กริ่งอรหัง หลวงพ่อโอภาสี พุทธคุณสุดๆ - webpra

ประมูล หมวด:พระกริ่ง พระชัยวัฒน์

กริ่งอรหัง หลวงพ่อโอภาสี พุทธคุณสุดๆ

กริ่งอรหัง  หลวงพ่อโอภาสี  พุทธคุณสุดๆ กริ่งอรหัง  หลวงพ่อโอภาสี  พุทธคุณสุดๆ
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง กริ่งอรหัง หลวงพ่อโอภาสี พุทธคุณสุดๆ
รายละเอียดพรระกริ่งอรหัง หลวงพ่อโอภาสี ปี2498
พระดีพิธีใหญ่พุทธคุณเยี่ยม

พระกริ่งอรหัง 2498 เป็นพระกริ่งที่วงการพระเครื่อง ส่วนหนึ่ง เช่าหากันในนาม พระกริ่งหลวงพ่อโอภาสี ทั้งนี้เนื่องจากได้รับ ทองชนวน (ทองเก่าพันปี) จากหลวงพ่อโอภาสี มาเป็นส่วนผสมในการหล่อสร้างด้วย

พระกริ่งอรหัง เป็นองค์พระพุทธปฏิมากร ที่ได้จำลอง มาจากองค์ พระประธานในพระอุโบสถวัดราชบพิธฯ คือ "พระพุทธอังคีรส" และได้ ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดราชบพิธฯ โดยมีพระคณาจารย์ 108 รูป นั่งปรกปลุกเสก
ความเป็นมาของ พระกริ่งอรหัง นี้ อาจารย์ ส.พลายน้อย ได้เขียนไว้ในตอนหนึ่ง ของประวัติ หลวงพ่อโอภาสี...ว่า
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสในเรื่องกฤตยาคมอยู่มาก โดยเฉพาะท่านมีความเคารพศรัทธาเลื่อมใส หลวงพ่อโอภาสี และเคยได้รับครอบน้ำมนต์สำหรับเก็บใส่น้ำล้างหน้าจากหลวงพ่อโอภาสีไว้ด้วย ในสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มียศ พลเอก ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ท่านได้สร้าง พระกริ่งอรหัง ไว้รุ่นหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2498 เนื่องจากในปีนั้นท่านมีอายุครบ 4 รอบ 48 ปี จึงเห็นว่า ควรจะสร้างพระพุทธปฏิมากร องค์พระประธานไว้ในบวรพุทธศาสนาสักองค์หนึ่ง พอดีกับในขณะนั้น ทาง วัดสุวรรณจินดาราม อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี กำลังวางรากโบสถ์ และยังไม่มีองค์พระประธาน พลเอกสฤษดิ์ จึงตกลงใจสร้าง พระประธานถวาย โดยได้ปรึกษากับ พระธรรมปาโมกข์ (สมเด็จพระสังฆราช-วาสน วาสโน) และ พระครูอาทรธรรมานุวัตร วัดราชบพิธฯ ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่พลเอกสฤษดิ์มีความเคารพนับถืออย่างยิ่ง พระพุทธรูปที่สร้างนี้เป็นแบบขัดสมาธิ แบบสุโขทัย หน้าตักกว้าง 2 ศอก ประกอบพิธีหล่อที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม. เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2498 และได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระพุทธสยมภูพรรณพิจิตร พร้อมกันนั้น ท่านก็ได้จัดสร้าง พระกริ่งอรหัง โดยจำลองรูปแบบจากองค์พระประธานในพระอุโบสถ วัดราชบพิธฯ คือ พระพุทธอังคีรส พระกริ่งอรหัง ที่สร้างมีจำนวน 10,009 องค์ และพระคะแนน ซึ่งเป็น พระกริ่ง 2 หน้าเหมือนกัน อีกจำนวน 100 องค์ ในการสร้างพระ-เททองผสมโลหะ-หล่อพระในคราวนั้น คณะกรรมการตกลงกันว่า จะว่าจ้างทีมสร้างและหล่อพระของ นายช่างฟุ้ง บ้านช่างหล่อ ไปปั้นหุ้นถอดแบบพระกริ่งและเทผสมโลหะหล่อพระในมณฑลพิธีภายในบริเวณวัดราชบพิธฯ สำหรับแผ่นโลหะ ทองคำ เงิน นาก ทองแดง ทองเหลือง ได้ลงอักขระเลขยันต์ โดยพระคณาจารย์จากทั่วเมืองไทย ประมาณกว่า 108 แผ่น เท่าที่มีหลักฐานแน่นอน คือ
สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ พระสังฆราช (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร,
สมเด็จพระวันรัต สังฆนายก (สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ปลด กิตติโสภโณ) วัดเบญจมบพิตร,
หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด,
พระภาวนาโกศลเถระ (พระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อสด) วัดปากน้ำ, หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง,
พระครูวินิตศีลคุณ (หลวงพ่อลา) วัดโพธิ์ศรี จ.สิงห์บุรี เป็นต้น

สำหรับ หลวงพ่อโอภาสี ท่านได้บริกรรม ทองชนวน ให้กับพลเอกสฤษดิ์ไว้ผสมกับทองที่จะหล่อพระประธาน และพระกริ่งอรหังครั้งนั้นไว้ด้วย โดยท่านบอกว่าเป็น "ทองเก่าพันปี"
พิธีผสมโลหะหล่อพระและพิธีพุทธาภิเษกฯ ได้ประกอบกันที่วัดราชบพิธฯ เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2498 ปีมะแม เวลา 09.25 น. เป็นเวลาปฐมฤกษ์ เป็นการจัดพิธีทั้งหมดให้สำเร็จเสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน โดยใช้เวลาตลอดทั้งวันทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า โดยมีพระครูอาทรธรรมานุวัตร เป็นผู้ดำเนินการฝ่ายพระสงฆ์,
พลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส,
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ชื่น นพวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานจุดเทียนชัย,
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (อยู่ ญาโนทัย) วัดสระเกศ เป็นประธานเจริญชัยมงคลคาถา
และพระคณาจารย์ร่วมบริกรรมคาถา นั่งปรกปลุกเสก ภายในบริเวณพิธี อาทิ
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี,
พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้,
หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ,
หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา,
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก,
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก,
หลวงปู่ธูป วัดแค นางเลิ้ง,
หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา,
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม,
หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิศ,
หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร,
พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส,
ท่านพ่อลี วัดอโศการาม,
หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว,
หลวงพ่อเสงี่ยม วัดสุทัศนฯ,
เจ้าคุณศรีฯ (ประหยัด) วัดสุทัศนฯ,
หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม,
หลวงพ่อสุด วัดกาหลง,
หลวงพ่อมิ่ง วัดกก,
เจ้าคุณผล วัดหนัง,
หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว
ฯลฯ

หลังจากนั้นพลเอกสฤษดิ์ ได้ถวายพระกริ่งอรหัง แด่สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น นพวงศ์) วัดบวรฯ จำนวนหนึ่ง ถวายพระครูอาทรฯ จำนวนหนึ่ง เพื่อแจกแก่ผู้ร่วมทำบุญในครั้งนั้น และอีกจำนวนหนึ่งได้ถวายให้วัดสุวรรณจินดาราม อ.ลาดหลุมแก้ว ส่วนที่เหลือพลเอกสฤษดิ์ได
ราคาเปิดประมูล1,900 บาท
ราคาปัจจุบัน3,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 06 มิ.ย. 2554 - 11:01.09
วันปิดประมูล อา. - 26 มิ.ย. 2554 - 11:01.09 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
ข้อมูลเพิ่มเติม #1 อ. - 07 มิ.ย. 2554 - 09:52.57
บัญญัติ 10 ประการของนักนิยมพระเครื่อง เพื่อเป็นข้อคิดแก่ผู้คนที่สนใจคือ
1. ใจเย็น
2. เล่นซื่อ
3. มือถืง
4. ตรึงราคา รู้ราคาปัจจุบันของตลาดอย่างดี
5. ไม่บ้าลม
6. อย่านิยมถ้าสงสัย
7. คิดไกลดีกว่าใกล้
8. ไม่ถือตัว
9. ไม่กลัวถ้าของแท้ โอกาสมาแล้ว
10. ใจแน่วแน่ถ้าผิดพลาด

บัญญัติ ๑๐ ประการของนักนิยมพระเครื่อง คงจะให้แนวความคิดแก่ท่านที่สนใจพอสมควร การเป็นนักสะสมนิยมพระเครื่องที่ดีมีมาตรฐาน จะต้องใช้ความรู้ สติปัญญา ความรอบคอบสุขุม มีจริยธรรม ที่สำคัญคือ

มีสติ กับ มีสตังค์
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 3,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
1,910 บาท จ. - 06 มิ.ย. 2554 - 21:48.17
2,000 บาท จ. - 06 มิ.ย. 2554 - 21:57.08
2,100 บาท อ. - 07 มิ.ย. 2554 - 13:03.28
2,300 บาท อ. - 07 มิ.ย. 2554 - 22:18.48
2,400 บาท พฤ. - 09 มิ.ย. 2554 - 13:13.49
2,500 บาท พฤ. - 09 มิ.ย. 2554 - 13:14.05
3,000 บาท ส. - 18 มิ.ย. 2554 - 18:33.01
กำลังโหลด...
Top