่ทำเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติต่อไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2507 เมื่อได้รับอนุมัติงบบูรณะวังหน้าโดยเฉพาะ จึงได้เริ่มทำการบูรณะว่อมแซมวัดพระแก้ววังหน้า ซึ่งในครั้งนี้ทางกรมศิลปากรได้มุ่งทำการบูรณะครั้งใหญ่ในบริเวณที่เป็นอุโบสถวัดพระแก้ววังหน้าซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตและพระพุทธสิหิงค์มาก่อน จากการสำรวจพบว่าฐานชุกชีเดิมที่เป็นปูนและโครงด้านในหมดอายุการใช้งานบูรณะไม่ได้จึงทำเรื่องขอทุบทิ้งทั้งหมดเพื่อก่อสร้างใหม่ตามแบบเดิม หลังจากได้อนุมัติแล้วจึงลงมือทันที ในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการเปิดกรุของ "พระกรุวังหน้า" อย่างเป็นทางการทั้งๆ ที่ก่อนน้านี้มีผู้ลักลอยเข้าไปขุดหาสมบัติมาหลายสิบปี จากบันทึกของกรมศิลปากร ที่เข้าไปสำรวจระบุหลักฐานไว้ดังนี้ "การขุดฐานชุกชีหลังจากได้ทุบฐานไปแล้วพบกรุสมบัติอยู่ใต้ฐานชุกชี พบกรุพระซ้อนกันอยู่โดยเริ่มแต่ชั้นบนสุดลงไปจนถึงล่างสุด ลักษณะของกรุมีฝาผนึกทุกกรุและอยู่สลับกันไม่ทับซ้อนกัน ต้องใช้การทดสอบและประมาณการจากหลักโบราณคดีไทยจึงสามารถเปิดกรุได้ทั้งหมด" ซึ่งพระพิมพ์ในกรุที่พบมีทั้งพระบูชา, พระพิมพ์เนื้อชินแบบโคนสมอ พระพิมพ์เนื้อดินเผาของสมัยต่าง ๆ และ พระพิมพ์เนื้อดินเผาอีกแบบที่มีจำนวนน้อยกว่ากันมาก ได้แก่พระพิมพ์เนื้อดินเผาแบบที่มีลงรักปิดทองล่องชาดทุกองค์ ซึ่งก็คือ"พระกรุวังหน้า" นั่นเอง พระที่พบในกรุที่เป็นพระบูชาที่ไม่ชำรุดได้รับการนำเข้าไปไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ส่วนพระโคนสมอ เนื้อดิน และเนื้อชิน ที่ส่วนใหญ่ ชำรุด ผุระเบิดไปตามกาลเวลานำออกให้ประชาชนเช่าบูชา ส่วนพระวังหน้าสามพิมพ์นี้บันทึกของกรมศิลปากรระบุชัดว่า "เนื่องจากเห็นว่าพระมีจำนวนน้อยจึงมิได้นำออกให้บูชาเหมือนกับพระอื่นๆ ที่พบในกรุเดียวกัน" ซึ่งต่อมาหลังการก่อสร้าง พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ แล้วเสร็จสมบูรณ์ กรมศิลปากรจึงได้นำสิ่งของทั้งหมดมาจัดตั้งแสดงโบราณวัตถุไว้จนปัจจุบัน สนใจลองติดต่อสอบถามกันเข้ามากันได้จ้า พระสวยสมบูรณ์แบบนี้ ถือว่าไม่น้อยหน้าใคร นาน ๆ จะมีผ่านเข้ามา พลาดหลุดมือไปแล้วจะบ่นเสียดายนะจะบอกให้!!!!! หรือ หากองค์นี้ยังไม่ถูกใจ อาจมีรายการอื่น ๆ ที่ทำนกำลังค้นหาอยู่เชิญที่นี่เลยจ้า http://www.web-pra.com/Shop/jorawis |
ราคาเปิดประมูล | 900 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 13,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | จ. - 25 ส.ค. 2557 - 17:10.21 |
วันปิดประมูล |
จ. - 25 ส.ค. 2557 - 19:37.54 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 13,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน) |
---|---|
ราคาประมูลด่วน | 13,000 บาท |
เพิ่มครั้งละ | 100 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...