รูปเหมือนใบโพธิ์ รุ่นแรก เนื้อนวะ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์ - webpra

ประมูล หมวด:หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ – หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก - หลวงพ่อตัด วัดชายนา - หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง

รูปเหมือนใบโพธิ์ รุ่นแรก เนื้อนวะ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์

รูปเหมือนใบโพธิ์ รุ่นแรก เนื้อนวะ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์ รูปเหมือนใบโพธิ์ รุ่นแรก เนื้อนวะ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์ รูปเหมือนใบโพธิ์ รุ่นแรก เนื้อนวะ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์ รูปเหมือนใบโพธิ์ รุ่นแรก เนื้อนวะ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง รูปเหมือนใบโพธิ์ รุ่นแรก เนื้อนวะ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์
รายละเอียดรูปเหมือนใบโพธิ์ รุ่นแรก เนื้อนวะ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์

หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน หรือ พระครูนิยุตธรรมสุนทร แห่งวัดหนองจอก ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ท่านเป็นอีกหนึ่ง ในบรรดาพระเกจิอาจารย์ผู้เปี่ยมอภิญญาอาคมขลัง มีพลังจิตเข้มขลังสามารถปลุกเสกปลัดขิกให้เคลื่อนไหวได้ดังมีชีวิต หลวงพ่อยิด เป็นผู้สร้างวัดหนองจอกด้วยมือของท่านเอง จากที่รกร้างเต็มไปด้วยป่าไผ่และดงหนาม จนสำเร็จเป็นวัดที่เจริญและงดงามในปัจจุบัน ในช่วงประมาณปี 2535-6 เป็นยุคที่พระเกจิใหม่เฟื่องฟูอย่างที่สุด ซึ่งหลวงพ่อยิด ก็ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสิบพระเกจิที่ดังที่สุดตอนนั้น หลวงพ่อยิด ท่านจะสรงน้ำปีละครั้งเดียว ในการสรงน้ำ หลวงพ่อจะอนุญาติให้ลูกศิษย์ที่มาสรงน้ำท่านใช้แปรงทองเหลือง (ชนิดเดียวกับที่ใช้ทำความสะอาดพื้นปูนซีเมนต์) ขัดทำความสะอาดตัวท่าน โดยที่แปรงทองเหลืองที่แสนคมหาได้ระคายผิวหนังของหลวงพ่อ ส่วนวัตถุมงคลของหลวงพ่อยิดที่ขึ้นชื่อคือ ปลัดขิก ที่สร้างปาฏิหารย์บินได้ เป็นที่นิยมกว้างขวางในหมู่ ทหารและตำรวจ เพราะเชื่อกันว่าใครมีปลัดขิกของหลวงพ่อยิดติดตัวแล้วจะดีเด่นในด้าน เมตตามหานิยมและแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวงอีกทั้งมีผู้ประสบ เหตุการณ์ต่างๆ ทั้งแคล้วคลาดและโชคลาภจากการบูชาวัตถุมงคลจากหลวงพ่อติดตัว ชื่อเสียงของหลวงพ่อจึงโด่งดังมากในยุคนั้น ปัจจุบันแม้หลวงพ่อท่านได้ละสังขารไปแล้ว แต่วัตถุมงคลของหลวงพ่อก็ยังคงความศักดิ์สิทธิ์ดีเด่นทุกด้านไม่ว่าจะเป็นค้าขาย เมตตา คงกระพัน
ตอนนี้มีผู้นิยมสะสมกันเรื่อยๆ

ประวัติโดยย่อ หลวงพ่อยิด ท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2476 เมื่ออายุ 6 ขวบ บิดามารดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์ พระอาจารย์หวล วัดนาพรม (ท่านเป็นน้าของ ด.ช.ยิด) และเห็นว่าเป็นเด็กที่ชอบอยู่วัด และจะเดินตามหลวงน้าไปวัดทุก ๆ วัน ในตอนเช้าหลังจากใส่บาตรแล้ว ครั้นอายุได้ 9 ขวบได้บวชเป็นสามเณร ณ.วัดนาพรหม โดยมีพระอธิการหวล (หลวงน้า) เป็นอุปฌาย์ ได้ศึกษาอักขระเลขยันต์และฝึกปฏิบัติสมาธิกับพระอธิการหวล และครูหลี แม้นเมฆ มีความสนใจในด้านวิชาอาคม สักยันต์และร่ำเรียนศึกษาพระธรรมวินัย ควบคู่กันไป และได้ขออนุญาติออกธุดงค์วัตรกับพระอุปฌาย์ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร โดยออกธุดงค์เป็นเวลา 4ปี และได้ลาสิกขามาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนาตอนอายุ 14 ปี และในช่วงนี้นี่เองที่หลวงพ่อเริ่มมีชื่อเสียงจากการสักยันต์ เนื่องจากเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน ได้ลองให้หลวงพ่อสักให้แล้วเกิดมีประสบการณ์ จึงเล่ากันปากต่อปากและมีผู้มาสักยันต์มากขึ้น (ขณะนั้นอายุประมาณ 17-19 เท่านั้น) เมื่ออายุได้ 20 ปีก็ได้อุปสมบทตามประเพณี โดยมีหลวงพ่ออินทร์ วัดยางเป็นพระอุปฌาย์ พระอธิการหวล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับ ฉายาว่า จันทสุวัณโณ และได้ศึกษาด้านวิชาอาคม เพิ่มเติมโดยฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อศุข วัดโตนดหลวง และได้ออกธุดงค์ศึกษากรรมฐานหายเข้าป่าหลายปีจนได้กลับมาวัดนาพรหม ในปี พ.ศ. 2487 ก็ได้ทราบข่าวการป่วยของบิดา จึงคอยดูแลจนกระทั่งบิดาเสียจึงลาสิกขาออกมาดูแลมารดาซึ่งแก่ชรามาก และได้แต่งงานมีครอบครัว ส่วนลูกศิษย์เก่า ๆ ที่ได้จากการสักจากหลวงพ่อ พอรู้ข่าวก็ได้มาสักกันเพิ่มขึ้นจนมีชื่อเสียงโด่งดัง แต่มีบางคนที่ได้รับการสักยันต์จากหลวงพ่อแล้วกลับประพฤติตนเป็นอันธพาล จนทางตำรวจท้องที่ต้องขอร้องอาจารย์ยิด(ขณะนั้น) ให้เพลา ๆ การสักยันต์ลง ต่อมาจึงมีการเลือกเฟ้นจนแน่ใจแล้ว จึงจะทำการสักให้ จนกระทั่งปี 2518 จึงได้อุปสมบทอีกครั้งที่วัดเกาะหลัก โดยมีหลวงพ่อเปี่ยมเป็นพระอุปฌาย์ ได้รับฉายา จันทสุวัณโณ เช่นเดิม ซึ่งขณะนั้นท่านอายุ 51 ปี เมื่ออุปสมบทแล้วก็เดินทางไปจำพรรษาเป็นพระลูกวัดที่ วัดทุ่งน้อย อ.กุยบุรีจ.ประจวบฯ ได้พบกับอุบาสิกาใจบุญ 2 ท่าน ยกพื้นที่ดินว่างเปล่าพื้นที่ 21 ไร่ 2 งาน ให้โดยปรารถนาให้ท่านสร้างวัดขึ้น ที่ดินผืนนี้เต็มไปด้วย ป่าไผ่ และดงต้นหนาม ซึ่งหลวงพ่อได้ปลูกกระต๊อบหลังเล็ก ๆ ไว้ และก็เริ่มถางป่าไผ่ พัฒนาไปเรื่อย ๆ จนพื้นที่รกทึบเริ่มโล่งมากขึ้น จนกระทั่งบรรดาลูกศิษย์ที่ได้รับการสักยันต์ และพวกที่เคยได้รับการรักษายาสมุนไพร ได้รู้ข่าวการสร้างวัดใหม่ของหลวงพ่อก็ได้มาร่วมกันสร้างวัดด้านผู้ชายก็ ช่วยถากถาง ผู้หญิงก็ช่วยหุงหาอาหาร แจกจ่ายและได้รวมกันสร้างกุฏิขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ ในขั้นแรก และต่อมาได้พัฒนาเป็นวัดหนองจอกในปัจจุบัน หลวงพ่อยิด มรณภาพ วันที่ 31 กรกฎาคม 2538 สิริอายุ 71 ปี

รูปเหมือนใบโพธ์ รุ่นนี้สร้างได้สวยงาม และเป็นอีกรุ่นที่นักสะสมสายนี้ให้การยอมรับ ประสบการณ์เรื่อง เมตตา คงกระพัน แคล้วคลาด โชคลาภ มีครบทุกด้าน พระของหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ตอนนี้เริ่มหดหายไปจากตลาดเรื่อยๆ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน1,200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 12 ม.ค. 2558 - 20:38.11
วันปิดประมูล อ. - 13 ม.ค. 2558 - 20:44.40 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
150 บาท จ. - 12 ม.ค. 2558 - 20:43.07
500 บาท จ. - 12 ม.ค. 2558 - 20:43.21
1,000 บาท จ. - 12 ม.ค. 2558 - 20:43.47
1,200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) จ. - 12 ม.ค. 2558 - 20:44.40
กำลังโหลด...
Top