พ่องั่ง เศียรโล้น มหาเสน่ห์ - webpra

ประมูล หมวด:เครื่องรางของขลัง

พ่องั่ง เศียรโล้น มหาเสน่ห์

พ่องั่ง เศียรโล้น มหาเสน่ห์ พ่องั่ง เศียรโล้น มหาเสน่ห์ พ่องั่ง เศียรโล้น มหาเสน่ห์ พ่องั่ง เศียรโล้น มหาเสน่ห์ พ่องั่ง เศียรโล้น มหาเสน่ห์
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พ่องั่ง เศียรโล้น มหาเสน่ห์
รายละเอียดพ่องั่ง เศียรโล้น มหาเสน่ห์
ของจริงที่พิสูจน์ความเข้มขลังได้
ของจริงต้องหล่อและอุดดินจนถึงพระเศียร
โปรดระวังของปลอมให้มากๆ



เป็นพระคู่กายนักรบโบราณ
นิยมพกตัวยามศึกสงคราม บางครั้งเรียกพระชัย
ดินอุดฐานอัดแน่นมากๆ ใช้ดีมีคุณ ไม่มีโทษ
ถ้าจะนับอายุคงได้หลายร้อยปีขอรับ



พุทธานุภาพที่เลื่องลือมานานไม่ว่าจะเกี่ยวกับเรื่องเสน่ห์ ได้รับความเอ็นดูแก่ผู้พบเห็นกับผู้ที่พกพาและด้านคงกะพันที่มีเมื่อยามขับ ขัน จึงเป็นที่นิยมเล่นหากันจนทุกวันนี้ครับ*** ในวงการพระเครื่องบ้านเรามีของแปลกประหลาดพิสดารพันลึกมากมาย ต้องค่อยๆ พิจารณาหาข้อมูลแล้วก็แลกเปลี่ยนความรู้กัน ตัวอย่างเช่น คนทั่วไปมักจะเคยเห็นพระพุทธรูปองค์เล็กๆ ทำจากสำริดบ้าง ทองเหลืองบ้าง นั่งปางสมาธิบนฐานสูงหน่อย จุดที่น่าสังเกตคือพระเศียรส่วนที่เป็นพระเกศโมฬีจะแหลมมากกว่าพระพุทธรูป ประเภทอื่น ไม่ปรากฏผ้าสังฆาฏิพาดให้เห็น คนทั่วไปเรียกท่านว่า "พระงั่ง"

หลายๆ คนคงสงสัยว่าทำไมใช้คำว่า "งั่ง" อันมีความหมายที่ทุกคนรู้ดีว่าเหมือนกับซื่อบื้อ งี่เง่า อะไรทำนองนี้

ในความจริง คำว่า "งั่ง" มีอีกหลายความหมาย เช่น อาจหมายถึงโลหะประเภททองเหลืองหรือทองแดงที่มีความแข็ง เคยได้ยินคนเก่าคนแก่เรียกแหวนทองเหลืองว่า แหวนงั่ง ก็มี

นอกจากนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ยังเคยทรงมีพระอรรถาธิบายใน "สาส์นสมเด็จ" ว่าหมายถึงทองแดง เป็นอันได้ข้อสรุปข้อหนึ่งว่าคงจะเป็นคำที่ใช้เรียกโลหะคำหนึ่งในสมัยโบราณ และถ้าไปตามสืบความหมายในพจนานุกรมบางฉบับ มีการให้ความหมายคำว่า "งั่ง" ไว้ว่า เป็นพระพุทธรูปทำจากเนื้อโลหะ ไม่มีผ้าสังฆาฏิพาด และมีการให้ความหมายว่า เป็นพระพุทธรูปที่ยังไม่ได้ทำพิธีเบิกเนตร (ปลุกเสกให้เป็นพระพุทธรูป)

หากจะกล่าวโดยทั่วไปแล้ว ผมเห็นว่าควรจะแยกสิ่งที่เรียกว่า "พระงั่ง" ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

แบบที่ 1 งั่งในลักษณะพระพุทธรูปขนาดเล็ก เศียรแหลม ตรงที่คนโบราณพกออกศึกและนำกลับมาบูชาเรียกกันติดปากว่า "พระชัย" หมายถึงพระที่มีชัยชนะ และพุทธลักษณะที่ปรากฏจะเป็นศิลปะอยุธยา ที่มีศึกสงครามบ่อยครั้ง ไม่สู้จะงดงามนัก ฝีมือจะเป็นช่างชาวบ้าน รวมทั้งวิธีการเทหล่อก็จะง่ายๆ ไม่พิถีพิถัน

แบบที่ 2 งั่งจะอยู่ในลักษณะเครื่องรางของขลังที่แพร่หลายในแถบเขมรตั้งแต่ยุคหลัง Post Angkor คือหลังสมัยเขมรเมืองพระนครเป็นต้นมา ศิลปะของสมัยนี้จะมีอิทธิพลจากชาติต่างๆ เช่น อยุธยา เวียดนาม ลาว เข้าไปปะปนอยู่เราเรียก ศิลปะแบบศรีสันธอร์ ปรากฏว่า "งั่ง" ของเขมรนี่เองมีอิทธิฤทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์ บางทีทำเป็นรูปผู้ชายนั่งอ้าขา บ้างทำคล้ายพระพุทธรูป นั่งบนฐานบัวฟันปลา หรือฐานเขียง ไม่มีผ้าพาดบ่า ที่สำคัญทำปลายเศียรแหลมเอียงบ้าง ทำเป็นเศียรโล้นบ้าง บางทีพบทำดวงตากลมใหญ่สีแดงนักเลงพระเรียก "ไอ้งั่งตาแดง"

"งั่ง" ในลักษณะเครื่องรางของขลังไม่ได้มีเฉพาะในเขมร หากแต่พบได้ในแถบหลวงพระบาง เวียงจันทน์ ก่อนจะแพร่หลายเข้ามาทางแถบภาคอีสานของไทยด้วย ซึ่งได้รับการกล่าวขวัญถึงความเข้มข้นของกฤติยาคมในเรื่องอิตถีเพศ เรียกหาสตรีให้ลุ่มหลง เรื่อยไปถึงกระ บวนการดูแลให้คงความเข้มขลังจะต้องไว้ในที่ต่ำ เลยไปจนถึงการสังเวยด้วยเลือดประจำเดือนของหญิงสาว เป็นต้น

จริงๆ แล้ว ไม่ว่าจะกี่งั่งก็จะยืนอยู่บนเรื่องราวที่เล่าขานสืบต่อกันมาว่า มีชายหนุ่มคนหนึ่งอกหักรักคุดไม่มีผู้หญิงเหลียวแล จนต้องหันหน้าเข้าหาร่มกาสาวพัสตร์ แต่ขณะที่ทำพิธีอุปสมบทอยู่นั้น หญิงคนรักเกิดเปลี่ยนใจหวนกลับมาขอคืนดี จนไอ้หนุ่มเปลี่ยนใจไม่บวชเรียน แต่ก็น่าแปลกว่าหลังจากนั้นมีสาวแก่แม่ม่ายมาลุ่มหลงรักใคร่มิได้ขาด คนโบราณอาจจะด่าเอาว่า "ไอ้งั่ง" ก็เป็นไปได้ เนื่องจากแทนที่จะบวชเรียนใฝ่หาทางธรรมกับหลงไปกับรูป รส อันเป็นกามตัณหา แต่ผู้ขมังเวทชาวเขมรกับเอาเคล็ดดังกล่าวมาจัดสร้างวัตถุอาถรรพ์และแพร่หลาย ไปทั่ว ดังนั้น รูปลักษณะที่ยังไม่ผ่านการเบิกเนตร (ตายังปิดด้วยอบาย) หรือการไม่ได้ครองผ้าสังฆาฏิ จึงเป็นการแสดงเงื่อนงำของตำนานดังกล่าวอีกทางหนึ่ง

ส่วน "พระชัย" ที่กล่าวถึงนั้น ดันมีลักษณะไปใกล้เคียงกับ "ไอ้งั่ง" เข้า บวกกับคำว่า "งั่ง" ยังมีความหมายถึงโลหะประเภททองเหลือง ทองแดง เวลานานไปคนเลยเรียกพระชนิดนี้ว่า "พระงั่ง" ไปด้วย ซึ่งความจริงมีข้อสังเกต คือ พระเกศโมฬีท่านมักจะไม่เอียง และจะไม่ลงอักขระเลขยันต์ ฐานจะเป็นฐานเขียงเรียบไม่ใช่ฐานบัวฟันปลา รวมทั้งศิลปะจะเป็นอยุธยา ไม่ค่อยจะออกลักษณะพิสดารพันลึกเหมือนงั่งของเขมรและลาว ***



********* รับประกันความแท้ 100 % *********
"พระที่ท่านเช่าบูชาไปจากร้าน 11 ธันวา รับประกันพระแท้ตลอดชีพ
หากเก๊ทางร้านยินดีคืนเงินเต็มทุกกรณี
แต่พระต้องอยู่ในสภาพเดิมที่ออกจากร้านเท่านั้น
ขอบคุณที่ใช้บริการ V-Amulet"

อย่าลืมคลิก พระเครื่องทั้งหมดของทางร้าน 11 ธันวา นะครับ อาจมีพระที่คุณสนใจอยากได้ครับ ขอบคุณทุกๆท่านที่เข้ามาดูครับ

http://www.web-pra.com/Shop/V-Amulet

11 ธันวา
เจ้าของร้าน ปฐวีคงคา
โทร.087-0257282
vvvrapong99@hotmail.com
ราคาเปิดประมูล1,500 บาท
ราคาปัจจุบัน1,600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 09 ม.ค. 2558 - 22:28.44
วันปิดประมูล พฤ. - 29 ม.ค. 2558 - 08:45.57 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
เบอร์ติดต่อ 087-0257282
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
1,600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พ. - 28 ม.ค. 2558 - 08:45.57
กำลังโหลด...
Top